หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สัตว์หน้าดินในแหล่งน้ำ
    สัตว์หน้าดิน (Benthic animal, benthos) หมายความรวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่หากินหรือเกาะอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำ หรืออาจกำหนดว่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดตาของตะแกรงร่อนมาตรฐาน
    ของสหรัฐอเมริกา No. 30 (เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.589 มม.) ซึ่งใช้ร่อนสัตว์หน้าดินมาศึกษา

    ความสำคัญ

    สัตว์หน้าดินเป็นอาหารธรรมชาติที่สำคัญยิ่งของสัตว์น้ำพวก ปู กุ้ง ปลา ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ ในการตรวจกระเพาะอาหารของปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 28 ชนิด พบว่า ปลาที่กินเฉพาะสัตว์หน้าดินอย่างเดียว หรือที่กินทั้งสัตว์หน้าดินและแพลงค์ตอนด้วยนั้นมีจำนวนถึง 25 ชนิด แสดงให้เห็นว่าสัตว์หน้าดินเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดของสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ในการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อที่มีการให้อาหารเสริมเพื่อเร่งผลผลิต สัตว์หน้าดินก็มีความสำคัญยิ่งเช่นกัน
    ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำที่แม้จะมีการให้อาหารเสริมอยู่แล้ว แต่หากขาดอาหารจำพวกสัตว์หน้าดินในบ่อ หรือมีน้อย ผลผลิตจะน้อยกว่าบ่อที่มีอาหาารธรรมชาติที่มีสัตว์หน้าดินอุดมสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
    ในสัตว์หน้าดินจะมีปัจจัยในการเจริญเติบโต (growth factor) บางตัวที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ และจากการที่ได้ตรวจคุณภาพของอาหารเกี่ยวกับอัตราในการเปลี่ยนให้เป็นเนื้อหรือค่าเอฟ.ซี.อาร์
    (F.C.R.; Food Conversion Rate) ของสัตว์หน้าดิน ปลาและผักอื่นหลายชนิด พบว่าสัตว์หน้าดินมีประสิทธิภาพสูงกว่าเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาเป็ดหรือพวกพืชผักอื่นๆ

    เครื่องมือในการรวบรวมตัวอย่างสัตว์หน้าดิน

    เนื่องจากได้ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์หน้าดินดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
    นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามคิดแบบเครื่องมือรวบรวมสัตว์หน้าดินขึ้นมาหลายแบบเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการสำรวจ
    โดยทั่วไปมักนิยมใช้เครื่องตักดินชนิด Ekman dredge สำหรับดินเลน ดินหยุ่น หรือในที่ไม่มีกระแสน้ำ


    สำหรับในดินแข็ง ดินดาน หรือในที่ที่มีกระแสน้ำเชี่ยวจะใช้ Peterson dredge


    โดยจะหย่อยเครื่องมือลงไปที่พื้นดินจากนั้นจะปล่อยทุ่นลงไปกระทบปุ่มที่อยู่ด้านบนของเครื่องมือทำให้
    ปลายด้านล่างของเครื่องมือที่เปิดอยู่ปิดตัวลง ดินและสัตว์หน้าดินที่อยู่บริเวณนั้นจะถูกตักเข้าไปในเครื่อง

    เครื่องมือ Multiple-plate เป็นเครื่องมือที่เพิ่งคิดขึ้น เป็นเครื่องมือที่ให้ที่อยู่อาศัยใหม่ ที่ค่อนข้างจะปลอดภัยแก่สัตว์น้ำขนาดเล็กในบริเวณนั้น ทำจากแผ่นพลาสติกซ้อนกันหลายชั้น เว้นช่องว่างห่างกันประมาณ 1-2 ซม.

    โดยจะวางเครื่องมือนี้ทิ้งไว้ที่พื้นท้องน้ำเพื่อล่อให้สัตว์หน้าดินเข้ามาอาศัยระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำขึ้นมาตรวจนับจำนวน ได้มีการทดลองใช้เครื่องมือ Multiple-plate เก็บตัวอย่างสัตว์ในบ่อปลาและในแม่น้ำ เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ พบว่าเครื่องมือนี้ใช้ง่ายและสะดวกกว่าเครื่องมือตักดินชนิดอื่นๆ และในแง่ของ standing cropก็ให้ผลที่ใกล้เคียงยิ่งกว่า เพราะเครื่องมือตักดินชนิดอื่นๆ นั้นเป็นการเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินที่เคลื่อนที่ได้ช้า หรือเหลือจากการถูกกินโดยสัตว์อื่นมาแล้ว หากพบสัตว์หน้าดินในปริมาณน้อย ก็อาจหมายความว่ามีปริมาณปลามากก็ได้ อีกทั้งชนิดและจำนวนตัวของสัตว์ที่เก็บโดยเครื่องมือ Multiple-plate นี้ก็สามารถใช้เป็นดรรชนีชี้สภาพน้ำไหลได้เช่นกัน ระยะเวลาวางเครื่องล่อ ประมาณ 3 สัปดาห์

    สัตว์หน้าดินที่น่าสนใจ
    PHYLUM ANNELIDA

    สัตว์ในไฟลัมนี้ได้แก่ ไส้เดือน ปลิง และแม่เพรียง ซึ่งมีลำตัวแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง คือมีผนังกั้นอยู่ภายในด้วย ผนังลำตัวนิ่มเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมี cuticle คลุมอยู่บางๆ ปากอยู่ที่ปล้องหน้าสุด และช่องทวารอยู่ที่ปล้องท้ายสุด บางชนิดมีตา บางชนิดไม่มี การเจริญเติบโตโดยการเพิ่มปล้อง ปล้องที่แก่ที่สุดจะอยู่ทางหัว ปล้องที่อ่อนที่สุดจะอยู่ถัดปล้องสุดท้าย (pygidium) การสืบพันธุ์มีทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ และทุกชนิดมีสองเพศในตัวเดียว
    (hermaphrodite) ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นก็มีตัวแทนอยู่ในน้ำจืด และส่วนใหญ่เป็นสัตว์หน้าดินทั้ง 3 ชั้น คือ
    CLASS POLYCHAETA, CLASS OLIGOCHAETA and CLASS HIRUDINEA

    CLASS POLYCHAETA ส่วนใหญ่สัตว์ในชั้นนี้เป็นสัตว์ทะเล มีพบในน้ำจืดน้อย แหล่งน้ำจืดที่พบเป็นแหล่งน้ำจืดที่ติดต่อหรือเคยติดต่อกับทะเลมาก่อน พวกที่อยู่ในน้ำจืดส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ลำตัวกลมยาวแบ่งเป็นปล้องๆ ลักษณะเด่นที่สำคัญที่สุดคือ แต่ละปล้องจะมีอวัยวะที่เรียกว่า parapodiaซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแบนและมีขนที่ปลายใช้ในการว่ายน้ำ ส่วนหัวเจริญดี มีตา ช่องปาก หนวด และ palp 1 คู่ ช่องทวารจะอยู่ที่ปล้องสุดท้ายของลำตัว สัตว์ในชั้นนี้แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ พวกที่อยู่เป็นอิสระ (errant) และ พวกที่อยู่กับที่ (sedentary) พวกที่อยู่เป็นอิสระส่วนใหญ่เป็นพวกหากินและอาศัยอยู่ตามผิวน้ำ มีส่วนน้อยที่ว่ายหากินอยู่ตามซอกหินพื้นท้องน้ำ ส่วนพวกอยู่กับที่นั้นส่วนมากอยู่ในปลอก ทั้งหมดเป็นสัตว์หน้าดิน
    polychaete
    แสดงขนหรือ parapodia

    ในสหรัฐอเมริกา พบ polychaete น้ำจืด 9 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ NEREIDAEส่วนใน วงศ์ SABELLIDAE นั้นมีพบในน้ำจืดเพียงชนิดเดียว คือ Manayunkia speciosa ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย มีรายงานว่าพบในน้ำกร่อย ในบ่อปลานวลจันทร์ทะเลและลานเลี้ยงหอยนางรม
    สำหรับในประเทศไทย ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับ Polychaete น้ำจืดไว้ในที่อื่นนอกจากใน Fauna of Thailand และในหนังสือวารสารสยามสมาคมที่มีอยู่เพียงตัวเดียวคือ ตัวสงกรานต์ Phyllodoce sp.
    ส่วนในน้ำเค็มมีรายงาน ถึงพวก Nereid บ้าง
    Phyllodoce sp.        Nereid

    CLASS OLIGOCHAETA สัตว์ในชั้นนี้ได้แก่ไส้เดือนที่รู้จักกันดี พวกที่อยู่ในน้ำเรียกว่าไส้เดือนน้ำ
    (aquatic earthworm) มีรูปร่าง ขนาด และลักษณะคล้ายคลึงกับ CLASS POLYCHAETA
    แต่ไม่มี parapodia มีแต่ขนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า CLASS POLYCHAETA
    เป็นบรรพบุรุษของ CLASS OLIGOCHAETA หรืออย่างน้อยก็มีบรรพบุรุษร่วมกันส่วนหัวของสัตว์นี้ไม่เจริญ ไม่มีหนวด palp และส่วนมากไม่มีตา prostomium ขนาดเล็ก
    การสืบพันธุ์มีทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ พวกที่อยู่ในน้ำมักมีขนยาวกว่าพวกที่อยู่ในดิน ไส้เดือนน้ำมีทั้งหมด 10 วงศ์ แต่อยู่ในน้ำอย่างแท้จริงมี 4 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Aeolosmatidae, Naididae, Tubificidae และ Branchiobdellidae นอกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหรือพวกที่อยู่ในดิน พวกที่อยู่ในน้ำทั้งหมดเป็นสัตว์หน้าดินมักมีขนาดเล็กตั้งแต่ 1-30 มม. มีลำตัวเปราะบางใส จำนวนปล้องของสัตว์ในชั้นนี้แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นชนิดเดียวกันก็ตาม มีอยู่เพียงวงศ์เดียวที่มีจำนวนปล้องแน่นอน คือ Branchiobdellidae ซึ่งมี่ส่วนหัวแยกออกชัดเจนและส่วนลำตัวมี 11 ปล้อง ในวงศ์อื่นๆ มีจำนวนปล้องแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ 7-500 ปล้อง
    ไส้เดือนน้ำมีรายงานไว้ในประเทศไทยเพียง 2 ชนิด อยู่ในวงศ์ Tubificidae
    คือ Tubifex   sp. และ Bothrioneurum iris  ซึ่งสามารถพบได้ในบ่อกุ้งที่มีความสมบูรณ์ของธาตุอาหาร
    Tubifex   sp.   


    PHYLUM ARTHROPODA

    CLASS INSECTA พวกแมลง สัตว์ในชั้นนี้มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าสัตว์อื่นมีมากว่า 1,000,000 ชนิด รวมทั้งหมดประมาณ 32-35 อันดับ ในจำนวนนี้มีที่เป็นแมลงน้ำหรือครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ เพียง 11 อันดับ คิดเป็นประมาณ 4 เปอร์เซนต์ของชนิดของแมลงทั้งหมดแมลงน้ำส่วนใหญ่อยู่ในน้ำจืด มีน้อยชนิดที่อยู่ในทะเลหรือน้ำกร่อย  แมลงน้ำสามารถปรับตัวให้เข้ากับแหล่งน้ำทุกชนิดของน้ำจืด ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำตื้น ลึกไม่เกิน 10 เมตร และในที่มีปริมาณออกซิเจน ในแหล่งน้ำเสียหรือในที่ขาดออกซิเจนจะไม่มีตัวอ่อนในแมลงอยู่เลย ยกเว้นบางชนิดในอันดับ DIPTERA เท่านั้น ในประเทศไทยสำรวจพบแมลงทั้งหมด 27 อันดับ
    เฉพาะอันดับที่มีตัวแทนอยู่ในน้ำมี 10 อันดับ
    และยังเป็นคลาสที่สำคัญที่สามารถพบได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งทั่วไป โดยเฉพาะในเขตน้ำจืด


    ORDER COLEMBOLA แมลงหางดีด (spring tail) เป็นอันดับของแมลงที่ค่อนข้างโบราณ ไม่มีปีกมักพบอยู่ตามริมฝั่ง และส่วนมากพบดีดตัวอยู่บนผิวน้ำ ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด
    แมลงหางดีด (spring tail)


    ORDER HEMIPTERA เป็นอันดับของแมลงพวกมวน มีตัวอ่อนอยู่ในน้ำ
    และมีบางชนิดอยู่ในน้ำทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เรียกว่าพวก paurometabolous insects มีพบอยู่ในประเทศไทยมากชนิดด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นตัวเบียฬ บางชนิดทำลายลูกปลาเล็กๆ ในน้ำได้ มีน้อยชนิดที่กินพืชและอินทรีย์วัตถุในน้ำเป็นอาหาร
     Hemiptera   


    ORDER EUPHEMEROPTERA
    เป็นอันดับของแมลงชีปะขาว (Mayfly)
    ORDER ODONATA คือพวกแมลงปอ (Dragon and Damsel fly)
    ORDER PLECOPTERA พวก Stonefly ทั้งสาม ORDER นี้เป็น Hemimetabolous insects คือมีตัวเต็มวัยอยู่บนบก แต่ตัวอ่อน (naiads) อยู่ในน้ำและมีเหงือกช่วยหายใจ ทั้งสามชนิดนี้มีมากชนิดและเป็นอาหารที่ดีของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะใน ORDER EUPHEMEROPTERA
    แต่ ORDER ODONATA และ ORDER PLECOPTERA
    ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำเป็นผู้ล่ากินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร
    ชีปะขาวตัวอ่อน      ชีปะขาวเต็มวัย

    ตัวอ่อนแมลงปอบ้าน          ตัวอ่อนแมลงปอเข็ม

    ตัวอ่อน stonefly        ตัวเต็มวัย stonefly


    ORDER COLEOPTERA ได้แก่พวกแมลงปีกแข็งเช่นด้วง
    ORDER DIPTERA ได้แก่พวกแมลงวัน, หนอนแดง
    ORDER TRICOPTERA คือพวกหนอนปลอกน้ำ
    ทั้งสามอันดับนี้เกือบทั้งหมดมีตัวอ่อนในน้ำเป็น holometabolous insects โดยเฉพาะ ORDER COLEOPTERA มีตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในน้ำหลายชนิด


    ORDER TRICOPTERA เช่นพวกหนอนปลอกน้ำ (Caddisfly)
    นับว่าเป็นดรรชนีบ่งบอกความสะอาดของน้ำที่สำคัญตัวหนึ่ง
    โดยจะพบในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างสะอาดเท่านั้น แมลงพวกนี้มีลักษณะที่พิเศษคือในตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำจะเก็บเอาเศษกรวด ดิน ใบไม้ มาสร้างเป็นรังห่อหุ้มตัว
    ตัวอ่อนหนอนปลอกน้ำ                ตัวเต็มวัย



    ORDER DIPTERA ได้แก่พวกหนอนแดง (Chironomid)
    ซึ่งเป็นที่ให้ความสนใจกันมากในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เนื่องจากเป็นสัตว์หน้าดินที่มีโปรตีนสูง และค่อนข้างทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงภายในบ่อได้ดีพบได้ง่ายในบริเวณแหล่งน้ำจืดทั่วไป ตัวอ่อนมีสีแดงของฮีโมโกลบิน (สามารถใช้สังเกตสภาพบ่อน้ำได้หากมีออกซิเจนมากเพียงพอจะมีสีแดงสด)
    ตัวเต็มวัยคือพวกริ้นน้ำจืดมีลักษณะและขนาดคล้ายยุงแต่มีหนวดคู่หน้ายาวและแตกออกคล้ายขนนก
    หนอนแดงจะเป็นสัตว์หน้าดินที่พบได้มากในบ่อกุ้งที่มีความสมบูรณ์ดี และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกกุ้งวัยอ่อน
    โตเร็วและแข็งแรง
      ตัวอ่อนหนอนแดง

     วงจรชีวิตหนอนแดง

        หนอนแดงตัวเต็มวัยลักษณะคล้ายยุงแต่จะมีพู่ขนตรงส่วนหัว

    อาหารของสัตว์หน้าดิน

    สัตว์หน้าดินจะกินอาหารได้หลากหลายแตกต่างกันในแต่ละชนิด
    -สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่อยู่ตามผิวดิน
    -เศษซากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ตามพื้นบ่อ
    -แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์ขนาดเล็ก
    -แบคทีเรียที่อยู่ตามตะกอนสารอินทรีย์บริเวณพื้นบ่อ

    ประโยชน์ของสัตว์หน้าดินที่มีต่อบ่อกุ้ง

    1. สัตว์หน้าดินเป็นผู้บริโภคอันดับต้นในระบบห่วงโซ่อาหารและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำขนาดใหญ่อื่นๆ โดยเป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ที่เป็นประโยชน์และสำคัญยิ่งต่อกุ้ง ประกอบกับเป็นอาหารที่มีชีวิต จึงทำให้กุ้งจะสามารถได้รับคุณค่าทางอาหารและพลังงานได้อย่างครบถ้วน ในระบบสายใย  อาหารสัตว์หน้าดินมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะในระยะเดือนแรกของการเลี้ยงกุ้ง เหมาะสำหรับกุ้งเล็ก เนื่องจากช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและภูมิคุ้มกันของลูกกุ้งได้ดีมากในช่วงเดือนแรก และลูกกุ้งส่วนมากยังติดนิสัยการกินอาหารสดมาจากบ่อเพาะดังนั้นในช่วงนี้สัตว์หน้าดินจึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นอาหารเสริมธรรมชาติให้กับลูกกุ้งได้ และยังเป็นการลดต้นทุนการใช้อาหารเม็ดขนาดเล็กได้

    2. ชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินสามารถใช้เป็นดรรชนีแสดงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำได้ โดยแหล่งน้ำใดมีชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินมากย่อมมีผลผลิตสัตว์น้ำสูง โดยประเทศในเขตร้อนจะมีทั้งชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินที่สูงกว่าเขตอบอุ่น เนื่องจากมีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สัตว์หน้าดินจะเจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี

    3. เป็นดรรชนีบ่งบอกความเน่าเสียของแหล่งน้ำ สัตว์หน้าดินหลายชนิด
    จะไม่สามารถทนอยู่แหล่งน้ำที่มีสภาพเน่าเสีย มีออกซิเจนต่ำหรือมีปริมารสารพิษตกค้างสูงได้เช่นพวกหนอนปลอกน้ำ ดังนั้นหากพบสัตว์หน้าดินเหล่านี้ย่อมแสดงว่าแหล่งน้ำนั้นมีความสะอาดสูง ในขณะเดียวกันก็มีสัตว์หน้าดินบางชนิดที่สามารถอยู่ได้ดีในที่ๆมีความเน่าเสียหรือปริมาณสารพิษสูงได้ เช่นพวกหนอนแดง

    4. ช่วยย่อยกำจัดซากของเสียควบคุมตะกอนอินทรีย์และอนินทรีย์หรือสารเคมีบางชนิดไม่ให้มีมากเกินไป เพราะสัตว์หน้าดินจะนำสารเหล่านี้มาใช้ในการเติบโตโดยการเปลี่ยนสารเคมีต่างๆไปเป็นส่วนประกอบของเซลล์
    และสัตว์หน้าดินจะถูกกินต่อโดยสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่า ทำให้เป็นการเร่งวัฏจักรต่างๆของแร่ธาตุให้ดำเนินไปตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ ทำให้สายใยในระบบนิเวศน์สมบูรณ์ ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีกี่ทำการศึกษากันมาก
    โดยมีการพัฒนาการนำไส้เดือนทะเลเช่น Polychaeta ในครอบครัว Capitallidaeมาใช้ในการบำบัดมลพิษของดินในระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นในการทนทานต่อ
    สภาพดินเน่าเสียที่มีสารประเภทซัลไฟด์สูง และออกซิเจนที่ละลายน้ำต่ำ
    และสามารถขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นตามปริมาณสารอินทรีย์ในดินด้วยอัตราที่สูงมาก

    ปัจจัยภายในบ่อที่มีผลต่อสัตว์หน้าดิน

    1. สารอินทรีย์ เกิดจากการสะสมของตะกอนแขวนลอยที่จมลงมา ได้แก่ซากพืชซากสัตว์ภายในบ่อ รวมทั้งอาหารที่เหลือซึ่งเป็นสาเหตุหลักของสารอินทรีย์ภายในบ่อ การย่อยสลายจะเกิดที่พื้นก้นบ่อและจะอยู่ในสภาวะที่มีออกซิเจนและค่าพีเอสต่ำ ซึ่งผลิตที่ได้โดยมากจะเป็นในรูปแก๊สที่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และฟอสฟอรัส ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปจะขัดขวางกระบวนการหายใจของสัตว์หน้าดิน ดังนั้นก่อนที่จะมีการเพิ่มจำนวนสัตว์หน้าดิน ควรใส่จุลินทรีย์ก่อนเพื่อช่วยย่อยอินทรีย์สารให้เป็นโมเลกุลเล็กก่อนแล้วจึงทำการเพิ่มสัตว์หน้าดินต่อไป

    2. ค่าพีเอช ค่าที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 6.5 - 8.5 ซึ่งอยู่ในช่วงที่กว้างและสัตว์หน้าดินยังสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในน้ำได้ค่อนข้างสูง กรณีที่พื้นบ่อมีแอมโมเนียและไนไตรท์สูง จะทำให้บริเวณนั้นมีความเป็นด่างสูงไม่เหมาะสมต่อกลุ่มสัตว์หน้าดิน จึงควรมีการปรับสภาพดินภายในบ่อก่อน โดยอาจใช้จุลินทรีย์ หรือสารปรับสภาพบ่อ เช่นไคลน็อปทิโลไลท์

    3. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) มีความสำคัญมากจำเป็นต่อการหายใจของสัตว์หน้าดินและกุ้งภายในบ่อ ในช่วงเดือนแรกอาจยังไม่มีปัญหามากนักแต่เมื่อระยะเวลาการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจะมีสารอินทรีย์และของเสียต่างๆเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมต่างๆภายในบ่อมีมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดปัญหา
    การขาดออกซิเจนขึ้นมาได้

    4. ธาตุอาหารในน้ำ ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อสัตว์หน้าดินภายในบ่อได้แก่ ไนโตรเจน, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส, บอริก, และซิลิสิกแอซิด ซึ่งแม้ว่าในน้ำทะเลจะมีแร่ธาตุเหล่านี้อยู่แล้วแต่ในการเลี้ยงที่ระบบความเค็มต่ำ และอัตราการปล่อยกุ้งหนาแน่นมาก ทำให้แร่ธาตุต่างๆซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว จะยังไม่
    เพียงพอต่อสัตว์น้ำต่างๆภายในบ่อ ทั้งกุ้ง, แพลงก์ตอน รวมทั้งสัตว์หน้าดิน ซึ่งเมื่อธาตุอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอการเจริญเติบโตของสัตว์หน้าดินภายในบ่อก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นในการเลี้ยงกุ้งระบบพัฒนาการเสริมแร่ธาตุในบ่อเลี้ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก

    5. สารพิษและแก๊สพิษ สัตว์หน้าดินจะเป็นส่งมีชีวิตที่ค่อนข้างจะตอบสนองต่อสภาวะทางเคมีรอบๆตัวได้เร็ว และละเอียดอ่อน ดังนั้นหากในน้ำมีปริมาณสารพิษหรือสารเคมีที่เกิดจากการใช้เคมีปรับสภาพน้ำหรือยาฆ่าเชื้อ จะทำให้สัตว์หน้าดินในบางกลุ่มไม่สามารถทนอยู่ได้ และนอกจากนั้น
    ปริมาณแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆภายในบ่อ เช่น แก๊สแอมโมเนีย, ไนไตรท์,และไฮโดรเจนซัลไฟด์ เหล่านี้ล้วนเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดินเช่นเดียวกับกุ้ง ดังนั้นการจัดการบ่อที่ดีและมีปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอทั่วพื้นบ่อ จะเป็นการช่วยลดปัญหาความเป็นพิษของแก๊สพิษเหล่านี้ได้

    6. วงจรชีวิต สัตว์หน้าดินบางชนิดโดยเฉพาะในน้ำจืดจะพบสัตว์หน้าดินที่เป็นกลุ่มตัวอ่อนแมลง เช่นหนอนแดงจะดำรงชีวิตอยู่ในน้ำเพียงในช่วงตัวอ่อนหลังหลังจากฟักออกจากไข่ ประมาณ 12-20 วัน
    จากนั้นเมื่อมีการพัฒนาหรือลอกคราบก็จะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นมาอยู่บนบกเป็นแมลงตัวเต็มวัยก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงผสมพันธุ์ ใช้เวลาประมาณ 7-15 วัน และกลับไปวางไข่ลงในน้ำอีกครั้งดังนั้นปริมาณของสัตว์หน้าดินในบางครั้งอาจต้องคำนึงถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์แมลงของรอบๆบ่อเลี้ยงด้วย

    7. ฤดูกาล ในช่วงฤดูฝนเราอาจจะพบว่าปริมาณสัตว์หน้าดินในบางชนิดจะมีการลดลงโดยเฉพาะในพวกที่มีความอดทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมได้น้อย เนื่องจากจะมีการพัดพาเอาตะกอนต่างๆลงมาในน้ำ สภาพทางเคมีและสารประกอบต่างๆในน้ำจะถูกเจือจางหรือทำให้เพิ่มขึ้นจากน้ำที่ไหลเข้ามาใหม่ สภาพเช่นนี้อาจส่งผลต่อการหายใจและระบบต่างๆภายในตัวของสัตว์หน้าดินได้และปริมาณสัตว์หน้าดินในพวกแมลงในตัวเต็มวัยอาจได้รับผลจากน้ำฝนที่ตกลงมาทำให้มีจำนวนลดลงได้ทำให้อัตราการผสมพันธุ์วางไข่ลดลง แต่ในบางรายงานพบว่าอาจมีการเพิ่มขึ้นของสัตว์หน้าดินบางชนิดที่สามารถทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ดีโดยเฉพาะบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำหรือปากอ่าว เนื่องมาจากการที่จะมีปริมาณสารอินทรีย์ต่างๆที่เพิ่มขึ้นจากน้ำที่ไหลลงมาจะบนพื้นดินพัดพาธาตุอาหารมาด้วย

    8. สภาพแวดล้อมรอบๆบ่อเลี้ยง จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่าสัตว์หน้าดินส่วนมากที่พบในบ่อเลี้ยงกุ้งจะเป็นพวกตัวอ่อนแมลง ดังนั้นหากรอบๆบ่อเลี้ยงมีสภาพที่เป็นธรรมชาติ ตามคันบ่อมีกอหญ้าหรือต้นไม้เล็กๆขึ้นบ้าง ก็จะเป็นการช่วยให้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงตัวเต็มวัย
    ที่จะมาวางไข่ในบ่อเลี้ยงกุ้ง


    การสร้างสัตว์หน้าดินในบ่อกุ้ง

    1. การสร้างสัตว์หน้าดินในบ่อกุ้งต้องเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเตรียมบ่อก่อนนำน้ำเข้าบ่อ โดยหลังจากตากบ่อแล้วควรมีการไถพรวนพลิกหน้าดินก่อนเพื่อเป็นการระบายแก๊สแอมโมเนียที่อยู่ใต้ผิวหน้าดินออก และให้จุลินทรีย์ที่อยู่ใต้ผิวดินสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ดีมากขึ้นเมื่อได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ โดยทำการระบายน้ำเข้าบ่อเพียงเล็กน้อยพอท่วมพื้นบ่อ แล้วใช้รถไถเดินตามไถพรวนพลิกหน้าดินไปในทางเดียวกันจากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน
    แล้วทำการไถพรวนอีกครั้งในแนวขวางตัดกับครั้งแรกแล้วทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นทำซ้ำอีกครั้งก่อนนำน้ำเข้าบ่อ

    2. การเติมน้ำควรค่อยๆเติมน้ำจากบ่อพักเข้าบ่อ โดยครั้งแรกให้น้ำเข้าบ่อประมาณ 30-40 ซม. เนื่องจากเป็นระดับน้ำที่ไม่ลึกเกินไปที่สัตว์หน้าดินโดยเฉพาะพวกตัวอ่อนแมลงจะเจริญได้ดี และควรจะเสริมอาหารสำหรับสัตว์หน้าดินลงไปด้วยในช่วงนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มอาหารให้สัตว์หน้าดิน
    หลังจากนั้นปล่อยไว้ประมาณ 5-7 วันเพื่อล่อให้แมลงมาวางไข่ รวมทั้งเป็นการพักน้ำให้เชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำตายไปเอง แล้วจึงค่อยๆเพิ่มระดับน้ำขึ้นโดยนำน้ำชั้นบนในบ่อพักประมาณไม่เกิน 50 ซม. วัดจากผิวน้ำ ทั้งนี้ในช่วงหัวค่ำ (18.30-20.00 น.) ควรปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำนิ่งไม่รบกวนแมลงที่จะมาวางไข่

    3. การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคในระหว่างการเตรียมบ่อควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในบ่อเลี้ยง ควรทำการฆ่าเชื้อในบ่อพักน้ำก่อนนำน้ำเข้าบ่อจะเป็นการดีที่สุด เนื่องจากการใช้ยาฆ่าเชื้อเช่น คลอรีน หรือฟอร์มาลิน จะทำให้สัตว์หน้าดิน และแพลงก์ตอนตายไปด้วย เป็นการทำลายสมดุลในบ่อเลี้ยง และการทำสีน้ำยากขึ้น หากจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงควรใช้ประเภทไอโอดีน เนื่องจากจะไม่มีผลกระทบต่อสัตว์หน้าดินและแพลงก์ตอน ทั้งนี้รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าเชื้อที่รุนแรงในระหว่างการเลี้ยงด้วย กรณีใช้ยาฆ่าเชื้อแล้วต้องทิ้งให้ยาหมดฤทธิ์โดยประมาณ 3-4 วัน ก่อนนำน้ำเข้าบ่อเลี้ยง

    4. ก่อนปล่อยลูกกุ้งควรทำการสร้างสัตว์หน้าดินบริเวณในคอกผ้าก่อนอย่างน้อย 3-5 วันเพื่อให้มีปริมาณสัตว์หน้าดินเพียงพอต่อลูกกุ้งในระยะแรก

    5. ในระหว่างการเลี้ยงควรระมัดระวังเรื่องปริมาณออกซิเจนบริเวณพื้นบ่อให้สูงเพียงพอต่อการใช้ของทั้งกุ้งและสัตว์หน้าดินด้วย รวมทั้งเรื่องปริมาณสารอินทรีย์ที่มากเกินไปบริเวณพื้นบ่อที่เป็นสาเหตุสำคัญของแอมโมเนีย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสัตว์หน้าดินได้ ในระหว่างเลี้ยงหากมีแก็สแอมโมเนียเพิ่มมากขึ้น


    • Update : 12/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch