หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม-5
    การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงจากการเพาะเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือ
     
    1. มีบ่อพักน้ำ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการสูบน้ำโดยตรงจากแม่น้ำลำคลองหรือคลองชลประทานเข้าไปในบ่อเลี้ยง ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีหรือในกรณีที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นในบริเวณนั้น โอกาสที่กุ้งในบ่อจะป่วยหรือติดเชื้อโรคเป็นไปได้สูง บ่อพักน้ำนอกจากมีประโยชน์สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ตามต้องการ ยังทำหน้าที่ปรับคุณภาพน้ำที่สูบเข้าไปจากแม่น้ำลำคลองให้ดีขึ้นได้แก่ตกตะกอนลดความเป็นพิษของสารเคมีต่างๆเช่นยาปราบศัตรูพืชที่ถูกชะล้างลงไปในแหล่งน้ำ บ่อพักน้ำยังใช้เก็บกักน้ำขณะถ่ายน้ำระหว่างการเลี้ยงและขณะที่มีการจับกุ้ง น้ำที่ออกมาจากบ่อเลี้ยงกุ้งจะมีตะกอนและปริมาณสารอินทรีย์มากถ้าปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง จะสร้างปัญหาแก่ชุมชนที่ต้องใช้น้ำร่วมกัน ในกรณีที่ชุมชนเหล่านั้นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคอาจทำให้เกิดปัญหากับผู้ประกอบอาชีพอื่นข้างเคียงได้ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาควรจะมีบ่อพักน้ำ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด และปรับระบบการเลี้ยงโดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียน ในบ่อพักน้ำจะมีการเลี้ยงปลาน้ำจืดที่กินพืชอาจจะมีหลายชนิดเช่นปลานิลปลาทับทิมปลาตะเพียน ปลาเหล่านี้จะทำหน้าที่บำบัดสารอินทรีย์ที่หลงเหลือจากบ่อเลี้ยงกุ้ง จะทำให้น้ำในบ่อพักน้ำดีขึ้น และเมื่อคุณภาพน้ำดีขึ้นน้ำเหล่านี้ก็พร้อมที่จะนำมาใช้ได้อีกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากเป็นการใช้น้ำประหยัดและมีประสิทธิภาพแล้ว บ่อพักน้ำยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แม่น้ำลำคลองให้อยู่ในสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด การมีบ่อพักน้ำเพื่อรองรับน้ำที่ระบายออกจากบ่อกุ้งในขณะที่เลี้ยงหรือจับกุ้ง จะทำให้ฟาร์มมีมาตรฐานการผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งสามารถผ่านการรับรองจากกรมประมง    เพราะในอนาคตการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรใดๆก็ตาม เงื่อนไขของการรักษาสิ่งแวดล้อมจะถูกตั้งขึ้นมาโดยประเทศผู้ซื้อกุ้งผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตามที่กระบวนการผลิตมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะถูกกีดกันทางการค้าซึ่งจะเป็นข้ออ้างของประเทศผู้ซื้อ
     
     
    ภาพที่ 7.26 บ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาที่มี
    บ่อพักน้ำ
     
                2. มีเครื่องให้อากาศการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่มีอัตราการปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นและมีการให้อาหารวันละ 2-3 มื้อ ย่อมมีของเสียที่เกิดจากอาหารที่หลงเหลือและจากการขับถ่ายของกุ้งมากขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆโดยแบคทีเรียส่วนมากต้องการใช้ออกซิเจน ในขณะที่กุ้งก้ามกรามก็ต้องการออกซิเจนในระดับที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่แข็งแรงตามปกติการมีเครื่องให้อากาศบ่อละเครื่องจะเป็นการป้องกันการขาดออกซิเจนในระหว่างการเลี้ยง โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณเที่ยงคืนจนถึงตอนเช้าในช่วงท้ายๆของการเลี้ยงเนื่องจากปริมาณแพลงก์ตอนพืชอย่างหนาแน่น หรือในช่วงเวลาที่อากาศมืดครึ้มติดต่อกันหลายวัน ถ้าไม่มีเครื่องให้อากาศอาจจะมีปัญหาการขาดออกซิเจนได้ เครื่องให้อากาศโดยเฉพาะที่ใช้เครื่องยนต์มีแขนยาวใบพัดตีน้ำเป็นจำนวนมากที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเรียกว่าเครื่องตีน้ำจะทำให้คุณภาพน้ำและสภาพต่างๆในบ่อดีขึ้นกุ้งจะมีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าบ่อที่ไม่มีอากาศซึ่งมีระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่า โอกาสการเน่าเสียของบ่อที่มีเครื่องให้อากาศจะน้อยกว่าและช้ากว่าการเลี้ยงแบบดั้งเดิมที่ไม่มีเครื่องให้อากาศ
     
     
    ภาพที่ 7.27 บ่อเลี้ยงที่มีเครื่องให้อากาศเพียงพอ
     
                            3. ใช้อาหารสำเร็จรูป เนื่องจากการซื้อวัตถุดิบมาผสมเพื่อผลิตอาหารที่เกษตรกรทั่วไปปฏิบัติกันอยู่ อาจจะประหยัดต้นทุนได้ระดับหนึ่งแต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและมีผลต่อคุณภาพน้ำ รวมถึงสภาพพื้นบ่อด้วย การใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีการจำหน่ายในท้องตลาดผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตอาหารที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ยาวนาน มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความคงที่แน่นอนและสม่ำเสมอของคุณภาพอาหารที่ผลิตย่อมจะดีกว่าเกษตรกรซื้อวัตถุดิบต่างๆมาผสมและทำอาหารเอง อาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีการแข่งขันระหว่างบริษัทต่างๆจำนวนมาก ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของอาหาร ผู้ใช้คือเกษตรกรสามารถร้องเรียนบริษัทผู้ผลิตได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ผลิตที่มีอยู่จำนวนมากต้องพยายามหาวิธีที่จะผลิตอาหารกุ้งก้ามกรามให้มีคุณภาพดีขึ้น และการบริการด้านวิชาการหรือการส่งเสริมการขายเพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตกุ้งได้ตามเป้าหมาย
                            4. ปล่อยลูกกุ้งน้อยลงและเลี้ยงแบบย้ายบ่อ การปล่อยลูกกุ้งในปริมาณที่เหมาะสมคือ 50,000-60,000 ตัว/ไร่ ในบ่อที่มีเครื่องให้อากาศ 1 เครื่องอนุบาลลูกกุ้งระยะหนึ่งประมาณ 60-70 วันแล้วย้ายกุ้งไปเลี้ยงในบ่อใหม่ในอัตราความหนาแน่น 10,000 ตัว/ไร่แล้วเลี้ยงไปอีกนานประมาณ 2-2.5 เดือนใช้อวนลากคัดเอาตัวเมียที่สมบูรณ์ไปเลี้ยงไว้เป็นแม่พันธุ์ในบ่อดิน ส่วนตัวเมียที่มีขนาดเล็กและตัวผู้ที่ไม่สมบูรณ์เอาไปขาย ส่วนกุ้งตัวผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงย้ายไปเลี้ยงในบ่อใหม่ ในอัตราความหนาแน่น 6,000-8,000 ตัว/ไร่ เลี้ยงต่ออีก 2 เดือนก็จะได้กุ้งขนาดใหญ่ประมาณ 12-15 ตัว/กิโลกรัมกุ้งตัวผู้ที่มีลักษณะดีบางส่วนคือก้ามไม่โตมากจะคัดเลือกไปเป็นพ่อพันธุ์การเลี้ยงแบบย้ายบ่อจะทำให้เลี้ยงกุ้งได้ขนาดใหญ่ เพราะแต่ละบ่อจะรองรับการเลี้ยงนานประมาณ 2 เดือนเท่านั้น ประกอบกับการมีเครื่องให้อากาศด้วย โอกาสที่จะป่วยเป็นโรคก็น้อยลง คุณภาพกุ้งจะได้มาตรฐานสำหรับการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก
                ในกรณีที่ต้องการผลิตกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ 4-5 ตัว/กิโลกรัมจะมีการนำกุ้งเพศผู้ขนาด 10 ตัว/กิโลกรัมหรือกุ้งที่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 100 กรัมไปเลี้ยงต่ออีกประมาณ…..วันในลักษณะเป็นห้องๆซึ่งแต่ละห้องจะมีกุ้งเพียง 1 ตัวสามารถผลิตกุ้งก้ามกรามใหญ่ขนาด 4-5 ตัว/กิโลกรัมการเลี้ยงวิธีนี้น่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

    • Update : 11/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch