หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ที่มาของขนมไหว้พระจันทร์

    วันเพ็ญเดือน 8 ของทุกปี ตามปฏิทินจีน ถูกกำหนดให้เป็นวันไหว้พระจันทร์ และในปีนี้ก็ตรงกับวันจันทร์ที่ 12 กันยายน สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเทศกาลนี้ นั่นก็คือ "ขนมไหว้พระจันทร์" ทราบไหมว่า เจ้าขนมกลม ๆ หนา ๆ นี้ มีที่มาอย่างไร

    "วันไหว้พระจันทร์" นอกจากเป็นวันไหว้บูชาดวงจันทร์ของชาวจีนแล้ว ยังเปรียบเสมือนวันแห่งความสามัคคีกลมเกลียวของชาวจีนอีกด้วย เนื่องจากเป็นวันที่ระลึกถึง การที่ชาวจีนร่วมมือร่วมใจกัน จนสามารถปลดแอกตนเองออกจากพวกมองโกลได้

    โดยมีเรื่องเล่าว่า ช่วงที่ชาวมองโกลปกครองประเทศจีนนั้น ชาวจีนบางพวกได้ร่วมมือกันต่อต้าน และมีความคิดที่จะเรียกชุมนุมพวกเดียวกันให้ได้เยอะ ๆ โดยไม่ให้ใครจับได้ พวกเขาจึงวางอุบาย ทำของไหว้ชนิดหนึ่งขึ้นมา คือขนมเค้กที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมใหญ่ ใส่ไส้หนา ๆ แต่มีจุดประสงค์ที่แท้จริงเพื่อไว้ซุกซ่อนข้อความลับของเหล่าผู้ต่อต้าน เนื้อความบอกให้ประชาชนเข้ามาร่วมชุมนุมในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 แล้วนำไปแจกจ่าย พวกทหารมองโกลก็ไม่ทันระวัง คิดว่าเป็นประเพณีโดยปกติของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงสามารถรวบรวมพรรคพวกจนปราบทหารมองโกลลงได้ ซึ่งขนมนั้นก็คือ "ขนมไหว้พระจันทร์" ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมานั่นเอง

    "ขนมไหว้พระจันทร์" มีหลากหลายไส้ แต่ที่เป็นแบบดั้งเดิมจะมีไส้ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว แต่ต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงให้ถูกปากและมีความหลากหลายมากขึ้น จึงมีไส้ทุเรียน ไข่เค็ม ลูกเกาลัด คัสตาร์ด ฯลฯ ตามมา โดยประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น หลังจากที่นำ "ขนมไหว้พระจันทร์" ไปใช้ไหว้เสร็จแล้ว คนในบ้านก็จะนำมาแบ่งกันกิน แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี จึงถือว่าขนมชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความกลมเกลียวด้วย.


    • Update : 11/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch