หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงผึ้งโพรง-3
    วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตผึ้งนางพญา


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตผึ้งนางพญา
    ๑. ถ้วยสำหรับเพาะนางพญา (queen cup) ซึ่งทำจากไขผึ้งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๖ เซนติเมตร
    ๒. คอนสำหรับติดถ้วยเพาะนางพญา
    ๓. รอยัลเยลลี หรือน้ำผึ้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ๔. ไม้สำหรับย้ายตัว (ตัวอ่อนอายุไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง) ถ้าเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพ เครื่องมือย้ายตัวอ่อนนี้ ควรทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel) ซึ่งใช้งานไม่นานไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย
    ๕. รังผึ้งที่ใช้ทำพันธุ์
    ๖. รังผึ้งที่ใช้เป็นรังเพาะเลี้ยง

     

    วิธีการผลิตผึ้งนางพญา


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    เมื่อเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นครบถ้วนแล้วก็มาถึงวิธีการเพาะ ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานเสียก่อนว่า การเพาะผึ้งนางพญานั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องอาศัยความละเอียดนุ่มนวล รวดเร็ว และช่วงสังเกตมาประกอบกันดังนั้นผู้ทำจึงต้องหมั่นฝึกให้เกิดความชำนาญจึงจะประสบความสำเร็จ
    ๑. จัดเตรียมรังผึ้งที่แข็งแรง อาหารสมบูรณ์มีจำนวนคอนประมาณ ๗ - ๘ คอน ประกอบด้วยคอนอาหาร ๓ คอน คอนตัวอ่อน ๑ คอน และคอนดักแด้ที่แก่จนเริ่มมีผึ้งคลานออกมาเป็นตัวเต็มวัย ๓-๔ คอน เพื่อใช้สำหรับเป็นรังเพราะเลี้ยงตัวอ่อนที่จะเกิดเป็นผึ้งนางพญา
    ๒. จับผึ้งนางพญาเก่าภายในรังออกไปเพื่อให้มีสภาพที่ขาดผึ้งนางพญาเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ วัน ตรวจและทำลายหลอดวงนางพญาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้หมด
    ๓. เตรียมถ้วยเพาะนางพญาติดกับคอนให้เรียบร้อย ในคอนหนึ่งถ้วยให้ห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว (ประมาณ ๒๐ - ๓๐ ถ้วย)
    ๔. นำคอนเพาะนางพญาจากข้อ ๓ ไปใส่ในรังสำหรับเพาะเลี้ยง เพื่อให้ผึ้งงานทำความสะอาดและยอมรับอย่างน้อยครึ่งวัน จึงนำออกมาหยดรอยัลเยลี หรือน้ำผึ้งอย่างใดอย่างหนึ่งลงที่ก้นถ้วยเพาะ ๑ หยดเล็ก ๆ
    ๕. เลือกคอนตัวอ่อนที่มีอายุไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง มาจากรังผึ้งซึ่งมีประวัติดี
    ๖. ย้ายตัวอ่อนโดยใช้ไม้สำหรับย้ายตัวอ่อนนำมาใส่ลงในถ้วยเพาะนางพญาโดยวางตัวอ่อนให้อยู่ตรงกลางถ้วยและอยู่บนหยดรอยัลเยลลีหรือน้ำผึ้งที่เตรียมไว้พอดี
    หลักสำคัญในการย้ายตัวอ่อน ก็คือ ต้องกระทำอย่างรวดเร็วที่สุด และไม่ทำให้ตัวอ่อนบอบช้ำ
    ๗. นำคอนที่ย้ายตัวอ่อนเสร็จแล้วกลับไปใส่ในรังเพาะเลี้ยง โดยวางคอนให้อยู่ระหว่างคอนที่มีอาหารและมีตัวอ่อนวัยแรกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ผึ้งงานนำอาหารมาเลี้ยงตัวอ่อนที่จะเป็นนางพญาได้ง่า
    ๘. เลี้ยงน้ำหวานในรังเพาะทันทีและเลี้ยงทุวันจนกระทั่งหลอดปิด
    ๙. ประมาณ ๒-๓ วัน กลับมาตรวจผลการย้ายตัวอ่อน ถ้าหากมีการเจริญดีมีอาหารสมบูรณ์ก็ปล่อยให้เจริญต่อไปได้เลย แต่ถ้าหากการย้ายหนอนไม่ค่อยได้ผลดีก็ทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยตักตัวอ่อนตัวเก่าทิ้งไป แล้วย้ายตัวอ่อนตัวใหม่ที่มีอายุไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมงลงไปใหม่ วิธีนี้จะช่วยให้ผึ้งงานยอมรับมากขึ้น และได้ผึ้งนางพญาที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการย้ายตัวอ่อนเพียงครั้งเดียว ในระยะนี้ถ้ามีหลอดรวงนางพญาตามธรรมชาติเกิดขึ้นให้ทำลายให้หมด
    ๑๐. หลังจากการย้ายตัวอ่อนประมาณ ๑๐ วัน จะต้องทำการแยกหลอดผึ้งนางพญานำไปติดในรังผสมพันธุ์ขนาดเล็ก ซึ่งจัดเตรียมคอนอาหารใส่เอาไว้ด้วย เพื่อที่จะให้เป็นอาหารสำหรับผึ้งนางพญาที่จะออกมาต่อไป และคอนที่มีผึ้งงานเต็มอีก ๒-๓ คอน
    ๑๑. หลังจากนี้ประมาณ ๑-๓ วัน ผึ้งนางพญาในหลอดจะออกเป็นตัวเต็มวัย จำเป็นที่จะต้องให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากขาดอาหารผึ้งนางพญาอาจตายได้โดยง่าย ผึ้งนางพญาจะบินไปผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ ๓ - ๗ วัน และจะกลับมาวางไข่ภายใน ๒-๓ วัน

     

    ปัจจัยสำคัญซึ่งมีผลต่อการผลิตผึ้งนางพญา


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    ๑. สภาพความแข็งแรงของรังที่ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนที่จะผลิตผึ้งนางพญา ถ้าหากมีความแข็งแรงและอุดมสมบูรณ์มาก อัตราการอยู่รอดสูงกว่ารังที่ไม่ค่อยแข็งแรง
    ๒. สภาพดินฟ้าอากาศเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญประการหนึ่ง คือ ถ้าหากอากาศไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส ฝนตก ผึ้งงานจะไม่ค่อยยอมรับตัวหนอนที่ใส่ลงไป แต่ถ้าท้องฟ้าแจ่มใส ทีแสงแดดฝนไม่ตกผึ้งงานจะยอมรับได้ง่าย ทำให้อัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนมีมากกว่าในกรณีที่ดินฟ้าอากาศไม่ค่อยดี
    ๓. การบาดเจ็บของตัวหนอนขณะย้ายจากหลอดรวงไปใส่ในถ้วยนางพญา เนื่องจากการย้ายหนอนต้องใช้ไม้หรือโลหะสำหรับตักตัวหนอนออกมา หากทำอย่างไม่ระมัดระวังก็มีโอกาสที่จะทำอันตรายกับตัวหนอนได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่ฝึกทำในระยะแรกควรตรวจดูผลของการย้ายตัวหนอนก่อน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ (กล้องสองตา)
    ๔. ระยะเวลาในการที่ตัวหนอนอยู่นอกรังควรใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการย้ายตัวหนอน แล้วรีบเอาคอนถ้วยนางพญากลับคืนรังทันที เพราะสภาพแวดล้อมแตกต่างจากภายในรังผึ้งถ้าหากใช้เวลานานอาจทำให้ตัวหนอนตายได้ง่า
    ๕. การแยกหลอดและการขนย้ายหลอดผึ้งนางพญา ไม่ควรทำในขณะที่ผึ้งมีอายุน้อย ๆ เพราะโอกาสที่จะกระทบกระเทือนมีค่อนข้างสูงและต้องกระทำอย่างนุ่มนวลที่สุด
    ๖. เมื่อผึ้งนางพญาที่อยู่ในรัง ผสมพันธุ์แล้วเริ่มวางไข่อย่างสม่ำเสมอ และแน่ใจว่าผึ้งรุ่นลูกที่ออกมาเป็นผึ้งงานแล้ว จึงเริ่มแยกรังโดยนำผึ้งนางพญาตัวใหม่นี้ไปใส่ในรังที่ขาดผึ้งนางพญาที่เตรียมไว้ได้ทันที ในกรณีเปลี่ยนนางพญาที่มีอายุมากที่เราไม่ต้องการ ให้จับนางพญาตัวที่ไม่ต้องการออก และใส่นางพญาตัวใหม่ที่อยู่ในกรงขนาดเล็กลงไป โดยแขวนไว้ระหว่างคอนผึ้ง ๑ - ๒ วัน จนกว่าผึ้งงานจะยอมรับเลี้ยงดูนางพญาตัวใหม่ ก่อนที่จะเปิดกรงขนาดเล็กให้นางพญาตัวใหม่ออกมา
    ความสำเร็จในการผลิตผึ้งนางพญาขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ การฝึกตนเองให้เกิดความชำนาญ พร้อมทั้งการสังเกตธรรมชาติความพร้อมของรังผึ้งและอาหารของผึ้ง ถ้าหากเราสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ เราก็จะมีผึ้งนางพญาที่มีคุณภาพดีเป็นจำนวนมากได้ตามต้องการ การขยายกิจการในการเลี้ยงผึ้งก็จะสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว
    การเลี้ยงผึ้งโพรงในประเทศไทยสามารถนำเทคโนโลยีในการเลี้ยงผึ้งสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้และสามารถเลี้ยงในหีบเลี้ยงมาตรฐาน เช่น การใช้แผ่นรังเทียม การเพาะนางพญา การผสมเทียมผึ้งนางพญา การคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ผึ้งที่ไม่ดุ หาอาหารเก่ง ไม่หนีรังง่าย ซึ่งต่อไปในอนาคตผึ้งโพรงอาจสามารถให้ผลิตผลที่ใกล้เคียงกับผึ้งพันธุ์ต่างประเทศได้ อันจะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตน้ำผึ้งในประเทศไทยลดลง

    • Update : 19/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch