หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงอูฐ-1

    รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย  ให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการที่จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่และเห็นว่าอูฐนมเป็นสัตว์ ที่น่าจะส่งเสริมให้กับเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือในที่แห้งแล้ง  เนื่องจากอูฐเป็นสัตวที่สามารถอยู่ในสภาพแห้งแล้งใช้อาหารที่มีคุณภาพต่ำ ได้เป็นอย่างดี ความต้องการพลังงานในการสร้างน้ำนมต่ำกว่าโคมาก นอกจากนี้อูฐยังเป็นสัตว์ที่มีอายุการใช้งานยาวดังนั้นจึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ได้นำอูฐนมจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเลี้ยงและสายพันธุ์ที่เหมาะสมทั้งด้านเนื้อและนมโดยให้ทำการศึกษา วิจัยพันธุ์เพื่อทราบสมรรถภาพการผลิตของอูฐเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้สนใจต่อไป 

                   โดยทั่วไป  อูฐเป็นสัตว์เลี้ยงในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทรายเพราะความสามารถในการปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพดังกล่าวได้เป็นอย่างดีกว่าสัตว์ ประเภทอื่น ในบริเวณที่มีการเลี้ยงสัตว์ประเภท โค กระบือ แพะ แกะ ส่วนมากจะมีความชื้นแฉะ พื้นที่ที่เลี้ยงไม่เพียงพอและมักจะเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรคและพยาธิ ในขณะที่อูฐจะสามารถเดินทางหาอาหารเป็นระยะทางไกลและมีความต้องการน้ำน้อย ในฤดูแล้งจัด อูฐสามารถถอดน้ำได้นานถึง 10-20 วัน ในขณะที่แพะ แกะต้องการน้ำในระยะทุก 3-8 วัน และโคมีความต้องการน้ำทุก 2-3 วัน อูฐสามารถให้นมได้แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแห้งแล้งมาก ๆ ก็ตามดังนั้นอูฐจึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงในเขตแห้งแล้งทะเลทรายเพื่อผลผลิตน้ำนมด้วยนอกเหนือไปจากการใช้แรงงาน ในทางชีววิทยา อูฐเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ใน Order Artiodactyla, Suborder Tylopoda, Family Camelidae, genus Camelus จัดแบ่งได้เป็นสอง species คือ Camelus bactrianus ซึ่งเป็นอูฐที่มีสองตะโหนกและเป็นอูฐที่อยู่ในแถบหนาว และ Camelus dromedarius ซึ่งเป็นอูฐที่เลี้ยงในที่ร้อนแห้งแล้งแบบทะเลทรายอูฐเป็นสัตว์ที่มีการเลี้ยงมาตั้งแต่โบราณโดยเลี้ยงทางตอนใต้ของของประเทศแถบอาหรับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บริโภคเนื้อและนมเป็นหลัก และใช้บรรทุกของ ทำงาน ขี่และใช้ประโยชน์จากหนังและขนด้วย อูฐมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ต่อชาวทะเลทรายเป็นอย่างมาก โดยมีบทบาททั้งทางสังคมและประเพณีวัฒนธรรมด้วย เช่น ในชนบางเผ่าเมื่อได้ลูกชายเด็กจะได้รับลูกอูฐเป็นของขวัญและพ่อแม่จะใส่สายสะดือเด็กไว้ในถุงและแขวนไว้ที่คออูฐหรือบางเผ่าจะให้เป็นของขวัญแต่งงานเป็นต้น ปัจจุบันแหล่งที่มีการเลี้ยงอูฐมากที่สุดในโลกคือประเทศซูดานโดยเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน นอกจากนี้ได้มีการแพร่ขยายออกไปยังประเทศต่างๆ เช่นประเทศออสเตรเลีย ได้นำอูฐไปเลี้ยงแพร่ขยายพันธุ์ในเขตทะเลทราย


    ผลผลิตน้ำนมและคุณภาพน้ำนม

                   อูฐเป็นสัตว์ที่มีนม 4 เต้า เช่นเดียวกับโค กระบือ อูฐ ตะโหนกเดียวส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพื่อผลิตน้ำนม  ตารางที่ 2 แสดงถึงผลผลิตน้ำนมของอูฐซึ่งเลี้ยงในประเทศต่าง ๆ (IFS 1980) ตามปกติอูฐจะเริ่มแห้งนมประมาณ 8 อาทิตย์หลังจากการผสมติด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแม้ลูกจะยังไม่หย่านมซึ่งในกรณีนี้ จำเป็นจะต้องป้อนนมลูกด้วยขวด สาเหตุสำคัญที่ทำให้อูฐมีระยะการให้นมสั้นลงและปริมาณน้ำนมลดลงก็คือการเกิดโรคความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ การขาดแคลนอาหารเป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับโคพื้นเมืองต่าง ๆ แล้วอูฐจะให้ปริมาณน้ำนมที่มากกว่า ปริมาณน้ำนมต่อวันจะขึ้นอยู่กับระยะการให้นม ปริมาณอาหารที่กิน ความถี่ของการกินน้ำและสภาพโดยทั่วไปของอูฐในขณะรีดนม ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 6.21 ลิตร ระยะให้นมสูงสุดของอูฐจะอยู่ในระหว่าง 6 - 10 อาทิตย์หลังจากคลอดลูก สำหรับการรีดนม โดยทั่ว ๆ ไปจะรีดนมวันละสองครั้งในตอนเช้าและเย็น แต่ในบางประเทศเช่นประเทศ โซมาเลียจะรีดนมอูฐถึงวันละ 4 - 6 ครั้ง พบว่าได้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นถึง 17 % นอกจากนี้การรีดนมอูฐจะต้องใช้ลูกกระตุ้นด้วย

     
                   ส่วนประกอบทางเคมีและฟิสิกค์ของนมอูฐนั้น ตามปกตินมอูฐจะมีรสหวาน ประกอบด้วยไขมัน 1.1- 4.3 % มีกรมไขมันประเภทระเหยได้ กรดลิโนเลอิกและกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โปรตีน 2.5 - 4.6 % แลคโต๊ส 2.9 - 4.6 % มีส่วนประกอบของน้ำ 85.7 - 91.2 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและอาหารที่อูฐได้รับนมอูฐมีระดับ calcium ค่อนข้างต่ำและมี phoshorus และมีธาตุเหล็กสูง และมี vitamin C สูงมาก จากตารางที่ 1 แสดงถึงผลสรุปส่วนประกอบของน้ำนมอูฐ   (Yagil, 1982)

                   สำหรับนมและผลิตภัณฑ์นม   เนื่องจากนมอูฐจะใช้ในการเลี้ยงลูกของมันเองและใช้บริโภคสดเป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นจึงมีการศึกษาและนำนมอูฐไปทำเป็นผลิตภัณฑ์น้อยมาก อย่างไรก็ตามได้มีผู้นำเอานมอูฐไปบริโภคเป็นยาซึ่งมีความเชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคท้องมาน (dropsy)  โรคเกี่ยวกับม้าม  วัณโรค   โรคหืด   โรคโลหิตจางและมีรายงานว่าคนไข้ป่วยเป็นโรคตับอักเสบมีอาการดีขึ้นเมื่อรักษาด้วยนมอูฐ

                   ในประเทศทางแถบทะเลทรายจะมีการทำนมเปรี้ยวหรือทำเนยและชีสจากนมอูฐโดยวิธีง่าย ๆ คือ ใช้นมอูฐสดใส่ภาชนะวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำมาคนหรือปั่นในอุณหภูมิ 12- 18 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 - 20 นาที ก็จะได้เนยจากนมอูฐแต่อย่างไรก็ตามเนยหรือ
    ชีส ที่ทำจากนมอูฐก็จะมีคุณภาพแตกต่างจากเนยหรือชีสที่ได้จากน้ำนมของสัตว์อื่นเนื่องจากคุณสมบัติทางเคมีของ น้ำนมที่มีโครงสร้างของไขมัน  โปรตีนและ
    กรดอะมิโนที่แตกต่างกัน

    ตารางที่ 1 ส่วนประกอบของน้ำนมอูฐ

    ไขมัน %
    ของแข็ง %
    โปรตีน %
    แลคโต๊ส %
    เถ้า %
    น้ำ %
    อ้างอิง
    5.38
    2.90
    3.07
    3.02
    7.01
    -
    10.36
    9.31
    3.01
    3.70
    4.00
    3.50
    3.36
    5.80
    5.60
    5.20
    0.70
    0.60
    0.80
    0.70
    -
    -
    86.5
    -
    Barthe,  1905
    Leese,  1972
    Davies, 1939
    Lampert,1947

    ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากอูฐ
                   นอกจากจะได้ประโยชน์จากน้ำนมของอูฐแล้ว อูฐยังสามารถให้ผลผลิตอื่น เช่น หนังขนและเนื้ออีกด้วย อูฐจะให้ปริมาณขน 1 - 5 กก. ต่อตัว ขนอูฐสามารถนำมาทอเป็นผ้าขนสัตว์  ทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม พรมหรือเชือกได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่นำขนมาใช้งาน ขนที่ได้จาก บริเวณใต้ท้องและคอจะนุ่มและยาวกว่าขนจากบริเวณอื่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนอูฐจะมีราคาแพงมาก นอกจากนี้อูฐยังให้หนังที่มีคุณภาพดีสามารถนำไปทำรองเท้าหรือเครื่องหนังอื่นๆ ได้

    อาหารและการจัดการเลี้ยงดู
                   อูฐมีระบบย่อยอาหารคล้ายสัตว์สี่กระเพาะ  แต่กระเพาะส่วนที่สาม คือ Omasum ไม่เจริญเหมือสัตว์เคี้ยวเอื้องประเภทอื่น แต่จะมีลักษณะเล็กยาว มีเซลล์ที่มีความพิเศษคือเก็บน้ำได้มาก อูฐจึงไม่ต้องกินน้ำบ่อย อูฐเป็นสัตว์ที่ใช้ประโยชน์จากพืชคุณภาพต่ำได้ดีกว่าสัตว์กระเพาะรวมประเภทอื่นโดยเฉพาะพืชประเภทไม้พุ่ม ประสิทธิภาพการย่อยได้ของอูฐจะอยู่ระหว่าง 46-81 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดีกว่าแพะและแกะ แต่อย่างไรก็ตามโค Zebu จะสามารถใข้อาหารประเภทหญ้าแห้งได้ดีกว่าอูฐ   อูฐมีความต้องการอาหารหยาบประมาณ 5 - 10 กก. วัตถุแห้ง (dry matter) ต่อ 100 กก. ของน้ำหนักตัว หรือสามารถ กินหญ้าสดได้วันละ 10 - 20 กก. ส่วนความต้องการน้ำของอูฐจะขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและอาหารที่กิน อูฐสามารถอยู่ได้เป็นเวลานานกว่าสัตว์อื่นโดยไม่มีน้ำ   อูฐจะกินน้ำวันละประมาณ 13 ลิตรเมื่ออาหารอุดมสมบูรณ์หรือกินหญ้าสดและจะกินน้ำวันละ 30 ลิตร เมื่อขาดอาหารหรือกินอาหารจากพื้นที่ดินเค็มการที่อูฐสามารถ อดน้ำได้นานกว่าสัตว์ประเภทอื่นก็เนื่องจากอูฐมีอัตราการสูญเสียน้ำต่ำและทนอาการแห้งน้ำ  อูฐจะเจริญเติบโตเต็มที่ เพศผู้อายุ 4 - 6  ปี มีน้ำหนักประมาณ 400-600 กก.เพศเมีย อายุ 3 - 5 ปี มีน้ำหนัก 300 - 400  กก. (Wilson ,1984)

    การสืบพันธุ์

                   อูฐมีอายุการเป็นหนุ่มเป็นสาว(puberty) เมื่ออายุ 4-5 ปี และเป็นสัตว์ที่มีฤดูการผสมพันธุ์ (seasonal breeding) มักจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็น
    คือในฤดูฝนหรือฤดูหนาวมีผู้รายงานว่าวงจรการสืบพันธุ์ของอูฐจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อูฐอาศัยในประเทศรัสเซียพบว่าอูฐประเภทสองตะโหนกจะแสดงอาการ
    เป็นสัดตลอดปี แต่อูฐตะโหนกเดียวจะเป็นสัดตลอดปี แต่อูฐตะโหนกเดียวจะเป็นสัตตามฤดูกาล ช่วงระยะเวลาการเป็นสัดของอูฐเพศเมียจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน
    โดยทั่วไปจะมีอาการกระวนกระวายมักมีนิสัยดุร้ายขึ้น อูฐมีวงรอบการเป็นสัดประมาณ 2 - 3 สัปดาห์มีระยะการตกไข่ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการผสมพันธุ์แล้ว 30 - 48 ชั่วโมง ระยะการเป็นสัดของอูฐนานประมาณ 3 - 4 วัน อูฐมีช่วงระยะห่างของการให้ลูก 24 เดือน ระยะตั้งท้องนาน 365-393 วัน ในด้านความสมบูรณ์พันธุ์ อูฐมีอัตราการผสมติดต่ำประมาณ 50 % หรือต่ำกว่า


       สรุป

                   จากการตรวจสอบเอกสารต่างๆพอจะสรุปได้ว่าอูฐเป็นสัตว์ที่น่าจะนำมาผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิต น้ำนมในพื้นที่ซึ่งมีความแห้งแล้งอากาศร้อนในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก  การเน้นด้านการเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตสูงโดยการปรับปรุงด้านการ จัดการเป็นวิธีหนึ่ง  อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่มีขีดจำกัดด้านการเลี้ยงสัตว์ก็จำเป็นที่ต้องนำมาพิจารณาการเลี้ยงอูฐในพื้นที่แห้งแล้งซึ่งไม่สามารถจะเลี้ยงสัตว์ให้ นมประเภทอื่นได้ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง  ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้นมเท่านั้น แต่ยังสามารถใข้ประโยชน์จาก ขน หนังและเนื้อเพื่อบริโภคอีกด้วยในพื้นที่ แห้งแล้งทะเลทรายรายการเพิ่มพื้นที่การทำการเกษตกรน่าจะใช้ประโยชน์จากอูฐได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อูฐเป็นสัตว์ที่มีปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบ กับสัตว์ให้นมประเภทอื่น  ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาแนวทางและความเป็นไปได้ให้การเลี้ยงให้เป็นเศรษฐกิจในอนาคต



    • Update : 19/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch