หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงกวาง-1
       ในปี พ.ศ.2538 ได้มีการนำกวางพันธุ์รูซ่า (Cervus timorensis) จากประเทศนิวคาลิโดเนีย ซึ่งเป็นกวางที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าที่หายาก The Convention on International Trade in Endangered Species (CITES) หรือในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดยสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย จำนวนกว่า 1,500 ตัว ให้กับเกษตรกรสมาชิก 240 ราย ปัจจุบันคาดว่า (2538-2544) มีกวางรูซ่าเลี้ยงขยายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศประมาณ 5,000 ตัว ขณะที่สถิติจำนวนกวางในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ ระหว่างปี 2541-2542 มีกวางจำนวน 2,000 ตัว

    ตารางที่ 1 สถิติจำนวนกวางในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ ระหว่างปี 2541-2542

    ปี พ.ศ.
    ภาคกลาง
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ภาคเหนือ
    ภาคใต้
    รวมทั้งประเทศ
    2541
    2,082
    65
    6
    20
    2,173
    2542
    1,766
    179
    6
    53
    2,004
    ที่มา : กองแผนงาน กรมปศุสัตว์

              ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายอนุญาตให้เลี้ยงกวางไทยเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้ว เนื่องจากกวางไทยมีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตเขา เนื้อ และหนังมากกว่ากวางรูซ่า จึงนับว่าเป็นข่าวดีของวงการเลี้ยงกวาง

              อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกวางต้องใช้ต้นทุนสูง ค่ารั้ว โรงเรือน อาหาร และค่าพันธุ์กวางรูซ่า ตัวละ 15,000 -25,000 บาท ขึ้นอยู่กับอายุ ขนาด และสภาพตัวสัตว์ สำหรับในการทำฟาร์มกวางมีการประมาณค่าใช้จ่ายลงทุน จะเป็นค่าที่ดิน 55% ค่าพันธุ์กวาง 23% ค่ารั้ว 11% อุปกรณ์ 4% และค่าอาหารแปลงหญ้า 7% ผลการเลี้ยงจะคืนทุนเมื่อเข้าสู่ปีที่ 5-6 ดังนั้น จึงต้องมีเงินลงทุนระยะยาว แต่อาจสามารถลดต้นทุนลงได้โดยใช้กวางที่เกิดในประเทศเป็นแม่พันธุ์ ใช้วัสดุพื้นบ้านในการกั้นคอก และจัดหาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเลี้ยงกวาง

              โดยทั่วไปเกษตรกรจะจำหน่ายลูกวางรูซ่าเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อตัวละ 15,000-25,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และความสมบูรณ์พันธุ์ การจำหน่ายเขากวางอ่อนอบแห้ง ราคาส่ง กก.ละ 8,000-10,000 บาท

               ราคาการจำหน่ายเขาให้กับผู้บริโภคแบ่งตามสรรพคุณเป็น 3 ส่วน
               -  ส่วนปลายยอดของเขาอ่อนมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนะมากกว่าส่วนอื่น
               -  ส่วนกลางใช้รักษาโรคไข้ข้อ
               -  ส่วนโคนเขาใช้รักษาในผู้ชราที่ขาดแร่ธาตุแคลเซี่ยม

               ผลผลิตน้ำหนักของเขากวางและคุณภาพแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และอายุกวาง คุณภาพของเขากวางสามารถแบ่งได้เป็นเกรด โดยเขากวางคุณภาพดีจะมีความยาวของลำเขา (beam) ไม่น้อยกว่า 40 ซ.ม. ขนาดเส้นรอบวงของลำเขาไม่น้อยกว่า 18 ซ.ม. หรือสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์เขากวางอ่อนในรูปแคปซูลจำหน่าย เม็ดละ 12-25 บาท (ขณะที่ต่างประเทศขายในราคา 50 บาท) สำหรับราคาจำหน่ายเนื้อกวางชำแหละ กก.ละ 300-600 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพและชิ้นเนื้อส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถจำหน่ายหนังกวางส่งโรงฟอกเพื่อทำเครื่องหนังเป็นสินค้าส่งออกราคาแพง

              ในปี 2541-2542 มีการนำเข้าเนื้อกวางปีละจำนวนกว่า 2,000 กก. เป็นเงินประมาณ 500,000 บาท รวมทั้งในปี 2542 มีการนำเข้าเขากวางอ่อน 1 ตัน เป็นเงินกว่า 440,000 บาท เนื่องจากธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกวางในประเทศยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายพันธุ์กวางระหว่างเกษตรกรด้วยกันเพื่อนำไปใช้ขยายพันธุ์ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด ผู้บริโภคมากขึ้น อาจทำให้ต้องหาตลาดต่างประเทศรองรับ

    โอกาสการส่งออก

              การเลี้ยงกวางรูซ่าในประเทศออสเตรเลียมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเนื้อเขากวางอ่อนเป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ได้จากการจำหน่ายเนื้อกวางสูงถึง 90% เขากวาง 6% และกวางมีชีวิต 4% ตลาดการส่งออกของเนื้อกวางส่วนใหญ่อยู่ในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาซึ่งนิยมบริโภคเนื้อกวางเพื่อสขภาพกันมาก เนื่องจากเนื้อกวางมีไขมันปริมาณค่อนข้างค่ำและมีไขมันประเภทอิ่มตัว (คลอเรสเตอรอลที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือดน้อยมาก ขณะเดียวกันกรดไขมันในเนื้อกวางเป็น essential fatty acid ที่จำเป็นต่อร่างกายมีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง)

    ตารางที่ 2 สถิติการนำเข้า-ส่งออกกวาง ระหว่างปี 2541-2542
    รายการ
    หน่วย
    นำเข้า
    ส่งออก
    2541
    2542
    2541
    2542
    1. กวางมีชีวิต

    ตัว
    บาท
    -
    -
    2
    50,042
    -
    -
    -
    -
    2. ผลิตภัณฑ์
        - เนื้อกวาง

        - เขากวาง


    กก.
    บาท
    กก.
    บาท

    2,409
    466,360
    2
    40,000

    1,925
    497,484
    985
    440,587

    -
    -
    -
    -

    -
    -
    -
    -
    ที่มา : กองแผนงาน กรมปศุสัตว์

    ลักษณะทั่วไปของกวาง

              กวางเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กีบคู่ เคี้ยวเอื้อง จัดอยู่ใน

    ลำดับ Order : Artioduatgla
      วงศ์ Family : Cervidae
        วงศ์ย่อย sub-family : 4 วงศ์ย่อย
          สกุล Genus : 16 สกุล
            ชนิด Species : 37 ชนิด

              กวางสามารถอาศัยอยู่ในทุกสภาพภูมิอากาศ มีการกรจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกา เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา สำหรับกวางในสกุล Cervus ที่พบในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ สมัน (Schomburk's deer, Cervus schomburhki ) ละองละมั่ง (Brow-antlered deer, Cervus eldi ) เนื้อทรายและกวางป่า กวางป่าเป็นชนิดย่อย (sub-species) Cervus uniculor equinus  (สวัสดิ์,2527)

    ลักษณะทางกายภาพของกวาง

    ฟัน
    โตเต็มที่มีฟันแท้ 32-34 ซี่
    - ฟันบนประกอบด้วย ฟันเขี้ยว 0-2 ซี่ ฟันเคี้ยว 6 ซี่ ฟันบด 6 ซี่
    - ฟันล่างประกอบด้วย ฟันตัด 6 ซี่ ฟันเขี้ยว 2 ซี่ ฟันเคี้ยว 6 ซี่ ฟันบด 6 ซี่
    ต่อมน้ำตา
    (facial gland)
    อยู่ใต้หัวตาทั้ง 2 ข้าง ลักษณะเป็นร่อง ทำหน้าที่คัดหลั่งสิ่งขับที่มีกลิ่นฉุน ไหลตามร่องน้ำตา เพื่อปล่อยกลิ่น โดยกวางจะเอาหน้าถูกตามต้นไม้เป็นการแสดงอาณาเขต
    เขา (antler)
    กวางมีเขาเฉพาะตัวผู้ ยกเว้นกวางเรนเดียร์ ตัวเมียจะมีเขาด้วย และกวางมัสค์ จะไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย
    กระเพาะอาหาร
    มี 4 กระเพาะ กวางไม่มีถุงน้ำดี ยกเว้นกวางมัสค์ที่มีถุงน้ำดี
    เต้านม
    มี 4 เต้า

    พันธุ์กวางที่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย

              การทำฟาร์มกวางในประเทศไทย มีข้อจำกัดในการห้ามเลี้ยงกวางป่า เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติให้ทำการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าได้ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อป้องกันควบคุมการลักลอบจับสัตว์ป่าเพื่อการซื้อขาย พันธุ์กวางที่เลี้ยงทั่วไป ได้แก่

    กวางป่า หรือกวางม้า
    มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และไทย เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม
    เนื้อทราย
    มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ใน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย มีขนาดเล็ก-กลาง
    กลางดาว
    เป็นกวางที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี อุปนิสัยค่อนข้างเชื่องกว่าพันธุ์อื่นๆ
    กวางรูซ่า
    มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขนาดกลาง สีขนเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง
    กวางซีก้า
    มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เป็นกวางที่มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล นิยมเลี้ยงเพื่อตัดเขากวางอ่อน
    กวางฟอลโล
    มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ลำตัวสีเทา-น้ำตาล มีจุดสีขาวหางยาว
    กวางแดง
    มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ขนสีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่

    ตารางที่ 3 ชนิดพันธุ์กวางที่สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย

    พันธุ์กวาง
    ชื่อสามัญ
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    ประเภทสัตว์
    กวางป่า, กวางม้า
    Sambar deer
    Cervus uniculor
    สัตว์เศรษฐกิจ
    เนื้อทราย
    Hog deer
    Cervus porcinus
    สัตว์เศรษฐกิจ
    กวางดาว
    Chital deer
    Axis axis
    สัตว์เศรษฐกิจ
    กวางรูซ่า
    Rusa deer
    Cervus timorensis
    สัตว์เศรษฐกิจ
    กวางซีก้า
    Sika deer
    Cervus nippon
    สัตว์เศรษฐกิจ
    กวางแดง
    Red deer
    Cervus elaphus
    บัญชีไซเตรส
    กวางฟอลโล
    Fallow deer
    Dama dama
    บัญชีไซเตรส
    ที่มา : Grzimek (1984)

    นอกจากนี้ยังมีกวางมัสค์ (Musk deer, Moschus moschiferus) ที่ประเทศจีนสกัดสารที่มีกลิ่นฉุนจากต่อมบริเวณช่องท้องของกวางตัวผู้ ใช้ทำการผลิตหัวน้ำหอม และกวางในเขตหนาวอื่นๆ เช่น กวางวาปิติ (Wapiti or Elk deer, Cervus canadensis) กวางเรนเดียร์ (Reindeer, Rangifer tarandas) เป็นต้น

    ตารางที่ 4 ข้อมูลจำเพาะของกวางพันธุ์ต่างๆ

    พันธุ์กวาง
    น้ำหนัก (กก.)
    ส่วนสูง (ซ.ม.)
    ความยาว (ซ.ม.)
    ระยะอุ้มท้อง (วัน)
    กวางป่า (อินเดีย)
    150-315
    120-150
    170-270
    240
    เนื้อทราย
    70-110
    60-75
    105-115
    220-235
    กวางดาว
    75-100
    75-97
    110-140
    210-225
    กวางรูซ่า
    102
    110
    -
    252
    กวางซีก้า
    45-80
    63-109
    110-170
    222-240
    กวางแดง
    75-340
    75-150
    165-265
    225-262
    กวางฟอลโล
    35-200
    80-105
    130-235
    232-237
    ที่มา : Grzimek (1984)

    กวางป่า หรือ กวางม้า "กวางไทย"

     
    ลักษณะทั่วไป  
    - ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียใต้ ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ภูฎาน ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางส่วนของจีน
    - มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
    - สีขาวแกมน้ำตาลเข้ม หางค่อนข้างสั้น แต่ใหญ่ หางยาวประมาณ 26-30 ซ.ม. ขนหางด้านล่างมีสีขาว เพศเมียมีสีอ่อนกว่า
    - บริเวณหัวตาแต่ละข้างจะมีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ เรียกว่า ต่อมใต้กระบอกตา ใช้ในการผลิตสารที่มีกลิ่นฉุนสำหรับสื่อสารและบอกอาณาเขต จะขยายใหญ่ช่วงฤดูผสมพันธุ์
    - เพศผู้อาจมีน้ำหนักถึง 320 กก. แต่ทั่วไปน้ำหนักเฉลี่ย 250 กก. วัดความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหาง 180-200 ซ.ม. ความสูงจากพื้นถึงไหล่ 140-160 ซ.ม.
    - เพศเมียอาจมีน้ำหนักถึง 250 กก. เฉลี่ย 155 กก. สูง 120 ซ.ม.
    อุปนิสัย
              ชอบอยู่สันโดษ โดยเฉพาะตัวผู้ ได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีการรวมฝูงน้อยที่สุด รวมฝูงประมาณ 2-4 ตัว และส่วนใหญ่จะไม่ต่อสู้เพื่อคุมฝูงตัวเมีย อาศัยในป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางคืนและช่วงเช้า เมื่ออากาศร้อนจะหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า และบางครั้งขอบนอนแช่ในปลักเช่นเดียวกับควาย สายพันธุ์ที่พบในไทยเป็นสายพันธุ์ย่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervus unicolor equinus (สวัสดิ์, 2527)
               กินใบไม้ ประมาณ 66.6% กินหญ้าประมาณ 20.4% และเป็นพืชตามพื้นดินและลูกไม้ประมาณ 13% (Jac Saxton, 1983) และได้ชื่อว่า สามารถปรับพฤติกรรมการกินได้สูงสุด ทั้งนี้ ขึ้นกับแหล่งอาหารและอาหารที่มี

    เนื้อทราย หรือ ตามะแน

     
    ลักษณะทั่วไป
    - มีขนาดเล็ก ขนสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลแกมแดง บางตัวอาจจะมีจุดสีขาวบริเวณลำตัว
    - มีถิ่นกำเนิดในที่ราบลุ่มของประเทศอินเดีย ปากีสถาน พม่า เนปาล อัสสัม กัมพูชา เวียดนาม และไทย ปัจจุบันประเทศไทยพบยากมากในป่าธรรมชาติ แต่มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ดีในการเลี้ยงขังตามสวนสัตว์ และฟาร์มเอกชนหลายแห่ง
    - ค่อนข้างเจ้าเนื้อ อ้วนเตี้ยคล้ายหมู (Hog)
    - เพศผู้เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่หัวไหล่ 70 ซ.ม. หนัก 45-50 กก. เพศเมีย มีขนาดเล็กกว่า สูง 61 ซ.ม. และหนัก 30 กก.
    - เขา มีเฉพาะตัวผู้ เขาเทียนจะเริ่มงอกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน และผลัดเปลี่ยนเขาทุกปี เขาของเนื้อทรายจะมีข้างละ 3 กิ่ง คล้ายกับเขาของกวางป่า
    อุปนิสัย
              โดยธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง และตามทุ่งหญ้า เนื้อทรายจะตื่นตกใจง่ายคล้ายกับกวางดาว เวลาวิ่งมักจะก้มหัวต่ำและชอบมุด ไม่ชอบกระโจนหรือกระโดด ถ้าถูกต้อนอยู่ในที่คับแคบ ตัวผุ้ที่มีเขาจะทำร้ายกวางตัวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้
              เนื้อทรายสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ระยะตั้งท้องประมาณ 8 เดือน โดยปกติตกลูกครั้งละ 1 ตัว เคยพบอยู่บ่อยครั้งเวลามีลูกอ่อน แม่เนื้อทรายตัวอื่นๆ จะเข้ามาดูแลและแย่งเลี้ยงลูก เนื้อทรายอาจจะผสมพันธุ์กับกวางดาวและละมั่งได้
              เนื่องจากเนื้อทรายเป็นกวางที่ชอบมุด ดังนั้น ในการทำรั้วแปลงหญ้าในส่วนที่ติดดิน ควรก่ออิฐหรือตอกหมุดฝังดินยึดรั้วให้แน่น เนื้อทรายไม่ควรเลี้ยงปนกับกวางอื่น เคยมีผู้เลี้ยงเนื้อทรายปนกับกวางป่า ปรากฏว่าพ่อพันธุ์เนื้อทรายจะควบคุมกวางป่าตัวเมียเวลาเป็นสัด ทำให้พ่อกวางป่าไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ แม้เนื้อทรายจะตัวเล็กกว่า แต่วงเขาแคบ ทำให้กวางป่าไม่กล้าเข้าผสมพันธุ์กับแม่กวางที่เป็นสัด

    กวางรูซ่า

     
    ลักษณะทั่วไป
    - มีขนาดกลาง ลำตัวสีน้ำตาลเหลือง-น้ำตาลเทา เพศเมียสีอ่อนกว่าเพศผู้
    - สูงประมาณ 1.1-1.3 เมตร
    - สายพันธุ์ชวารูซ่า น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 120-160 กก. เพศเมีย 65-90 กก.
    - สายพันธุ์โมลัคกัน น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 80-100 กก. เพศเมีย 50-60 กก.

    อุปนิสัย
    - ชอบอยู่เป็นฝูง นิสัยค่อนข้างตื่นตกใจง่าย และจะวิ่งหนี สามารถกระโดยได้สูงถึง 2 เมตร โดยเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
    - ช่วงที่เขาแข็ง จะแสดงอาการดุร้าย หวงตัวเมีย จะไม่ให้ตัวผู้อื่นเข้าใกล้ ไล่ขวิดกันจนกว่าจะยอมแพ้หนีไปเอง บางครั้งขวิดกันจนขาหักอาจตายได้
              กวางที่จับแยกจากแม่มาเลี้ยงตั้งแต่เล็กอายุไม่เกิน 2 เดือน ค่อนข้างเชื่องและคุ้นเคยกับคนเลี้ยงทั้งเพศผู้และเพศเมีย สามารถปล่อยออกมาเดินเล่นกับคนได้ เมื่อถึงระยะที่เขาแข็งกวางเพศผู้ที่คุ้นเคยกับคนจะดุมาก จะแสดงอาการเดินเข้าหาแบบช้าๆ ขนที่คอจะตั้งชัน ร่องที่ใต้ตาจะเปิดออก ทำริมฝีปากม้วน ฉี่เป็นวงใส่ตัวเอง กระทืบเท้าและทุ่มตัวเข้าใส่ พร้อมที่จะขวิดเมื่อคนเข้าใกล้
              ลูกกวางที่จับมาเลี้ยงด้วยนมกระบือมุร่าห์ ถ้าจับมาตั้งแต่เล็กอายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะดูดขวดนมได้เองและกินเก่งมาก กวางอายุ 1-2 เดือน สามารถกินได้ถึง 1.2-1.4 ลิตร/ตัว/วัน

    กวางฟอลโล

    ลักษณะทั่วไป
    - ขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน
    - โตเต็มที่สูงประมาณ 75-105 ซ.ม. น้ำหนัก 50-80 กก.
    - หน้าสั้น ลำตัวสีน้ำตาลจาง-น้ำตาลสนิม มีจุดขาว บางตัวมีสีขาวตลอดลำตัว ฤดูร้อนลำตัวเป็นสีน้ำตาลมีจุดขาวเห็นเด่นชัด หน้าหนาวลำตัวสีน้ำตาลสนิม-น้ำตาลเทา มีจุดน้อยสีขาวจางๆ

    อุปนิสัย
    - ชอบอยู่รวมเป็นฝูง
    - ค่อนข้างขี้ขลาด ตื่นเต้นได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่น ถ้าเกิดเสียงดังจะวิ่งหนี หรือกระโดด (คล้ายกระต่าย) ไปก่อน แล้วค่อยๆ เดินกลับมาดูอีกครั้ง แต่ถ้าถึงเวลาให้อาหารก็จะเข้าใกล้คน ย้ายฝูงได้ง่าย

    กวางเพศผู้
               ช่วงที่เขาแข็ง ถ้าเกิดความเครียด เช่น การไล่ต้อนฝูงเข้าไปอยู่ในที่แคบๆ เพื่อทำเบอร์ หรือ ฉีดยา กวางตัวผู้จะหันไปขวิดกันเอง และหันมาทำร้ายกวางตัวเมียและลูกกวาง อาจเกิดความเสียหายได้
    กวางเพศเมีย
               ระยะคลอดลูก ถ้าเกิดความเครียดจากการไล่ต้อน หรือคนเข้าไปดูลูกเกิดใหม่ จะทำให้แม่กวางไม่ยอมเลี้ยงลูกและทิ้งลูกไปเลย ต้องจับลูกมาเลี้ยง และส่วนใหญ่จะไม่รอดเนื่องจากลูกกวางอ่อนแอมาก

    ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางฟอลโล
              เนื่องจากกวางมีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว ต้องดุแลมากเป็นพิเศษทั้งด้านการให้อาหารข้นที่มีคุณภาพ และอาหารหยาบ ในช่วงหน้าแล้งที่มีแต่หญ้าแห้ง หญ้าหมัก ต้องหาใบไม้สดเสริมเพราะกวางจะทรุดโทรมง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่นๆ ซึ่งจะมีผลต่อการให้ลูกให้ปีต่อไป
              ลูกที่เกิดในฤดูผน (พฤษภาคม-มิถุนายน) มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้ลูกกวางมีสภาพอ่อนแอ และเกิดโรคปอดบวมแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้เกิดการสูญเสียมาก จึงต้องกำหนดฤดูผสมพันธุ์เพื่อให้ลูกเกิดในช่วงปลายเดือนกันยายน-ต้นพฤศจิกายน

    • Update : 1/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch