หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงปลากัด-1
    ปลากัด  มีชื่อสามัญว่า  Siamese  Fighting  Fish   เป็นปลาสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว   เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่นอกจากจะมีสีสันสดเข้มสวยงามสะดุดตามากแล้ว   ยังเป็นปลาที่จัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะปลากัดที่ไปจากประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่กัดเก่งและมีความทรหดมากที่สุด   ทำให้ได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆทั่วโลก   ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานแล้ว   และได้เน้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเกมกีฬาโดยเฉพาะมีการจัดตั้งเป็นบ่อนการพนัน   ทางราชการจะมีการอนุญาตให้เปิดสถานที่สำหรับเดิมพันการกัดปลา   เรียก  บ่อนปลากัด  หรือ  บ่อนกัดปลา   มาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
                    การเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามมักนิยมเลี้ยงในขวดหรือโหลขนาดเล็ก   ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น   เพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน   ซึ่งในช่วงนี้ปลาจะมีสีสดเข้มสวยงาม   แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ปลาจะตื่นตกใจ  เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้   ในช่วงนี้ปลาก็จะสีซีดดูไม่สวยงาม   จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก   ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม   จัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาด   ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ   สามารถจำหน่ายได้ดีตลอดปี   โดยเฉพาะเด็กจะชอบหาซื้อปลากัดไปเลี้ยง   เพื่อนำไปกัดแข่งขันกัน   แล้วก็หาซื้อปลาตัวใหม่อยู่เสมอ
         
    ภาพที่ 1  ลักษณะภาชนะรูปแบบต่างๆที่สวยงามนำมาใช้เลี้ยงปลากัด
                                   ที่มา : http://www.bettatalk.com/images/betta_in_a_vase.jpg (ภาพ 1 )
                                            http://www.siamsbestbettas.com/gallery.html (ภาพ 2 )
                                            http://www.cbsbettas.org/petbetta.html (ภาพ 3 )
                                            http://www.cleavelin.net/archives/DSC01048.JPG (ภาพ 4 )
     
    1 ประวัติของปลากัด              
                    ปลากัดเป็นปลาพื้นบ้านของไทย  ในธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง  เช่น หนอง   บึง   หรือชายทุ่งนา   โดยมักพบตามชายฝั่งที่ตื้นๆและมีพรรณไม้น้ำมาก   เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวก Labyrinth  Fish   ได้แก่  พวกปลากระดี่ทั้งหลาย   ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ   ทำให้ปลาอาศัยอยู่ในที่มีออกซิเจนต่ำได้   จึงทำให้สามารถเลี้ยงปลากัดในขวดต่างๆที่มีปากขวดแคบๆได้   ปลากัดจัดว่าเป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร   โดยจะชอบกินแมลงและตัวอ่อนของแมลงต่างๆ (Insectivores)        
     
    ภาพที่ 2  ลักษณะของหนองน้ำและการหาปลากัดในหนองน้ำ
                                                ที่มา : http://www.plakatthai.com/bettasmaragdina
                                                                                                                                
    2 การจำแนกทางอนุกรมวิธาน             
                    Nelson (1984)  ได้จัดลำดับชั้นของปลากัดไว้ดังนี้
                 Superclass                :   Osteichthyes
                    Class                      :   Actinopterygii
                       Order                  :  Perciformes  -- perch-like fishes
                          Suborder          :  Anabantoidei   -- labyrinthfishes
                             Family            :  Osphronemidae Bleeker, 1859 -- giant gouramis
                                Subfamily    :  Macropodinae Liem, 1963
                                  Genus        :  Betta 
                    ปลากัดที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมานานแล้วนั้นถูกจัดให้เป็นชนิด splendens  หรือมีชื่อวิทยาศษสตร์ว่า Betta splendens, Regan, 1910 ปัจจุบันได้มีการสำรวจพบชนิดของปลากัดประมาณ 50 - 60 ชนิด  โดยจัดแบ่งกลุ่มตามลักษณะการวางไข่ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
                         1 กลุ่มแรก เป็นปลากัดที่ก่อหวอดวางไข่  เป็นปลากัดที่ผู้เพาะเลี้ยงปลากัดส่วนใหญ่ดำเนินการกันมานานแล้ว  ปลาเพศผู้จะสร้างรัง เรียกว่าหวอดที่บริเวณผิวน้ำและจะติดอยู่ใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำชายฝั่ง  เพื่อใช้ในการฟักไข่  ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น  Betta coccina   B. brownorum   B. burdigala   B. livida   B. rutilans   B. tussyae 
                         2 กลุ่มที่สอง เป็นปลากัดอมไข่  เป็นปลากัดที่ถูกนำมาเลี้ยงยังไม่นานนัก  เป็นปลาที่มีพฤติกรรมการแพร่พันธุ์วางไข่คล้ายกับปลาหมอสีกลุ่มที่อมไข่  เพื่อให้ไข่ฟักตัวภายในปาก  ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น  Betta akarensis    B. patoti    B. anabatoides    B. macrostoma    B. albimarginata   B. channoides 
    ภาพที่ 3  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัด Betta splendens
                                                ที่มา : http://ibc-smp.org/species/splendens.html
       
    ภาพที่ 4  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดที่ก่อหวอดวางไข่
                                                 ที่มา : http://ibc-smp.org/species/splendens.html
          
    ภาพที่ 5  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดอมไข่
                                                        ที่มา : http://ibc-smp.org/species/splendens.html
                                                                                                                                  
    3 ลักษณะรูปร่างของปลากัด          
                    ปลากัดจัดเป็นปลาขนาดเล็ก     ลำตัวมีความยาวประมาณ  5 - 7  เซนติเมตร   ลักษณะลำตัวเรียวยาว   แบนข้าง   ปากมีขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย   ส่วนหัวมีเกล็ดปกคลุม   ครีบก้นมีฐานครีบค่อนข้างยาว   มีจำนวนก้านครีบ  23 - 26 อัน   ครีบท้องเล็กยาว   สีของลำตัวเป็นสีเทาแกมดำ   สีของครีบและเกล็ดบริเวณใกล้ครีบจะเป็นสีสดเข้มสีใดสีหนึ่งทั้งตัว   เช่น  ปลากัดสีแดง   จะมีครีบทุกครีบและเกล็ดที่อยู่ใกล้ครีบเป็นสีแดงทั้งหมด
    ภาพที่ 6  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัด
                                                                                                                                 
    4 ลักษณะพันธุ์ของปลากัด       
                    ปลากัดที่มีเพาะเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน   มีหลายสายพันธุ์ดังนี้
                    4.1 ปลากัดลูกหม้อ   มีลักษณะลำตัวค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น   ส่วนหัวค่อนข้างโต   ปากใหญ่   ครีบสั้นสีเข้ม   เดิมมักจะเป็นสีเขียว   หรือสีน้ำเงินแกมแดง   แต่ปัจจุบันมีหลายสี   เช่นสีแดง   สีน้ำเงิน   สีม่วง   สีเขียว   และสีนาก   เป็นชนิดที่มีความอดทน   กัดเก่ง   ได้รับความนิยมสำหรับการกัดพนัน
        
    ภาพที่ 7  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดลูกหม้อ
                      4.2 ปลากัดลูกทุ่ง   มีลักษณะลำตัวเล็กกว่าพันธุ์ลูกหม้อ   ลำตัวค่อนข้างยาว   ครีบยาวปานกลางหรือยาวกว่าพันธุ์ลูกหม้อเล็กน้อย   สีไม่เข้มมากนัก   ส่วนมากมักจะเป็นสีแดงแกมเขียว   เป็นพันธุ์ที่มีความตื่นตกใจได้ง่ายที่สุด   การกัดจะมีความว่องไวมากกว่าพันธุ์ลูกหม้อ   ปากคม   แต่ไม่ค่อยมีความอดทน   ใช้เวลาประมาณ  30  นาทีจะรู้ผลแพ้ชนะ   นิยมใช้ในวงการกัดพนันเช่นกัน

    • Update : 21/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch