หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    กล้วยหอมทอง ปลอดสารพิษเจาะตลาดญี่ปุ่น

    กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท แพนแปซิฟิคฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำเข้ากล้วยหอมทองของประเทศไทย และให้สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด เป็นผู้ดำเนินการด้านการผลิตและส่งออก โดยส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 จำนวน 6 ตัน/สัปดาห์
       
    ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2542 ชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคน ประเทศญี่ปุ่น หรือชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคในปัจจุบัน เดินทางมาเจรจาและได้ตกลงรับซื้อกล้วยหอมทองจาก สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด โดยตรง มาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยส่ง เฉลี่ยสัปดาห์ละ 8 ตัน
       
    ล่าสุด นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงปริมาณการส่งออกกล้วยหอมทองของไทยไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ตั้งแต่ปี 2548–2550 รวมมูลค่าการส่งออกกล้วยหอมของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด 1,098.89 ตัน มูลค่า 15.15 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด ปริมาณ 1,401.83 ตัน มูลค่า 35.04 ล้านบาท รวมสหกรณ์ทั้งสองแห่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 2,500.72 ตัน มูลค่าสูงถึง 50.19 ล้านบาท ในส่วนของราคากล้วยหอมทองในการส่งออก จะขึ้นอยู่กับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ณ ที่ทำการสหกรณ์ โดยสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด จะส่งกล้วยหอมทองให้กับบริษัท แพนแปซิฟิคฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด 15 บาท/กิโลกรัม และสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด ส่งให้สหกรณ์ผู้บริโภคโตโต้ ประเทศญี่ปุ่น 25 บาท/กิโลกรัม
       
    ส่วนราคากล้วยหอมทองที่สหกรณ์รับซื้อจากสมาชิกราคา ณ สวนของสมาชิกสหกรณ์ โดยสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด รับซื้อ 10.50 บาท/กิโลกรัม สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด รับซื้อจากสมาชิก 12 บาท/กิโลกรัม ซึ่งนับได้ว่าคุณภาพกล้วยหอมทองที่สหกรณ์รับซื้อจากสมาชิก จำนวน 100 กิโลกรัม สามารถคัดแยกออกเป็น กล้วยหอมทองที่อยู่ในเกรดส่งออกร้อยละ 70-75 ส่วนกล้วยหอมทองที่ตกเกรดหรือไม่ได้มาตรฐานการส่งออก ร้อยละ 25-30 ทางสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด จะขายให้กับพ่อค้าในจังหวัดราชบุรีในราคาประมาณ 3-4 บาท ต่อกิโลกรัม สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด จะขายให้กับโรงงานแปรรูป และโรงแรมในกรุงเทพฯ ตลอดถึงห้างค้าปลีก ประมาณ 6-7 บาทต่อกิโลกรัม
       
    อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า เนื่องจากขณะนี้การดำเนินงาน ในการส่งออกกล้วยหอมทองประสบความสำเร็จ ดังนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เร่งดำเนินการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนสหกรณ์การเกษตรที่มีความพร้อมและศักยภาพให้มีการพัฒนาด้านการผลิตเพิ่มมากขึ้นเพื่อก้าวสู่เวทีโลก ทั้งด้านวิชาการ การผลิต การแปรรูป การตลาด และเงินทุน โดยใช้ประสบการณ์ของสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จแล้วมาเป็นแม่แบบ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาขบวนการสหกรณ์ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์ต่าง ๆ อันจะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและแรงงานของประเทศในอนาคต
       
    ส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก คือ ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง ถ้ามีลมแรงความเร็วประมาณ 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้เกิดความเสียหายบริเวณโคนต้นกล้วยได้ ถ้าความเร็วลมตั้งแต่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้ต้นกล้วยหักล้มลงทันที ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้ในกรณีฝนทิ้งช่วง หรือกรณีฝนตกมากเกินไป ต้องมีทางระบายน้ำได้ด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตไม่ควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และไม่ควรสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ใช้พันธุ์พื้นเมืองในการเพาะปลูก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่สูง มีรสชาติอร่อย หอมหวาน และผลโต
       
    โดยสมาชิกได้ใช้หน่อในการขยายพันธุ์ ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน หรือซื้อขายหน่อพันธุ์ในอัตราหน่อละ 3-4 บาท ปลูกแบบไถเป็นร่อง โดยการใช้รถไถหรือแรงงานคน ทำเป็นร่องกว้างประมาณ 50-100 เซนติเมตร มีความลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างท้องร่องของแต่ละแถว 2 เมตร การปลูกจะนำหน่อกล้วยปลูกในท้องร่อง ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 22 เมตร.


    • Update : 9/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch