หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงกวาง-3
    การผลิตเขากวางอ่อน (valvet antler)

    ลักษณะของเขากวาง

              กวางตัวผู้จะเริ่มสร้างเขาเมื่ออายุประมาณ 1 ปี จากปุ่มส่วนหน้าของกะโหลกศรีษะ เป็นอวัยวะที่เจริญมาจากส่วนของเนื้อเยื่อชั้นนอก (epidermis) โดยงอกติดกะโหลกด้านหน้า (frontal bone) แต่ไม่ได้เป็นส่วนของกะโหลกศรีษะ เขามีลักษณะตัน ไม่กลวงเหมือนเขาโค แพะ แกะ ในช่วงที่เขาอ่อน (valvet) จะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงและอุดรมด้วยเนื้อเยื่อ vascular ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และแร่ธาตุแคลเซี่ยม โดยเฉพาะส่วนปลายเขามีแร่ธาตุซีลิเนี่ยมอยู่จำนวนมาก ตัวลำเขาของกวางป่ายาว 70-80 ซ.ม.

               เขากวางแต่ละข้างจะมี 3 กิ่ง กิ่งแรกเรียก กิ่งรับหมา (brow tine) จะชี้ไปด้านหน้า ตัวลำเขาจริงจะชี้ไปด้านหลัง รอยต่อระหว่างกิ่งรับหมาและลำเขาจริงจะมีลักษณะคล้ายรูปตัวยู ก้ำกึ่งรูปตัววี ปลายของลำเขาจริงจะแตกแขนงออกเป็น 2 กิ่ง โดยที่กิ่งด้านหน้าจะยาวกว่ากิ่งด้านหลัง ลักษณะภายนอกของเขาอ่อนมีหนังหุ้มขนสั้นละเอียดคล้ายกำมะหยี่

              เขากวางอ่อนเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน จะแปรสภาพเป็นเขาแข็ง (antler) มีลักษณะคล้ายหินปูนสีขาว เขากวางจะแก่เต็มที่และแข็งแรงในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) และเขาจะหลุดในเดือนกันยายน ซึ่งกวางจะสามารถผลัดเขาได้และสร้าขึ้นมาใหม่ทุกปี กวางจึงจัดอยู่ในตระกูล Cervidae ในขณะที่เขาของแพะแกะ (horn) ไม่สามารถผลัดเขาและสร้างขึ้นมาใหม่ได้เหมือนเขากวาง

              กวางป่าจะมีการผลัดเขาทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ภายหลังจากเขาหลุด 7 วัน กวางจะสร้างเนื้อขึ้นมาหุ้มบริเวณที่เขาหลุด จากนั้นอีกประมาณ 21 วัน จะเริ่มงอกเขาใหม่ การเจริญเติบโตของเขากวางจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้นทั้งขนาดและความยาว จนกระทั่งกวางมีอายุ 9-10 ปี ความยาวของเขากวางจะลดลงแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น (สวัสดิ์, 2527) ขณะที่สนั่นและคณะ (2539) รายงานว่า เขากวางอ่อนของกวางป่าอายุเฉลี่ย 6 ปี มีน้ำหนักสดข้างละ 820-1,640 กรัม ยาว 41-63 ซ.ม. เส้นรอบวง 11.5-17.2 ซ.ม.

              จากการศึกษาการสร้างเขากวางของกวางรูซ่าทีเลี้ยงในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง พบว่า กวางรูซ่าเริ่มงอกเขาแรก (เขาเทียน) เมื่ออายุ 234 วัน เขามีความยาวสูงสุดเฉลี่ย 10.21 ซ.ม. (7.0-17.5) เส้นรอบวงเขาเฉลี่ย 7.13 ซ.ม. (5.5-10.5 ซ.ม.) และสลัดเขาแรกทิ้งเมื่ออายุ 418 วัน หลังจากสลัดเขาแรกทิ้ง 24.11 วัน จึงเริ่มสร้างเขาสองเมื่ออายุ 653.43 วัน น้ำหนักเขากวางอ่อนในแต่ละปี (ตารางที่ 9)

    ตารางที่ 9
    ผลการศึกษาน้ำหนักของเขากวางอ่อนรูซ่า

    อายุกวาง
    ก่อนอบ
    หลังอบ
    % น้ำหนักแห้ง
    2 ปี
    3 ปี
    4 ปี
    355.34
    495.0
    690.18
    162.28
    185.75
    267.41
    45.63
    37.53
    38.74
    ที่มา : Yerex และ Spiers (1990)

    การตัดเขากวางอ่อน

               เริ่มตัดครั้งแรกเมื่อกวางอายุได้ 3 ปี หลังจากนั้นจะตัดได้ทุกปีๆ ละครั้ง เมื่อกวางมีน้ำหนักมากขึ้นน้ำหนักเขาจะเพิ่มขึ้นด้วย เขากวางอ่อนที่ได้คุณภาพและเหมาะสมจะตัด คือเขาอ่อนที่มีอายุประมาณ 65-70 วัน นับจากวันที่เขาแก่หลุดออกไป หรือเมื่อเห็นว่าลำเขาจริงเริ่มแยกออกเป็น 2 กิ่ง ยาวออกมาไม่เกิน 2 นิ้ว
             

    ขั้นตอนการตัด

    1. ควรทำงานในช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงที่อากาศเย็น
    2. ต้อนกวางเข้าอาคารจัดการ ให้กวางเข้าไปอยู่ในซองบังคับตัวไว้ไม่ให้ดิ้น
    3. ใช้เลื่อยสำหรับตัวเขากวางโดยเฉพาะ เมื่อทาน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีดและที่เขากวางแล้ว ใช้เลื่อยตัดในบริเวณที่สูงขึ้นมาจากโคนเขาประมาณ 2 นิ้ว ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที เขาอ่อนที่ตัดแล้วให้วางโดยเอาด้านโคนขึ้น เพื่อกักเลือดให้อยู่ในเขาไม่ไหลทิ้ง
    4. ทายาห้ามเลือดที่รอยตัด หรือใช้ผงชูรสใส่แทน แล้วทายาหรือพ่นยาป้องกันและฆ่าตัวอ่อนของแมลงวัน (เนกาซัน) ให้ทั่วก่อนปล่อยกวางกลับเข้าแปลง เลือดจะแข็งตัวและแผลจะแห้งภายใน 5-10 นาที ช่วงนี้ปล่อยให้กวางอยู่อย่างสงบ
    5. เขากวางอ่อนที่ตัดมาแล้วควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง ก่อนนำส่งไปอบแห้งต่อไป ซึ่งการแช่แข็งสามารถยืดอายุการจัดเก็บเขากวางอ่อนได้นานถึง 3-4 เดือน

    การอบเขากวางอ่อน

              ก่อนอบแห้ง ให้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดถูเขาเพื่อล้างไขมันด้านนอก จากนั้นใช้น้ำเดือดเทราดหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เขาอ่อนคงรูป และบริเวณที่ตัดจะถูกลวกจนกระทั่งเป็นสีเนื้อสุก ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นไม่ให้เลือดในเขาไหลออกมาได้ง่าย รวมทั้งเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วย จากนั้นจำไปผึ่งลมให้แห้ง เรียงเขากวางลงในตะแกรง โดยหันด้านโคนเขาขึ้น ไม่ให้เลือกไหลออกจากเขาเพราะจะเสียคุณค่า เนื่องจากถือว่าเลือดที่มีอยู่ในเขาอ่อนมีประโยชน์ในทางยา ตู้หนึ่งอบได้ประมาณ 10 เขา อบที่อุณหภูมิ 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2-4 วัน ขึ้นกับขนาดของเขา ถ้าเขาที่เล็กกว่าแห้งก่อน สามารถเปิดตู้หยิบออกมาก่อนได้

    การจัดการอาหารช่วงระยะการสร้างเขา

              หากกวางได้รับปริมาณอาหารไม่เพียงพอ หรือทำให้กวางเกิดความเครียดจากสาเหตุต่างๆ จะมีผลทำให้ผลผลิตเขาต่ำลง การเสริมอาหารข้นที่มีคุณภาพดีเพื่อต้องการเพิ่มผลผลเขานั้นให้ผลไม่แตกต่างกับการให้กวางได้กินอาหารพืชหญ้าคุณภาพดีในปริมาณเพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ในช่วงระยะการสร้างเขาจึงควรมีปริมาณอาหารที่เพียงพอวางให้กินอย่างเต็มที่ อย่าจำกัดอาหารและไม่จำเป็นจ้องเสริมอาหารข้น

    ระยะเวลาการตัดเขา

              ระยะเวลาในการตัดเขาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก และมีข้อจำกัดเวลาในการตัดเขา คือ จะต้องตัดเขาในระยะเวลาที่เหมาะสม เมื่อเขามี 50-60 วัน หากตัดเขาเร็วก่อนเวลาเกินไป จะทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักของเขาน้อยลง (เงินจะน้อยลงไปด้วย) แต่ถ้าตัดเขาช้าเกินไปทำให้คุณภาพของเขาที่ได้ด้อยลง ดังนั้น จึงต้องคอมตรวจดูลักษณะเขาทุก 2-3 วัน ว่าตัวใดถึงเวลาตัดเขาหรือไม่ โดยปกติกวางที่โตเต็มที่เขาจะงอกยาวเฉลี่ยวันละ 1 ซ.ม. หรือคิดเป็นน้ำหนักเขาเพิ่มวันละ 50 กรัม ในกวางแต่ละตัวจะมีเวลาที่เหมาะสมในการตัดต่างกันไป ซึ่งจะต่างกันไปตามอายุของกวาง (Yerex และ Spiers, 1990)

    ตารางที่ 10 ระยะการตัดเขากวางรูซ่าและน้ำหนักเขาที่ได้

    อายุกวาง
    (ปี)
    อายุเขาที่ตัด
    (วัน)
    น้ำหนักเขากวางรูซ่า
    (กก.)
    น้ำหนักเขากวางแดง
    (กก.)
    2
    3
    4
    5
    55
    58
    61
    60
    1.01
    1.60
    1.93
    2.17
    1.44
    2.05
    2.60
    2.90
    ที่มา : Yerex และ Spiers (1990)

    ส่วนประกอบทางเคมีของเขากวาง

              เขากวางเมื่ออบแห้งจะมีน้ำหนักประมาณ 35% ของน้ำหนักสด และเขาที่อบแห้งจะต้องมีความชื้นไม่เกิน 15% คุณค่าทางโภชนะของเขาประกอบด้วย โปรตีน 47%, แร่ธาตุ 33%, ไขมัน 3% และความชื้น 12% ผลผลิตน้ำหนักของเขาและคุณภาพแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และอายุกวาง คุณภาพของเขาแบ่งเป็นเกรด โดยเขากวางคุณภาพดีจะมีความยาวของลำเขาไม่น้อยกว่า 40 ซ.ม. ขนาดเส้นรอบวงลำเขาไม่น้อยกว่า 18 ซ.ม. ราคาการจำหน่ายเขาแบ่งตามสรรพคุณเป็น 3 ส่วน ส่วนปลายยอดเขาอ่อนมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนะมากกว่าส่วนอื่น ส่วนกลางใช้รักษาโรคไขข้อ และส่วนโคนใช้รักษาในผู้ชราที่ขาดแร่ธาตุแคลเซียม

    สรรพคุณของเขากวางอ่อน

              Kong และ But (1985) รายงานว่าเขากวางอ่อนมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง ไขข้ออักเสบ และกามตายด้าน ขณะที่ Yoon (1989) ได้รายงานว่าเขากวางอ่อนใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ และสามารถป้องกันรักษาโรคในเด็กเล็กได้หลายโรค สำหรับในประเทศไทยผู้ที่นิยมบริโภคเขากวางอ่อนได้แก่ ชาวจีนสูงอายุ ส่วนใหญ่จะหาซื้อรับประทานเฉพาะช่วงฤดูอากาศหนาวเย็น เพื่อต้องการบำรุงสุขภาพทำให้ร่างกายอบอุ่น โดยทำการตุ๋นหรือดองเหล้าโรงร่วมกับสมุนไพรจีน (ฮวยซัว เก๋ากี้ และปั๊กคี้) คนที่เป็นความด้นโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน นอกจากนี้มีรายงานว่าในเขากวางอ่อนมีฮอร์โมน Insulin-link Growth Factor (IGF1)

    โรคที่พบในกวาง

              กวางที่มีอายุระหว่าง 12-15 เดือน มักจะป่วยได้ง่ายกว่ากวางที่มีอายุเต็มวัย แต่โดยทั่วไปแล้วหากเลี้ยงกวางจำนวนไม่หนาแน่นเกินไปจะไม่ค่อยพบมีการติดเชื้อโรค โรคที่พบในกวาง คือ

      1. โรคกวางที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  
      - วัณโรค เกิดจากเชื้อ Mycobacterium bovis ที่บริเวณปอดและต่อมน้ำเหลืองในช่องอกและที่เต้านม กวางมีร่างกายซูบผอม กินอาหารลดลง ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ หายใจขัด ไอ
      - ท้องเสีย เกิดจากเชื้อ Salmonella spp. พบว่าส่วนมากเป็นสาเหตุการตาย

      2. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  
      - โรคปากและเท้าเปื่อย อาการเริ่มแรกกวางมีน้ำลายฟูมปากและมีตุ่มใสเล็กๆ เกิดขึ้นภายในปาก บริเวณกีบเท้า มีอาการขาเจ็บ เดินกระเผลกและไม่กินอาหาร

      3. โรคพยาธิ พบน้อยในกวาง แต่ในการเลี้ยงเป็นฟาร์มควรจะมีการถ่ายพยาธิด้วย

    ลักษณะอาการป่วยของกวาง  
      - กวางป่วย มีอาการหงอยซึม แยกออกจากฝูง ไม่หนีเมื่อเข้าใกล้ มักถูกตัวอื่นทำร้าย หัวและหูห้อยตก
      - อาการป่วยเนื่องจากพยาธิ กวางจะซูบผอม โตช้า ผิวหนังหยาบกร้าน ไอบ่อย
      - อาการป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส เบื่ออาหาร มีฝ้าในปาก น้ำลาย น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ลิ้นบวม

    การป้องกันโรค  
      - หากกวางป่วย ควรแยกออกจากฝูง และปรึกษาสัตวแพทย์
      - ควรแยกกวางที่ได้มาใหม่ กักไว้สักระยะหนึ่ง (ประมาณ 1 เดือน) ตรวจดูอาการ
      - ควรให้อาหารที่มีคุณค่า ทำวัคซีน และถ่ายพยาธิ
      - รักษาความสะอาดในโรงเรือน รางอาหารและน้ำ
      - อย่าให้กวางถูกขังในคอกที่อับชื้นและสกปรกโดยเฉพาะในตอนกลางคืน
      - แหล่งน้ำต้องสะอาดเพื่อป้องกันตัวกลางของพยาธิใบไม้ในตับ
      - ทำการทดสอบวัณโรค (Tuberculin Test) ปีละครั้ง

    ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน

              จากการพิจารณาความคุ้มทุนในการทำฟาร์มกวางขนาด 10 แม่ เลี้ยงในพื้นที่ 5 ไร่ ใช้แรงงานในครอบครัว ผลิตลูกกวางขนาดหย่านม เพื่อจำหน่ายพันธุ์ และตัดเขากวางอ่อนจากพ่อพันธุ์ มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
      ต้นทุนคงที่  
      - ค่าพันธุ์ พ่อ 1 ตัว แม่ 10 ตัว ราคาตัวละ 20,000 บาท เป็นเงิน 220,000 บาท  
      - ค่ารั้วความยาว 600 เมตรๆ ละ 300 บาท (รวมเสา) เป็นเงิน 180,000 บาท  

      ต้นทุนผันแปร  
      ค่าอาหาร  
      - อาหารข้น พ่อแม่พันธุ์ กิน 0.5 กก./ตัว/วัน (อาหารข้นราคา กก.ละ 8 บาท ให้กิน 365 วัน 11 ตัว) เป็นเงิน 16,060 บาท  
      - อาหารหยาบ กิน 1 กก./ตัว/วัน (วัตถุแห้ง) (อาหารหยาบราคา กก.ละ 1.0 บาท ให้กิน 365 วัน 11 ตัว) เป็นเงิน 4,015 บาท  
        รวมค่าอาหาร        (ปีแรก)   เป็นเงิน   20,075 บาท
      รวมต้นทุนค่าใช้จ่าย (ปีแรก)   เป็นเงิน 420,075 บาท
     
      - อาหารข้นสำหรับลูกกวาง กิน 0.2 กก./ตัว/วัน (อาหารข้น กก.ละ 9 บาท ให้กิน 120 วัน 10 ตัว) เป็นเงิน 2,160 บาท
      ปีถัดไป ใช้จ่ายเฉพาะค่าอาหารปีละ (20,075+2,160) เป็นเงิน 22,235 บาท
     

      รายได้ จากการจำหน่ายผลผลิต (เริ่มรับในปีที่ 2)  
      - จำหน่ายลูกกวางหย่านมปีละ 6 ตัวๆ ละ 18,000 บาท เป็นเงิน 108,000 บาท  
      - จำหน่ายเขากวางเฉลี่ย 1 กก.ๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท  
      รวมรายรับทั้งหมด เป็นเงิน 113,000 บาท  

      ผลตอบแทนที่ได้รับ เป็นรายปี  

    ปีที่
    ต้นทุน
    รายได้
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    420,075
    22,235
    22,235
    22,235
    22,235
    -
    113,000
    113,000
    113,000
    113,000
    113,000
    รวม
    531,250
    565,000
              ผลการเลี้ยงจะได้ต้นทุนคืนเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 ดังนั้นผู้ที่คิดจะทำฟาร์มเลี้ยงกวางเป็นอาชีพจะต้องมีเงินลงทุนระยะยาว แต่สามารถลดต้นทุนการผลิตโดยหาลูกกวางที่เกิดในประเทศ ใช้วัสดุพื้นบ้านในการกั้นคอก และจัดหาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเลี้ยงกวาง นอกจากนี้ต้องมั่นใจว่าจะมีตลาดรองรับที่สามารถขายลูกกวางได้ดีโดยราคาจำหน่ายพันธุ์ประมาณตัวละ 20,000-25,000 บาท หรือจำหน่ายเป็นเนื้อกวางชำแหละราคา กก.ละ 300-500 บาท หรือเขากวางอ่อน กก.ละ 8,000-10,000 บาท

              ดังนั้น การทำฟาร์มเลี้ยงกวางโดยผลิตเขากวางอ่อน เนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากหนังกวาง สามารถกระทำได้โดยเฉพาะกวางพันธุ์รูซ่า ซึ่งนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์ให้ลูกกวางได้ตลอดทั้งปี ลูกกวางมีอัตราการเจริญเติบโตและมีอัตราการเลี้ยงรอดสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะที่กวางแดงและกวางฟอลโลซึ่งเป็นกวางพันธุ์จากยุโรปมีฤดูกาลผสมพันธุ์มีอัตราการเกิดลูกต่ำ โดยเฉพาะกวางฟอลโลมัอัตราการตายแรกเกิดสูง และอัตราการเลี้ยงลูกรอดต่ำ นอกจากนี้ยังมีกวางซีก้าที่นิยมเลี้ยงเพื่อผลิตเขากวางอ่อน

    ข้อเสนอแนะ

    1. การทำฟาร์มกวางอาจยังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากในการจัดหากวางพ่อ-แม่พันธุ์ เนื่องจากกวางรูซ่าที่มีขนาดเล็กกว่ากวางม้า ทำให้ได้ผลผลิตเนื้อและเขาน้อยลงไปด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กวางม้าที่มีขนาดรูปร่างใหญ่กว่าเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ใช้กวางรูซ่าที่เกิดในประเทศ ผลิตเป็นลูกผสมกวางม้า-รูซ่า

    2. ปัจจัยทางด้านตลาด ยังขาดการสำรวจปริมาณความต้องการของตลาดที่แท้จริงของตลาดภายในประเทศ การขยายตลาดของกลุ่มผู้บริโภคเขากวางยังจำกัดเนื่องจากมีราคาแพง ประกอบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ตกต่ำ ปัญหาคนว่งงาน ต้องประหยัด่าใช้จ่ายต่างๆ และยังไม่มีการยืนยันที่แนชัดทางการแพทย์หรือจากองค์การอาหารและยาในการรับรองสรรพคุณ เขากวางอ่อนที่มีความเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ หรือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รวมทั้งคุณภาพของผลผลิตที่สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เนื่องจากกรรมวิธีการแปรรูปและการเก็บรักษายุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องโรคปากและเท้าเปื่อย เช่นเดียวกัยผลผลิตจากโคและสุกร

     

    ทั้งนี้เพื่อสามารถผลักดันอาชีพการเลี้ยงกวางให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง


    ราคาจำหน่ายพันธุ์กวางของกรมปศุสัตว์
     
              กวางรูซ่า กวางแดง และกวางฟอลโล ทั้งเพศผู้และเพศเมีย คิดราคาตามน้ำหนักในวันจำหน่าย ราคากิโลกรัมละ 250 บาท บวกค่าสายพันธุ์อีกตัวละ 6,000 บาท

    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

    1. กลุ่มงานเล็ก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400 โทร.0-2653-4453
    2. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ตู้ ปณ.9 อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.0-3226-1090, 0-1437-9280
    3. สหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทร.0-3435-1905

    • Update : 1/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch