หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไหม-1
    ไหมคืออะไร
    ภาพ:Silk_q3.jpg


             ไหม คือ เส้นใยที่พ่นออกมาจากปากของตัวหนอนไหมที่โตเต็มวัย เพื่อมาห่อหุ้มตัว ป้องกันศัตรูทางธรรมชาติในขณะที่หนอนไหมลอกคราบจากหนอนไหมเป็นตัวดักแด้ และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หนอนไหมเป็นแมลงชนิดหนึ่งซึ่งมีการเจริญเติบโตจากไข่ไหม (ขนาดเท่าเมล็ดงา) และเป็นตัวหนอนไหม ในขณะที่เป็นตัวหนอนไหมจะเจริญเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 3-4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 20-22 วัน และจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10,000 เท่า โดยการกินอาหารเพียงอย่างเดียว คือใบหม่อน

             ไหมเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุดกินอาหาร แล้วพ่นเส้นใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง ที่เราเรียกว่ารังไหม ซึ่งมีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดถั่ว และหากเรานำรังไหมมาต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 80◦C ขึ้นไปจะสามารถทำให้กาวไหม (sericin) อ่อนตัว และดึงออกมาเป็นเส้นยาวได้ ความยาวของเส้นใยจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแลในช่วงที่เป็นหนอนไหม

     ประวัติไหมไทย

    ภาพ:Silk_q4.jpg


             ประเทศไทยสันนิษฐานว่ามีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมานานกว่า 3,000 ปีมาแล้ว โดยการพบหลักฐานเศษผ้าที่ติดอยู่กับกำไรสำริดของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงและบ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยไหมไทยพันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงมาแต่โบราณเป็นไหมที่ไม่มีการฟักตัวตามธรรมชาติ สามารถฟักออกเป็นตัวได้ปีละหลายครั้ง รังมีรูปร่างเรียว ขนาดเล็ก สีเหลือง แตกต่างจากไหมของจีนที่เป็นไหมที่มีการฟักออกปีละ 2 ครั้ง รังสีขาว ยกเว้นทางตอนใต้ของจีนที่พบไหมฟักออกได้ปีละหลายครั้งเช่นเดียวกับไทย ลาว เวียดนามและเขมร

     การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในประเทศไทย

    ภาพ:Silk_q5.jpg


             การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในประเทศไทย มีแหล่งสำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเดิมมีการเลี้ยงไหมเป็นอาชีพรองจากการทำนาและเลี้ยงไหมเพื่อผลิตเส้นไหมเพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มไว้ใช้เองเท่านั้น เส้นไหมที่ผลิตได้เป็นเส้นไหมหยาบและสั้น ใช้เป็นเส้นไหมพุ่งได้เพียงอย่างเดียว ทำให้ต้องสั่งซื้อเส้นไหมยืนจากต่างประเทศ

             ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้เริ่มการพัฒนาส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสาวไหมและทอผ้าไหมขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2433 ได้มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านไหมจากประเทศญี่ปุ่นมาปรับปรุงคุณภาพไหมที่มีอยู่เดิมให้ดีพอที่จะเป็นสินค้าส่งออกได้และเพิ่มพูนฝีมือให้กับชาวไทย โดยเริ่มที่พระราชวังดุสิต ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในประเทศไทย


     สายพันธุ์ไหม

             สายพันธุ์ไหมในโลกนี้มีการแบ่งตามมาตรฐานของนักวิทยาศาสตร์ได้หลายอย่าง เช่น แบ่งตามจำนวนครั้งในการลอกคราบของหนอนไหม แบ่งตามสีของรังไหม แบ่งตามรูปร่างของรังไหม แบ่งตามถิ่นกำเนิด และแบ่งตามจำนวนครั้งในการฟักของไข่ไหมใน 1 ปี

             การแบ่งตามจำนวนครั้งในการฟักไข่ใน 1 ปี อาจจะ 1 ครั้งหรือหลายครั้งซึ่งลักษณะของสายพันธุ์ที่มีการฟักของไข่ไหมที่ต่างกัน ก็บ่งบอกถึงลักษณะทางพันธุกรรที่แตกต่างกันไปด้วย รวมทั้งผลจากสภาพแวดล้อมก็จะแตกต่างกันไปด้วยตามสายพันธุ์ ในปัจจุบันสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการฟักของไข่ไหมสายพันธุ์ที่ฟักปีละ 1 ครั้ง เราสามารถฟักได้หลายครั้งขึ้นตามความต้องการ แต่ประเด็นของการแบ่งในลักษณะนี้ คือพันธุกรรมที่อยู่ในแต่ละสายพันธุ์ที่ไม่เหมือนกันคือ

     Monovoltine (ฟักปีละ 1 ครั้ง)

             เป็นพันธุ์ที่อยู่ในแถบอากาศหนาว เช่น ประเทศในแถบยุโรป หนอนไหมจะมีอายุยาวกว่าสายพันธุ์อื่น หนอนไหมตัวใหญ่เส้นไหมมีคุณภาพดี แต่หนอนไหมไม่แข็งแรง โดยเฉพาะในสภาพอากาศร้อนชื้นความยาวเส้นไหมต่อรัง ประมาณ 1,200-1,500 เมตร

    Bivoltine (ฟักปีละ 2 ครั้ง)

             เป็นพันธุ์ที่อยู่ในแถบอากาศอบอุ่น เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี หนอนไหมมีอายุสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ Monovoltine หนอนไหมแข็งแรง แต่เส้นไหมมีคุณภาพด้อยกว่า Monovoltine ดังนั้นจึงนิยมนำมาผสมกับ Monovoltine เพื่อให้ได้พันธุ์ไหมที่มีคุณภาพเส้นที่ดีขึ้น รังไหมมีสีขาว เหมาะสำหรับเลี้ยงในประเทศเขตอบอุ่น และนิยมเลี้ยงในฤดูร้อนของประเทศในเขตอบอุ่น ความยาวเส้นไหมต่อรังประมาณ 1,000-1,200 เมตร

    Ployvoltine(ฟักปีละหลายครั้ง)

             เป็นพันธุ์ไหมที่อยู่ในแถบอากาศร้อนชื้นเช่น ไทย ลาว หนอนไหมมีอายุสั้นกว่าทั้ง 2 สายพันธุ์ข้างต้น และมีความแข็งแรงมาก รังมีขนาดเล็ก รังไหมมีทั้งสีขาวและสีเหลือง สามารถสาวเป็นเส้นไหมได้ปริมาณน้อย แต่เส้นไหมมีความมันเงาสูง แต่จะมีปุ่มปมมาก และเป็นสายพันธุ์ที่ไม่สามารถ Hibernate (จำศีล) ได้เหมือน 2 สายพันธุ์ข้างต้น ดังนั้นไข่ไหมจึงไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ ต้อใช้ไข่ไหมต่อเนื่องทั้งปี ความยาวเส้นไหมต่อรังประมาณ 200-400 เมตร

             ดังนั้นสายพันธุ์ไหมที่ใช้ในอุตสาหกรรมปัจจุบัน จึงมีการนำสายพันธุ์ต่างๆ มาผสมกัน เพื่อให้ได้ลูกผสมที่ตรงตามความต้องการ และลูกผสมที่ได้รับความนิยมในการพัฒนาสายพันธุ์คือ ลูกผสมของพันธุ์จีนกับพันธุ์ญี่ปุ่น ซึ่งอาจจะเป็น Bivoltine อย่างเดียวกัน หรือมีการผสมโดยเลือดของ Monovoltine เข้าไปบ้างเพื่อให้รังไหมมีขนาดใหญ่ขึ้น เส้นไหมมีความยาวมากขึ้น

             และคู่ที่ผสมที่น่าจับตามองอีกคู่หนึ่งก็คือ การนำสายพันธุ์ Polyvoltine ไปผสมกับสายพันธุ์ Bivoltine จนสามารถได้ลูกผสมที่มีความยาวเส้นไหมต่อรัง ที่ 900-1,200 เมตร รังมีขนาดใหญ่ หนอนไหมแข็งแรง สามารถเลี้ยงได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น รังไหมที่ได้อาจมีทั้งสีขาวหรือสีเหลือง แล้วแต่ความต้องการในการพัฒนา และที่สำคัญ เส้นไหมที่ได้จะมีความมันเงาสูง เส้นเรียบสม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับเส้นไหมจากพันธุ์ลูกผสมอื่นๆ จึงน่าจะเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมไทย ที่จะหันมาพัฒนาสายพันธุ์และส่งเสริมการใช้เส้นไหม ที่เป็นทั้งพันธุ์ไทยพื้นเมือง ที่มีเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไหมไทย และการส่งเสริมการใช้เส้นไหมที่มีการพัฒนาจากพันธุ์ไทยที่เป็นลูกผสม ที่จะสามารถนำมาทำเป็นสินค้าได้หลากหลาย สามารถใช้เป็นเส้นยืนได้ ทำให้สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไหมไทยได้อีกด้วย

     การเลี้ยงไหมในประเทศไทย

             การเลี้ยงไหมปัจจุบันมี 2 แบบคือ การเลี้ยงไหมแบบครัวเรือน และการเลี้ยงไหมแบบอุตสาหกรรม

     การเลี้ยงไหมแบบครัวเรือน

    แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหม

             สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไหม อุณหภูมิอยู่ในช่วง 20 – 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 – 80 เปอร์เซ็นต์

             โรงเลี้ยงไหมต้องห่างไกลจากแหล่งการใช้สารเคมีทางการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม

     สภาพโรงเลี้ยง

             1) สร้างในแนวตะวันออกและตะวันตก

             2) สะดวกต่อการทำความสะอาด และสามารถที่จะฉีดอบสารเคมีเพื่อ ฆ่าเชื้อโรค

             3) มีการถ่ายเทอากาศได้ดี

             4) สามารถป้องกันศัตรูหนอนไหมได้ เช่นแมลงวันลาย จิ้งจก ตุ๊กแก หนู และมด

             5) ควรปลูกต้นไม้ยืนต้นรอบ ๆ โรงเลี้ยงเพื่อลดความร้อนจากแสงแดด

             ขนาดโรงเลี้ยง สำหรับเลี้ยงไหม 2 แผ่น :ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม ใช้ขนาด 4 x 7 เมตร ชั้นเลี้ยง ขนาด 1.2 x 5 เมตร จำนวน 3 ชั้น (2 ชุด)

    ปัจจัยสำคัญในการสร้างโรงเลี้ยงไหม

             1) โรงเลี้ยงไหมควรอยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยประมาณ 10 – 20 เมตร เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาดและการฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรค

             2) หลังคาควรเลือกวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อน และน้ำได้ดี พื้นห้องควรใช้คอนกรีต ผนังโรงเลี้ยงก่อด้วยคอนกรีตสูงจากพื้นประมาณ 50 ซม. ส่วนที่เหลือใช้ตาข่ายไนล่อนตีเป็นผนังถึงระดับเพดานห้อง

             3) ควรมีห้องมืดขนาด 1.5 x 1.0 เมตร สำหรับดักแมลงวันลาย

             4) ควรมีห้องเก็บใบหม่อนที่สามารถเลี้ยงไหมได้ 2 เวลา


    วัสดุและอุปกรณ์

    ภาพ:Silk_q1.jpg

    • Update : 28/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch