หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่นิยมใช้ทางการค้าและเลี้ยงเพื่อกำจัดขย
     
    อายซิเนีย ฟูทิดา ( Eisenia foetida )
    ชื่อสามัญ The Tiger worm , Manure Worm , Compost Worm
     
                ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ อายซิเนีย ฟูทิดา เป็นไส้เดือนสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด เห็นปล้องแต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและมีกลิ่นตัวที่รุนแรงซึ่งมีลักษณะทั่วไป ดังนี้
    ·        ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร
    ·        ลำตัวมีสีแดง ร่องระหว่างปล้องและบริเวณปลายมีสีเหลือง
    ·        มีอายุยืนยาว 4 - 5 ปี แต่มักอยู่ได้ 1- 2 ปี เมื่อเลี้ยงภายในบ่อ
    ·        สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
    ·        สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 150 – 198 ถุง/ตัว/ปี
    ·        สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี
    ·        ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32 – 40 วัน ( ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ) โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัว/ถุงไข่
    ·        ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 3 – 6 เดือน ( ขึ้นอยู่กับฤดูกาล )
    ·        อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายและมีอนุภาคขนาดเล็ก
     
    โดยทั่วไปประเทศในแถบยุโรป และ อเมริกา ส่วนมากมักจะใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida
    หรือ สายพันธุ์ใกล้เคียงกันคือ สายพันธุ์ Eisenia Andrei ใน การกำจัดขยะอินทรีย์ซึ่งมีหลายเหตุผลที่ทำให้เลือกใช้ใส้เดือนดินสายพันธุ์ นี้ คือไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์อยู่ โดยพวกมันจะสร้างกลุ่มและเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น และมีความทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่กว้างและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วจะเป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีมากและ เลี้ยงง่ายเหมาะสมในการนำมาเลี้ยงในขยะอินทรีย์ได้หลายชนิดที่ปะปนกันและพบ ว่าเมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกับไส้เดือนดินสายพันธุ์อื่นภายในฟาร์ม พบว่า จะมีความทนทานมากกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่นๆ
     
    ยูดริลลัส ยูจีนิแอ ( Eudrilus eugeniae )
    ชื่อสามัญ African Night Crawler
     
    ·        ลำตัวมีขนาด 130 – 250 x 5 – 8 มิลลิเมตร
    ·        ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา
    ·        สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
    ·        จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน
    ·        สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162 – 188 ถุง/ตัว/ปี
    ·        ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13 – 27 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่
    ·        ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 6 – 10 เดือน
    ·        อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร
    ·        มีอายุยืนยาว 4 – 5 ปี
     
     
    ไส้เดือนดินสายพันธุ์ African Night Crawler มี ขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและไต่ขึ้นขอบบ่อได้เก่งมาก มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนสำหรับ เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์สูงมากแต่มีข้อเสียตรงที่ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ไม่ค่อยทนทานต่ออุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมเลี้ยงยากและ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วยสำหรับในด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างร้อน โดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียล ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในประเทศไทยเขตหนาวจะถูกจำกัดการ เลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะ เลี้ยงได้ สำหรับการเลี้ยงแบบภายนอกโรงเรือน จะเหมาสมกับเฉพาะพื้นที่ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนเท่านั้น
     
    ลัมบริคัส รูเบลลัส ( Lumbricus rebellus )
    ชื่อสามัญ Red worm , Red Marsh Worm , Red Wriggler
     
               ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ ลัมบริคัส รูเบลคัส รูเบลลัส เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวแบนและมีลำตัวขนาดกลางไม่ใหญ่มาก โดยจะมีลำตัวใหญ่กว่าไส้เดือนินสายพันธุ์อายซิเนีย ฟูทิดา และเล็กกว่าไส้เดือนดิน สายพันธุ์อัฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์
     
    ·        ลำตัวมีขนาด 60 – 150 x 4 – 6 มิลลิเมตร
    ·        ผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสด ร่องระหว่างปล้องมีสีเหลือง
    ·        เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน หรือในกองมูลสัตว์
    ·        กินเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหาร
    ·        สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง
    ·        จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน
    ·        สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79 – 106 ถุง/ตัว/ปี
    ·        ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 24 – 45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่
    ·        ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5 – 6 เดือน
    ·        มีชีวิตยืนยาว 2 – 3 ปี
     
    ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์หรือกากสิ่งปฏิกูล ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื้นในช่วงกว้าง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก กินเศษซากอินทรียวัตถุได้มากและเร็ว เป็นไส้เดือนดินพันธุ์การค้าที่มีความเหมาะสมและนิยมนำมาใช้ย่อยสลายขยะ อินทรีย์เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักในต่างประเทศ
     
    ฟีเรททิมา พีกัวนา ( Pheretima peguana )
    ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่
     
         ไส้เดือนดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับใส้เดือนสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ครอเลอร์
     
    ·        ลำตัวมีขนาด 130 – 200 x 5 – 6 มิลลิเมตร
    ·        ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม
    ·        สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
    ·        จับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดิน
    ·        สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 24 – 40 ถุง/ตัว/ปี
    ·        ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25 – 30 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่
    ·        ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 5 – 6 เดือน
    ·        อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลาย และมูลสัตว์เป็นอาหาร
    ·        มีอายุยืนยาว 2 – 4 ปี
     
    ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่พบได้ทั่วไปในแถบเอเซีย ซึ่งในประเทศไทยก็พบเช่นกัน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดิน ที่มีลำตัวขนาดกลาง อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมาก เช่นใต้กองปุ๋ยหมัก ใต้กองมูลวัวในโรงเลี้ยงวัวนม ใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้ง โดยจะอาศัยอยู่บริเวณผิวดินไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึกเหมือนกับไส้เดือนพันธุ์ สีเทา ที่จะอาศัยอยู่ในสวนผลไม้ หรืออยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไป ไส้เดือนพันธุ์นี้โดยทั่วไปในภาคเหนือ เรียกว่า “ขี้ตาแร่” ซึ่งชาวบ้านมักใช้เป็นเหยื่อตกปลา ลักษณะพิเศษของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ คือมีความตื่นตัวสูงมาก เมื่อถูกจับตัวจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนีเร็วมาก นอกจากนี้การนำไปใช้กำจัดขยะอินทรีย์ พบว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้สามารถกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผัก ผลไม้ หมดอย่างรวดเร็ว ซึ่งจาการทดลองนำไส้เดือนสายพันธุ์ ขี้ตาแร่ มากำจัดขยะ จะถูกย่อยหมดภายใน 2-3 วัน นอกจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กินอาหรแก่งแล้วยังสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
     
    ฟีเรททิมา โพสธูมา ( Pheretima posthuma )
    ชื่อท้องถิ่น ขี้คู้
     
          ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา โพสธูมา เป็นไส้เดือนดินสีเทาที่มีลำตัวกลมขนาดใหญ่ โดยมีขนาดใหญ่กว่า ไส้เดือนแดงพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา
    ·        ลำตัวมีขนาด 200 – 250 x 6 – 10 มิลลิเมตร
    ·        ลำตัวมีสีเทาวาว
    ·        สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
    ·        อาศัย อยุ่บริเวณผิวดินในฤดูฝน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย ในฤดูร้อนและฤดูหนาวจะอาศัยอยู่ในดินที่ลึกลงไปและกินดินหรืออินทรียวัตถุใน ดินที่เน่าเปื่อย
    ·        เข้าสู่สภาพการหยุดนิ่ง ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
    ·        มีอายุยืนยาวหลายปี
     
    ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้มักพบอยู่ใต้ดินภายในสวน สนามหญ้า หรือพื้นดินในป่า ซึ่งลำตัวจะมีสีเทาผิวเป็นมันวาว สะท้อนกับแสงอาทิตย์จะออกเป็นสีรุ้ง เมื่อจับจะดิ้นอย่างรุ่นแรง และเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วมาก แพร่พันธุ์และเจริญเติบโตได้น้อย อาศัยอยู่ในดินที่ค่อนข้างลึก และจะขุดรูแบบชั่วคราว จากลักษณะนิสัยดังที่กล่าวไส้เดือนสายพันธุ์นี้ ไม่เหมาะในการนำมาใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์
     
    ลัมบริคัส เทอเรสทริส ( Lumbricus terrestris )
    ชื่อสามัญ Nightcrawler
     
    ·        ลำตัวมีขนาด 90 – 300 x 6 – 10 มิลลิเมตร
    ·        ผิวบริเวณท้องมีสีเทาขุ่น ผิวบริเวณด้านหลังมีสีเทา
    ·        เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม แอนเนซิค
    ·        กินเศษซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยที่อยู่ใต้ดินและดินบางส่วนที่เป็นอาหาร
    ·        อาศัยอยู่ในรูที่ถาวร ที่ความลึก 2.4 เมตร
    ·        สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง
    ·        สร้างถุงไข่ได้ 38 ถุง/ตัว/ปี
    ·        ใช้เวลาเติบโตเต็มไวประมาณ 1 ปี
    ·        สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 862-887 วัน หรือมากกว่า 6 ปี
    ·        สามารถแพร่กระจายกลุ่มได้ประมาณ 3 – 5 เมตร/ปี
     
    โพลีฟีเรททิมา อีลองกาตา ( Polypheretima elongate )
     
               ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้เคยนำมาทดลองใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์ เช่น ขยะที่ได้จากเทศบาลขยะหรือของเสียที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ ของเสียจากมนุษย์ สัตว์ปีก มูลวัว และเศษเหลือทิ้งจากการผลิตเห็ดในอินเดีย ซึ่งในประเทศอินเดียได้ใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในการทำปุ๋ยหมักทางการค้า ที่สะดวกและได้ผลดีโดยสามารถย่อยสลายขยะที่เป็นกากได้ 8 ตัน/วัน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้พบเฉพาะในเขตร้อน และไม่สามารถดำรงชีวิตรอดได้ในเขตหนาว
     
     
    เดนโดรแบนา วีนาตา ( Dendrobaena veneta )
     
               ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดใหญ่ และมีศักยภาพพอสำหรับนำไปใช้ในขบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้จะอาศัยอยู่ในดิน เจริญเติบโตได้ช้าและแพร่พันธุ์ได้ไม่ค่อยเร็วนัก ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ไม่เหมาะสมหรือมีความเหมาะสมน้อยมากสำหรับนำไปใช้ใน การย่อยสลายขยะอินทรีย์
     
    เพอริโอนีกซ์ เอกซ์คาวาตัส ( Perionyx excavatus )
     
                ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป้นไส้เดือนดินในเขตร้อน ซึ่งขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและเลี้ยงง่ายเหมือนกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida และ ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักได้ง่ายมาก แต่มีข้อเสียคือ มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ค่อนข้างต่ำ สำหรับการเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในเขตหนาว แต่ในสภาพเขตร้อน จะเหมาะสมมากสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ เนื่องจากเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปในเอเชีย และมีการนำมาใช้ในขบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในประเทศฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย

    • Update : 24/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch