หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม-7
    โรคกุ้งก้ามกรามพบทั้งในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้งในโรงเพาะฟัก และในระหว่างการเลี้ยงเพื่อเป็นกุ้งใหญ่ในบ่อดิน
     
    7.2.5.1 โรคกุ้งก้ามกรามในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้ง
     
    โรคกุ้งหลังขาว
    ทำความเสียหายให้แก่การอนุบาลลูกกุ้งมากเพราะเมื่อสังเกตเห็นลูกกุ้งเกิดอาการหลังขาวมักจะทยอยตายจนหมดบ่ออาการของลูกกุ้งที่เป็นหลังขาวคือลำตัวมีสีขาวขุ่นสีเหมือนเมล็ดข้าวเหนียวในขณะที่ลูกกุ้งที่ไม่ป่วยกล้ามเนื้อจะใสเหมือนเมล็ดข้าวเจ้าพบมากในบ่อที่มีการอนุบาลลูกกุ้งอย่างหนาแน่นมาก ปริมาณอาหารที่ให้ลูกกุ้งจะมากตามไปด้วย ในที่สุดระดับแอมโมเนียจะสูงมาก ลูกกุ้งจะเริ่มมีอาการหลังขาว
     
    ภาพที่ 7.42 ลูกกุ้งก้ามกรามที่เป็นโรคหลังขาว
     
    การป้องกัน ที่ดีที่สุดคือไม่อนุบาลลูกกุ้งหนาแน่นมากเกินไปและต้องมีน้ำที่สะอาดเปลี่ยนถ่ายให้เพียงพอในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้งก่อนที่ลูกกุ้งแสดงอาการหลังขาว
     
    โปรโตซัว
    ในบ่อที่มีอาหารเหลือมากและมีสิ่งหมักหมมมากที่พื้นบ่ออนุบาลมักจะมีโปรโตซัวเกาะตามระยางค์ของลูกกุ้ง ที่พบมากได้แก่ซูโอแทมเนียม (Zoothamnium) และอีพิสไตลิส (Epistylis)
    การป้องกันควบคุมปริมาณอาหารและทำความสะอาดพื้นและขอบบ่อก่อนดูดเปลี่ยนถ่ายน้ำจะช่วยลดโอกาสการมีโปรโตซัวเกาะตามลำตัวและระยางค์ของลูกกุ้ง
     
    โรคเรืองแสง
    ในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในระยะแรกที่น้ำยังมีความเค็มประมาณ 15 พีพีทีมีโอกาสที่จะเกิดโรคแบคทีเรียเรืองแสงได้ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกันกับที่พบในโรงเพาะฟักในการอนุบาลลูกกุ้งกุลาดำ และในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำคือวิบริโอฮาวีอาย (Vibrio harveyi)
    การป้องกัน การใช้คลอรีนฆ่าเชื้อในน้ำต้องใช้ความระมัดระวังโดยเฉพาะในขั้นตอนที่ดูดน้ำส่วนที่ใสเข้าไปเก็บไว้ในบ่อพักน้ำถ้าดูดตะกอนที่ตกลงมาที่พื้นบ่อเข้าไปมากมีโอกาสที่จะเกิดแบคทีเรียเรืองแสงในระหว่างการอนุบาลช่วงแรกๆได้แต่เมื่อความเค็มลดลงมาในช่วงหลังจากที่ลูกกุ้งคว่ำแล้วโอกาสเกิดโรคเรืองแสงมีน้อยมาก
     
    7.2.5.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
     
    เหงือกดำ 
                เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด มีความสัมพันธ์กับความเน่าเสียของพื้นบ่อ เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามส่วนใหญ่ยังมีการใช้เครื่องให้อากาศน้อย แม้ในฟาร์มที่มีการใช้เครื่องให้อากาศก็มีเพียง 1 เครื่องต่อบ่อ ถ้าการเตรียมบ่อไม่ดีโดยเฉพาะเป็นบ่อเก่าที่เลี้ยงมาเป็นเวลานานและ ไม่มีการนำเลนพื้นบ่อออกไปหลังจาจับกุ้งแต่ละรอบโอกาสที่การเลี้ยงในช่วง ท้ายๆ จะพบกุ้งมีปัญหาเหงือกดำได้ แต่การเตรียมบ่อที่ดีและเลี้ยงโดยวิธีย้ายบ่อเป็นช่วงๆ จะสามารถลดปัญหาเหงือกดำได้มาก
     
    ภาพที่ 7.43 กุ้งก้ามกรามเหงือกดำเพราะพื้นเน่าเสีย
     
    กุ้งตายหลังจากการย้ายบ่อ
                ในการใช้อวนทับตลิ่งเพื่อรวบรวมกุ้งก้ามกรามหลังจากการเลี้ยงกุ้งนานประมาณ 2 เดือน และมีอายุ 4 เดือน บางครั้งกุ้งที่ย้ายไปลงบ่อใหม่จะป่วยหลังจากการย้ายได้ไม่นาน ดังนั้นการย้ายกุ้งแต่ละครั้งต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก เพราะการย้ายกุ้งจะทำให้กุ้งเครียดจากการฟุ้งกระจายของตะกอนพื้นบ่อ โดยเฉพาะถ้าเป็นบ่อที่มีของเสียบริเวณพื้นบ่อมาก และการที่กุ้งต้องอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นในถุงอวน
                การป้องกัน ก่อนการย้ายกุ้งต้องตรวจเช็คให้ดีว่ากุ้งอยู่ในสภาพที่แข็งแรงและสภาวะอากาศในวันที่จะย้ายเหมาะสมหรือไม่ คือช่วงที่อากาศไม่ร้อนมากควรเตรียมบ่อที่จะย้ายกุ้งไปเลี้ยงให้พร้อม โดยเปิดเครื่องให้อากาศก่อนหลายชั่วโมง เพื่อให้น้ำทั้งบ่อผสมเข้ากัน บริเวณที่นำกุ้งมาปล่อยควรหว่านเกลือให้มีความเค็มเล็กน้อย จะทำให้กุ้งฟื้นตัวเร็วและแข็งแรง ในขณะที่ย้ายถ้ามีเครื่องให้อากาศและเติมเกลือเล็กหรืออาจจะใช้การเติมแร่ธาตุที่มีธาตุหลักที่สำคัญและธาตุรองครบถ้วนลงไปในน้ำที่ใช้ในการขนย้ายกุ้งจะทำให้ลดความเครียดได้มากกุ้งจะมีอัตรารอดสูงหลังจากการย้ายบ่อ
     
    ภาพที่ 7.44 กุ้งก้ามกรามที่ป่วยตัวจะมีสีส้ม (ซ้าย)
     
    กุ้งมีซูโอแทมเนียมบนเปลือก
                พบในบ่อที่กุ้งไม่แข็งแรงอาจมาจากพีเอชของน้ำตอนบ่ายสูงมากเกิน 8.5 ซึ่งน้ำมักจะมีสีเข้มจัด   ถ้าค่าความเป็นด่างหรืออัลคาไลน์สูงมากด้วยเช่นมากกว่า 150 พีพีเอ็มกุ้งจะไม่ลอกคราบจะพบว่ามีซูโอแทมเนียมเกาะบนเปลือกมากแต่หลังจากที่กุ้งลอกคราบแล้วซูโอแทมเนียมก็จะหลุดออกไปกับเปลือกเก่า นอกจากนั้นในบ่อที่พื้นไม่สะอาดมีอาหารเหลือมากแม้ว่าระดับพีเอชและค่าอัลคาไลน์เป็นปกติกุ้งในบ่อบางตัวจะมีซูโอแทมเนียมบนเปลือกสังเกตเห็นเป็นขุยบนเปลือก
     
    ภาพที่ 7.45 กุ้งก้ามกรามที่มีซูโอแทมเนียมเกาะตามผิวเปลือก
     
          การป้องกัน    ถ้าสีน้ำเข้มจัดมีพีเอชสูง ถ่ายน้ำให้ปริมาณแพลงก์ตอนลดลงสีน้ำจะจางลง ลดอาหารและ เติมจุลินทรีย์ลงไปในบ่อ เปิดเครื่องให้อากาศมากขึ้น เมื่อพื้นบ่อสะอาดขึ้น ปัญหาซูโอแทมเนียมจะหายไปเอง

    • Update : 11/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch