หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    คำสอนนอกตำรา แต่อยู่ในขอบเขตอาจไม่ถูกคัมภีร์แต่ถูกสัจธรรม

    คำสอนนอกตำรา แต่อยู่ในขอบเขตอาจไม่ถูกคัมภีร์แต่ถูกสัจธรรม

     ธรรมะจากหลวงพ่อชา โดย สิทธิ สุทธิอัมพร

               มนุษย์เราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด พูดภาษาอะไร จะอยู่ในโลกตะวันตก หรือโลกตะวันออก ทุกคนล้วนเหมือนกันและเท่าเทียมกันในฐานะของความเป็น “มนุษย์” ที่ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ มีร่างกายและจิตใจเหมือนกัน

                แต่ถ้าในมุมของ "ลักษณะเฉพาะ” มนุษย์เราย่อมมีความแตกต่างกันในด้านภูมิหลังทางวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงความแตกต่างกันในด้านความคิด ปรัชญา และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งถือเป็นรากฐานแห่งวิถีชีวิตของผู้คน

                คำถามมีอยู่ว่า เพราะเหตุใด ชาวตะวันตกที่มีวิถีความเชื่อในเรื่องอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า หรือเชื่อในลักษณะของการใช้ศรัทธานำหน้าเหนือปัญญา และเหตุผล ซึ่งต่างจากวิถีพุทธ คือ การใช้ปัญญา และเหตุผลพิจารณาไตร่ตรองดูให้ดีเสียก่อนที่จะเชื่อถือในเรื่องอะไร ต่างปฏิเสธวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง และหันมาศึกษาแนวทางวิถีพุทธ

                คำตอบของคำถามนี้ ในเบื้องต้นคงต้องยกประโยชน์ให้แก่ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ผู้มีความรู้ทางโลกแค่ชั้น ป.๑ อีกทั้งตลอดชีวิตของท่านไม่เคยสัมผัส หรือรู้จักกับสูตรเคมีชีวภาพอะไรเลย แต่ท่านได้ใช้ปัญญา และการสอนแบบแยบยลในการน้อมนำผู้คน
     
                หลวงพ่อชาเคยกล่าวไว้ว่า “จิตของชาวเอเชียและชาวตะวันตก โดยพื้นฐานแล้วไม่แตกต่างกัน ดูจากภายนอก ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้อาจดูต่างกัน แต่จิตมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติ ซึ่งเหมือนกันหมด ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ความโลภและความเกลียดก็มีเหมือนกัน ทั้งในจิตของชาวตะวันออก หรือชาวตะวันตก ความทุกข์และความดับแห่งทุกข์ก็เหมือนๆ กันในทุกๆ คน”

                ก่อนที่จะตกผลึกคำพูดนี้ออกมาจากท่าน ย้อนหลังไปในปี ๒๔๙๐ กับคำกล่าวของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ว่า “การประพฤติปฏิบัตินั้น ถ้าถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง”

                ประโยคข้างต้นนี้ เพียงประโยคเดียว ทำให้หลวงพ่อชาได้คลายความสงสัยในเรื่องของนิกายทั้งสอง คือ ธรรมยุต และ มหานิกาย จึงได้หันมามุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสไว้ว่า

                “ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจะไม่เป็นบัณฑิตสกปรก"
     
                ดังนั้น การอบรมสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา จึงอยู่ในหลักการที่ว่า สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนที่พูด พูดเหมือนที่ทำ

                พระอาจารย์ชยสาโร ปัจจุบันจำพรรษา ณ สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้เคยเล่าความประทับใจของท่านไว้ว่า

                “หลวงพ่อชาพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ครั้งแรกที่ฟังท่านเทศน์ก็ฟังไม่รู้เรื่อง แต่นั่นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นปัญหา เพราะเพียงแค่อยู่ใกล้ชิดท่าน ก็เชื่อมั่นว่า สิ่งที่ทำมีความหมาย และการปฏิบัติมีผลจริง ซึ่งตรงนี้สำคัญมากกว่า คือ คนที่มีความรู้มาก แต่ขาดศรัทธาก็ไม่ค่อยไปไหน คือ สิ่งที่ทำให้เราอดทน ทำให้เราสู้ได้ คือความเชื่อในการกระทำ เพราะมีครูบาอาจารย์ที่ดีเป็นตัวอย่าง ฉะนั้น เรียกได้ว่า สิ่งที่เป็นความสุดยอดก็คือ หลวงพ่อชา”

                พระอาจารย์ชยสาโร มิได้เป็นชาวตะวันตกคนแรก หรือเป็นฝรั่งคนเดียวที่มีความเห็นว่า หลวงพ่อชา คือครูบาอาจารย์ที่ดีที่สุด เพราะก่อนหน้าที่ท่านจะมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชาได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเป็นพุทธะลงไปในจิตใจของชาวไทย และชาวต่างประเทศมานานแล้ว

                ผลสืบเนื่องจากการหว่านเมล็ดพันธุ์ของท่าน ได้ก่อให้เกิดทายาทแห่งพุทธะขึ้นมากมาย ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ เช่น พระราชสุเมธาจารย์ (พระอาจารย์สุเมโธ-ชาวอเมริกัน) เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ, พระภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์เขมธัมโม-ชาวอังกฤษ) เจ้าอาวาสวัดป่าสันติธรรม ประเทศอังกฤษ ฯลฯ

                “คำสอนของผมนอกตำรา แต่อยู่ในขอบเขต อาจไม่ถูกคัมภีร์แต่มันถูกสัจธรรม” เป็นคำพูดประจำของหลวงพ่อชา ที่มักจะบอกกับลูกศิษย์

                ทุกวันนี้ คำพูดที่ว่า “นอกตำราแต่อยู่ในขอบเขต ไม่ถูกต้องตามคัมภีร์แต่ถูกสัจธรรม” ซึ่งหลวงพ่อชาได้แสดงและปฏิบัติเพื่อให้ลูกศิษย์เห็นเป็นตัวอย่างนั้น ทุกการกระทำและทุกถ้อยคำล้วนลึกล้ำกินใจ ชี้ตรงไปที่การดับทุกข์

                แม้แต่ชาวตะวันตกที่เคยมองพระพุทธศาสนาเป็นเพียงปรัชญา หรือลัทธิทางพิธีกรรมรูปแบบหนึ่ง เมื่อเขาเหล่านั้นได้นำตัวเองเข้ามาศึกษาและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ทำให้บางคนเกิดสติปัญญา มองเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นหลักการและแนวทางที่ดี ตลอดจนเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างแท้จริง


    • Update : 8/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch