หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม-4
    แม้ว่ากุ้งก้ามกรามจะเป็นกุ้งที่เลี้ยงในพื้นที่น้ำจืด แต่การผลิตลูกกุ้งในโรงเพาะฟักน้ำที่ใช้อนุบาลลูกกุ้งต้องมีความเค็มในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นต้องใช้น้ำทะเลมาเจือจางด้วยน้ำจืดให้ได้ความเค็มที่ต้องการ ส่วนมากเพื่อความสะดวกและประหยัดจะใช้น้ำความเค็มสูงระหว่าง 80-120 พีพีทีจากนาเกลือมาผสมกับน้ำจืด ไม่ควรใช้น้ำเค็มที่ความเค็มต่ำกว่านี้ เพราะมีเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคอื่นๆ มาก ส่วนน้ำนาเกลือที่มีความเค็มสูงมาก แร่ธาตุบางชนิดอาจจะตกตะกอนไปบ้าง ทำให้ส่วนประกอบของแร่ธาตุที่สำคัญอาจจะไม่สมดุลและไม่ครบถ้วน เมื่อผสมน้ำจากนาเกลือกับน้ำจืดจนได้ความเค็ม 15 พีพีที ใช้คลอรีนผง (แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์) เติมลงไปในปริมาณ 30-50 กรัมต่อปริมาตรน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร เปิดเครื่องให้อากาศผสมคลอรีนผงให้เข้ากันทั่วบ่อ ปิดเครื่องให้อากาศเพื่อให้ตะกอนตกอยู่ที่พื้นบ่อ
     
    ภาพที่ 7.14 บ่อเตรียมน้ำความเค็ม 15 พีพีที
     
    หลังจากตะกอนตกลงมาบริเวณพื้นบ่อหมดแล้วน้ำจะใสสูบน้ำเฉพาะส่วนที่ใสจากระดับบนโดยผ่านเครื่องกรองน้ำออกไปเก็บไว้ในบ่อพักน้ำสำหรับไว้ใช้ในการอนุบาลลูกกุ้ง ต้องระมัดระวังในขณะที่สูบน้ำ อย่าให้ตะกอนจากพื้นบ่อฟุ้งขึ้นมาหรือเข้าไปในบ่อเก็บน้ำ เพราะในตะกอนเหล่านี้อาจจะมีแบคทีเรียที่ยังไม่ตายและจะสร้างปัญหาในช่วงการอนุบาลลูกกุ้งได้น้ำที่สูบเข้ามาเก็บไว้ในบ่อพักทิ้งไว้ประมาณ 5 วันก่อนนำมาใช้
     
    ภาพ7.15 น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อและเครื่องกรอง
    เพื่อนำไปอนุบาลลูกกุ้ง
    วิธีการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามในเชิงธุรกิจมีขั้นตอนปฏิบัติดังต่อไปนี้
     
    1.       นำแม่กุ้งก้ามกรามที่มีไข่สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำมาใส่ในถังไฟเบอร์กลาสหรือบ่อซีเมนต์ในอัตราความหนาแน่นแม่กุ้งน้ำหนักรวม 10 กิโลกรัมต่อถัง หรือบ่อเพาะขนาดความจุ 3 ลูกบาศก์เมตร (ตัน) บรรจุน้ำทะเลความเค็ม 15 พีพีทีที่ผ่านการฆ่าเชื้อและพักไว้เพียงพอแล้ว ให้อากาศอย่างเพียงพอ และให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปในตอนเช้า ทำความสะอาดพื้นถังหรือบ่อในตอนเย็นและถ่ายน้ำ
          เนื่องจากน้ำที่ขุ่นการฟักออกเป็นตัวจะไม่ดีแม่กุ้งที่ไข่สีดำจะสลัดไข่และฟักออกเป็นตัวอ่อนในวันต่อมา ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน แม่กุ้งจะสลัดไข่ออกมาเป็นตัวอ่อนจนหมดวันแรกที่สลัดออกมาเป็นตัวอ่อนคุณภาพจะไม่ดี มักจะไม่นำมาใช้ แต่ตั้งแต่วันที่ 2 เป็นต้นไปลูกกุ้งวัยอ่อนจะมีคุณภาพดี ลดความแรงของเครื่องให้อากาศลง จะทำให้ลูกกุ้งลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ แล้วใช้สวิงรวบรวมลูกกุ้งในถัง
    2.       นำลูกกุ้งไปใส่ในบ่ออนุบาลในอัตราความหนาแน่น 200,000-300,000 ตัว/บ่อ บรรจุน้ำทะเลความเค็ม 15 พีพีที ปริมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร มีเครื่องให้อากาศอย่างพอเพียงเริ่มให้อาหารแก่ลูกกุ้งวันอ่อนในวันที่ 2 คือตัวอ่อนอาร์ทีเมีย ควรใช้น้ำอุ่นลวกอาร์ทีเมียก่อน เพื่อให้อาร์ทีเมียไม่เคลื่อนไหวมาก ลูกกุ้งจะกินได้ง่าย ให้อาหารวันละ 3-4 มื้อเฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น (หลัง 18.00 . ลูกกุ้งจะไม่กินอาหาร) วันที่ 4 เริ่มใส่สีน้ำวิทยาศาสตร์สีน้ำตาล เพื่อบังแสงไม่ให้น้ำใส ลูกกุ้งจะกินอาหารดีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 6 เป็นต้นไป เริ่มเสริมไข่ตุ๋นเป็นอาหารร่วมกับการให้อาร์ทีเมีย
    3.       ค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำเรื่อยๆ ไปถึงวันที่ 10 ปริมาตรน้ำควรจะอยู่ระหว่าง 2.0-2.5 ลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่วันที่ 10 เริ่มถ่ายน้ำครั้งละ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 3 วัน/ครั้ง ความเค็มของน้ำในบ่ออนุบาลลูกกุ้งยังคงเท่ากับ 15 พีพีที
    4.       ลูกกุ้งใช้เวลานาน 22-25 วันจึงจะเข้าระยะคว่ำจนหมด ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะใช้เวลานานกว่า 25 วัน ถ้าลูกกุ้งเข้าสู่ระยะคว่ำไม่พร้อมกัน ช้อนเอาตัวที่ยังไม่คว่ำออกไปรวมกับลูกกุ้งจากถุงอื่น ลูกกุ้งเหล่านี้จะใช้เวลาอีก 2-3 วันจึงจะคว่ำจนหมด
    5.       เริ่มลดความเค็มจาก 15 พีพีที ลงไปที่ 12 พีพีที
    วันต่อไปลดจาก 12 พีพีที ให้เหลือ 10 พีพีที
    วันที่ 3 ลดลงจาก 10 พีพีที ให้เหลือ 5 พีพีที
    6.       ก่อนนำลูกกุ้งไปบรรจุในถุงพลาสติกเพื่อขนส่งไปเลี้ยงในบ่อดิน ลดความเค็มลงมาเป็นศูนย์ (แต่ถ้ายังไม่บรรจุในถุงพลาสติก เพื่อนำไปเลี้ยงให้อนุบาลลูกกุ้งต่อในโรงเพาะฟักที่น้ำความเค็ม 5 พีพีที เพราะถ้าอนุบาลที่ความเค็มเป็นศูนย์ อาร์ทีเมียที่ให้เป็นอาหารจะตาย)
     
    ภาพที่ 7.16 โรงอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม
     
    ไข่ตุ๋นที่นำมาเสริมในการอนุบาลจะทำให้ลูกกุ้งลอกคราบได้ดี ตอนเช้าก่อนให้อาหารควรจะใช้สวิงตักคราบออกก่อน
    แม่กุ้ง 10 กิโลกรัมที่นำมาเพื่อผลิตลูกกุ้งในแต่ละครั้ง จะผลิตลูกกุ้งได้ประมาณ 2-3 ล้านตัวแม่กุ้งที่ใช้แล้วจะนำออกจากถังไปเลี้ยงในบ่อพ่อแม่พันธุ์ในบ่อดินตามเดิม อีกประมาณ 15 วันสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก แม่กุ้งแต่ละชุดในบ่อพ่อแม่พันธุ์จะใช้ผลิตลูกกุ้งนานประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นต้องเปลี่ยนพ่อแม่กุ้งชุดใหม่
    ควรปรับพีเอชของน้ำในถังอนุบาลลูกกุ้งให้อยู่ระหว่าง 7.8-8.2 จะทำให้อัตรารอดดีขึ้น วิธีการปรับพีเอชควรใช้น้ำปูนส่วนที่ใส ค่อยๆ ปรับพีเอชตั้งแต่เริ่มเพิ่มระดับน้ำในปริมาณ 50 มิลลิลิตร/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (50 ซีซี/น้ำ 1 ตัน) แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 150 ซีซี/น้ำ 1 ตัน เมื่อลูกกุ้งอายุมากขึ้น (การเตรียมน้ำปูนใสโดยใช้ปูนขาวละลายน้ำจนปูนขาวบางส่วนไม่ละลาย รอจนปูนขาวตกตะกอนจนหมด น้ำจะใส นำน้ำส่วนที่ใสไปใช้ปรับพีเอช)
     
     
     ภาพที่ 7.17 แม่พันธุ์ในถัง                                      ภาพที่ 7.18 กำลังช้อนลูกกุ้ง                               
     
     
    ภาพที่ 7.19 กำลังใส่สีน้ำวิทยาศาสตร์                                ภาพที่ 7.20 ทำความสะอาดถัง
     
     
       ภาพที่ 7.21 การเปลี่ยนถ่ายน้ำในถัง                    ภาพที่ 7.22 น้ำสีน้ำตาลจากสีน้ำวิทยาศาสตร์        
     
     
    ภาพที่ 7.23 ถังน้ำปูนใสสำหรับปรับพีเอช
     
     
    ภาพที่ 7.24 น้ำใสหลังจากลดความเค็ม                        ภาพที่ 7.25 การบรรจุลูกกุ้งในถุง

    • Update : 11/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch