หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การปลูกกล้วย-2
    การขยายพันธุ์

     

    ในการผลิตกล้วยเป็นการค้านั้น นิยมทำการขยายพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก 3 วิธี ดังนี้

     

    1. การขยายพันธุ์จากหน่อ หน่อที่เกิดจากต้นแม่ที่ได้ทำการปลูกกล้วยต้นแรกไปแล้ว ได้แก่ หน่ออ่อน หน่อใบคาบ หน่อแก่ หน่อใบกล้า จะมีวิธีการดังนี้

     

         เตรียมอุปกรณ์ขุด ได้แก่ เสียมหรือชะแลงหน้ากว้างที่คมสำหรับขุดตัดแยกหน่อจากต้นแม่ และขณะเดียวกันก็สามารถใช้งัดหน่อที่ตัดแยกจากต้นแม่แล้วนำหน่อมาตัดรากออกด้วยมีดโต้ แล้วกลบดินไว้ตามเดิม

     

     

    หน่อกล้วยไข่

     

    2. การขยายพันธุ์ด้วยเหง้า วิธีการนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทยนัก เพราะเป็นขบวนการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลานานในการเลี้ยงกล้าที่เกิดใหม่ มีวิธีการดังนี้

     

         ขุดเหง้ากล้วยที่ตัดเครือใบแล้วนำมาผ่าใบลงตามยาวเป็น 2 หรือมากกว่า 2 แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของเหง้า และนำไปชำในวัสดุเพาะชำ จนได้ต้นกล้าขนาดพร้อมที่จะปลูกได้ จึงทำการย้ายปลูกได้ต่อไป

     

    3. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งในการผลิตกล้วยในหลาย ๆ ประเทศ นิยมใช้วิธีนี้มาก เพราะในการผลิตกล้วยเพื่อส่งตลาดในครั้งละมาก ๆ จะต้องมีการวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีส่งตลาดในเวลาเดียวกันเป็นช่วง ๆ ไป เหมาะสำหรับการผลิตกล้วยเป็นการค้าแบบแปลงใหญ่ ข้อดีกล้วยที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้คือ กล้วยจะตกเครือในเวลาเดียวกัน แต่เกษตรกรต้องเสียเวลาในการเพาะปลูกยาวนานกว่าวิธีการแยกหน่อ

    หน่อพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก

     

    หน่อกล้วยที่เกิดจากต้นกล้วยต้นแม่สามารถจำแนกตามรูปร่างและลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

     

    1. หน่ออ่อน เป็นหน่ออายุน้อย ขนาดเล็กมีเพียงใบเกล็ดอยู่เหนือผิวดิน ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก

     

     

    หน่อชนิดต่าง ๆ

     

    2. หน่อใบดาบ เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้า ใบเลี้ยงเล็กขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร มีเหง้าขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการแยกไปเพาะปลูก

     

    3. หน่อแก่ เป็นหน่อที่เจริญมาจากหน่อใบดาบ ใบเริ่มแผ่กว้างขึ้น อายุประมาณ 5-8 เดือน มีเหง้าขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร เหง้าของหน่อแก่อาจมีตาที่สามารถเจริญเป็นหน่อใหม่ได้หลายหน่อ

     

    4. หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือเหง้าที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ลักษณะใบแผ่กว้างตั้งแต่ยังมีอายุน้อย ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก

    การเลือกหน่อกล้วยเพื่อการเพาะปลูก

     

    1. ต้องเป็นหน่อที่เหง้าใหญ่สมบูรณ์ ความสูงของหน่อไม่มากเกินไป ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 75 เซนติเมตร
    2. เป็นหน่อที่ได้จากต้นแม่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคตายพราย หรือมีแมลงเข้าทำลายโดยเฉพาะด้วงงวงเข้าทำลายมาก่อน
    3. ส่วนเหง้าต้องไม่ถูกโรคแมลงทำลาย
    4. เป็นแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งเกษตรกรได้มีการตรวจสอบประวัติของสวนแล้ว ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
    5. กรณีเป็นหน่อที่มีวางจำหน่าย ต้องพิจารณาความสดใหม่เหง้าใหญ่ไม่บอบช้ำอีกด้วย

    การใส่ปุ๋ย

     

    เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้น จึงทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากกล้วยตั้งตัวได้แล้ว เกษตรกรควรรีบใส่ปุ๋ยให้แก่กล้วย เพื่อการเจริญเติบโตทางลำต้น และการตกเครือที่มีคุณภาพ ชนิดปุ๋ยมีดังนี้

     

    1. ปุ๋ยคอก ใส่ขณะเตรียมหลุมปลูกแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัม/ต้น และหลังกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนออกปลี อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ต้น
    2. ปุ๋ยไนโตรเจน ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ใช้วิธีการหว่านลงดินปริมาณ 60 กรัม/ต้น แล้วให้น้ำทันที (การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตบ่อย และมากเกินไปจะทำให้ดินเป็นกรด และเป็นอันตรายต่อกล้วย)
    3. ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ปุ๋ยนี้ควรให้หลังติดผลแล้ว อัตรา 500 กรัม/ต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
          - ครั้งแรกหลังตัดปลีแล้ว
          - ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน

    การกำจัดวัชพืช

     

    วัชพืชเป็นพืชที่มาแย่งดูดอาหารในดินไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีผลทำให้กล้วยมีความเจริญเติบโตช้าลง บางชนิดอาจทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่อาศัยของโรคและแมลงบางชนิด เกษตรกรควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

     

    1. วิธีกล ได้แก่ การถอน ดาย หรือถากด้วยจอบ ควรทำการกำจัดขณะที่วัชพืชมีต้นเล็ก ก่อนที่วัชพืชนั้นจะออกดอก ถ้าเป็นพืชที่มีดอก ต้องเก็บภาชนะที่ใส่เมล็ดวัชพืช ร่วงหล่นไปตามพื้นดิน มิฉะนั้นจะทำให้วัชพืชมีการระบาดและแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น ควรเก็บวัชพืชออกมารวมกันแล้วทำการเผาหรือฝัง หากกองทิ้งไว้เฉย ๆ เมล็ดที่แห้งอาจถูกลมพัดพาไปงอกเป็นต้นใหม่ได้ต่อไป

     

    2. วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซม เลือกพืชที่มีระบบรากตื้น และสามารถใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือพืชผักชนิดต่าง ๆ นอกจากจะช่วยลดปริมาณวัชพืชในแปลงปลูกกล้วย ยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

     

    3. ใช้วิธีคลุมดิน หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งใบกล้วยแล้ว เกษตรกรก็นิยมใช้ใบกล้วยช่วยคลุมหน้าดินไว้ นอกจากจะช่วยให้ลดปริมาณวัชพืชลงได้แล้ว ยังช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดินอีกด้วย

    การตัดแต่งหน่อ

     

    หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วยเจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน 4-5 หน่อ หรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่ จะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็ก เกษตรกรที่มีการดูแลสม่ำเสมอ ควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลายโดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ 1-2 หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้ เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้ จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ได้อีก ทั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว

     

     

    การตัดแต่งใบและหน่อ

    การออกปลี

     

    เมื่อปลูกกล้วยไปประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลี โดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก ชูก้านใบขึ้นชี้ท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า "ใบธง" หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลีกล้วยสีแดงออกให้เห็นชัด และกาบปลีจะบานต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผลกล้วยที่อยู่บนหวีเริ่มสั้นและเล็กลง อีกทั้งขนาดแต่ละผลไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งเรียกว่า "หวีตีนเต่า" ส่วนหวีที่ถัดจากหวีตีนเต่าลงมาก็จะมีขนาดเล็กมากเท่ากับก้านดอกในกาบปลีที่กำลังบานอยู่ ถ้าปล่อยให้หัวปลีบานต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นเพียงก้านดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกัน คล้ายหวีกล้วยขนาดจิ๋ว การบานของหัวปลีจะทำให้การพัฒนาขนาดของผลกล้วยช้าลง ส่งผลให้ผลกล้วยมีขนาดเล็ก ๆ ไม่โตเท่าที่ควร

     

     

    กล้วยออกปลี

    การตัดปลี

     

    หลังจากกล้วยออกปลีมาแล้วระยะหนึ่ง ก็จะเห็นผลกล้วยเล็กจำนวนมาก เป็นหวี ๆ อย่างชัดเจน โดยทุกหวีจะมีผลกล้วยขนาดเท่า ๆ กัน ยกเว้นหวีตีนเต่า และหวีต่อไปก็จะเป็นผลกล้วยขนาดเล็กมาก ๆ ให้ทำการตัดปลีออกหลังจากปลีบานต่อไปจากหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อไว้สำหรับมือจับปลายเครือ ขณะทำการตัดเครือกล้วยในช่วงเก็บเกี่ยว อีกทั้งสะดวกในการหยิบยกและแบกหาม

     

     

    การตัดปลี

    การห่อผล

     

    หลังจากที่ได้ทำการตัดปลีกล้วยออกไปแล้ว ผลกล้วยก็จะเริ่มพัฒนาและขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในการผลิตกล้วยเป็นการค้าที่ต้องการให้ผิวกล้วยสวยงามปราศจากโรคแมลงทำลาย สีผิวนวลขึ้น และน้ำหนักผลเพิ่มมากขึ้น ควรมีการห่อผล

     

     

    การห่อผล

    การค้ำกล้วย

     

    ต้นกล้วยหลังจากตกเครือแล้ว จะมีการหักกลางต้น (หักคอ) ได้ง่าย เมื่อกล้วยใกล้จะแก่ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักผลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้วยหอมทอง ซึ่งจะมีการหักล้มได้ง่ายมาก เพื่อป้องกันการเสียหายจากหักล้ม เกษตรกรควรใช้ไม้ค้ำกล้วยหลังตกเครือแล้ว ด้วยไม้รวกที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดำเนินการดังนี้

     

    1. นำไม้รวกมาเสี้ยมปลายด้านที่จะใช้ปักลงดินทั้ง 2 อัน แล้วผูกเชือกปลายไม้ทั้งสองอันนี้ โดยให้เหลือส่วนปลายไม้ด้านบนอันละ 30 เซนติเมตร เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักต้นกล้วย จากนั้นให้ถ่างไม้ทั้งสองไขว้กันเป็นลักษณะคีม แล้วนำไปค้ำต้นกล้วยบริเวณที่ต่ำลงมาจากตำแหน่งเครือกล้วย ประมาณ 30-50 เซนติเมตร

     

     

    การค้ำกล้วย

     

    นอกจากใช้ไม้รวกแล้ว เกษตรกรอาจใช้ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เป็นไม้งามอยู่แล้วแทนก็ได้

    • Update : 6/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch