หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม-2
    การเลี้ยงแบบดั้งเดิมในปัจจุบันยังพบเห็นอยู่ทั่วไปหลายจังหวัดในภาคกลางซึ่งมีการเลี้ยงคล้ายๆ กันคือ
     
    1.       ไม่มีบ่อพักน้ำ เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นบ่อเลี้ยง ไม่มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนไว้เป็นบ่อพักน้ำ เมื่อต้องการเปลี่ยนถ่ายน้ำจึงสูบน้ำโดยตรงจากคลองชลประทานหรือแม่น้ำลำคลองเข้าไปในบ่อเลี้ยง หรือในกรณีที่ต้องการถ่ายน้ำและในขณะที่จับกุ้ง น้ำที่ระบายออกจากบ่อเลี้ยงทั้งหมดจะไม่มีการสูบน้ำเข้าไปเก็บไว้ในบ่อตกตะกอน ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ดังนั้นน้ำที่ระบายออกจากบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยตรงจะมีสีเข้มจัดมาก ในกรณีที่คุณภาพน้ำภายนอกไม่ดีหรือมีการระบาดของโรคกุ้งก้ามกรามจากบริเวณข้างเคียง การสูบน้ำโดยตรงเข้าไปในบ่อเลี้ยงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่กุ้งในบ่ออาจจะมีปัญหาได้ หรือในกรณีที่คลองชลประทานหยุดการส่งน้ำเป็นบางช่วงบางเวลา เกษตรกรจะใช้วิธีสูบน้ำจากคลองชลประทานที่ยังหลงเหลืออยู่บางส่วน น้ำที่มีอยู่ในคลองชลประทานในปริมาณที่น้อยจะมีการหมักหมมของเชื้อโรคหรือสิ่งต่างๆ ที่เมื่อสูบเข้าไปในบ่อเลี้ยงกุ้งจะทำให้กุ้งมีปัญหาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมักจะพบว่าถ้าน้ำในคลองชลประทานมีการปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง คุณภาพน้ำจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าเมื่อคลองชลประทานหยุดการส่งน้ำ
     
    ภาพที่ 7.1 บ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั่วไปไม่มีเครื่องให้อากาศ
     

    2.       ไม่มีเครื่องให้อากาศ การเลี้ยงกุ้งก้ามรามของเกษตรกรใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงแต่ละครั้งนานมากประมาณ 8-10 เดือน คือมีการปล่อยลูกกุ้งเป็นจำนวนมากแล้วทยอยจับกุ้งที่มีขนาดโตบางส่วนออกไป และปล่อยลูกกุ้งเสริมไปอีกเรื่อยๆ การเลี้ยงที่ต้องใช้ระยะเวลานานมากโดยไม่มีเครื่องให้อากาศ    ใน ที่สุดพื้นบ่อจะเกิดการเน่าเสียเนื่องจากปริมาณของเสียที่สะสมอยู่ที่พื้น บ่อและจากการที่ไม่มีเครื่องให้อากาศจะทำให้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำในบริเวณ พื้นบ่อมีไม่เพียงพอ จะเห็นได้ว่าปัญหากุ้งป่วยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลาของการเลี้ยง เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต้องมีการให้อาหารวันละ 2-3 มื้อ ของเสียที่สะสมในในบ่อ ปริมาณอาหารที่หลงเหลือ
     
    ภาพที่ 7.2 สภาพพื้นบ่อจากการเลี้ยงที่ไม่มีเครื่องให้อากาศ
     
    และสิ่งขับถ่ายจะเกิดการเน่าเสียอยู่ที่พื้นบ่อ กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งที่อาศัยอยู่พื้นบ่อตลอดเวลา เมื่อพื้นบ่อสกปรกเน่าเสียจะทำให้กุ้งอ่อนแอและป่วยในที่สุด ในกรณีที่พื้นบ่อสกปรกแต่ไม่ถึงกับทำให้กุ้งป่วยเป็นโรคตายแต่จะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของกุ้งช้ากว่าปกติ ตัวกุ้งจะไม่สะอาด คุณภาพไม่ดี ราคาก็จะลดลงตามมาด้วย
     
    3.       ปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น ที่ผ่านมาเกษตรกรจะมีการปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นประมาณ 100,000 ตัว/ไร่ เผื่อจะมีลูกกุ้งบางส่วนตายและส่วนที่เหลือจะได้มีปริมาณลูกกุ้งพอเพียงในระหว่างการเลี้ยงจะมีการทยอยจับกุ้งที่มีขนาดโตบางส่วนออกมาเรื่อยๆ
     
    เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามใช้เวลานานมากในขณะที่ไม่มีเครื่องให้อากาศ จะทำให้ พื้นบ่อเน่าเสียซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและเป็นโรค ผลผลิตที่ได้จะต่ำและกุ้งที่ทยอยจับขึ้นมาขายก็จะมีขนาดเล็กทำให้ได้ผลตอบแทนที่น้อย หรืออาจจะขาดทุนได้
     
     
     ภาพที่ 7.3 คนงานกำลังจับกุ้งก้นบ่อ                              ภาพที่ 7.4 คนงานกำลังลำเลียงกุ้งจาก
                                                                                   บ่อไปคัดขนาดและเพศ
     
     
    ภาพที่ 7.5 คนงานกำลังคัดขนาดและเพศของกุ้งก้ามกราม          ภาพที่ 7.6 กุ้งก้ามกรามหลังจากการคัดขนาดและเพศ
     
     
          ภาพที่ 7.7 กุ้งก้ามกรามที่พร้อมไปจำหน่าย                 ภาพที่ 7.8 รถกระบะพร้อมอุปกรณ์เครื่องให้อากาศ
                                                                                      สำหรับลำเลียงกุ้งเป็นไปจำหน่าย
     
    4.       ผลิตอาหารเองคุณภาพไม่แน่นอน เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่จะทำอาหารกุ้งใช้เอง โดยซื้อวัตถุดิบมาผสม หลังจากการผลิตอาหารเสร็จแล้วจะตากอาหารให้แห้งตามลานบ้านหรือบนถนนซึ่งเห็นได้ทั่วไป ทำให้คุณภาพของอาหารไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ซื้อมาผสมบางครั้งสดแต่บางครั้งไม่สด ทำให้คุณภาพไม่แน่นอนและอาจไม่ได้มาตรฐานอีกทั้งการนำอาหารมาตากข้างถนนเพื่อให้อาหารแห้งในบางฤดูกาลมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่อาหารไม่แห้งสนิท มีความชื้นค่อนข้างจะสูง ทำให้เกิดเชื้อราบนอาหารขึ้นในที่สุด อาจจะเป็นอันตรายต่อกุ้งได้ การผลิตอาหารใช้เองเป็นการลดต้นทุนของเกษตรกร แม้ว่าจะเป็นการลดต้นทุนก็จริงแต่คุณภาพที่เกษตรกรทำเองไม่มีคุณภาพแน่นอน บางครั้งวัตถุดิบไม่สดหรือคุณภาพไม่ดี กุ้งอาจจะไม่กินหรือกินน้อยลง ดังนั้นอาหารที่ให้กับกุ้งในบ่อก็จะเหลือมาก มีผลทำให้คุณภาพน้ำเสียได้ง่ายลง และในที่สุดจะมีผลต่อสภาพพื้นบ่อ ส่งผลทำให้กุ้งมีโอกาสเป็นโรคสูงขึ้นด้วย
     
    ภาพที่ 7.9 อาหารที่เกษตรกรผลิตกันเองโดยตากบนถนน
     

    5.      
    ภาพที่ 7.10 กุ้งก้ามกรามเพศเมียสายพันธุ์ดั้งเดิมมีขนาดเล็กแต่มีไข่เต็มท้อง
     
    สายพันธุ์ดั้งเดิม    กุ้งก้ามกรามที่เกษตรกรเลี้ยงอยู่ในขณะนี้ส่วนมากเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมเลี้ยงกันมาเป็นเวลาช้านานโดยไม่มีการปรับปรุงคุณภาพพ่อแม่พันธุ์ ส่วนมากจะใช้กุ้งในบ่อเลี้ยงบางส่วนที่มีลักษณะที่ดีเช่นมีขนาดโตมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ หลังจากการเลี้ยงมาหลายปีจะเห็นได้ว่าขนาดของกุ้งก้ามกรามเล็กลงซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกันทำให้เกิดปัญหาเลือดชิด (inbreeding) โดยเฉพาะกุ้งเพศเมียจะมีขนาดเล็กลงมาก ในขณะที่กุ้งเพศผู้ส่วนใหญ่จะมีก้ามใหญ่มาก ส่วนของลำตัวมีขนาดเล็กแต่ในความเป็นจริงตลาดต้องการกุ้งเพศผู้ที่มีก้ามขนาดเล็กหรือที่เกษตรกรนิยมเรียกกันว่าก้ามทองซึ่งในแต่ละรุ่นที่เลี้ยงจะมีปริมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เนื่องจากจะเป็นกุ้งเพศเมียประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และจะเป็นกุ้งเพศผู้ก้ามโตหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าก้ามลาก” 25-30 เปอร์เซ็นต์และเป็นกุ้งก้ามทอง20-25 เปอร์เซ็นต์    ดังนั้นผลตอบแทนที่ได้จะต่ำเนื่องจากกุ้งเพศเมียที่ตัวเล็กราคาจะต่ำมากและผลผลิตโดยรวมค่อนข้างต่ำและใช้ระยะเวลานานมากต่อการเลี้ยงแต่ละรอบ

     


    ภาพที่ 7.10 กุ้งก้ามกรามเพศเมียสายพันธุ์ดั้งเดิมมีขนาดเล็ก
    แต่มีไข่เต็มท้อง
     
    ภาพที่ 7.11 กุ้งก้ามทอง(ซ้าย) ขนาดของก้ามจะเล็กกว่า
        กุ้งก้ามลาก (ขวา) แต่มีขนาดตัวเท่ากัน


     
    6.       ปัญหายาตกค้าง    เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรมีการปล่อยกุ้งอย่างหนาแน่นมากตามที่ได้กล่าวมาแล้ว        เมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งจนกุ้งบางส่วนมีขนาดใหญ่พอที่จะขายได้ เกษตรกรจะใช้อวนลากกุ้งที่มีขนาดใหญ่ออกมาขายก่อน   ส่วนกุ้งที่มีขนาดเล็กจะเลี้ยงต่อไปอีกจนกุ้งมีขนาดโตขึ้นจึงจะใช้อวนลากออกไปอีก ในการลากอวนแต่ละครั้งทำให้ตะกอนของเสียบริเวณพื้นบ่อเกิดการฟุ้งกระจายขึ้นมา   จะทำให้คุณภาพน้ำบริเวณพื้นบ่อมีของเสียก๊าซพิษจำนวนมาก   พบว่าหลังจากนั้นอีกไม่กี่วันกุ้งที่เหลือในบ่อเริ่มมีปัญหาป่วยเป็นโรคทยอยตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปัญหาที่กล่าวมานี้เกษตรกรแก้ปัญหาโดยผสมยาปฏิชีวนะในอาหารให้กุ้งกิน 2-3 วันก่อนจะใช้อวนลากเอากุ้งบางส่วนไปขายเพื่อป้องกันกุ้งที่เหลือในบ่อป่วย    ซึ่งทำให้กุ้งที่จับไปขายมียาตกค้างในระดับที่สูงมาก    เพราะเพิ่งให้กินยาในขณะที่จับขาย   กุ้งเหล่านี้จึงมีปัญหาต่อการส่งออก   เมื่อห้องเย็นตรวจพบว่ามีปริมาณยาตกค้างที่สูงมากจะไม่สามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศไทย
     
    จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบดั้งเดิมให้ผลผลิตต่ำ คุณภาพไม่แน่นอน และมีปัญหาเรื่องยากตกค้างสูงมาก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ การแก้ปัญหาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบการผลิตทั้งหมด จากแบบดั้งเดิมมาเป็นแบบพัฒนา เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นและคุณภาพได้มาตรฐานสำหรับการบริโภคและการส่งออก ซึ่งจะทำให้ได้ราคาที่สูงขึ้น การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจะเป็นธุรกิจที่เสริมให้การเพาะเลี้ยงกุ้งของไทยแข็งแกร่งและมีความมั่นคงยั่งยืนต่อไป

    • Update : 11/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch