หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    มรดกธรรม
    มรดกธรรม

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด


    พระพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ว่า เมื่อสุภัททะปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ก่อนวันที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านได้หลีกออกจากคณะไปอยู่เพียงผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ไม่นานนักก็รู้แจ้งว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำๆ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่เหล่ากุลบุตรผู้มีความต้องการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะพึงได้ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

    ท่านสุภัททะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นสาวกผู้เป็นพยานองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า

    ตอนนั้นพระพุทธองค์ตรัสเรียกพระอานนท์มารับสั่งว่า อานนท์ เธอพึงเห็นอย่างนี้ว่าธรรมและวินัยอันใดที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา

    พระพุทธพจน์นี้เป็นมรดกแห่งธรรมอันสำคัญยิ่ง ที่สาวกทั้งหลายได้ถือปฏิบัติ บริหารพระศาสนามาจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นหลักการ วิธีการ และปฏิบัติการที่บริสุทธิ์ สะอาดหมดจด มั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย เป็นอมตะตลอดไป เป็นหลักชัยของพระพุทธศาสนา เป็นพระบรมศาสดาตลอดนิรันดร์

    พระธรรมพระวินัยจึงเป็นคำสั่งสอน ของผู้มีความเคารพนับถือที่ปฏิบัติตามแล้ว ทำให้งดงามทางกายวาจาด้วยพระวินัย งามทางใจด้วยพระธรรม

    พระวินัยเป็นคำสั่ง พระธรรมเป็นคำสอน รวมพระธรรมวินัย เรียกว่า ปาพจน์ คือ หลักธรรมคำสอนที่เป็นประธาน ส่งข้อปฏิบัติเป็น 3 ชั้น คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

    การทำกายวาจา ให้สะอาดเรียบร้อยอยู่ในกฎกติกา ระเบียบ แบบแผน ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีงาม เรียกว่า ศีล

    การทำจิตใจให้ตั้งมั่นแน่วแน่ มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เรียกว่า สมาธิ

    ความรอบรู้ในกองสังขาร ตามความเป็นจริงว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามหลักไตรลักษณ์ เรียกว่า ปัญญา

    ศีล สมาธิ และปัญญา จึงเป็นไตรสิกขา คือ ข้อที่ควรศึกษา ให้รู้ ให้เข้าใจ ให้เข้าถึงแล้วนำมาพัฒนาให้ใจสะอาด สงบ และสว่าง รวมเรียกว่าพระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า



    พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)

    เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / www.watdevaraj.com



    • Update : 28/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch