หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

    ทำไมต้องตรวจคุณภาพน้ำ

         สัตว์น้ำจำเป็นต้องอาศัยในการดำรงชีวิต  คุณสมบัติน้ำจะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและที่ตั้งต่างกัน  เช่น  แม่น้ำ  ลำธารคลอง 

     จะมีคุณสมบัติของน้ำแตกต่างจาก  หนอง  บึง  อ่างเก็บน้ำ  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่งรวมถึงบาดาลที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากแหล่งน้ำผิวดินอื่นๆ 

    การตรวจวัดคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ  เพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำ 

    ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ประสบความสำเร็จ

     

    ตรวจคุณภาพน้ำอย่างไร

         เอาน้ำใส่ขวดโดย  เลือกใช้ขวดชนิดใดก็ได้  (ขนาดขวดเหล้าขาวหนึ่งกลมกำลังดี)  ควรมีน้ำหนักเบาและไม่แตกง่าย  ที่สำคัญก่อนการใช้ขวดเก็บตัวอย่างทุกครั้ง  ควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง  เมื่อเก็บตัวอย่างน้ำเสร็จแล้ว  ควรปิดฝาให้สนิท  ปิดฉลากทุกใบให้ชัดเจน  โดยฉลากจะต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ละเอียด  เช่น  สถานที่เก็บตัวอย่าง  วัน  เวลาของการเก็บตัวอย่าง  แหล่งน้ำของตัวอย่าง  ชื่อสกุลของผู้เก็บตัวอย่าง  สี  กลิ่นของน้ำ  ความขุ่น  ขนาดบ่อและปลาที่เลี้ยงมาบอกเจ้าหน้าที่  เพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

     

     

     

     

     

    คุณภาพน้ำบอกอะไรกับเกษตรกร
     

     

    อุณหภูมิน้ำ

    ควรอยู่ในช่วง  23-32  องศาเซลเซียส  วิธีง่ายๆ   คือสัมผัสด้วยมือ  น้ำจะต้องไม่ร้อยหรือเย็นจนเกินไป  ถ้าน้ำเย็นมากปลากินอาหารน้อยลง  ควรลดปริมาณน้ำในบ่อและลดปริมาณอาหารลง

     

     

     

     

     

     

    ปริมาณออกซิเจน

    โดยเฉลี่ยปริมาณออกซิเจนในรอบวันไม่ควรต่ำกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร  ถ้าต่ำกว่านี้อาจทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ดีหรือตายได้  เมื่อปริมาณออซิเจนต่ำให้ใช้เครื่องตีน้ำหรือสูบพ่นน้ำไปในอากาศก็ได้  เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณในน้ำ  โดยเฉพาะเวลากลางคืนและเช้ามืด

     

     

     

     

     

     

    ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

    ควรอยู่ระหว่าง 6.5-9  การเปลี่ยนแปลงของ pH  ที่เกิดขึ้นจะทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนไป  และมีผลต่อความเป็นพิษของสารบางชนิดได้   เช่น  ความเป็นพิษของแอมโมโนเนียมากขึ้นหรือลดลงได้

     

     

     

     

     

     

    ความกระด้าง

    น้ำอ่อนหรือน้ำที่กระด้างเกินไปถือว่าไม่มีความเหมาะสม  ถ้าน้ำอ่อนเมื่อทำการเพาะเลี้ยงจะต้องมีการเติมปูนขาว  เพื่อที่จะทำให้น้ำมีค่าความกระด้างสูงขึ้น  เกณฑ์ที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรมีค่าอยู่ระหว่าง  75-300  มิลลิกรัมต่อลิตร  หากกระด้างจนเกินไปสามารถแก้ไขได้โดยวิธีการพักน้ำและติดตั้งเครื่องกรอง

     

     

     

     

     

     

    ความเป็นด่าง

    เป็นตัวที่คอยควบคุมไม่ให้แหล่งน้ำมีการเปลี่ยนแปลง  pH   ควรมีค่าอยู่ในระหว่าง  100-200  มิลลิกรัมต่อลิตร

     

     

     

     

    แอมโมเนีย

    เป็นแก๊สที่มีพิษต่อปลามาก  เกิดจากของเสียและมูลต่างๆ  ที่สัตว์น้ำขับถ่ายออกมา  ถ้าปริมาณสูงจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำมาก

     

     

     

     

    ความขุ่น

    ตะกอนดินที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ  ถ้าปริมาณมากเกินไปจะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้แสงสว่างลงไปได้ลึก  ทำให้พืชและแพลงก์ตอนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้  ส่งผลให้ปริมาณอาหารธรรมชาติในบ่อลดลง

     

     

     

     

    ความโปร่งใส

    ควรมีค่าระหว่าง  30-60  เซนติเมตร  ถ้าพบว่าในน้ำของบ่อเป็นสีเขียวจัด  ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อลดความเข้มข้นของสีน้ำลง  สำหรับบ่อที่มีน้ำใส  ควรเติมปุ๋ยลงในบ่อเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชและแพลงก์ตอนพืช  ให้สามารถเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น

     

     

     

    คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
     

    ดัชนี

    ค่ามาตรฐาน

    ลักษณะ /อาการผิดปกติที่สังเกตได้

    การแก้ไขเมื่อค่าต่ำกว่ามาตรฐาน

    การแก้ไขเมื่อค่าสูงกว่ามาตรฐาน

       ออกซิเจนที่ละลายได้ในน้ำ

    ไม่น้อยกว่า  3  มิลลิกรัมต่อลิตร

    -  ปลาลอยขึ้นมาฮุบอากาศ
    -  ปลากินอาหารน้อยลง  มีอาหารเหลือจำนวนมาก

    พ่นน้ำไปในอากาศ

    -

       คาร์บอนไดออกไซด์

    ไม่มากกว่า  30 มิลลิกรัมต่อลิตร

    -  ปลาลอยขึ้นมาฮุบอากาศ
    -  น้ำมีกลิ่นคาวจัด

    -

    พ่นน้ำไปในอากาศ

       ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

    6.5-9

    ถ้า pH ต่ำมากน้ำจะใส

    เติมปูนขาว

    เพิ่มระดับน้ำ,  เปลี่ยนถ่ายน้ำ

       อุณหภูมิ

    23-32  °C

    -  มือจุ่มน้ำสัมผัสร้อนหรือเย็นจนเกินไป
    -  ปลากินอาหารน้อยลง  มีอาหารเหลือจำนวนมาก

    ลดระดับน้ำ

    ทำร่มเงาให้บ่อ

       ความโปร่งใส

    30-60  ซม.

    น้ำสีเข้มจัด (วิธีการวัดใช้แผ่นไม่กลมขนาด  1  ไม้บรรทัดแบ่งครึ่งทาสี  ผูกเชือกตรงกลางแล้วจุ่มวัด)  วัดระยะที่ยังเห็นแผ่นไม้

    เปลี่ยนถ่ายน้ำ

    เติมปุ๋ย,  ปูนขาว

       ของแข็งตกตะกอน

    ไม่มากกว่า  25  มิลลิกรัมต่อลิตร

    น้ำขุ่นมาก

    -

    ตักออกหรือกรอง

       ความเป็นด่าง

    100-200  มิลลิกรัมต่อลิตร

    -

    เติมปูนขาว

    พักน้ำและติดตั้งเครื่อง/บ่อกรอง

       ความกระด้าง

    75-300  มิลลิกรัมต่อลิตร

    -

    เติมปูนขาว

    พักน้ำและติดตั้งบ่อกรอง

       บีโอดี

    มากกว่า  20  มิลลิกรัมต่อลิตร

    -

    -

    พ่นน้ำไปในอากาศ,  เปลี่ยนถ่ายเทน้ำ,  ลดความหนาแน่นของสัตว์น้ำ

       แอมโมเนียรวม

    ไม่มากกว่า 0.5  มิลลิกรัมต่อลิตร

    ปลาจะกินอาหารน้อยลง  และเคลื่อนไหวช้าลง

    -

    เปลี่ยนถ่ายเทน้ำ,  ทำความสะอาดก้นบ่อ,  พ่นน้ำไปในอากาศ

     

     


    • Update : 12/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch