หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไหม-2
    วัสดุและอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่จำเป็นสำหรับเลี้ยงไหมจากไข่ไหม 1 แผ่น มีดังนี้
    • อุปกรณ์วัดอุณหภูมิความชื้น 1 ชุด
    • มีดและเขียง( หรือเครื่องหั่นใบหม่อน ) 1 ชุด
    • เครื่องฉีดฟอร์มาลีน 1 เครื่อง
    • กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 1 อัน
    • เครื่องลอกปุยไหม 1 ชุด
    • เครื่องชั่ง (ขนาดชั่งน้ำหนักสูงสุด 15 กิโลกรัม) 1 เครื่อง
    • ตะแกรงร่อนแป้ง (ชนิดที่มีตาถี่) 1 อัน
    • ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยอ่อน (ขนาดช่องตาข่าย1 x 1 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.10 ผืน
    • ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยแก่ (ขนาดช่องตาข่าย 3 x 3 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.30 ผืน
    • จ่อแบบลูกคลื่น 50 อัน
    • จ่อกระด้ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตร 20 อัน
    • ตะกร้าเก็บใบหม่อน 2 ใบ
    • เข่งใส่ใบหม่อน 8 ใบ
    • ตะกร้าให้อาหาร 4 ใบ
    • ขนนก 1 อัน
    • รองเท้าแตะ 1-2 คู่
    • ผ้าคลุมหม่อน 5 ผืน
    • ตะเกียบไม้ไผ่ 2 คู่
    • ปูนขาวชนิดผงละเอียด 2 - 3 กิโลกรัมหรือแกลบเผา 100 ลิตร
    • สารเคมีป้องกันโรคไหมชนิดผง 1 กิโลกรัม
    • กระดาษรองกระด้ง (ขนาด 80 ซม. x 100 ซม.) 40 แผ่น
    • กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า 5 กก.
    • ผงซักฟอก 1 กิโลกรัม
    • สบู่ล้างมือ 1 ก้อน
    • สารฟอร์มาลีน 3 % (ฟอร์มาลีน 40 % จำนวน 1 ส่วน ผสมน้ำ 13 ส่วน หรือน้ำคลอรีน (คลอรีน 60% 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร)
    • ใช้ฉีดพ่นอัตรา 1 ลิตร / ตารางเมตร
    • ผงซักฟอก 1-2 กิโลกรัม
    • สบู่ล้างมือ 1 ก้อน

    พันธุ์ไหม

    พันธุ์ไหมไทย

    1) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยศรีสะเกษ 1

    ลักษณะดีเด่น

    • เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง
    • อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน
    • ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 10 -12 กิโลกรัม
    • สาวไหมง่าย เส้นไหมสีเหลืองเข้ม

    2) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยสกลนคร

    ลักษณะดีเด่น

    • ให้ผลผลิตต่อแผ่นไข่ไหม 15 -20 กิโลกรัม
    • พ่อแม่พันธุ์แยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกในการผลิตไข่ไหม
    พันธุ์ไหมไทยลูกผสม

    1) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60-35 (ดอกบัว)

    ลักษณะดีเด่น

    • เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง
    • อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน
    • ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 -16 กิโลกรัม
    • เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 63 %

    2) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร

    ลักษณะดีเด่น

    • มีความยาวเส้นใยยาวและสาวง่าย
    • มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี
    • ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 21.4 กิโลกรัม
    • เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 71%

    3) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุดรธานี

    ลักษณะดีเด่น

    • มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี
    • มีความต้านทานต่อโรคแกรสเซอรี่ (โรคเต้อ)
    • ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 – 16 กิโลกรัม
    • เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 66%

    4) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร 2

    ลักษณะดีเด่น

    • เป็นพันธุ์ไหมไทยลูกผสมที่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแกรสเซอรี่
    • มีเส้นใยยาวและสาวง่าย
    • ให้ผลผลิตต่อแผ่น / กล่อง (1 แผ่น = 2000 ตัว) 25 -30 กิโลกรัม


    การจองและรับไข่ไหม

             1) การสั่งจองไข่ไหม ควรทำแผนการเลี้ยงไหมตลอดปีกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยแจ้งชื่อที่อยู่ วัน เดือน ปี ที่เลี้ยงแต่ละรุ่นและจำนวนไข่ไหม ส่งให้ทราบล่วงหน้าต้นปี

             2) การยืนยันความต้องการไข่ไหมทุกรุ่น ควรแจ้งก่อนการเลี้ยงไหมอย่างน้อย 20 วัน

             3) การรับไข่ไหม ควรจะตรงเวลาและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยเคร่งครัด

             4) การขนส่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้าหรือเย็น

             5) ปฏิบัติตามระเบียบสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯในการจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์

    วิธีการเลี้ยงไหม

             การเตรียมการเลี้ยงไหม

             1) เตรียมสวนหม่อนเลี้ยงไหมในระดับครัวเรือนซึ่งจะต้องใช้ใบหม่อนในการเลี้ยงจนถึงไหมทำรังประมาณ 300 – 400 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)

             2) ทำความสะอาดโรงเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ โดยการล้างทำความสะอาด หรือนำไปผึ่งแดดแล้วนำไปฉีดอบฟอร์มาลีน 3 %ในโรงเลี้ยงอัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร โดยอบทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน จึงเปิดโรงเลี้ยงให้กลิ่นฟอร์มาลีนระเหยอย่างน้อย 1 วัน จึงจะเข้าเลี้ยงไหมได้ (ส่วนผสมฟอร์มาลีน 3 % = ฟอร์มาลีน 40% 1 ส่วน ต่อน้ำ 13 ส่วน)

             3) เตรียมสารเคมีโรยตัวไหม เพื่อใช้โรยบนตัวไหมตอนเลี้ยงแรกฟัก และไหมตื่นทุกวัยใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง) หรือคลอรีนผง 3.5 % (คลอรีน 60% จำนวน 1 ส่วนผสมกับปูนขาว 17 ส่วน)

             4) เตรียมแกลบเผาและ/หรือ ปูนขาวโรยบนตัวไหมในระยะหนอนไหม เพื่อลดความชื้น

             5) เตรียมภาชนะใส่เศษใบหม่อนและมูลไหม

    การเลี้ยงไหม

     วิธีการเลี้ยงไหมวัยอ่อน(วัย 1 – 3)

             - ให้ใบหม่อนหั่นประมาณ 80 กรัม โรยให้สม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้ใบหม่อนเลี้ยงไหมอีก 2 ครั้งในวันแรกนี้

             - เพื่อป้องกันใบหม่อนเหี่ยวเร็วและควบคุมความชื้นให้เหมาะสมกับหนอนไหมวัยอ่อนควรคลุมด้วยใบตองหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือแผ่นพลาสติกที่สะอาด

             การให้อาหาร ไหมจะเจริญเติบโตได้ดีต้องกินใบหม่อนสด มีคุณภาพดี ปริมาณเพียงพอ ตามเวลาที่กำหนดโดยเลี้ยงวันละ 3 มื้อ กลางวันให้ 2 เท่าของมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นให้ 4 เท่าของมื้อเช้า เนื่องจากระยะเวลากินยาวกว่า ใช้ปริมาณใบหม่อนประมาณ 22 – 25 กิโลกรัม/แผ่น(กล่อง) สำหรับการเลี้ยงไหมแบบสหกรณ์ จะใช้ใบหม่อนประมาณ 8 – 9 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)


     วิธีเลี้ยงไหมวัยแก่ (วัย 4 – 5)

             1. ระยะการเลี้ยงแต่ละวัย

    • วัยที่ 4 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 วัน นอน 11/2 วัน
    • วัยที่ 5 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 – 7 วัน ไหมจะสุกทำรัง

     การเก็บและการให้ใบหม่อน

             การเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมวัยอ่อน ควรเก็บใบหม่อนให้เหมาะสมกับวัยดังนี้

    • วัยที่ 1 เก็บใบใต้ยอดลงมาใบที่ 1 – 3 หรือเด็ดยอด
    • วัยที่ 2 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 4–6 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่ 1 – 6
    • วัยที่ 3 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 7–10 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่1–10 หรือตัดใบกิ่งสีเขียว

    การให้ใบหม่อน

    • วัยที่ 1 ให้หม่อนหั่นมีขนาดกว้าง 0.5 – 1.0 ซม.ความยาว 3 – 4 เท่าของความกว้าง
    • วัยที่ 2 ให้หม่อนหั่นกว้าง 1.50 – 2 ซม.
    • วัยที่ 3 ให้หม่อนหั่นกว้าง 2.5 – 3 ซม.


    การเลี้ยงไหมแบบอุตสาหกรรม

     แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหม

    • สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม ควรเป็นสถานที่ไม่มีฝนตกชุกตลอดปี มีสภาพอุณหภูมิอยู่ในช่วง 25 – 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 90 %
    • โรงเลี้ยงไหมต้องห่างไกลจากแหล่งการใช้สารเคมีการเกษตร และแหล่งอุตสาหกรรม

     สภาพโรงเลี้ยง

    • สร้างในแนวตะวันออกและตะวันตก
    • สะดวกต่อการทำความสะอาด และสามารถที่จะฉีดอบสารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรค
    • มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
    • สามารถป้องกันศัตรูหนอนไหมได้ เช่น แมลงวันลาย จิ้งจก ตุ๊กแก หนู และมด
    • ควรปลูกต้นไม้ยืนต้นรอบ ๆ โรงเลี้ยง เพื่อลดความร้อนจากแสงแดด

    ขนาดโรงเลี้ยง

             ขึ้นอยู่กับจำนวนไหมที่ต้องการเลี้ยง เช่น

    • โรงเลี้ยงไหมขนาด 6 x 8 ตารางเมตร เลี้ยงไหมได้ 4 กล่อง/แผ่น (1 กล่อง = 20,000 ตัว)
    • โรงเลี้ยงไหมขนาด 8 x 12 ตารางเมตร เลี้ยงไหมได้ 9 กล่อง/แผ่น (1 กล่อง = 20,000 ตัว)

    ชั้นเลี้ยงไหม

             ขนาดของชั้นเลี้ยงไหมขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเลี้ยงไหม และความสะดวกในการปฏิบัติงาน ชั้นเลี้ยงแต่ละชั้นควรสูงห่างกัน 60 – 70 เซนติเมตร เช่น

    • โรงเลี้ยงไหมขนาด 6x8 ตารางเมตร ใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาด 1.5 x 6 ตารางเมตร (3 ชั้นย่อย 2 แถว)
    • โรงเลี้ยงไหมขนาด 8 x12 ตารางเมตร ใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาด 2.0 x 9.0 ตารางเมตร (3 ชั้นย่อย 2 แถว)

    ปัจจัยสำคัญในการสร้างโรงเลี้ยงไหม

    • โรงเลี้ยงไหมควรอยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยประมาณ 10 – 20 เมตร เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด และการฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรค
    • หลังคาควรเลือกใช้วัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนและน้ำได้ดี พื้นห้องควรใช้คอนกรีต ผนังห้องก่อด้วยคอนกรีตสูงจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนที่เหลือบุด้วยมุ้งลวด หรือมุ้งไนล่อนตีเป็นผนังถึงระดับเพดานห้อง ปิดทับด้วยผ้าหรือผ้าพลาสติกที่สามารถม้วนเก็บได้ เมื่อต้องการให้มีการระบายอากาศและปิดในเวลาฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรคหรือเพื่อป้องกันแสง
    • ควรมีห้องเก็บใบหม่อนสำหรับการเลี้ยงไหมได้ 2 เวลา
    • มีห้องมืดขนาด 1.0 x 1.5 เมตร สำหรับดักแมลงวันลาย
    • มีพื้นที่ว่างประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์

    วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงไหม

             วัสดุและอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่จำเป็นสำหรับเลี้ยงไหมจากไข่ไหม พันธุ์ลูกผสมรังสีขาว

             1 กล่อง/แผ่น (ประมาณ 20,000 ฟอง) มีดังนี้

    • อุปกรณ์วัดอุณหภูมิความชื้น 1 ชุด
    • มีดและเขียง (หรือเครื่องหั่นใบหม่อน) 1 ชุด
    • เครื่องฉีดฟอร์มาลีน 1 เครื่อง
    • กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 1 อัน
    • เครื่องลอกปุยไหม 1 ชุด
    • เครื่องชั่ง ขนาด 50 กิโลกรัม 1 เครื่อง
    • กระบะเลี้ยงไหมวัยอ่อน ขนาด 90 x 100 x 12 ซม. 4กล่อง หรือกระดาษพาราฟิน 4 ตารางเมตร
    • ตะแกรงร่อนแป้ง (ชนิดตาถี่) 1 อัน
    • ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยอ่อน 8 ผืน (ขนาดช่องตาข่าย 1 x 1 ซม.2) ขนาด 100 x 80 ซม.
    • จ่อหมุน 15 ชุด
    • หรือจ่อลวด /จ่อพลาสติก 60 ชุด
    • ถังน้ำขนาด 200 ลิตร 1 ใบ
    • รองเท้าแตะ 1-2 คู่
    • เข่งหรือตะกร้าเก็บใบหม่อน 2 ใบ
    • ตะกร้าให้อาหาร 4 ใบ
    • ผ้าคลุมหม่อน (1x1.5 เมตร) 10 ผืน
    • ขนไก่/ขนนก 1-2 อัน
    • ตะเกียบไม้ไผ่ 2 คู่
    • ปูนขาวชนิดผงละเอียด 2 - 3 กิโลกรัม หรือแกลบเผา 100 ลิตร
    • สารเคมีป้องกันโรคไหมชนิดผง (เพบโซล) 1 กิโลกรัม
    • สารฟอร์มาลีน 3% (ฟอร์มาลีน 40% จำนวน 1 ส่วนผสมน้ำ 13 ส่วน) ใช้ฉีดพ่น อัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร
    • มุ้งไนล่อน (มุ้งเขียว) 16 ตารางเมตร
    • กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า 5 กิโลกรัม
    • ผงซักฟอก 1-2 กิโลกรัม
    • สบู่ล้างมือ 1 ก้อน
    • เชือกเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซ.ม. ยาว 2 เมตร 6 เส้น หรือตาข่ายถ่ายมูลสำหรับถ่ายมูลไหมวัยแก่ (ขนาดช่องตาข่าย 3 x 3 ซม2) ขนาด 80 ซม. x 100 ซม. 40 ผืน


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


    • Update : 28/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch