หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์-6
    ต้นทุนการผลิตลูกไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สายพันธุ์

              ต้นทุนการผลิตลูกไก่แรกเกิด และต้นทุนขุนไก่เนื้อพื้นเมืองโดยประมาณแสดงไว้ใน ตารางที่ 8 ต้นทุนการผลิตลูกไก่แรกเกิดเฉลี่ยตัวละ 5.00 บาท เป็นต้นทุนที่ไม่ได้บวกกำไร และค่าขนส่ง แต่ได้รวมค่าแรงงานของตนเองไว้แล้ว โดยคำนวณมาจากค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 180 บาทเลี้ยงไก่ 365 วัน คนหนึ่งๆ เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ 1000 ตัว เฉลี่ยตัวละ 65 บาท นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายหลักๆ จะมีเพิ่มเติมจากนี้ก็เฉพาะราคาอาหารสัตว์เปลี่ยนไปเท่านั้น ดังนั้นถ้าผลิตลูกไก่ไว้เลี้ยงเองน่าจะลดต้นทุนค่าพันธุ์ได้เพราะถ้าซื้อจากท้องตลาดราคาประมาณ 10-15 บาท เป็นอย่างต่ำ เกษตรกรเพียงแต่ฝึกวิธีเลี้ยงเพาะพ่อแม่พันธุ์ 3 สาย วิธีฟักไข่และการสร้างตู้ฟักไข่ขึ้นมาใช้เอง โดยใช้เทคนิกของกรมปศุสัตว์ สำหรับต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ 3 สายส่งตลาด เฉลี่ยต้นทุนต่อตัวเท่ากับ 51.33 บาท เฉลี่ยต่อกิโลกรัมน้ำหนักไก่เท่ากับ 28.52 บาท ดังนั้นการขายไก่มีชีวิตราคาจึงไม่ควรต่ำกว่า 28.52 บาท/ก.ก. แต่ปัจจุบันราคาไก่ 3 สายอยู่ระหว่าง กิโลกรัมละ 40-45 บาท จุดขายของไก่พันธุ์นี้คือ เนื้อไก่ที่มีรสชาดอร่อย และกลิ่นไม่ต่างกับไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ เจริญเติบโตเร็วและสามารถผลิตลูกไก่ได้เองด้วยต้นทุนที่ไม่สูงเกินไป

    ตารางที่ 12  แสดงต้นทุนการผลิตไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สาย และต้นทุนการเลี้ยงแต่แรกเกิด ถึง อายุ 16 สัปดาห

    1. ต้นทุนการผลิตลูกไก่ 3 สายพันธุ์
      1.1 ค่าพ่อแม่พันธุ์อายุแรกเกิด ตัวละ
    1.2 อาหารผสมจาก 1-20 สัปดาห์ 11 ก.ก.ๆ ละ 8 บาท
    1.3 อาหารผสม อายุ 21-72 สัปดาห์ วันละ 120 กรัม/ตัว
         รวม 43.68 ก.ก.ๆ ละ 8 บาท
    1.4 ค่ายา-วัคซีน ตัวละ
    1.5 ค่าแรงงาน/ตัว
    1.6 ค่าอุปกรณ์ - โรงเรือน
    1.7 ค่าดำเนินงานและฟักไข่
    12
    88

    349
    65
    65
    35
    186
    บาท
    บาท

    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
       รวม
    ผลิตลูกไก่ได้
    เฉลี่ยต้นทุนลูกไก่
    800
    160
    5.00
    บาท/แม่
    ตัว/แม่
    บาท/ตัว
    2. ต้นทุนขุนไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สาย น้ำหนัก 1.8 ก.ก.
      2.1 ค่าลูกไก่ 3 สายเลือด ตัวละ
    2.2 ค่าอาหารผสม
         0-6 สัปดาห์ 0.99 ก.ก.ๆ ละ 8.50 บาท
         6-14 สัปดาห์ 3.23 ก.ก.ๆ ละ 7.50 บาท
         15-16 สัปดาห์ 1.02 ก.ก.ๆ ละ 7.00 บาท
    6.00

    8.41
    24.22
    7.14
    บาท

    บาท
    บาท
    บาท
    3. ค่าแรงงานตัวละ
    4. ค่ายา-วัคซีน ตัวละ
    5. โรงเรือน - อุปกรณ์ ตัวละ
    6. น้ำ - ไฟ ตัวละ
    7. ค่าเสียโอกาสเงินทุน ตัวละ
    1.50
    1.50
    1.08
    0.58
    0.90
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
       รวม ต้นทุน ตัวละ
    เฉลี่ย                   51.33 /1.8 =
    51.33
    28.52
    บาท
    บาท/ก.ก.
        โรคและการรักษาโรค


              โรคไก่ทั่วๆ ไปแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคที่รักษาได้และโรคที่รักษาด้วยยาไม่ได้ต้องป้องกันด้วยวัคซีนอย่างเดียว โรคที่รักษาด้วยยาได้และเป็นมากที่สุด คือ โรคบิด จะเกิดเฉพาะกับลูกไก่อายุ ต่ำกว่า 2 เดือน โดยเฉพาะลูกไก่อายุ 3-4 สัปดาห์ จะติดเชื้อได้ง่าย ลักษณะอาการของโรค คือ ลูกไก่จะถ่ายเป็นมูกมีเลือดปนออกมา ตัวที่เป็นมาก ๆ ถ่ายเป็นเลือดเลยทีเดียวไก่ไม่กินอาหาร ยืนซึมปีกตกหนาวสั่นรวมกันเป็นกลุ่มๆ เกษตรกรควรหมั่นสังเกตพื้นคอกทุกวันหรือทุกครั้งที่เข้าคอกไก่สังเกตดูว่าไก่ถ่ายมูลมีลักษณะปกติหรือไม่ ถ้าเห็นมีเลือดปนมูลก็ให้รีบแก้ไข โดยการให้ยาละลายน้ำให้ไก่กิน เช่น ยาซัลเมท ไตรซัลฟา หรือซัลฟาละลายน้ำ ตามคำแนะนำของผู้ผลิต ให้ไก่กิน 3 วัน หยุด 1 วัน แล้วให้ต่ออีก 3 วันก็จะหายจากโรคบิด ข้อระวังคือยาประเภทพวกซัลฟา ถ้าให้ไก่กินมากๆ ไก่จะแคระแกร็น ดังนั้นการให้ยาควรตวงและวัดให้ได้ตามที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำอย่างเคร่งครัด ตามปกติแล้วถ้าเราซื้ออาหารสำเร็จสำหรับลูกไก่เนื้อและลูกไก่ไข่อายุต่ำกว่า 6 สัปดาห์ ผู้ผลิตจะผสมยาป้องกันโรคบิดเสมอ เวลาซื้ออาหารสัตว์ควรจะอ่านรายละเอียดว่ามียาป้องกันโรคบิดหรือไม่ ยาที่ใช้ผสมอาหารลูกไก่ทั่วไปจะใช้ยาโคแบน สำหรับลูกไก่อายุ 0-3 สัปดาห์คอยเดนสำหรับลูกไก่อายุ 4-6 สัปดาห์ และแอมโปรเลี่ยมสำหรับไก่อายุ 7-12 สัปดาห์ หรือจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งตลอด 3 อายุ ก็ได้ แต่ทีสำคัญที่ต้องปฏิบัติอย่างเร่งด่วน คือ ถ้าสังเกตเห็นถ่ายเป็นเลือดให้รีบรักษาและเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทันที โรยปูนขาวก่อนนำวัสดุรองพื้นใหม่ใส่ลงไป ปูนขาว 3 กก.ต่อ พื้นที่ 10 ตารางเมตร

              โรคที่สำคัญๆ อีกโรคหนึ่งคือ โรคหวัด เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนจัด หรือหนาวจัด หรือฝนตก ไก่ถูกละอองฝน ลูกไก่มักจะเป็นหวัดน้ำมูกน้ำตาไหล จามเสียงดังฟิตๆ หายใจลำบากเสียงดังคล็อกแคลกๆ โรคนี้รักษาได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะพวกแกลลิมัยซิน เพนิซิลิน หรือเทอร์รามัยซิน หรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ ที่มีจำหน่ายในร้านขายอาหารและยาสัตว์ทั่วไป หรือเราจะใช้สมุนไพรของเราเองก็ได้ คือ ฟ้าทลายโจน ไพลและขมิ้น ผสมในอาหารให้ลูกไก่ก็จะช่วยลดปัญหาไก่เป็นหวัด บิด ท้องเดินและท้องเสีย ลดกาารใช้ยาประเภทปฏิชีวนะลงได้มาก หรือไม่ได้ใช้เลย เกษตรกรควรปลูกสมุนไพรดังกล่าวไว้ผสมอาหารไก่เอง สมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ใช้รวมกัน ในอัตราส่วนฟ้าทะลายโจน 144 กรัม ผสมกับ ขมิ้น 7 กรัม ไพล 29 กรัม (น้ำหนักตากแห้ง) รวม 180 กรัม ผสมอาหารลูกไก่ได้ 100 กิโลกรัม


    • Update : 31/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch