หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เที่ยวทั่วไทย-ถานีเกษตรหลวงอ่างขาง (2)

    ถานีเกษตรหลวงอ่างขาง (2)

                ผมไปที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ซึ่งแยกขวาจากถนนสายฝาง - แม่อาย - แม่จัน ที่ กม.๓๖.๕ แต่ไม่ได้หยุดที่ศูนย์ ฯ นี้ วิ่งเลยต่อไปอีก ๕ กม. ไปยังบ้านวังไผ่ ไปเยี่ยมชุมชนวังไผ่ ที่ชาวบ้านเป็นชาวไทลื้ออพยพมาจากสิบสองปันนา ในประเทศจีน มาตั้งรกรากอยู่ที่นี่กว่าสามสิบปีแล้ว ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย แต่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในอนุเคราะห์ของโครงการหลวง เขาเชิญผมมาชมเพื่อให้ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว มายังหมู่บ้านของเขาและช่วยประกาศด้วยว่า พวกเขายังไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งผมได้เขียนเล่าไปแล้ว เขามีที่พักแบบโฮมสเตย์ คิดราคาคนละ ๓๐๐ บาท ต่อคนต่อคืน พร้อมอาหารไทลื้อ ๒ มื้อ เอามาทบทวนอีกที สนใจติดต่อพ่อหลวงของวังไผ่ ชาวไทลื้อ ๐๘๕ ๗๑๓ ๖๐๓๕  หมู่บ้านเชิงเขา ริมแม่น้ำกก อากาศหนาวเย็นตลอดปี
                จากบ้านวังไผ่ กลับมาออกถนนสายฝาง - อ.แม่จัน (เชียงราย) แวะซื้อส้มที่สวนส้มสายน้ำผึ้ง สวนส้มธนาทร ที่ กม.๒๙ มีส้มหลายราคา กองเอาไว้ก็มี คัดใส่กล่องก็มี อาหาร เครื่องดื่มมีขายด้วย มีรถนำเที่ยวสวนเก็บสตางค์คนละ ๓๐ บาท ย่านนี้มีสวนส้มหลายสวน แต่สวนนี้น่าจะใหญ่กว่าเพื่อน จากสวนส้มธนาทร ก็กลับมายัง ท่าตอน ท่าเรือล่องไปยังเชียงราย มาผ่าน อ.แม่อาย ผ่าน อ.ฝาง พอถึงทางแยกขวา "กม. ๑๓๗" มีวัดท่าสำราญอยู่ปากทาง ก็เลี้ยวขวาเข้าถนนที่จะขึ้นสู่ดอยอ่างขาง ไปอีก ๒๕ กม. จึงจะถึงสถานีเกษตรหลวง และที่วัดท่าสำราญ นี้จะมีรถ ๒  แถว จอดรถรับผู้ที่จะขึ้นไปบนดอยอ่างขาง จอดอยู่ เพราะรถนักท่องเที่ยวที่มารถบัสจะขึ้นไม่ได้ รวมทั้งรถตู้ รถเก๋งที่กำลังไม่ดี ก็อย่าเสี่ยงขึ้นไป ขึ้นทางเชียงดาว ชันน้อยกว่าเส้นทางนี้ อาจจะขึ้นได้แต่หากรถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ คนขับมือดีสักหน่อย ก็ขึ้นได้สบายไป ผมขึ้นอ่างขางครั้งแรก ๆ นั้น ถนนไม่ได้ราดยางอย่าทุกวันนี้ สมัยนั้นรถเก๋งหมดสิทธิ์ ผมขึ้นครั้งแรกด้วยรถจิ๊บทหาร
                ก่อนถึงทางเข้าโครงการ จะผ่านรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขางเป็นรีสอร์ทชั้นดี รวมทั้งราคาด้วยผมเคยพักแล้ว สถานที่ประทับใจมาก แต่อาหารไม่สู้จะประทับใจนัก พอเลยรีสอร์ทไปแล้ว ก็จะเป็นลานกว้างอยู่หน้าประตูทางเข้าโครงการ เดี๋ยวนี้รอบลานกลายเป็นชุมชน มีร้านอาหารแบบยูนนาน มีที่พักที่ไม่โอ่อ่า พอพักได้ (ผมยังไม่เคยพัก) มีร้านขายของที่ระลึก ขายผักบนดอย ขายผลไม้สด ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ดองต่าง ๆ การเข้าชมสถานีเกษตรหลวง อ่างขาง ไม่ต้องขออนุญาตเอารถเข้าไปได้เลย ค่าบำรุงคนละ ๓๐ บาท ส่วนค่ารถเก็บคันละ ๕๐ บาท ภายในสถานีมีที่พัก มีทั้งสถานที่แบบให้กางเต็นท์นอน แบบที่พักรวมและบังกาโลน้อย พักได้ ๒ คน สร้างอยู่บนไหล่เขา แต่มีไม่กี่หลังต้องติดต่อจองมา การติดต่อหากติดต่อสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ติดต่อ ๐๕๓ ๔๕๐ ๑๐๗ - ๙ หากจะติดต่อกับมูลนิธิโครงการหลวง ติดต่อ ๐๕๓ ๘๑๐๗๖๕ - ๘ ต่อ ๑๑๖
                    ขับรถเที่ยวภายในสถานีเกษตรหลวง  เมื่อผ่านเข้าประตูมาแล้ว ก็เริ่มเที่ยวกันได้เลย ทางขวามือจะมีโรงเกลือดอกไม้ กว้างใหญ่มาก เข้าไปแล้วอยากอยู่ทุกวัน เพราะไม้ดอกเมืองหนาวในร่ม จะออกดอกเต็มไปหมด ไปฤดูไหนก็ได้เห็นเพราะอากาศบนดอยอ่างขางนี้ จะหนาวตลอดปี เช่น วันที่ผมไปอุณหภูมิต่ำสุด ดูจากปรอทที่แขวนไว้ที่หน้าประตูเข้าสโมสร ลงต่ำถึง "ศูนย์ องศาเซ็นเซียส" แต่ที่กระดานป้ายบอกว่า ต่ำสุด ยอดหญ้า ๒.๕ องศา ไม่ตรงกัน ส่วนสูงสุดในเวลากลางวัน ๑๕.๕ องศา ฯ ไปอ่างขางไม่ว่าฤดูไหน เตรียมเสื้อหนาวเอาไปให้เต็มที่ หนาวแท้แน่นอน และหนาวบ้านเรานั้น จะหนาวเย็นยิ่งกว่าเมืองนอก เพราะเมืองนอกหรือแถบยุโรป เขารู้ว่าอากาศของเขาหนาวแน่ เขาเตรียมกันหนาวไว้ เช่น ในอาคารมีเครื่องทำความร้อน ทำให้อุ่นตลอดเวลา ออกมานอกอาคารจึงจะกระทบกับความเย็นของอากาศ แม้จะต่ำกว่าศูนย์องศา ร่างกายก็ไม่ทันได้รับความเย็นเต็มที่ เพราะไม่ได้ออกมาเดินเล่น ออกมาเพื่อขึ้นรถซึ่งก็จะอุ่นอีก ลงรถก็เข้าอาคารก็อุ่นไม่หนาว เว้นแต่อยากหนาวให้ถึงใจ ก็เดินไปตามถนนได้รับความหนาวแน่ แต่ไม่เห็นใครเขาเดินเล่นกัน ส่วนหนาวบ้านเราไม่มีเครื่องช่วยให้อบอุ่น บางจังหวัด เช่น ลพบุรี ใกล้กรุงเทพ ฯ นิดเดียว ฤดูหนาวลพบุรีจะหนาวด้วยลม ลมหนาวพัดแรงเหลือเกิน หนาวอ่างขางในอาคารไม่มีเครื่องทำความร้อน ห่มผ้าอย่างเดียว ๒ ผืน ยังไม่อุ่นเลย ต้องบรรทุกเสื้อใส่เข้าไป ออกมานอกอาคารก็หนาวเย็นสมใจ ในโรงเรือนดอกไม้ที่จัดแสดงไม้ดอกเมืองหนาวในร่ม เช่น เจอราเนียม พิทูเนีย กล้วยไม้ ซิมบิเดียม โคมญี่ปุ่น ไซคลาเมน รองเท้านารีพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น และยังมีผลิตภัณฑ์ดอยคำ ปุ๋ย พันธุ์ไม้ดอก ผักสด ของที่ระลึก จำหน่ายด้วย แถมยังมีมุมกาแฟ ไปทีไรพอเดินชมเมื่อย ก็นั่งจิบกาแฟร้อน ๆ ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น หานั่งที่ไหนในบรรยากาศแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว
                        โรงเรือนกุหลาบตัดดอก  อยู่ฝั่งตรงข้าม ภายในโรงเรือนจะรวบรวมกุหลาบตัดดอก เพื่อการค้า ซึ่งจะมีเอกลักษณ์คือ เป็นกุหลาบที่มีกลิ่นหอม
                        โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก  จัดแสดงผักเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในพื้นที่โครงการหลวง มีผักแปลก ๆ หลายชนิด เช่น สวิตชาร์ด เซเลอรี่ พาร์สเลย์ รูบาร์บ เป็นต้น
                        นอกจากแปลงผักแล้ว หากโชคดีเหมือนวันที่ผมไป ต้นฝิ่นที่มีดอกสวยมากหลากสี ปลูกเอาไว้ให้ชมไม่มากนัก ออกดอกสีแดงเข้ม สีชมพูก็มี สวยจนไม่น่าเชื่อว่า เมื่อดอกโรยเป็นลูกแล้ว จะมากรีดเอายางจากลูกไปเคี่ยวเป็นฝิ่น เป็นยาเสพติดที่เป็นมหาภัย โดยเฉพาะต่อเยาวชน

                        สวนบอนไซอ่างขาง  เป็นสวนขนาดใหญ่ อยู่ใกล้ ๆ กับเรือนดอกไม้ ในสวนนี้จะจัดแสดงพันธุ์ไม้ที่สถานี ฯ มีตั้งแต่ยุคต้น ๆ และรวบรวมนำเอามาไว้ให้ชม ในรูปแบบบอนไซ มีโซนที่น่าสนใจ ได้แก่ บอนไซเมืองหนาว กลุ่มพืชทนแล้ง พืชกินแมลง และสวนหินธรรมชาติ
                        แปลงผลไม้เมืองหนาว  ถ้าไปตอนปลายหนาว จะเห็นไม้ผลเมืองหนาวออกดอกเต็มต้น เช่น ดอกท้อสีขาว ซึ่งท้อนี้แหละคือ ไม้หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้ชาวเขาปลูกท้อพันธุ์ดีแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งหัวใจของสถานีเกษตรหลวงแห่งนี้ เริ่มต้นจากพระราชดำริที่จะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น ชาวเขาเองบอกว่า ปลูกท้อลูกเล็ก ก็ได้เงินเท่าปลูกฝิ่นแล้ว แต่สถานี ฯ นำท้อพันธุ์ที่มีลูกขนาดใหญ่มาให้ปลูก รับซื้อผลผลิต หาทุนให้ ปลูกแล้วขายได้แน่นอน ราคาดี ชาวเขาจึงหันมาปลูกไม้ผลเมืองหนาวกัน เช่น ท้อ กีวี พีช พลับ พลัม สตรอเบอรี เป็นต้น

                        ขับรถเข้าไปจนถึงสโมสรทางซ้ายมือ จะได้ชมสวน ๘๐ อยู่ตรงข้ามสโมสร สวนนี้ไม้จะงาม ดอกแสนสวยจะมีให้ชมตลอดปี "สวน ๘๐" สร้างเมื่อ ๔ ปีที่แล้ว เมื่อ ม.จ.ภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง มีพระชนม์มายุครบ ๘๐ ชันษา ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มีพระชนม์มายุครบ ๘๐ พรรษา เหนือสวนขึ้นไปทางขวาคือ พระตำหนัก ล้อมรอบด้วยเมเปิลหอม และพันธุ์ไม้เมืองหนาวหลายชนิด สวนสมเด็จ อยู่ทางซ้ายต่ำลงไปจากสโมสร เป็นสวนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ประทับพักผ่อนเมื่อเวลาเสด็จมาประทับ ณ สถานี ฯ ในสวนจะมีไม้ดอก ประเภทฝิ่น (Poopy)
                        สวนคำดอย  รวบรวมพันธุ์ไม้ตระกูลโรโดเดนดรอน สายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
                        สวนกุหลาบอังกฤษ  รวบรวามสายพันธุ์กุหลาบจากอังกฤษ มากกว่า ๒๐๐ สายพันธุ์ ในช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี จะเป็นเวลาที่กุหลาบอังกฤษ ออกดอกบานสะพรั่ง
                        สวนหอม  จะรวบรวมพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอมเอาไว้ เช่น หอมหมื่นลี้ มิซิเลีย มะลิเลื้อย ฯ
                        สโมสร  เป็นร้านอาหารด้วย ตอนเช้าจะจัดเป็นแบบบุฟเฟต์ แต่หากไม่ใช่เทศกาลท่องเที่ยว ก็เป็นอาหารตามสั่ง มื้อเช้าบุฟเฟต์ มีอาหารทั้งฝรั่งและไทย จัดถูกใจคนกินข้าวมื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็นอาหารตามสั่ง คณะผมกินเช้า ส่วนมื้อกลางวัน ออกไปกินกันที่สโมสรทุกมื้อ อาหารดี ไม่แพง เปิดบริการถึงสามทุ่ม ที่ชอบมากคือ อาหารจากผักสด หรือจะซื้อผักพวกโสม รากโสมจากตลาดหน้าทางเข้า เอามาให้พ่อครัวเขาผัดให้ก็ได้ มื้อเย็นขอชวนชิมอาหารของสโมสร อย่าคิดออกไปหากินที่ภายนอก
                    สถานที่ท่องเที่ยวภายนอกสถานีเกษตรหลวงอ่างขางที่น่าสนใจ
                        หมู่บ้านคุ้ม  อยู่ริมลานหน้าทางเข้าสถานี ฯ มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ทั้งชาวไทยใหญ่ จีน ยูนนาน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย มีที่พัก ร้านอาหาร
                        หมู่บ้านหลวง  อยู่ในเส้นทางลงที่จะไปทางเชียงดาว เป็นชาวจีนยูนนาน อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และกลางหมู่บ้านทางขวา มีร้านข้าวซอยยูนนาน อร่อยอยู่ร้านหนึ่ง
                        หมู่บ้านขอบด้ง  ตั้งอยู่ห่างจากสถานีประมาณ ๓ กม. ชาวเขาเผ่ามูเซอดำอาศัยอยู่ อาชีพหลักคือ การเกษตร จำหน่ายของที่ระลึก เช่น กำไลหญ้าอิบูเค เอามาขายที่หน้าสโมสร ตั้งแต่เช้า
                        จุดชมพระอาทิตย์  อยู่ในเส้นทางไปบ้านนอแล จะได้สัมผัสกับแสงอรุณยามเช้า และยามเย็น
                        จุดชมวิวชายแดนไทย - พม่า  อยู่เลยบ้านนอแล ไปสัก ๔๐๐ เมตร คือ ฐานปฎิบัติการทหารบ้านนอแล ที่ตั้งฐานเฝ้าตรวจอยู่ด้านนี้ และอยู่ตรงข้ามกับฐานของทหารพม่าห่างกันสัก ๑ กม. มองเห็นกันอยู่ใกล้กันอย่างฉันท์มิตร และทหารพม่าข้ามมาซื้ออาหาร ของใช้จากฝั่งเรา ไปที่ฐานนี้มีอาหารแห้ง ขนม ไปฝากทหารบ้างก็จะดี ไม่มีอะไรเอาเงินใส่ซอง มอบให้เขาเป็นกำลังใจ
                        บ้านนอแล  ผมเอามาเล่าทีหลัง เส้นทางไปบ้านนี้ หากพักในสถานีที่อาคารที่ทำการศูนย์ ฯ ออกจากศูนย์ เลี้ยวซ้ายหักขึ้นไปเลย ไปตามเส้นนี้ก็ได้ หรือไปจากถนนนอกศูนย์ก็ได้ พักในศูนย์ไปตามเส้นนี้ดีกว่า เมื่อขึ้นไปแล้ว จะมองเห็นแปลงผักของชาวบ้านนอแล ที่โครงการหลวงอนุญาตให้อาศัยพื้นที่เพาะปลูก บ้านนอแล ชาวเขาเผ่าปะหล่องมาอยู่ ทางขวาคือ หมู่บ้านและที่ทำกินตามเชิงเขา ทางซ้ายของถนนคือ ดินแดนของพม่า และชาวปะหล่องอพยพมาจากพม่า เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว พวกมาทีหลังพักทางดินแดนพม่า คนละฟากถนนแต่อยู่ในความอุปการะของโครงการหลวง น่าเป็นห่วงเพราะเจ้าหน้าที่ของโครงการมีน้อย ไม่เหมาะกับงานรับพวกอพยพมากมายจำนวนพันเช่นนี้ และเป็นการเลี้ยงดูแบบเลี้ยงไม่โตคือ ช่วยหมดทุกอย่าง ที่ทำกิน ปลูกพืชผัก ลงทุนให้ ได้ผลมาก็ขายให้โครงการหลวงทั้งหมด จึงเป็นการเลี้ยงไม่โต ยังไม่ได้สัญชาติไทย และยังไม่ควรให้ ไม่เหมือนพวกไทลื้อที่เลี้ยงตัวเองได้ ได้มีโอกาสพูดคุยกับหัวหน้าของเขา เขาพอใจกับชีวิตอย่างนี้ นับถือศาสนาพุทธ อยากได้ศาลาการเปรียญใหม่ ให้ใหญ่ ๆ เพราะเขาไปนอน ไปฟังธรรมกันทุกวันพระ มีพระสงฆ์อยู่องค์เดียว อยากได้ห้องประชุมให้ใหม่ อยากได้ไปหมด
                        กิจกรรมขี่จักรยาน  มีเส้นทางขี่จักรยานชมธรรมชาติ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ๑๐ เส้นทาง
                        การดูนก  บนดอยนี้มีนกมากว่า ๑,๐๐๐ สายพันธุ์ ไปชมที่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ มีมาก

                        ไปชิมอาหารยูนนาน  ขนานแท้ ร้านอาหารหน้าทางเข้าสถานี ที่บ้านคุ้ม มีร้านอาหารยูนนานหลายร้าน ร้านที่ชิมในมื้อกลางวัน วันนี้คือ ร้านคุ้มผาไท เส้นทาง ถ้าหันหน้าเข้าประตูเข้าสถานี ฯ ทางซ้ายริมรั้วสถานีทางรถเข้าได้ แต่จอดรถที่ลานเดินเข้าไปดีกว่า เดินในซอยที่อยู่ซ้ายสุดนี้ เข้าไปสัก ๑๐ เมตร ชื่อร้านเขียนไว้ข้างรั้ว อีกป้ายเป็นชื่อ รีสอร์ท พอเข้าไปแล้วมีทางเลี้ยวซ้ายไปร้านอื่น ๆ ร้านหัวมุม ๒ ห้องคือ ร้านคุ้มผาไท มีพวกผลไม้แช่อิ่มใส่โหล ตั้งไว้หน้าร้าน
                        เห็ดหอม อบซีอิ๊ว  กินอาหารยูนนาน อย่าโดดข้ามไป อบเก่งมาก เคี้ยวสนุก
                        ซี่โครงหมู่ตุ๋นรากโสม ใส่มาในชามใบโต ร้อนแต่ระวังไม่มีควัน ซดชื่นใจ วันอากาศหนาว
                        ซี่โครงหมูทอดรากโสม เข้ากันกับรสซีอิ๊ว ที่ราดคลุกเคล้ามา เนื้อติดโครงร่อน ชุ่มฉ่ำด้วยรสซีอิ๊ว และหอมด้วยรากโสม จานนี้ไม่ควรพลาด
                        ผัดบล็อกโคลี่ หมูกรอบ ผักสด มีรสหวาน หมูกรอบก็เก่ง กรอบจริง ๆ
                        ผัดเผ็ดหมูป่า เคี้ยวกรุบ ๆ แสดงว่าหมูป่าแท้ หรืออาจจะเป็นหมู่ป่าเลี้ยงก็ได้ แต่เลี้ยงเก่งกินแล้ว ต้องบอกว่าเป็นหมูป่า คลุกข้าวร้อน ๆ ตักเข้าปากซดซี่โครงหมูตุ๋นตาม ข้าวหมดชามไม่รู้ตัว
                        ไก่อบผัดยูนนาน ผัดกับพริกแห้ง หอมใหญ่ ออกรสเผ็ดนิด ๆ อาหารยูนนาน จะถูกปากคนไทย เพราะจะมีรสเผ็ดนิด ๆ ไม่เผ็ดมากเท่าเผ็ดไทย
                        ของหวานไม่มี ออกไปซื้อผลไม้แช่อิ่ม ที่ใส่โหลไว้หน้าร้าน ผลไม้แปลก ๆ ก็มี เช่น ลูกซากุระแช่อิ่ม ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อนเลย พึ่งได้มาชิมบนดอยอ่างขาง นี่แหละ
                        วันกลับ ลงทางบ้านหลวง ผ่านทางแยกไปยังพระบรมธาตุดอยอ่างขาง ผ่านสำนักสงฆ์ดอยอ่างขาง ผ่านบ้านหลวงตามถนนสาย ๑๓๔๐ และลงมาบรรจบกับถนนใหญ่ ที่บ้านอรุโณทัย ที่ห่างจากตัวอำเภอเชียงดาว ๔๒ กม. ความสูงที่ควรบันทึกของอ่างขางคือ สูง ๑,๙๒๘ เมตร


    • Update : 16/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch