หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม-6
    ไดอะแกรมขั้นตอนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนา
     
    ปล่อยลูกกุ้งระยะที่คว่ำแล้ว 50,000-60,000 ตัว/ไร่

     

     

    อนุบาลนาน 2-2 เดือนครึ่ง
     ลูกกุ้งขนาด 200-300 ตัว/กิโลกรัม
     

     

     

    ใช้อวนขนาดตา 1.7 เซ็นติเมตรลากคัดลูกกุ้งไปเลี้ยง 10,000 ตัว/ไร่

     

     

    เลี้ยงนาน 2 –2 เดือนครึ่ง

     

     

    คัดตัวเมียที่สมบูรณ์ไปเลี้ยงไว้ไปทำแม่พันธุ์ (30-60 ตัว/กิโลกรัม)
    ตัวผู้ (20-30 ตัว/กิโลกรัม) ย้ายตัวผู้ไปเลี้ยงในบ่อใหม่ 6,000-8,000 ตัว/ไร่

     

     

    เลี้ยงนาน 2 เดือนตัวผู้ขนาด 12-15 ตัว/กิโลกรัม
     
     

    นำกุ้งตัวผู้น้ำหนักประมาณ 8-10 ตัว/กิโลกรัมเลี้ยงในห้องนาน 2-3 เดือน
    จะได้กุ้งขนาด 4-5 ตัว/กิโลกรัม
     
     
     
          ภาพที่ 7.28 ลูกกุ้งก้ามกรามระยะคว่ำ                 ภาพที่ 7.29 ลากกุ้งก้ามกรามอายุ 2-2.5 เดือน
     
     
     ภาพที่ 7.30 นำลูกกุ้งไปชั่งน้ำหนัก                       ภาพที่ 7.31 ชั่งน้ำหนักก่อนการลำเลียง
     
     
     ภาพที่ 7.32 ภาชนะสำหรับใส่กุ้งที่จะย้าย                     ภาพที่ 7.33 แขวนภาชนะที่ใส่กุ้งในถัง
                                                                              ที่ให้ออกซิเจน
     
     
       ภาพที่ 7.34 นำกุ้งที่ย้ายมาเลี้ยงในบ่อใหม่              ภาพที่ 7.35 ลากกุ้งก้ามกรามอายุ 4-4.5 เดือน
     
     
               ภาพที่ 7.36 คนงานกำลังแยกเพศ              ภาพที่ 7.37 กุ้งก้ามกรามเพศเมียหลังการคัดแยก
     
     
    ภาพที่ 7.38 กุ้งก้ามกรามเพศผู้หลังการคัดแยก          ภาพที่ 7.39 ลากกุ้งก้ามกรามอายุ 6-6.5 เดือน
     
     
    ภาพที่ 7.40 กุ้งก้ามกรามเพศผู้ขนาด 12-15 ตัว/กิโลกรัม
     
     
    ภาพที่ 7.41 ลักษณะการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบ่งเป็นห้องขนาด 40x40 เซ็นติเมตร
     
    7.2.4.1 การเตรียมบ่อและเตรียมน้ำ
                  หลังจากจับกุ้งจากการเลี้ยงรอบที่ผ่านมา ตากบ่อให้แห้ง ปรับสภาพบ่อโดยเอาเลนกลางบ่อออก ปรับระดับบ่อให้เหมาะสม ความลึกของบ่อสำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกรามประมาณ 1.20 เมตร สูบน้ำที่พักมาแล้วจากบ่อพักน้ำผ่านผ้ากรอง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำชนิดอื่นเข้าไปในบ่อ ให้ระดับน้ำในบ่อประมาณ 1.0 เมตร หว่านปูนโดโลไมท์ในอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ในเวลากลางวัน สำหรับดินที่มีพีเอชปกติ แต่ถ้าดินที่มีพีเอชเป็นกรดต้องเติมวัสดุปูนเพิ่มขึ้น หลังจากหว่านโดโลไมท์แล้วเปิดเครื่องให้อากาศตลอดทั้งคืน เพื่อให้น้ำในบ่อผสมกันดีทั่วบ่อ
     
    การสร้างอาหารธรรมชาติ
                    อาหารธรรมชาติมีความจำเป็นสำหรับอัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกกุ้งก้ามกราม ดังนั้นการเตรียมน้ำให้พร้อมก่อนปล่อยลูกกุ้ง ปัจจุบันนี้ควรใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แม้ว่าปุ๋ยคอกเช่นปุ๋ยมูลไก่จะช่วยให้เกิดอาหารธรรมชาติได้ดีก็ตาม แต่การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อการส่งออก ถ้ายังมีการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลไก่ในการเตรียมน้ำอาจจะมีความเสี่ยงไม่เฉพาะในเรื่องยาตกค้างที่อาจจะติดมากับมูลไก่ เช่นยาในกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ซึ่งยังมีปัญหาในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ในบ้านเรา นอกจากนั้นการใช้มูลสัตว์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาจจะเป็นข้อรังเกียจหรือข้ออ้างของผู้ซื้อโดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-20-0 ไร่ละ 2 กิโลกรัมและใช้อาหารเบอร์ 1 ไร่ละ 2 กิโลกรัม รำละเอียดไร่ละ 2 กิโลกรัม ผสมน้ำ 10 ส่วนหมักทิ้งไว้ 1 คืน นำไปสาดให้ทั่วบ่อและเปิดเครื่องให้อากาศเพื่อผสมให้เข้ากันทั่วบ่อ รอจนสีน้ำสวยและมีสัตว์หน้าดินซึ่งจะเป็นอาหารธรรมชาติสำหรับลูกกุ้งอาจจะใช้เวลานาน 2-3 วัน
     
    7.2.4.2 การปล่อยลูกกุ้ง
                ลูกกุ้งระยะที่คว่ำแล้วนำมาปล่อยลงในบ่อเลี้ยง ควรปล่อยลูกกุ้งในขณะที่มีแสงแดดแต่อากาศไม่ร้อนจัด เนื่องจากปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำจะสูงกว่าการปล่อยตอนที่ไม่มีแสงแดด ควรเปิดเครื่องให้อากาศก่อนนำลูกกุ้งมาปล่อยเพื่อเพิ่มออกซิเจน และทำให้อุณหภูมิของน้ำในบ่อเท่ากันทุกระดับความลึก บริเวณที่จะนำลูกกุ้งมาปล่อยควรมีการเติมเกลือแกงลงไปเพื่อเพิ่มอัตรารอดของลูกกุ้ง
    ปริมาณการใช้เกลือในการปล่อยลูกกุ้ง
                ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกกุ้งที่จะปล่อย สำหรับลูกกุ้งจำนวน 200,000-300,000 ตัวใช้เกลือ 400 กิโลกรัมโดยใส่เกลือในกระสอบๆละ 40 กิโลกรัม ดังนั้นลูกกุ้ง 200,000-300,000 ตัวจะใช้เกลือ 10 กระสอบ นำกระสอบที่บรรจุเกลือมาวางตามขอบบ่อบริเวณที่จะนำลูกกุ้งมาปล่อยเว้นระยะห่างกัน 2 เมตร ในบริเวณที่ปล่อยลูกกุ้งถ้ามีการเสริมการให้ออกซิเจนโดยใช้ซุปเปอร์ชาร์จด้วยก็จะยิ่งดี เพราะลูกกุ้งที่ผ่านการขนส่งมายังฟาร์มมีการอ่อนเพลีย ถ้าในบ่อมีปริมาณออกซิเจนสูงและมีความเค็มเล็กน้อยจากการใส่เกลือจะช่วยให้ลูกกุ้งฟื้นตัวเร็วและมีอัตรารอดที่สูง  เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อที่ไม่มีการใช้เกลืออัตรารอดจะต่ำกว่ามาก
                ข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าลูกกุ้งจะอยู่บริเวณที่มีปริมาณออกซิเจนสูงคือบริเวณที่มีการให้อากาศและบริเวณที่มีการวางกระสอบใส่เกลือ หลังจากเกลือละลายหมดแล้วลูกกุ้งจะค่อยๆกระจายตัวไปทั่วบ่อ
     
    7.2.4.3  การให้อาหาร
                ในระยะ 30 วันแรกควรให้อาหารวันละ 4 มื้อเช่น 6.00 ., 12.00 ., 16.00 . และ 20.00 ปริมาณอาหารสำหรับลูกกุ้ง 100,000 ตัวให้อาหาร 1 กิโลกรัม/วัน หลังจากนั้นค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อยไปเรื่อยๆ ที่อายุ 30 วันลูกกุ้ง 100,000 ตัวให้อาหารประมาณ 4 กิโลกรัม/วัน ปริมาณอาหารอาจมากหรือน้อยกว่าระดับนี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารธรรมชาติในบ่อและอัตรารอดของลูกกุ้ง
                หลังจาก 30 วันควรให้อาหารวันละ 3 มื้อเวลา 6.00 ., 12.00 . และ 16.00 . ลักษณะการให้อาหารจะแตกต่างกับการเลี้ยงกุ้งทะเลเช่นกุ้งกุลาดำที่ตามปกติอยู่ในช่วงเดือนแรกจะให้อาหาร 3-4 ครั้ง/วัน แต่เมื่อกุ้งมีอายุเพิ่มขึ้นจะให้อาหารเพิ่มเป็น 4-5 ครั้ง/วัน สำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามส่วนใหญ่เกษตรกรยังคงให้อาหารวันละ 2 ครั้งคือ 6.00 . และ 18.00 . ตั้งแต่เริ่มปล่อยลูกกุ้งจนกระทั่งจับ แต่ในการเลี้ยงแบบพัฒนาที่กล่าวมานี้จะให้อาหารระยะแรกถี่กว่าช่วงที่กุ้งโต เพราะให้ความสำคัญกับอัตรารอดของลูกกุ้งระยะแรก ส่วนในระยะที่กุ้งโตขึ้นการให้อาหารวันละ 3 ครั้งอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องให้จำนวนมากเท่ากับกุ้งกุลาดำ เนื่องจากกุ้งก้ามกรามกินอาหารช้ากว่ากุ้งกุลาดำและกุ้งขาวมาก
                ข้อควรระวังในการให้อาหาร ถ้าอุณหภูมิของน้ำต่ำโดยเฉพาะในตอนเช้า เมื่ออุณหภูมิน้ำต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรลดปริมาณอาหารและอาจจะเลื่อนเวลาการให้อาหารออกไปอีก เช่น เลื่อนเวลาออกไปเป็น 7.00 . หรือมากกว่านั้น นอกจากอุณหภูมิของน้ำที่มีผลต่อการกินอาหารของกุ้งแล้ว ถ้าปริมาณออกซิเจนต่ำ กุ้งจะกินอาหารลดลงเช่นเดียวกัน ในกรณีที่สีน้ำในบ่อเข้มจัด ปริมาณออกซิเจนจะลดต่ำลงมากในตอนเช้า อาจจะต้องเลื่อนเวลาการให้อาหารออกไปจนกว่าจะเริ่มมีแสงแดดมากพอ เพื่อให้แพลงก์ตอนพืชสังเคราะห์แสงเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ จะทำให้กุ้งกินอาหารดีกว่า
                สำหรับกุ้งที่มีขนาดใหญ่จะกินอาหารลดลงเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์กับน้ำหนักตัวเช่นกุ้งขนาดน้ำหนัก 50 กรัมกินอาหาร 1.8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ส่วนกุ้งหนัก 100 กรัมกินอาหารเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว
     
    7.2.4.4 การจัดการคุณภาพน้ำที่สำคัญ 
    ในระหว่างการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามควรจะมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำที่สำคัญๆ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรในการประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และเป็นแนวทางในการจัดการด้านอื่นๆด้วย คุณสมบัติของน้ำที่ควรจะให้ความสำคัญ ได้แก่
     
    ออกซิเจน ตามปกติปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีความสำคัญมากในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระดับที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำทั่วไปรวมทั้งกุ้งก้ามกรามไม่ต่ำกว่า 4 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัม/ลิตรแต่โดยทั่วไปเกษตรกรจะไม่มีเครื่องวัดปริมาณออกซิเจน จะใช้การสังเกตเท่านั้นเช่นกุ้งลอยตอนกลางคืนแสดงว่าปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือกุ้งขึ้นมาตามขอบบ่อมาก แสดงว่าปริมาณออกซิเจนต่ำเป็นต้น การสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าจะให้การเลี้ยงได้ผลตามที่ต้องการแล้วสำหรับฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ควรจะมีอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาณออกซิเจนเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
                เมื่อใดที่ปริมาณออกซิเจนในตอนเช้าก่อนมีแสงแดดคือประมาณไม่เกิน 6.30 . ต่ำกว่า 4 พีพีเอ็มควรลดปริมาณอาหารที่ให้มื้อนั้น ถ้าสีน้ำเข้มจัดควรจะถ่ายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อลดปริมาณแพลงก์ตอน จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในตอนเช้าของวันต่อมาสูงขึ้น ในวันที่ท้องฟ้ามืดครึ้มไม่มีแสงแดดควรเปิดเครื่องให้อากาศตลอดเวลาและรอบความเร็วของเครื่องยนต์ไม่ควรต่ำกว่า 80 รอบ/นาที เพราะการเปิดเครื่องให้อากาศหรือเครื่องตีน้ำรอบช้าเกินไป แม้จะมีจำนวนใบพัดตีน้ำจำนวนมาก ไม่ทำให้ปริมาณออกซิเจนเพิ่มขึ้นมาก แต่ในทางตรงกันข้ามจำนวนใบพัดตีน้ำมีไม่มากแต่รอบความเร็วมากพอทำให้ได้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมากกว่า
     
    พีเอช ระดับที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตมีค่าระหว่าง 7.5-8.5 พีเอชตอนเช้าไม่ควรต่ำกว่า 7.5 และตอนบ่ายไม่ควรเกิน 8.5 ถ้าพีเอชตอนเช้าต่ำกว่า 7.5 กุ้งจะมีอัตรารอดต่ำและโตช้า ควรเติมวัสดุปูนเพิ่มพีเอช แต่ถ้าพีเอชตอนบ่ายสูงเกิน 8.5 กุ้งจะโตช้าเนื่องจากไม่ลอกคราบเปลือกจะสากและมักพบมีซูโอแทมเนียมตามผิวตัว พีเอชของน้ำตอนบ่ายที่สูงมักมีความสัมพันธ์กับสีน้ำที่เข้มจากปริมาณแพลงก์ตอนที่มีอย่างหนาแน่น ดังนั้นควรจะควบคุมไม่ให้สีน้ำเข้มจัด โดยการควบคุมปริมาณอาหารและมีน้ำเปลี่ยนถ่ายพอเพียง นอกจากนั้นควรใช้จุลินทรีย์เติมลงไปช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์และทำให้พื้นบ่อสะอาด สีน้ำจะไม่เข้มมาก โดยทั่วไปจะนิยมเติมจุลินทรีย์ทุกๆ 7-10 วันเช่นเดียวกับการเติมโดโลไมท์ทุกๆ 10 วัน
     

    • Update : 11/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch