หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงปลากัด-2
           
    ภาพที่ 8  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดลูกทุ่ง
     
                      4.3 ปลากัดลูกผสม   หรือพันธุ์สังกะสี   หรือพันธุ์ลูกตะกั่ว   เป็นลูกปลาที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อกับปลากัดลูกทุ่ง   โดยอาจผสมระหว่างพ่อเป็นปลาลูกหม้อกับแม่เป็นปลาลูกทุ่ง   หรือพ่อเป็นปลาลูกทุ่งกับแม่เป็นปลาลูกหม้อ   ได้ทั้งสองแบบ   ผู้เพาะต้องการให้ปลาลูกผสมที่ได้มีลักษณะปากคม   กัดคล่องแคล่วว่องไวแบบปลาลูกทุ่ง   และมีความอดทนแบบปลาลูกหม้อ  
                     4.4 ปลากัดจีน   เป็นปลากัดที่เกิดจากการเพาะและคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นเพื่อความสวยงาม   พยายามคัดพันธุ์เพื่อให้ปลามีหางยาวและสีสันสดเข้ม   จนในปัจจุบันสามารถผลิตปลากัดจีนที่มีความสวยงามอย่างมาก   มีครีบต่างๆค่อนข้างยาว   โดยเฉพาะครีบหางจะยาวมากเป็นพิเศษและมีรูปทรงหลายแบบ   มีสีสันสดสวยมากมายหลายสี   เป็นปลาที่ไม่ค่อยตื่นตกใจเช่นเดียวกับปลาหม้อ   แต่ไม่มีความอดทน   เมื่อปล่อยกัดกันมักรู้ผลแพ้ชนะภายใน  10  นาที   ไม่นิยมใช้ในการกัดพนัน
          
      ภาพที่ 9  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดจีน
                      ที่มา : http://www.tropicalresources.net/phpBB2/fish_profiles_splendens.php (ภาพซ้าย)
                                      http://animals.timduru.org/dirlist/fish/Bettafish-SiameseFightingFish-Closeup.jpg (ภาพกลาง)
                               http://gallery.pethobbyist.com/data/29312Fish3h.jpg (ภาพขวา)
                   ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์ปลากัดสามารถเพาะพันธุ์ปลากัดสายพันธุ์ใหม่ๆออกมาอีกหลายสายพันธุ์  และมีความหลากหลายทางด้านสีสันอีกด้วย  ทำให้มีการเรียกชื่อสายพันธุ์ปลากัดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย  ได้แก่  ปลากัดสองหาง (Double Tail)  ปลากัดหางหนามมงกุฎ (Crown Tail)  ปลากัดหางพระจันทร์  เป็นต้น
       
    ภาพที่ 10  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบสั้นสีเดียว
                                                    ที่มา : http://www.Dong2002.com
             
    ภาพที่ 11  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบสั้นสีแฟนซี
                                                   ที่มา : http://www.straitsaquariums.com/details.php
     
       
    ภาพที่ 12  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบยาวสีเดียว
                                                   ที่มา : http://www.efish2u.com/
     
       
    ภาพที่ 13  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบยาวสีแฟนซี
                                                  ที่มา : สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ 2544
     
           
    ภาพที่ 14  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดสองหางครีบสั้น
                                                   ที่มา : http://www.efish2u.com/
     
       
    ภาพที่ 15  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดสองหางครีบยาว
                                                  ที่มา : http://www.efish2u.com/
     
       
                                             ภาพที่ 16  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดหางหนามมงกุฎ
                                              ที่มา : http://midwestbettaclub.com/articles/page.asp (ภาพซ้ายและกลาง)
                                                       http://www.betta4u.com/gallery.php (ภาพขวา)
     
        
    ภาพที่ 17  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดหางพระจันทร์
                                                    ที่มา : http://www.straitsaquariums.com/details.php
                                                                                                                               
    5 การจำแนกเพศปลากัด        
                    ปลากัดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกที่แสดงความแตกต่างกัน   ซึ่งพอจะสังเกต
    ได้หลายประการ  คือ
                    5.1 สีของลำตัว   ปลาเพศผู้จะมีสีของลำตัวและครีบ   เข้มและสดกว่าปลาเพศเมียอย่างชัดเจน   เมื่อปลามีอายุตั้งแต่  2  เดือน  หรือมีขนาดตั้งแต่  3  เซนติเมตรขึ้นไป
                    5.2 ขนาดของตัว   ปลาที่เลี้ยงในครอกเดียวกันปลาเพศผู้จะเจริญเติบโตเร็วกว่าปลาเพศเมีย
                    5.3 ความยาวครีบ   ปลาเพศผู้จะมีครีบหลัง   ครีบหาง   และครีบก้นยาวกว่าของปลาเพศเมียมาก   ยกเว้นปลากัดหม้อจะยาวต่างกันไม่มากนัก
                    5.4 เม็ดไข่นำ  ปลาเพศเมียจะมีเม็ดหรือจุดขาวๆอยู่  1  จุด   ใกล้ๆกับช่องเปิดของช่องเพศ   ลักษณะคล้ายกับไข่ของปลากัดเอง   เรียกจุดนี้ว่าไข่นำ   ส่วนปลาเพศผู้ไม่มี   
     
      
    ภาพที่ 18  แสดงความแตกต่างระหว่างเพศผู้(ซ้าย)และเพศเมีย(ขวา)
                                                                                                                               
    6 การแพร่พันธุ์ของปลากัด      
                    ในธรรมชาติปลากัดเป็นปลาที่วางไข่ได้เกือบตลอดปี   โดยปลาจะจับคู่วางไข่ตามน้ำนิ่ง   ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่สร้างรัง   ด้วยการก่อหวอดที่บริเวณผิวน้ำและจะติดอยู่ใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำชายฝั่ง   หวอดนี้ทำจากลมและน้ำลายจากตัวปลา   โดยการที่ปลาเพศผู้จะโผล่ขึ้นมาที่ผิวน้ำ   แล้วใช้ปากฮุบเอาอากาศที่ผิวน้ำเข้าปาก   ผสมกับน้ำลายแล้วพ่นออกมาเป็นฟองอากาศเล็กๆลอยติดกันเป็นกลุ่มทรงกลม   เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  5  เซนติเมตร   จากนั้นจะกางครีบว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ๆหวอด   เป็นเชิงชวนให้ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่เข้ามาที่หวอด   การผสมพันธุ์วางไข่จะเกิดขึ้นในช่วงเช้า   เวลาประมาณ  7.00 - 8.00  น.   โดยทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะเข้าไปอยู่ใต้รัง  จากนั้นปลาเพศผู้จะงอตัวรัดบริเวณท้องของปลาเพศเมีย   ลักษณะนี้เรียกว่า “การรัด”   ปลาเพศเมียจะปล่อยไข่ออกมาครั้งละ  7 - 20 ฟองในขณะเดียวกันปลาเพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่   ในช่วงนี้ทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะค่อยๆจมลงสู่ก้นบ่อ   จากนั้นปลาเพศผู้จะค่อยๆคลายการรัดตัว   แล้วรีบว่ายน้ำไปหาไข่ที่กำลังจมลงสู่พื้น   ใช้ปากอมไข่นำไปพ่นติดไว้ที่หวอด   ปลาเพศเมียก็จะช่วยเก็บไข่ไปไว้ที่หวอดด้วย   เมื่อตรวจดูว่าเก็บไข่ไปไว้ที่หวอดหมดแล้ว  จากนั้นปลาก็จะทำการรัดตัวกันใหม่   ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนแม่ปลาไข่หมดท้อง   ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ  2  ชั่วโมง   เมื่อวางไข่หมดแล้วปลาเพศผู้จะไล่กัดขับไล่ปลาเพศเมียไม่ให้มาใกล้รังอีกเลย   เพราะเมื่อปลาเพศเมียวางไข่หมดแล้วมักจะกินไข่ของตัวเอง   จะมีเฉพาะปลาเพศผู้เท่านั้นที่คอยดูแลรักษาไข่   คอยไล่ไม่ให้ปลาตัวอื่นเข้าใกล้รัง   และจะคอยเปลี่ยนลมในหวอดอยู่เสมอ   ไข่ของปลากัดจัดว่าเป็นไข่ประเภทไข่ลอย   ถึงแม้ตอนปล่อยจากแม่ปลาใหม่ๆไข่จะจมน้ำ   แต่เมื่อถูกนำไปไว้ในหวอดจะพัฒนาเกิดหยดน้ำมันและลอยน้ำได้ดี   ลักษณะไข่เป็นเม็ดกลมสีขาว   ใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ  30 - 40  ชั่วโมง   ปลาเพศเมียที่มีขนาดความยาวประมาณ  4 - 6  ซม.  จะมีไข่ประมาณ  300 - 700 ฟอง   เมื่อวางไข่ไปแล้วจะสามารถวางไข่ครั้งต่อไปภายในเวลาประมาณ  20 - 30  วัน
    ภาพที่ 19  แสดงลักษณะการรัดตัวของปลากัดในขณะผสมพันธุ์ 
                                                 ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Siamese_fighting_fish
     
        
    ภาพที่ 20  แสดงการรัดตัว(ซ้าย)  ไข่ที่ถูกปล่อยออกมา(กลาง) 
                 และปลาเพศผู้กำลังจะเก็บไข่ที่ปล่อยออกมา(ขวา)
                                                 ที่มา : http://royalbetta.free.fr/index.htm
                                                                                                                               
    7 การเพาะพันธุ์ปลากัด      
                    การเพาะพันธุ์ปลากัดดำเนินได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
                    7.1 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์   ปลากัดจะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ  4 - 6  เดือน   สามารถนำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้   การเลือกปลาเพศผู้ควรเลือกปลาที่คึกคะนอง  คือ  เมื่อนำปลาดังกล่าวไปใกล้กับปลาเพศผู้ตัวอื่น   ก็จะแสดงอาการก้าวร้าวทันที   โดยจะกางกระพุ้งแก้มและกางครีบ  รี่เข้าหาปลาตัวอื่นทันทีพร้อมที่จะกัด   หรืออาจสังเกตจากการสร้างหวอดก็ได้   เพราะปลาเพศผู้ที่สมบูรณ์เพศและพร้อมจะผสมพันธุ์   มักจะสร้างหวอดในภาชนะที่เลี้ยงเสมอ   สำหรับปลาเพศเมียควรเลือกปลาที่มีท้องแก่  คือมีไข่แก่เต็มที่   โดยสังเกตได้จากส่วนท้องของปลา   ซึ่งจะขยายตัวพองออกอย่างชัดเจน   และเมื่อลองให้อดอาหารเป็นเวลา  1  วัน   ส่วนท้องก็ยังคงขยายอยู่เช่นเดิม   นำแม่ปลาที่เลือกได้ไปใส่ขวดแล้วนำไปวางเทียบกับปลาเพศผู้   เมื่อปลาเพศผู้แสดงอาการเกี้ยวพาราสี   ปลาเพศเมียที่ท้องแก่จะเกิดลายสีขาวแกมเหลืองพาดจากส่วนหลังลงไปทางส่วนท้อง  จำนวน 4 - 6 แถบ ในเรื่องสีสันของปลานั้นสามารถเลือกได้ตามความชอบของผู้ดำเนินการ  เพราะปลาสีต่างกันสามารถผสมกันได้             

    • Update : 21/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch