หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงนกอีมู
      นกอีมู (Emu or Kalaya) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dromaius novaehollandiae
     เป็นสัตว์ประเภทนกที่บินไม่ได้ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากนกกระจอกเทศ
     มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย
      หนังมีคุณภาพดี
     ขนใช้เป็นเครื่องประดับและตกแต่งเสื้อผ้า
      เนื้อรสชาดดีคล้ายเนื้อวัว แต่โคเลสเตอรอลต่ำกว่า
     น้ำมันใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางค์ และยาบางชนิด
      ไข่มีสีสรรสวยงาม

              สำหรับประเทศไทยก็มีการเลี้ยงนกอีมูกันหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์สวยงามตามสวนสาธารณะต่างๆ เท่านั้น และในขณะเดียวกันก็มีผู้ที่สนใจจะตั้งฟาร์มเลี้ยงนกอีมูกันมาก ปัจจัยในการผลิตที่สำคัญต่างๆ ที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาคือ
              1. การจัดการด้านการตลาดที่แน่นอนและมีประสิทธิภาพ
              2. การจัดหานกอีมูพันธุ์ดีและมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง
              3. การจัดหาอาหารที่มีคุณภาพและเหมาะสม
              4. จัดระบบากรให้แสงสว่างอย่างถูกต้อง
              5. การจัดการเลี้ยงดูอย่างดี

             ++ กรมปศุสัตว์หวังว่าคำแนะนำเบื้องต้นนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านได้บ้าง หากสนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ พญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือ โทรศัพท์ 0-2653-4450 ++


    ลักษณะของนกอีมู

    ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 1.50 เมตร
    น้ำหนักประมาณ 30-50 กิโลกรัม ตัวเมียโตกว่าตัวผู้
    ขนหยาบ แข็ง สีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว ลูกนกมีขนสีน้ำตาลเข้ม มีลายทางสีขาวพาด โตแล้วลายจะหายไป หัวสีฟ้าเข้ม
    ปาก ขา เท้า มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
    เท้ามีขนาดใหญ่ นิ้วเท้าข้างละ 3 นิ้ว ยื่นไปข้างหน้า (ไม่มีนิ้วหลัง)
    กระดูกหน้าอกแบนราบคล้ายหน้าอกคน ไม่เป็นสัน (Keel)
    วิ่งได้เร็ว 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


    โรงเรือนและสถานที่ตั้งฟาร์ม

              นกอีมูเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแถบที่มีอากาศร้อนและแห้ง สามารถเลี้ยงได้ทั้งแบบปล่อยตามธรรมชาติ (Natural Condition) และเลี้ยงขังในโรงเรือน (Intensive Rearing) แต่การเลี้ยงขังและจัดบริเวณภายนอกให้เดินเล่น จะช่วยให้การจัดการเลี้ยงดูสะดวกและควบคุมโรคได้ง่าย ดังนั้น การเลือกสถานที่และากรวางผังจัดตั้งฟาร์มจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยโรงเรือนที่จะก่อสร้างก็จะต้องคำนึงถึงลักษณะและขนาดของโรงเรือนจะต้องเหมาะสมกับสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม อายุของนกอีมู การจัดการเลี้ยงดู และสามารถป้องกันศัตรู แดด ฝน ได้เป็นอย่างดี

    โรงเรือนเลี้ยงนกอีมูสามารถแบ่งได้ตามอายุต่างๆ ดังนี้

    ลูกนกอีมู อายุ 0-12 สัปดาห์

      1. ขนาดและพื้นที่  
      1.1 ลูกนกอีมูอายุ 04- สัปดาห์ ใช้พื้นที่ 3 ตัว ต่อตารางเมตร และเลี้ยงเป็นฝูงได้ไม่เกิน 25 ตัว
    1.2 อายุ 5-12 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ 3 ตัวต่อตารางเมตร และจะต้องเพิ่มพื้นที่ด้านนอกไว้ให้นกอีมูวิ่งเล่นอีกตัวละ 5 ตารางเมตร จะเลี้ยงเป็นฝูงได้มาก ไม่เกิน 100 ตัว
     

    2. พื้นที่โรงเรือนจะต้องเรียบและไม่มีเศษวัสดุตกหล่น เช่น ตะปู ลวด เศษผ้า เป็นต้น เพราะลูกนกอีมูอาจจิกกันและเป็นอันตรายได้

      3. วัสดุรองพื้นจะต้องอ่อนนุ่ม โดยจะต้องหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเปียกหรือจับกันเป็นแผ่นก้อนจะต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว และไม่ควรปล่อยให้ลูกนกเดินบนพื้นคอนกรีต หรือพื้นลวด
      4. แสงและความเข้มของแสง ลูกนกต้องการแสงอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ถ้าให้แสงมากกว่าวันละ 16 ชั่วโมง จะทำให้ลูกนกเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ หรือพิการ ลูกนก 4 วันแรก ต้องการความเข้มแสงประมาณ 40 ลักซ์ หลังจากนั้นก็ลดลง แต่ต้องไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์ จนครบ 12 สัปดาห์
      5. ระบบระบายอากาศภายในโรงเรือนจะต้องมีการหมุนเวียนอากาศเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถระบายความร้อนหรืออากาศเสียออกไป เช่น ก๊าซแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซต์ เป็นต้น ระดับของแอมโมเนียในโรงเรือนจะต้องน้อยกว่า 20 ppm.

    นกอีมูรุ่น อายุ 12 สัปดาห์ - 6 เดือน

              พื้นที่บริเวณโรงเรือนตัวละครึ่งตารางเมตร และที่วิ่งเล่นอีกตัวละ 40 ตารางเมตร โดยจะสามารถเลี้ยงเป็นฝูงใหญ่ไม่เกิน 250 ตัว

    นกอีมู อายุ 6-18 เดือน

              พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงประมาณตัวละ 60 ตารางเมตร นกอีมูหนุ่มสาวอายุมากกว่า 1 ปี จะเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ไม่เกิน 16 ตัว และใช้พื้นที่ 625 ตารางเมตร

    นกอีมูพ่อ-แม่พันธุ์

    พ่อ-แม่พันธุ์ 1 คู่ จะใช้พื้นที่ 400 ตารางเมตร เป็นอย่างน้อย โรงเรือนจะต้องมีระบบระบายน้ำเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันไม่ให้คอกชื้นแฉะ ซึ่งนกอีมูไม่ชอบ
     
    อาหารสำหรับนกอีมู

     การให้อาหารนกอีมูจะใช้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ แต่จะต้องเสริมแร่ธาตุบางชนิด เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดและความต้องการของนกอีมูแต่ละชนิด ซึ่งจะแบ่งความต้องการอาหาร อาหารของนกอีมูแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้
     
              1. ลูกนก อายุ 0-12 สัปดาห์ ใช้อาหารลูกไก่ไข่ที่มีโปรตีน 18-20% พลังงาน 2,800-3,000 กิโลแคลอรี่ แต่ต้องไม่เสริมอาหารเยื่อใยอื่นๆ ให้อาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
              2. อาหารนกอีมูรุ่น อายุ 12 สัปดาห์ ถึง 18 เดือน ใช้อาหารไก่ไข่รุ่นที่มีโปรตีน 14-15% พลังงาน 2,700-2,800 กิโลแคลอรี่ ให้กินวันละตัวละ 300-400 กรัม และเสริมด้วยหญ้าหรือผักบ้าง
              3. อาหารนกพ่อ-แม่พันธุ์ ใช้อาหารไก่ไข่ระยะไข่ที่มีโปรตีน 16% ให้กินวันละตัวละ 600 กรัม และเสริมด้วยหญ้าหรือผักแคลเซี่ยม 3% ฟอสฟอรัส 0.7% ไลซีน 0.7% เมทไธโอนีน 0.32%

    น้ำ

              จะต้องมีให้นกกินอย่างเพียงพอและควรตรวจสอบคุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงนกด้วย

    การผสมพันธุ์

              ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จะใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปี ในอัตราส่วนเพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1 ตัว เนื่องจากนกอีมูเป็นสัตว์ที่มีฤดูกาลในการผสมพันธุ์ (Breeding Season) โดยตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่กันผสมพันธุ์ แม่นกอีมูจะออกไข่เป็นตับ (Clutch) เหมือนไก่พื้นเมือง ตับละ 5-12 ฟอง ไข่หนักฟองละ 500-700 กรัม เมื่อแม่นกอีมูออกไข่แล้ว พ่อนกจะทำหน้าที่ฟักไข่ ซึ่งใช้เวลาฟักนาน 56 วัน อีกทั้งยังกกและเลี้ยงดูลูกนกด้วย

    การฟักไข่

    วิธีการฟักไข่ มี 2 วิธี คือ

              1. ให้พ่อนกฟัก โดยพ่อนกจะฟักไข่ได้ครั้งละ 15-20 ฟอง
              2. ใช้ตู้ฟักไข่ ไข่ที่จะนำมาฟัก หากนำออกมาจากห้องเก็บไข่ที่ควบคุมอุณหภูมิจะต้องนำออกมาวางไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ เสียก่อนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง (preheat) แล้วจึงนำเข้าตู้ฟัก

    อุณหภูมิและความชื้น

              อุณหภูมิที่ใช้ฟักไข่ คือ 35.250.15 องศาเซลเซียส (95.450.27 องศาฟาเรนไฮด์) ความชื้นสัมพัทธ์ 45% (25 องศาเซลเซียส หรือ 77-78 องศาฟาเรนไฮด์) ถ้าอุณหภูมิและความชื้นสูงขึ้น จะทำให้เวลาในการฟักน้อยลง ในขณะเดียวกัน ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำลง จะเพิ่มเวลาในการฟักให้นานยิ่งขึ้น การที่จะนำไข่ชุดใหม่เข้าฟัก จะต้องนำไข่ชุดใหม่ไว้ในถาดชั้นบนของตู้ แล้วย้ายไข่เก่าไว้ถาดชั้นล่าง

    การรมควัน
               ควรจะทำการรมควันไข่ฟัก 3 ครั้ง คือ
      1. ก่อนการนำเข้าห้องเก็บไข่เพื่อรอเข้าเครื่องฟัก
      2. ระหว่างฟักไข่ หลังจากนำเข้าตู้ฟักไปแล้วอย่างน้อย 3 วัน
      3. ก่อนย้ายจากตู้ฟัก (Setter) ไปตู้เกิด (Hatcher) รมควันด้วยก๊าซอร์มัลดีไฮด์ ในอัตราส่วนระหว่างฟอร์มาลีน 40% จำนวน 40 ซี.ซี. กับด่างทับทิม (KMnO4) 20 กรัม ต่อพื้นที่ 100 ลูกบาศก์ฟุต เป็นเวลา 20 นาที

    การกลับไข่

              ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง และควรตรวจดูอุณหภูมิและความชื้นของตู้ฟัก เป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง สำหรับการฟักไข่โดยพ่อนกอีมู พ่อนกลับไข่ประมาณวันละ 9 ครั้ง

    การกกลูกนกอีมู

    1. ให้ติดไฟเครื่องกกก่อนที่จะนำลูกนกอีมูลงกกประมาณ 3-4 ชั่วโมง โดยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 27-28 องศาเซลเซียส และใช้อุณหภูมิขนาดนี้ติดต่อกันไปในระยะสัปดาห์แรกของการกก
    2. ที่ให้น้ำ ให้อาหาร จะต้องมีเพียงพอกับจำนวนลูกนก และสอนให้ลูกนกรู้จักที่ให้น้ำ
    3. เมื่อลูกนกอีมูเข้ากกเรียบร้อยแล้ว ให้อาหารลูกนกครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
    4. ให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง ในระหว่าง 2 สัปดาห์แรก
    5. ระยะเวลาในการกกลูกนกอีมูประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซึ่งอาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นกับสภาพอากาศภายนอก และความแข็งแรงของลูกนก
    6. ลดอุณหภูมิในการกกหลังสัปดาห์ที่ 3 ลงเหลือ 20-25 องศาเซลเซียส และกกด้วยอุณหภูมินี้จนครบ 6-8 สัปดาห์
     
    การให้ผลผลิต

    อายุ (สัปดาห์)
    30
    40
    50
    60
    น้ำหนักมีชีวิต
    น้ำหนักซาก

    ไขมัน

    น้ำหนักเนื้อ

    กระดูก

    คอ
    หนัง
    เล็บ
    (กก.)
    (กก.)
    (%)
    (กก.)
    (%)
    (กก.)
    (%)
    (กก.)
    (%)
    (กก.)
    (ตร.เมตร)
    (เล็บ)
    24.2
    14.7
    60.7
    2.0
    13.6
    8.6
    58.5
    3.6
    24.5
    0.6
    0.46
    6.0
    28.7
    19.5
    67.9
    3.1
    15.9
    11.4
    58.4
    4.0
    20.5
    0.8
    0.57
    6.0
    33.2
    22.2
    66.9
    3.9
    17.5
    12.5
    55.8
    4.7
    21.4
    1.0
    0.7
    6.0
    39.4
    273.8
    70.6
    7.7
    27.5
    14.0
    50.1
    4.9
    17.9
    1.0
    0.6
    6.0
              นอกจากนี้ยังมีไข่ไม่มีเชื้อ หรือไข่ที่ฟักไม่ออก เพื่อใช้ในการวาดรูปหรือแกะสลัก และขนนกซึ่งใช้ประดับเสื้อผ้า

    การจับนกอีมู

              การจับนกอีมูเพื่อการขนย้าย หรือการรักษาจะต้องมีกรงสำหรับจับโดยเฉพาะแยกจากโรงเรือนอื่นและออกแบบให้เหมาะสมโดยจะต้องไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ความสูงประมาณ 1.5 เมตร และควรจะสร้างจากไม้เพื่อป้องกันการขูดขีดให้นกอีมูเป็นแผล ซึ่งจะทำให้หนังเสียหายและมีผลต่อราคาด้วย ในการจับนกจะต้องทำอย่างอ่อนโยน เพื่อป้องกันนกอีมูตื่นตกใจ
              การขนย้ายนกอีมู รถบรรทุกที่จะใช้ขนย้ายจะต้องแบ่งออกเป็นช่องเล็กๆ ตามขนาดและน้ำหนักของนกที่จะขนย้าย ความสูงของไม้ที่ใช้กั้นแต่ละช่อง จะต้องสูง 1-1.5 เมตร ปริมาณในการขนย้ายตามตารางต่อไปนี้
              สำหรับการขนย้ายอีมูที่อายุมากกว่า 6 เดือน หรือน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไป จะต้องคลุมผ้าให้ภายในมืด เพื่ดไม่ให้มองเห็นภายนอกตัวรถบรรทุก แต่ทั้งนี้ภายในต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นรถบรรทุกจะต้องปูด้วยวัสดุรองพื้นที่อ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้นกอีมูบาดเจ็บจากการเดินทาง

    เปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับนกกระจอกเทศและนกอีมู

    ข้อมูล
    นกกระจอกเทศ
    นกอีมู
    1. สีขน
           เพศผู้
           เพศเมีย

    2. ขนาด
          สูง (ซ.ม.)
          น้ำหนัก (กก.)

    3. นิ้วเท้า

    4. อายุเริ่มไข่

    5. ฤดูผสมพันธุ์

    6. อัตราส่วนผสมพันธุ์ (ผู้ : เมีย)

    7. การให้ผลผลิตไข่ (วัน/ฟอง)

    8. ปริมาณไข่เฉลี่ยต่อปี (ฟอง)

    9. ขนาดโรงเรือนพ่อ-แม่พันธุ์ (เมตร)

    10. ระยะเวลาฟักไข่ (วัน)

    11. การให้ผลผลิต
            อายุ (เดือน)
           หนัง (ตร.ม.)
           เนื้อ (กก.)
           ขน (กก.)
           น้ำมัน (ลิตร)

    12. น้ำหนักไข่ (กรัม)

    13. ระยะการให้ผลผลิต (ปี)
    ลำตัวมีขนสีดำ ยกเว้นปลายปีกและขนหางสีขาว
    ลำตัวมีขนสีน้ำตาลเทา ยกเว้นปลายปีกและขนหางจะมีสีอ่อนกว่า

    175-270
    100-165

    ข้างละ 2 นิ้ว

    2 ปี

    ฤดูหนาว

    1 : 2-3

    2

    55

    15x60

    42


    12-24
    1.3
    55-60
    1.5-2
    -

    900-1,450

    40-50

    ทั้งเพศผู้เพศเมียจะมีขนหยาบแข็ง สีน้ำตาลเทา
    แต่บริเวณลำคอจะมีขนสีขาวเป็นวงแหวนรอบลำคอ ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้

    150-180
    40-60

    ข้างละ 3 นิ้ว

    3 ปี

    ฤดูหนาว

    1 : 1

    3

    30

    12x25

    56


    14-14
    0.7
    12-15
    0.75
    4-5

    500-700

    7-12

    เรียบเรียงโดย
    นางศิริพันธ์ โมราถบ
    ดร.สวัสดิ์ ธรรมบุตร
    นายไสว นามคุณ
    กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร.0-2653-4491, 0-2653-4444 ต่อ 3251-2


    • Update : 3/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch