หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงกวาง-2
    กวางแดง

    ลักษณะทั่วไป
    - มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในยุโรป
    - ขนาดเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ หนัก 160 กก. เพศเมีย หนัก 90 กก. สูง 1.2-1.5 เมตร
    - ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีขนยาว หน้ายาว

    อุปนิสัย
    - ชอบอยู่รวมฝูง ไม่ปะปนกับกวางพันธุ์อื่นๆ
    - ค่อนข้างเชื่อง โดยเฉพาะเพศเมีย ไม่ค่อยตื่นตกใจ แต่เพศผู้ยังคงตื่นคนอยู่
    - เพศเมียจะเป็นตัวนำฝูงเมื่อมีการไล่ต้อน
    - ชอบลงแช่น้ำในเวลากลางวัน

    เพศผู้
              ในช่วงที่มีเขาแข็งจะต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงเพศเมีย ตัวใดชนะก็จะคุมฝูงและไล่ขวิดตัวผู้อื่นๆ ไม่ให้เข้าใกล้บริเวณที่มีตัวเมียอยู่ โดยจะวิ่งวนไปรอบฝูงตัวเมีย
    เพศเมีย
              ในช่วงแรกที่นำเข้ามาใหม่ๆ กวางจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ไม่ดีนัก ทำให้ลูกกวางที่เกิดมาอ่อนแอตายเป็นจำนวนมาก แม่กวางจะหวงลูกและซ่อนลูกไว้ใต้พุ่มไม้ ถ้ามีคนไปรบกวนหรือจับตัวลูกกวาง แม่จะไม่ยอมรับลูกเลย บางครั้งจะให้หัวตบ กัด เตะ และกันไม่ให้เข้าฝูง
    ลูกกวาง
              ช่วงระยะหย่านมจะต้องมีการศึกษาระยะที่เหมาะสมในการหย่านม เนื่องจากลูกกวางเมื่อหย่านมใหม่ๆ จะร้องเรียกแม่อยู่ตลอดเวลาและเดินวนรอบแปลงหญ้าตลอดคืน ทำให้ลูกกวางเหนื่อยตายได้
    ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางแดง
              เนื่องจากเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว และตัวใหญ่จึงค่อนข้างหอบง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่นๆ เมื่อมีการไล่ต้อนเพื่อย้ายแปลง ถ้าไม่สามารถย้ายได้ในการไล่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง จะต้องปล่อยให้กวางหยุดพักแล้วจึงไล่ใหม่ ทำให้เสียเวลาในการไล่ต้อน

    กวางซีก้า (กวางญี่ปุ่น)

    ลักษณะทั่วไป
    - มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม
    - มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ 70-110 กก. เพศเมีย 50-60 กก.
    - ประเทศจีน เลี้ยงเพื่อผลิตเขากวางอ่อน  เขากวาง มีข้างละ 4 กิ่ง น้ำหนักเขาอ่อน 0.5-1 กก. ต่อคู่ ในร้ายขายยาจีน (เยาวราช) จำหน่ายเขากวางอ่อนอบแห้ง ส่วนใหญ่เป็นเขากวางซีก้า

    อุปนิสัย
           มีความสามารถในการกินอาหารได้หลายชนิด ทั้งหญ้าและใบไม้ เมื่อโตเต็มที่จะกินหญ้าสดประมาณ 10-15 กก./วัน สามารถรวมฝูงได้ดี (กวางซีก้าที่มีขายในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์เวียดนาม ซึ่งถูกจับมาเลี้ยงแบบขังนานกว่า 100 ปีแล้ว จึงเป็นกวางที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเลี้ยงแบบขังคอกได้ดี 4-8 ตารางเมตร/ตัว)

    กวางลูกผสมแซมบ้า-รูซ่า (Sambar-Rusa Crossbred)

    ลักษณะทั่วไป
              เป็นกวางขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากเป็นลูกผสมระหว่างกวางป่าไทยกับกวางรูซ่า ลักษณะคล้ายทั้งกวางแซมบ้าและกวางรูซ่า
    อุปนิสัย
              ชอบอยู่รวมฝูง ไม่ปราดเปรียวมากนักเนื่องจากตัวขนาดใหญ่ ถ้าตื่นตกใจจะร้องเสียงดังแล้ววิ่งหนี ชอบลงนอนแช่ปลักโคลน ช่วงเขาแข็งจะค่อนข้างดุ จะยืนจ้องและใช้เท้ากระทืบพื้นขู่ เช่นเดียวกับตัวเมียเวลาหวงลูก
              ลูกกวางที่จับมาเลี้ยงจะเลี้ยงยากเนื่องจากไม่ยอมดูดนมเอง ต้องบังคับโดยใช้นิ้วแหย่เข้าไปในปาก แล้วป้อนนมเข้าไป และใช้เวลาในการป้อนนมนาน

    พฤติกรรมของกวาง
    พฤติกรรมการกินอาหาร

              กวางจัดเป็นสัตว์ประเภท intermediate selector สามารถกินหญ้าและใบไม้ต่างๆ รวมทั้งยังสามารถแทะเปลือกต้นไม้เป็นอาหารได้ ปริมาณการกินได้ของกวางรูซ่าขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ ขนาดและเพศ (ตารางที่ 5)

    ตารางที่ 5 ปริมาณการกินได้ของกวางรูซ่า (กก.วัตถุแห้ง/ตัว/วัน)

    ปริมาณการกินอาหาร
    เพศผู้
    เพศเมีย
    ลูกกวาง (6 เดือน)
    กวางรุ่น (8 เดือน- 1 ปี)
    กวางใหญ่ (มากกว่า 1 ปี)
    1.0
    1.5
    1.7
    0.8
    1.0
    1.0-1.4
    ที่มา : Woodford and Dunning (1990)

               กวางเป็นสัตว์ที่อาศัยในปาธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ทั้งป่าต่ำและป่าสูง ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางวันและช่วงเช้า และเมื่ออากาศร้อนจะขึ้นหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า

    อาหารที่ใช้เลี้ยงกวาง
              อาหารหยาบ กวางเป็นสัตว์ที่กินพืชอาหารสัตว์ได้เกือบทุกชนิด เช่น หญ้า ถั่ว พืชอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น หญ้าหมัก ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ต้นไมยราบ กระถิน ต้นไม้ใบต่างๆ แต่จะไม่ชอบกินพืชที่มีกลิ่นหรือยาง เช่น ต้นดอกรัก สะเดา กะเพรา เป็นต้น  ควรมีพืชอาหารสัตว์สำรองไว้ให้เพียงพอ ถ้ากวางได้รับอาหารหยาบที่มีคุณภาพเพียงพอแล้วจะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารข้น
              อาหารข้น ในช่วงฤดูแล้งที่ขาดแคลนหญ้าสด ช่วงกวางตั้งท้อง ช่วงให้นมลูก และกวางที่ป่วยอ่อนแอ ควรเสริมอาหารข้น โดยจะใช้อาหารโคนมโปรตีน 16-18% ให้กินวันละ 1% น้ำหนักตัว

              จากการสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของกวาง ในระยะแรกที่นำมาเลี้ยงกวางจะออกแทะเล็มพืชหญ้าและกินอาหารข้นในตอนเย็นและกลางคืน ช่วงกลางวันจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มซ่อนตัวใต้ร่มเงาไม้ เนื่องจากกวางยังมีสัญชาติญาณของสัตว์ป่าระวังภัยอยู่ กวางกินหญ้าได้ทุกชนิด แต่ควรระวังหญ้าซิกแนล หากให้กินอย่างเดียวทุกวันอาจะได้รับเชื้อรา หรือสารพิษ Saponin กวางจะเลือกกินส่วนของใบหญ้า ไม่ชอบกินส่วนก้าน และจะเลือกกินใบไม้หรือวัชพืชบางชนิด คือ
              - ใบไม้ที่กวางกินได้ เช่น ใบมะขามเทศ ใบกก ใบกล้วย ใบพุทรา ใบมะกอกป่า ใบกระถิน ใบขนุน ใบปีบ ใบตะคล้า ใบไมยรา และใบพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ
              - ใบไม้ที่กวางไม่กิน เช่น ใบสาบเสือ ใบหนาด ใบคันทา ใบดอกรัก ใบตีนกา ใบยอดอ้อย และใบต้นสบู่

    การให้อาหารกวาง
    1. การเลี้ยงแบบขังกรง ตัดพืชอาหารสัตว์มาให้กิน  
      - ต้องมีพืชอาหารให้กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา  
      - ควรมีแหล่งพืชอาหารอย่างน้อย 2-3 แหล่ง  
      - รางอาหารควรยาวพอให้กวางได้กินทุกตัว ไม่เบียดกัน  
      - ควรตัดพืชอาหารให้กินหลายๆ ชนิด และตัดหญ้าสดให้กินทุกวัน  
    2. เลี้ยงแบบปล่อยแปลงหญ้า  
      - ควรมีแปลงหญ้าหมุนเวียนอย่างเพียงพอ (ไม่ควรน้อยกว่า 3 แปลง)  
      - ควรปลูกหญ้าไว้อย่างน้อย 2 ชนิด (ชนิดละแปลง)  

    พฤติกรรมการผสมพันธุ์
     
              ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กวางตัวผุ้จะมีเขาที่แข็งเต็มที่ คอใหญ่ ไหล่หนาสีขนเข้มขึ้น และลูกอัณฑะจะมีขนาดใหญ่ทำให้มีน้ำเชื้ออสุจิมากจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ พฤติกรรมของกวางจะทำเสียงขู่ เขาขวิดต้นไม้ ชนรั้ว ต่อสู้คน ต่อมใต้ตาเปิด ตาขวาง ชอบเล่นน้ำ และชอบฉี่รดรอบตัวเองให้มีกลิ่นติดตัวเพื่อเรียกความสนใจจากตัวเมีย และจะทำริมฝีปากม้วนคล้ายแพะ กวางบางพันธุ์จะเปลี่ยนสีขนในฤดูกาลผสมพันธุ์ เช่น กวางซีก้า จะเปลี่ยนสีขนเป็นสีน้ำตาลหมดทั้งตัว กวางรูซ่ามักจะตามไล่ตัวเมียที่เป็นสัด แต่ถ้าเป็นกวางป่าตัวเมียจะเข้ามาหาตัวผู้ อัตราส่วนการคุมผูงผสมพันธุ์ ตัวผู้ : ตัวเมีย เท่ากับ 1:20-30 อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางรูซ่าตัวผู้ อายุ 2 ปี น้ำหนัก 70 กก. ตัวเมีย อายุ 18 เดือน น้ำหนัก 45 กก. จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำลงด้วย นอกจากนี้อาหารที่มีคุณภาพดีมีผลต่ออัตราการตั้งท้องสูงถึง 95% ถ้ากวางได้รับอาหารคุณภาพต่ำโอกาสการตั้งท้องเพียง 55% อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางฟอลโล 16 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักตัว 30 กก.

              ฤดูกาลผสมพันธุ์ของกวางรูซ่าโดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม แต่จากการศึกษาข้อมูลการเกิดของลูกกวางพันธุ์ต่างๆ พบว่า ลูกกวางพันธุ์รูซ่าเกิดขึ้นตลอดปี ซึ่งหมายถึงกวางรูซ่าสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับกวางพันธุ์พื้นเมืองของไทย ที่มีลูกเกิดตลอดปี ขณะที่กวางแดงและกวางฟอลโลเป็นกวางพันธุ์ยุโรปที่มีฤดูผสมพันธุ์ค่อนข้างสูงมาก (highly season patterns of reproduction) ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และจะคลอดลูกในเดือน มิถุนายน-สิงหาคม ทั้งนี้อาจเนื่องจากความยาวของแสง (photoperoid) มีอิทธิพลต่อการผสมพันธุ์ของกวางแดงและกวางฟอลโล (Asher และคณะ, 1991) กวางส่วนใหญ่มักคลอดลูกเพียงตัวเดียว แต่กวางมูส และกวางน้ำจีน (Chinese Water Deer) ที่ให้ลูกแฝด
              กวางม้า เนื้อทราย กวางรูซ่า และกวางแดง สามารถผสมข้ามพันธุ์กันได้เนื่องจากอยู่ในตระกูล Cervus เดียวกัน

    การจัดการเลี้ยงกวาง
    สภาพพื้นที่ในการเลี้ยงกวาง  
    - พื้นที่ในการเลี้ยงกวางควรเป็นที่ดอน หรือหากเป็นพื้นราบไม่ควรมีน้ำขังแฉะจนเป็นโคลนตม
    - ลักษณะแปลงที่ปล่อยเลี้ยงกวางควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีแปลงไม่น้อยกว่า 3 แปลง เพื่อแยกเลี้ยงกวางระยะอุ้มท้องกับแม่เลี้ยงลูก กวางหย่านม และกวางที่โตเต็มที่
    - ควรมีทางวิ่ง (race way) ระหว่างทุกแปลงสำหรับใช้ต้อนกวาง
    - ควรมีต้นไม้ใหญ่ในแปลง หรือที่ให้ร่มเงาและไว้หลบซ่อนระวังภัย เนื่องจากกวางเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย เมื่อตกใจจะกระโจนไปตามแนวรั้ว ชนบาดเจ็บ
    - ควรเลี้ยงกวางให้ห่างจากฟาร์มแกะและสุกรอย่างน้อย 1 กิโลเมตร เนื่องจากอาจจะติดเชื้อโรค Malignant catarrh จากแกะ และอาจะติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยจากสุกรได้
    - ถ้าเป็นไปได้ควรนำตัวอย่างดินส่งตรวจเชื้อมงคล่อพิษ และเชื้อแอนแทรกซ์
    - การล้อมรั้วกวาง ขอบล่างให้ติดพื้นดิน และใช้เส้นรั้วลวดหนามขึงติดกับพื้นดินป้องกันสุนัขเข้ามาทำร้าย กวางรูซ่าควรมีรั้วรอบนอกสูงไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร และใช้รั้วที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันกวางได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งชนกระแทก
    - หากเลี้ยงกวางจำนวนมากควรมีคอกคัดกวาง (deer yard) และมีซองบังคับตัวกวาง (deer crush) เพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น คัดกวางสำหรับแบ่งฝูง ชั่งน้ำหนัก ตัดเขา หรือทำวัคซีน
    - แม่กวางก่อนและหลังคลอด ควรแยกเลี้ยงในแปลงที่มีร่มเงาหรือมีไม้สูงเพื่อใช้เป็นที่หลบคลอดลูก


    ทางวิ่ง (race way) ใช้สำหรับต้อนกวาง


    รั้วกวาง แบบ tight lock
     

    ซองบังคับตัวกวาง deer curck สำหรับตัดเขา/ฉีดยา

    ความหนาแน่นในการเลี้ยงกวาง


              แบบขังกรง กวางอุ้มท้องใกล้คลอดและเลี้ยงลูกใช้พื้นที่ 100 ตรม. ขนาดอื่นใช้พื้นที่ 50 ตรม.

              แบบปล่อยแปลง (stocking rate) ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแปลงหญ้า ถ้าคุณภาพดีสามารถเลี้ยงกวางรูซ่า 2-3 ตัว/ไร่ กวางฟอลโล 2-4 ตัว/ไร่ กวางแดง 1 ตัว/ไร่  เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ใช้แปลงหญ้าเลี้ยงโค 1 ตัว เท่ากับเลี้ยงกวางฟอลโลได้ 8 ตัว หรือกวางแดง 3 ตัว หรือคิดตามปริมาณความต้องการอาหาร (วัตถุแห้ง)

              ตัวอย่าง ถ้าหากเลี้ยงแม่กวาง 5 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว จะต้องใช้หญ้าสดกี่กิโลกรัม?
      แม่กวาง 5 ตัว กินอาหารตัวละ 1.0 กก. รวมกิน 5 กก./วัน
      พ่อกวาง 1 ตัว กินอาหารตัวละ 1.7 กก. รวมกิน 1.7 กก./วัน
      รวมกินอาหาร (วัตถุแห้ง)  
      (หญ้าสด มีวัตถุแห้งประมาณ 25%)  
      จะต้องตัดหญ้าสดให้กินวันละ (6.7x100)/25= 26.8 กก./วัน

    สมรรถภาพการเจริญเติบโตของกวางรูซ่า


              หากมีการจัดการให้อาหารคุณภาพแตกต่างกัน จะทำให้กวางมีน้ำหนักตัว 70 กก. ที่อายุต่างกันได้ กล่าวคือ ถ้าให้หญ้าคุณภาพดีผสมพืชตระกูลถั่วหรือเสริมอาหารข้น จะทำให้กวางมีน้ำหนักตัว 70 กก. เมื่ออายุ 1 ปี แต่ถ้าให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียวอาจจะใช้เวลานานอายุถึง 2 ปี

              Chardonnet (1993) รายงานสมรรถภาพการเจริญเติบโตของกวางรูซ่า มีน้ำหนักแรกเกิด เฉลี่ย 4 กก. (เพศผู้ 4.5 กก. เพศเมีย 3.5 กก.) น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน เฉลี่ย 30 กก. อัตราการเจริญเติบโตก่อนหย่านมเฉลี่ย 200 กรัม/วัน น้ำหนักเมื่ออายุ 15 เดือน (เพศผู้ 55 กก. เพศเมีย 45 กก.) เฉลี่ย 50 กก. อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านม (4-15 เดือน) เฉลี่ย 60 กรัม/วัน

              กวางรูซ่า มีอัตราการเลี้ยงรอดและมีการเจริญเติบโตดี และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะที่กวางฟอลโล มีอัตราการตายแรกเกิดสูง ทั้งนี้เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ไม่สามารถปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมการเลี้ยงขังในแปลงที่จำกัดและเปิดโล่ง ทำให้สัตว์เกิดความเครียด ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกรอดต่ำมาก

    การผลิตเนื้อกวาง (venison)

              จากการศึกษาซากกวางรูซ่าที่ศูนย์วิจัยฯ หนองกวาง พบว่า น้ำหนักก่อนฆ่าเฉลี่ย 56 กก. มีเปอร์เซ็นต์ซาก 62.1% เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง กระดูก และไขมัน เท่ากับ 78.4, 20.3 และ 1.3% ตามลำดับ

              ประเทศนิวซีแลนด์จะนำกวางส่งโรงฆ่า เมื่อกวางมีอายุ 15-18 เดือน เพราะถ้าเลี้ยงต่อไปกวางจะสะสมไขมัน ประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง ทำให้เปลืองค่าอาหาร และคุณภาพของเนื้อกวางจะเริ่มเหนียวถ้ามีอายุ 3 ปีขึ้นไป กวางฟอลโลจะส่งโรงฆ่าเมื่ออายุ 12-15 เดือน น้ำหนักตัว 45-50 กก. และจะได้น้ำหนักซาก 25.30 กก. (Yerex และ Spiers, 1990) กวางจะมีเปอร์เซ็นต์ซาก 55-60% (ตารางที่ 6) และซากกวางหลังชำแหละ ได้เนื้อแดง 70-75% (ตารางที่ 7) ขณะที่สัตว์อื่นๆ มีเนื้อแดงเพียง 45-60% ทั้งนี้ เนื่องจากกวางมีสัญชาติญาณในการระวังภัยสูงมักหนีตลอดเวลา จึงทำให้มีมัดกล้ามเนื้อที่ขาหลังมากเป็นพิเศษไขมันต่ำ และเนื้อแดงมีสีคล้ำมาก เนื่องจากมีปริมาณธาตุเหล็กที่สูงกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ (Drew และ Hogg, 1990)

    ตารางที่ 6 น้ำหนักซากและเปอร์เซ็นต์ซากของกวางเมื่ออายุต่างๆ
    พันธุ์กวาง
    อายุ 1 ปี
    อายุ 2 ปี
    โตเต็มวัย
    รูซ่า

    น้ำหนักซาก (กก.)
    เปอร์เซ็นต์ซาก (%)
    50.0
    61.7
    -
    -
    -
    -
    ฟอลโล

    น้ำหนักซาก (กก.)
    เปอร์เซ็นต์ซาก (%)
    24.5
    55.0
    30.6
    55.0
    -
    -
    กวางแดง
    น้ำหนักซาก (กก.)
    เปอร์เซ็นต์ซาก (%)
    54.9
    57.9
    76.0
    56.4
    112.0
    57.1
    ที่มา : Drew และ Hogg (1990)

              เนื้อกวางมีไขมันปริมาณค่อนข้างต่ำและมีไขมันประเภทอิ่มตัว (ที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือดสูง) อยู่น้อยมาก ขณะเดียวกันกรดไขมันในเนื้อกวางเป็น essential fatty acid มีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ได้เอง

    ตารางที่ 7 ส่วนประกอบของซากกวาง
    พันธุ์กวาง
    อาย
    ุ (ปี)
    น้ำหนัก
    (กก.)
    เนื้อแดง
    (%)
    ไขมัน
    (%)
    กระดูก
    (%)
    เนื้อแดง
    ไขมัน
    เนื้อแดง
    กระดูก
    ฟอลโล
    2
    40
    73.9
    9.1
    13.6
    8.1
    5.4
    กวางแดง
    2
    60
    72.7
    7.0
    20.3
    10.4
    3.6
    ที่มา : Gregson และ Purchas (1985)

    ตารางที่ 8 คุณค่าทางโภชนะของเนื้อกวางเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ
    เนื้อสัตว์
    โปรตีน
    (g/100g)
    พลังงาน
    cal/100g
    แคลเซี่ยม
    mg/100g
    ฟอสฟอรัส
    mg/100g
    ไทอามีน
    mg/100 g
    ไรโบเฟลวิน
    mg/100g
    ไนอาซีน
    mg/100g
    เนื้อโค
    18.5
    263
    11
    171
    0.08
    0.16
    4.4
    เนื้อแกะ
    16.5
    263
    10
    147
    0.15
    0.20
    4.8
    เนื้อสกุร
    15.7
    308
    9
    175
    0.76
    0.18
    4.1
    เนื้อกวาง
    21.6
    126
    10
    249
    0.23
    0.48
    6.3
    ที่มา : Drew และ Hogg (1990)


    • Update : 1/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch