หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เที่ยวทั่วไทย-มหาสารคาม
    มหาสารคาม

              ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แผ่นดินที่ราบสูงอันกว้างใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ของประเทศไทยถึง ๑ ใน ๓ รูปร่างคล้ายแอ่งกะทะขนาดใหญ่ และเรามักจะได้ยินกันแต่คำว่า อีสานเหนือ อีสานใต้ ไม่ค่อยได้ยินอีสานกลาง อีสานเหนือนั้นมี ๖ จังหวัดคือ หนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธ์ อีสานกลางมี ๘ จังหวัด ได้แก่ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อำนาจเจริญ และชัยภูมิ ส่วนอีสานใต้มี ๕ จังหวัดคือ อุบลราชธานี ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา
                พระดีในแดนอีสานนั้น เขาบอกว่ามี ๑๐๘ วัด และอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ๓ วัด วันนี้ผมจะพาไปชิมอาหารในจังหวัดมหาสารคาม เลยเล่าถึงวัดดีในอีสานของจังหวัดมหาสารคามไว้ด้วย
                มหาสารคามเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคอีสาน เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา จนได้ชื่อว่าเป็น ตักสิลาของอีสาน
                มหาสารคาม ปรากฎอยู่ในพงศาวดารว่า รัชกาลที่ ๔ แห่งรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๘ โดยเจ้าเมืองร้อยเอ็ด พระขัติยวงศา (สาร) เป็นผู้กราบบังคลทูลขอจัดตั้งที่บ้านลาดกุดยางใหญ่ ขึ้นเป็นเมืองมหาสารคามแล้ว ให้ท้าวมหาชัย (กวด) บุตรอุปฮาด (สิงห์) เมืองร้อยเอ็ด มีบรรดาศักดิ์เป็น พระเจริญราชเดชวรเชษฐขัตยพงศ์ เป็นเมืองมหาสารคามคนแรก และให้ท้าวบัวทอง บุตรอุปฮาด (ภู) เป็นอัครฮาด ตั้งที่ทำการที่หนองกระทุ่ม ด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรี ในปัจจุบัน
                ต่อมา พ.ศ.๒๔๑๒ จึงยกฐานเป็นเมืองมหาสารคาม ขึ้นเป็นเมืองเอก แยกการปกครองออกจากเมืองร้อยเอ็ด ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ
                เมืองมหาสารคาม เป็นเมืองโบราณมาตั้งแต่อดีต แต่ไม่ปรากฎหลักฐาน และตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติคือ แม่น้ำชี และมีการค้นพบเมืองโบราณหลายแห่ง
                การเดินทางไปได้ ๒ เส้นทางคือ ไปทางอีสานใต้ ผ่านบุรีรัมย์ แล้วไปผ่านอำเภอสตึก พุทไธสง พยัคฆภูมิพิสัย บรบือ มหาสารคาม เส้นที่ ๒ ไปทางสาย ๒ แยกจากสระบุรี ก่อนถึงโคราชแยกซ้ายเข้าสาย ๒ ไปยังเมืองพล บ้านไผ่ แล้วแยกขวาเข้าสาย ๒๓ ไปบรบือ มหาสารคาม หรืออีกเส้นทางหนึ่งหากเราตั้งใจจะไปที่พระธาตุนาดูน ๑ ใน ๓ ของวัดดีในอีสาน ให้ไปตามเส้นทางที่ ๒ ก่อนถึงเมืองพล จะมีป้ายให้แยกขวาไป "ประทาย"  ก็เลี้ยวขวาไปตามสาย ๒๐๒ ไปผ่านอำเภอประทาย ไปพุทไธสง ไปยังพยัคฆภูมิพิสัย แล้วแยกจากสาย ๒๐๒ ไปเข้าสาย ๒๐๔๕ (ไปร้อยเอ็ดได้) ไปได้สัก ๒๓ กม. จะแยกซ้ายอีกทีเข้าสาย ๒๓๘๑ เพื่อไปยังกู่สันติรัตน์ "ไปพระธาตุนาดูน" นมัสการพระธาตุนาดูนแล้ว ก็ไปต่อตามถนน ๒๓๘๑ จะผ่านอำเภอนาเชือก แล้วเลี้ยวขวาเข้าสาย ๒๑๙ ไปอำเภอบรบือ ไปมหาสารคาม เส้นนี้อ้อมมาไกล แต่จะเหมือนใกล้ถ้าจะตั้งใจมานมัสการพระธาตุนาดูน ที่งดงาม
                    วัดพระธาตุนาดูน  ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่ค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน และขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในตลับทองคำ เงิน และสัมฤทธิ์ สันนิษฐานว่ามีอายุในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ สมัยทวารวดี ซึ่งโบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่ขุดค้นได้ จะเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น
                    ไปกู่สันติรัตน์ เสียก่อน แยกขวาจากถนนสาย ๒๓๘๑ ไปสัก ๒ กม. เป็นกู่โบราณอายุใกล้พันปี เป็นปราสาทหินที่เป็นอโรคยาศาล ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ไปเที่ยวสร้างเอาไว้ ศิลปะแบบบายน สมัยที่สร้างนั้น มีพราหมณ์ประจำ รักษาโรคด้วยสมุนไพร
                    จากกู่ตามป้าย ไปยังบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เสียก่อน เลี้ยวขวาไปสัก ๓ กม. มีน้ำเต็มบ่อ ตลอดปีแต่ไม่มีประวัติ หรือบอกความศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ เห็นแต่น้ำเปี่ยมขอบบ่อ
                    กลับออกมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปอีก ๑ กม. จะถึงสวนรุกขชาติพุทธมณฑลอีสาน สถาบันวิจัยรุกขเวท พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน อยู่ในสถาบัน
                    วัดสุวรรณาวาส  ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๔ กม. พระพุทธรูปสำคัญที่เป็น ๑ ในพระดีของอีสานคือ พระพุทธรูปมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินทรายแดง สมัยทวารวดี มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปยืนมงคล จะบันดาลให้เกิดฝนตกตามฤดูกาล
                    วัดพุทธมงคล  ตั้งอยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย ใกล้วัดสุวรรณาวาส สร้างด้วยหินทรายแดง สมัยทวารวดี สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือ พระพุทธรูปยืนมงคล ซึ่งมีตำนานว่าเมื่อฝนในมหาสารคามแล้งมากนั้น ผู้หญิงได้ช่วยกันสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล ส่วนผู้ชายสร้างพระพุทธรูปยืนมิ่งเมือง เมื่อสร้างเสร็จแล้วฝนฟ้าในเมืองนี้ก็ตกต้องตามฤดูกาลตลอดมา เป็นพระดีในอีสานอีกองค์หนึ่ง
                    ร้านอาหารอยู่ในตัวอำเภอเมืองมหาสารคาม หากเดินทางมามหาสารคาม โดยมาจากบรบือ ตามถนนสาย ๒๓ ก่อนจะถึงโรงพยาบาล และหอนาฬิกา สังเกตไว้ทางฝั่งซ้ายคือ ร้านฮอนด้า ยามาฮ่า ร้านใหญ่โต ตรงกันข้ามคือ ร้านอาหารสติดกับร้านฮอนด้า เป็นร้านห้องแอร์ นั่งสบายมาก สุขาสากล มีชานหน้าร้านนั่งกลางคืนคงจะสบาย บริการดี รวดเร็ว
                    น้ำพริกลงเรือ ถือเป็นจานเด็ด ใส่มาในจาน ๕ ช่อง ช่องกลางใส่น้ำพริกรสหวานนิด ๆ ช่องที่ ๒ ใส่ปลาดุกฟู กับไข่เค็ม ช่องที่ ๓ ใส่ผัก ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง สีสวย กรอบ ช่อต่อไปใส่หมูหวาน และช่องที่ ๕ คือ กะหล่ำดอก และแตงกวา กินกับข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยนัก
                    กระเพาะปลาผัดแห้ง แจ่มแจ๋ว หม่านโถว ร้อน ๆ บิหม่านโถว จิ้มน้ำพะโล้ของขาหมู ไม่ต้องกลัวอ้วน
                    มะระผัดไข่ อาหารแนะนำของร้าน ไม่น่าเชื่อ อาหารทำง่าย อร่อยมาก ร้านนี้ทำได้อร่อย
                    เต้าหู้อบหม้อดิน ก็ดีอีกนั่นแหละ และยังมีที่แนะนำแต่ไม่ได้สั่งคือ เป็ดล่อน, ขาหมูทอดกรอบ เอาไว้วันหลังไปหลาย ๆ คน จะต้องชิมขาหมูทอดกรอบให้ได้ ขอหวานไม่มีงด ไอศกริม ๑ มื้อ
                    เกือบลืมบอกไป ผมพักที่โรงแรม อยู่ที่ถนนริมคลองชลประทาน ในตัวเมืองเลยทีเดียว ราคาถูกมากห้องละ ๔๐๐ บาท เป็นโรงแรมที่น่าจะดีสุดในเมืองนี้ สถานที่ดีมาก สะอาด สงบเงียบ และร้านขอฝากของเมืองมหาสารคาม ร้านห้องแอร์อย่างดี สินค้าโอท๊อป สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์พื้นเมือง มีผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ - ผ้าขิต หมอนขิต ของที่ระลึก เสื้อสำเร็จรูป ฯ ซื้อได้ที่ศูนย์ ของฝากมหาสารคาม เส้นทางเลยจากร้านจานเงินไปทางหอนาฬิกา ฝั่งซ้ายมือ

                ผมพาท่านไปยัง วนอุทยานโกสัมพี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอโกสุมพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม และไหว้พระมิ่งเมือง มาแล้ว โกสุมพิสัยอยู่ห่างจากตัวจังหวัด ๒๙ กม.  ไปตัวจังหวัดไปตามถนนสาย ๒๐๘ เส้นทางนี้จะผ่าน สวนเฉลิมพระเกียรติ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนม์พรรษา ๘๐ พรรษา ที่ กม.๓๓ เป็นสวนที่เริ่มสร้าง มีหอใหญ่ ๑ หลัง มีหนองน้ำใหญ่ อยู่ด้านหลัง แต่ต้นไม้พึ่งเริ่มปลูก คงจะอีกหลายปีกว่าต้นไม้จะใหญ่เป็นสวนสวย และบอกว่าจุดนี้คือ "สะดืออีสาน"
                กม. ๔๗ - ๔๘  ให้เลี้ยวขวาไปอีก ๒ กม. จะถึงบ้านหนองเขื่อนช้าง เป็นหมู่บ้านหัตถกรรม หมู่บ้านนี้ทอผ้าไหม และทอผ้าฝ้าย ที่มีชื่อเสียงของมหาสารคาม ชาวบ้านแทบจะทุกครัวเรือน ต่างมีกี่ทอผ้า มุ่งจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว มีทั้งเป็นผืนผ้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เสื้อผ้าฝ้าย กางเกงขาก๊วยแบบอีสาน ผ้ามัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก  "เป็นลายผ้าประจำเมือง" เลี้ยวรถเข้าไปในหมู่บ้านนี้ คุณผู้ชายเก็บกระเป๋าสตางค์ให้ดี ๆ
                จากบ้านหนองเขื่อนช้าง กลับมาตามถนน ๒๐๘ วิ่งต่อไปจนถึงสี่แยก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย ๒๑๓ เส้นทางนี้ไปกาฬสินธ์ แต่ผมไม่ได้ไปกาฬสินธ์ ผมจะไปอำเภอกันทรวิชัย (ตรงสี่แยก เลี้ยวขวาไปร้อยเอ็ด) ไปไหว้พระที่ได้ชื่อว่า "ไหว้พระดี แดนอีสาน"  ซึ่งอยู่ที่อำเภอกันทรวิชัย นี้ถึง ๒ องค์ อีกองค์คือ พระธาตุนาดูน
                แดนอีสาน นั้น หากจะแบ่งภาคออกไปแล้ว จะได้ ๓ ภาคคือ
                       อีสานภาคกลาง มี ๘ จังหวัด  ได้แก่ ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร และนครพนม
                       อีสานภาคเหนือ มี ๖ จังหวัด  ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี เลย และหนองคาย
                       อีสานใต้ มี ๕ จังหวัด  ได้แก่  นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ อุบลราชธานี
                        "ไหว้พระดี แดนอีสาน มงคลสถานร้อยแปดวัด "  อยู่ในมหาสารคาม ๓ วัด และใน ๓ วัดนี้ ก็อยู่ในท้องที่อำเภอกันทรวิชัย ถึง ๒ วัด คือ
                   วัดพุทธมงคล  มีพระพุทธรูปยืนมงคล ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม วัดอยู่ริมทางหลวงสาย ๒๑๓ ทางด้านขวามือ ห่างจากตัวจังหวัด ๑๔ กม.  เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เช่นเดียวกับ พระพุทธมิ่งเมือง ตำนานกล่าวว่า พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ สร้างในเวลาเดียวกัน สร้างเมื่ออำเภอนี้ฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล สร้างเสร็จพร้อมกันแล้ว ทำการสมโภชอย่างมโหฬาร ปรากฎว่า ตั้งแต่นั้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ แก่ท้องถิ่นเป็นอันมาก
                    พระพุทธรูปยืนองค์นี้ ประทับยืนอยู่ใต้ต้นไม้ ผมไปถึงตอนเย็นแล้ว แต่มีประชาชนมาถวายสังฆทานกันไม่ขาดสาย น่าเสียดายที่หน้าทางเข้าวัดเป็นดิน ทำให้แฉะเวลาฝนตาก กรมทางน่าจะมาช่วยได้ก็ดี จะได้เดินเข้าวัดสะดวก
                       พระพุทธมิ่งเมือง  เลยเข้าไปในตัวอำเภอ ห่างจากวัดพุทธมงคล ๒ กม.  ทางซ้ายมือ คือ วัดสุวรรณาวาส พระพุทธรูปสร้างด้วยหินทรายแดง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สมัยทวารวดี บริเวณวัดกว้างขวาง มีอุโบสถเก่าและสร้างใหม่

                        จากวัดสุวรรณาราม ซึ่งอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ ก็เลี้ยวไปตามถนน ๒๑๓ ไปอีก ๑๖ กม.  ก็จะถึงตัวเมือง และจะผ่านแก่งเลิงจาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีประมง ทำการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน อยู่ด้านหลังของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม เป็นสถานที่พักผ่อนยามเย็น และชมพระอาทิตย์ตก ของชาวเมือง
                        ถนนสาย ๒๑๓ จะไปเชื่อมกับถนนสาย ๒๐๘  แล้วเลี้ยวซ้ายตรงไปจะถึงหอนาฬิกากลางเมือง ให้เลี้ยวขวาผ่านไป ๓ สี่แยก เลี้ยวขวาเลาะคูเมือง ไปนิดเดียวโรงแรมจะอยู่ทางขวามือ โรงแรมนี้ผมมาพักทุกครั้งที่มานอน ที่มหาสารคาม นอกจากราคาจะถูกแล้ว ยังบริการดี ไปคราวนี้พบโรงแรมเกิดใหม่ ถนนสายเดียวกัน  โรงแรมอยู่ในย่านของกิน ปากทางเข้าก็มีอาหารอร่อยแล้ว
                        มหาสารคาม ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสงบ เป็นศูนย์กลางของการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ตักศิลาแห่งอีสาน เคยเป็นจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยใหญ่ที่สุดในภาคอีสานคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มหาสารคามแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๔๗๐ กม.  พื้นที่เป็นที่ราบลูกคลื่น ไม่มีภูเขา ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา
                   สถานที่ท่องเที่ยวในเขต อ.เมือง คือ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน อยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม , สถาบันวิจัยและศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย เป็นแอ่งน้ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำชี ที่ไหลผ่าน อ.เมืองมหาสารคาม
                        - หมู่บ้านปั้นหม้อ  ตำบลเขวา ไปตามสายมหาสารคาม - ร้อยเอ็ด (สาย ๒๐๘)  ประมาณ ๕ กม.  เป็นหมู่บ้านโอท๊อป เครื่องปั้นดินเผา มีป้ายบอกปากทางเลี้ยวเข้าไปประมาณ ๑.๕ กม. ปั้นหม้อกันที่ริมถนนหน้าบ้านนั่นแหละ แต่หากจะซื้อคงจะต้องไปซื้อที่ ศูนย์อนุรักษ์ศิลปะ ทุกบ้านมีอาชีพปั้นหม้อดินเผา
                        - กู่มหาธาตุ  (ปรางค์กู่บ้านเขวา) ไปตามถนนสายมหาสารคาม - ร้อยเอ็ด ๑๓ กม.  มีป้ายบอกเป็นโบราณสถานที่มีอายุก่อสร้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ทำด้วยศิลาแลง ภายในปรางค์มีเทวรูป ทำด้วยดินเผา ๒ องค์  นั่งขัดสมาธิ มือถือสังข์
                        - กู่สันตรัตน์  เป็นปราสาทหิน ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นศิลปะขอม สมัยบายัน ระหว่าง พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๗๕๐  ก่อด้วยศิลาแลง มีทับหลัง ได้รับการบูรณะเรียบร้อย สวยงามแล้ว ลักษณะเป็นอโรคยาศาล ในแผ่นดินพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ไปจากมหาสารคาม ไปทางจะไปพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน ไปทางสาย ๒๐๔๐ ถึงวาปีปทุม แล้วตัดเข้าสาย ๒๐๔๕ ไปกู่นี้แล้ว ไปพระธาตุนาดูน
                        - พระธาตุนาดูน  พุทธมณฑลแห่งอีสาน เส้นทางหากจะมามหาสารคาม โดยเลี้ยวขวาจากถนนสาย ๒ ที่ประทาย มาผ่านพุทไธสง พยัคภูมิพิสัย ไป อ.นาดูน เลี้ยวเข้ามาแล้ว ไปกู่สันตรัตน์ เสียก่อน เมื่อกลับออกมาจะไปยังพระธาตุ วิ่งเลี้ยวขวามายังตัวอำเภอ ถึงสี่แยกให้เลี้ยวซ้าย จะไปยังพระธาตุนาดูน (หากเลี้ยวขวาไป ๓ กม. จะไปยังบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์)  จากสี่แยกตรงไป ๑ กม. จะถึงสวนรุกขชาติพุทธมณฑลอีสานสถาบันวิจัยรุกขเวทพิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน อยู่ในสถาบัน ฯ ทั่วบริเวณปลูกต้นไม้ไว้ร่มรื่น เมืองนครจัมปาศรี คือ เมืองโบราณมีอายุ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ โบราณวัตถุที่สำคัญที่ขุดพบคือ  ตลับเงิน ตลับทอง และตลับสำริด ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ ผู้ที่ขุดพบเป็นราษฎร พยายามเอาไปขาย แต่มีปาฎิหารย์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ขายไม่ได้ ไม่มีใครกล้าซื้อ จนสุดท้ายต้องนำมามอบให้ นายอำเภอนาดูน ผู้ว่า ฯ จะนำไปไว้ที่จังหวัด ก็เอาไปไม่สำเร็จ ผลที่สุด รัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูน ขึ้นในเนื้อที่ ๙๐๒ ไร่ การขุดค้นโบราณวัตถุเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ และมาดังตอนปี พ.ศ.๒๕๒๒  ซึ่งขุดค้นพบเป็นอันมาก เช่น ขุดได้พระพิมพ์เป็นกระสอบ กว่าศิลปากรจะเข้ามาดำเนินการก็ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒ ราษฎรขุดเอาไปมากแล้ว แต่ผลสุดท้ายผู้ที่นำไปก็เก็บเอาไว้ไม่ได้ ขายก็ไม่ได้ ต้องเอามาคืน ชาวนาดูน ประสงค์จะสร้างพระสถูปเจดีย์องค์ใหญ่ ณ จุดที่ขุดพบนั้น แต่เมื่อจะสร้างจำเป็นต้องเลือกที่ตั้งใหม่ ขยับออกไปที่ โคกดงเค็ง  ซึ่งมีที่ราบสูงกว้างใหญ่ ห่างจากจุดที่ขุดค้นพบประมาณ ๒ กม. ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๒๑ ธ.ค.๒๕๒๘  พระธาตุนาดูน มีความสูงจากฐานถึงยอด ๕๐.๕๐ เมตร ฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละ ๓๕.๗๐ เมตร องค์พระธาตุมี ๓ ส่วน คือ
                        ส่วนฐาน มี ๓ ชั้น ส่วนองค์พระธาตุ และส่วนยอดของพระธาตุ
                        หากจะมาพระธาตุ โดยมาจากตัวจังหวัดมหาสารคาม ก็มาตามถนนสาย ๒๐๔๐ ผ่าน อ.สะแกดำ อ.วาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวา เข้าเส้นทาง ๒๐๔๕ มายัง อ.นาดูน
                        งานนมัสการพระธาตุนาดูน จัดงานในช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (วันมาฆบูชา) ของทุกปี  โดยจัดที่บริเวณพุทธมณฑลอีสานพระธาตุนาดูน มีงาน ๗ วัน ๗ คืน
                        กลับมาชิมอาหารในตัวเมืองมหาสารคาม  ออกจากโรงแรมเลี้ยวซ้ายไปนิดเดียวถึงสี่แยก ให้เลี้ยวขวาผ่านหน้าโรงพยาบาล เยื้อง ๆ กันคือ ร้านอาหารที่มาชิม ทุกครั้งที่มาผ่านมหาสารคาม ฝีมือไม่ตกราคา ไม่แพง ร้านแต่งสวย อยู่ติดถนน อาหารแนะนำ และเคยชิม คือ เป็ดล่อน วันนี้หมด
                        น้ำพริกลงเรือ ใส่มาในจานช่องมี ๕ ช่อง ช่องกลางใส่น้ำพริก รสอาหารไทยมีหวานนิด ๆ ช่องที่ ๒ ใส่ปลาดุกฟู กับไข่เค็ม ไว้แนมน้ำพริก  ช่อง ๓ ใส่ผัก ถั่วฝักยาว มะเขือม่วงสีน่ากิน สด กรอบ ผักกาดขาวปลี ช่องต่อไปใส่หมูหวาน รสอร่อย ช่องที่ ๕ กะหล่ำดอก และแตงกวา
                        ขาหมูหมั่นโถว น้ำพะโล้อร่อย ขาหมูมันน้อย หมั่นโถวขาว นุ่ม จิ้มน้ำพะโล้ ให้ชุ่ม ๆ อร่อยจนลืมกินข้าว แล้วตามด้วยลาบปลาโจก หากินยาก
                        ใครชอบอาหารรสไทย คือ ติดหวานนิด ๆ อย่าลืมสั่ง ยำก้านคะน้า เคี้ยวสนุก ยำแบบไทย ใส่มะขามเปียก เปรี้ยว อมหวาน ใส่หมูสับ ปลาหมึก กุ้ง หอมแดง อร่อยสุด ๆ

    ...................................................

     


    • Update : 9/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch