หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (5)
    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (5)

    คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
    (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    แต่จะทำอย่างไรในเมื่อยังไม่มีความรู้อะไรจะเป็นตัวนำพฤติกรรม ถ้ายังไม่มีความรู้มานำ พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า มนุษย์มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เรียกว่าอายตนะ หรืออินทรีย์ ติดตัวมา สิ่งเหล่านี้แหละจะเป็นตัวนำชีวิตมนุษย์ อายตนะเหล่านี้เป็นทางรับรู้ประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แต่อินทรีย์หรืออายตนะนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ที่ว่านี้อย่างเดียว มันทำหน้าที่ 2 อย่างที่สำคัญมาก ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์ นั่นก็คือ

    1. เป็นทางรับรู้ข้อมูล หรือเป็นทางรับความรู้คือ รับรู้ประสบการณ์เข้ามาในลักษณะที่เป็นข้อมูล ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำให้เกิดปัญญาที่จะรู้เข้าใจแล้วปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย ได้ถูกต้อง ถ้ามนุษย์รู้จักประโยชน์ของอายตนะหรืออินทรีย์ในแง่นี้ ก็จะใช้มันในการเรียนรู้หรือเป็นเครื่องมือหาความรู้

    สำหรับมนุษย์ที่มีการศึกษาหรือมีการพัฒนาอย่างถูกต้อง การใช้อายตนะหรืออินทรีย์ในแง่ของการเรียนรู้หรือเป็นเครื่องมือ หาความรู้นี้ จะเป็นพฤติกรรมหลัก ในการดำเนินชีวิต

    2. เป็นทางรับรู้ความรู้สึก หรือเป็นที่รับความรู้สึก กล่าวคือพร้อมกับการรับรู้อย่างแรกนั้น ก็จะมีความรู้สึกเกิดขึ้นด้วย คล้ายกับว่าสิ่งทั้งหลายเมื่อสัมพันธ์กับ ตา หู จมูก ลิ้น หรือกาย ของเราแล้ว มันมีคุณสมบัติที่ทำให้เรารู้สึกสบายหรือไม่สบายหรือไม่ก็เฉยๆ ทันที

    ความรู้สึกนี้เรียกว่า เวทนา เมื่อเรารับรู้จึงไม่ใช่เพียงได้ข้อมูล หรือประสบการณ์เท่านั้น แต่จะมีความรู้สึกสบาย-ไม่สบายเกิดขึ้นพร้อมกันด้วย เช่น เมื่อตารับรู้คือเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะมีความรู้สึกสบายตา หรือไม่สบายตาเกิดขึ้นด้วย เมื่อหูได้ยินเสียงก็จะมีความรู้สึกสบายหู หรือไม่สบายหูเกิดขึ้นด้วย เป็นต้น

    ความรู้สึกสบายหรือเอร็ดอร่อย เรียกว่าสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย ไม่อร่อย เรียกว่าทุกขเวทนา การรับรู้ด้านที่เป็นความรู้สึกนี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันจะมาเป็นตัวนำพฤติกรรมในขณะที่คนยังมีความไม่รู้หรือไม่มีปัญญา

    กล่าวคือพอมีความรู้สึกสบาย (ได้สุขเวทนา) มนุษย์ก็จะมีปฏิกิริยาในแง่ที่ชอบ หรือจะเอา แต่ถ้ารับรู้แล้วไม่สบาย (เกิดทุกขเวทนา) ก็จะไม่ชอบ จะไม่เอา จะหนีหรือทำลาย ปฏิกิริยานี้เรียกว่า ตัณหา คนที่มองประโยชน์ของอายตนะหรืออินทรีย์แต่ในแง่ของความรู้สึก ก็จะใช้มันในการเสพรส หรือเป็นเครื่องมือหาสิ่งเสพ หรือสิ่งบำเรอมาสนองตัณหานี้ สำหรับมนุษย์ที่ยังไม่มีการศึกษา หรือขาดการพัฒนาที่ถูกต้อง การใช้อายตนะหรืออินทรีย์เพื่อการเสพรสหรือแส่เสพหาสิ่งบำเรอ จะเป็น พฤติกรรมหลัก ของการดำเนินชีวิต เขาไม่รู้จักหรือไม่สนใจที่จะใช้อายตนะหรืออินทรีย์เหล่านั้นในการเรียนรู้หรือหาความรู้

    อีกประการหนึ่ง สำหรับคนที่ยังไม่มีการศึกษาหรือยังไม่ได้มีการพัฒนาเหล่านั้น การรับรู้อย่างที่ 2 นี้จะมีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อการรับรู้อย่างแรกในหลายรูปแบบด้วย เช่น พอรับรู้และเกิดความรู้สึกพร้อมทั้งปฏิกิริยาที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจแล้ว ความสนใจจะพุ่งมารวมอยู่ที่ความชอบใจและไม่ชอบใจ แล้วคิดปรุงแต่งต่อไปต่างๆ ทำให้การรับรู้ด้านที่ 1 หยุดหรือขาดตอน

    ทำให้ไม่รับรู้ความรู้ที่เป็นข้อมูลนั้นต่อไปอีก จึงไม่ได้ความรู้ที่ควรจะรู้หรือบางทีก็ทำให้สนใจที่จะรับรู้ข้อมูลเฉพาะในแง่ที่สนองความชอบใจหรือไม่ชอบใจ จึงทำให้ได้ความรู้ที่เอนเอียง หรือบิดเบือน หรือเฉพาะจุดเฉพาะแง่ ไม่ตรงตามความเป็นจริง และไม่ครบถ้วนสมบูรณ์



    • Update : 12/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch