หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์-4
        การผสมพันธุ์ไก่


              เมื่อแม่ไก่อายุได้ครบ 20 สัปดาห์ ให้ทำการเจาะเลือดพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่เพื่อตรวจโรคขี้ขาว คัดไก่ที่เป็นโรคขี้ขาวออก
    จากฝูง ไม่นำมาผสมพันธุ์เพราะโรคนี้ต่อต่อถึงลูกไก่ได้ทางเปลือกไข่ และระบาดได้ดีในตู้ฟัก ทำให้ไข่ฟักไม่ออกตายมากใน
    ระยะสุดท้ายของการฟัก หรือเรียกว่าตายโคม นอกจากนี้ลูกไก่ที่ฟักออกมาได้จะอ่อนแอขี้เหลวขาวติดก้นลูกไก่ ขี้ไม่ออก แกรน
    และตายมากในระยะกก 1-4 สัปดาห์ ดังนั้น ฝูงไก่พันู์จึงเข้มงวดต่อการกำจัดโรคขี้ขาวออกให้ได้ 100% จึงจะปลอดภัย
    ไก่ที่เป็นโรคให้คัดออกจาฝูงและทำลายเพราะปล่อยไว้ในฝูงจะมีโอกาสกระจายโรคไปสู่ตัวอื่นทำให้เราไม่ปลอดภัยในการที่จะ
    ผลิตลูกไก่พันธุ์ที่ส่งเสริมเกษตรกร

             การผสมพันธุ์ไก่เพื่อผลิตลูก มี 2 วิธี คือ
             วิธีธรรมชาติและวิธีผสมเทียม การผสมแบบธรรมชาติเป็นการผสมฝูง พ่อ 1 ตัว ผสมกับแม่ 10 - 11 ตัว การผสมฝูงเล็ก
    ดีที่สุด คือ ฝูงละ 11 ตัว มีพ่อ 1 ตัว แม่ 10 ตัว แต่ไก่สามสายสามารถผสมฝูงใหญ่ได้ฝูงละ มากว่า 1,000 ตัว ไก่ 3 สาย
    สามารถผสมกับพ่อพันธุ์พื้นเมืองทำเป็นลูกผสม 4 สายได้ หรือผสมกันเองได้ระหว่างพ่อแม่ 3 สายพันธุ์เดียวกัน เพื่อทดแทน
    พันธุ์ในปีต่อไปก็ได้
             การผสม
    เทียมใช้เฉพาะงานวิจัย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ คือ เราต้องการรู้พันธุ์ประวัติของไก่แต่ละตัวว่าไก่ตัวนั้น ๆ เกิดจาก
    การผสมของพ่อตัวใด และแม่ตัวใหน ซึ่งการผสมเทียมสามารถให้คำตอบนี้ได้แต่แม่ไก่จะต้องเลี้ยงอยู่ในกรงตับขังเดี่ยว เวลา
    ไข่ออกมาก็ใช้ดินสอเขียนชื่อแม่และพ่อลงบนเปลือกไข่ การผสมเทียมพ่อ 1 ตัว สามารถผสมกับตัวเมียได้ 30-50 ตัว ผสม
    สัปดาห์ละ 2 ครั้งก็พอ การผสมครั้งหนึ่ง ๆ น้ำเชื้อสามารถอยู่ในท่อนำไข่ของตัวเมีย 10-15 วัน วิธีผสมเทียมทางปฏิบัติมี 2
    ขั้นตอนดังนี้
             1. ขั้นตอนการรีดน้ำเชื้อตัวผู้ การรีดน้ำเชื้อจากไก่พ่อพันธุ์ต้องใช้คน 2 คน คือ คนอุ้มไก่ตัวผู้กระชับไว้ที่เอวยื่นห่างไก่ออก
    ข้างหน้าหัวไก่อยู่ด้านหลังของคนอุ้ม การอุ้มไก่มีเทคนิก คือ จะต้องจับไก่กระชับไว้ที่เอวด้านขวามือ ให้ไก่อยู่ระหว่างเอวกับ
    แขนขวา กดไก่ไว้ไม่ให้ไก่รู้สึกว่าโครงเครง หรือโยกไปโยกมา ขณะที่อีกคนหนึ่งทำการรีดน้ำเชื้อไก่ การอุ้มไก่ที่ถูกต้องนั้นมือ
    ขวาจะจับขาไก่ทั้ง 2 ข้าง รวบเข้าหากัน โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ระหว่างขาทั้งสองป้องกันเวลารวบขาไก่เข้าหากัน ไก่จะเจ็บ
    ขาจุดที่จับขาไก่อยู่ระหว่างหัวเข่าข้อต่อระหว่างแข้งกับโคนขา
    ส่วนมือซ้ายของผู้อุ้มไก่จะจับอยู่ที่ใต้ท้องและปีกกระชับเข้าหากัน
    ช่วยไม่ให้ไก่โยกโครงเครง
             คนรีดน้ำเชื้อในมือขวาถือกรวยรองน้ำเชื้อ หรือไม่ก็เป็นแก้วน้ำขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว อาจจะเป็นพลาสติกแทนแก้วก็ได้ ข้อสำคัญ คือ ภาชนะต้องสะอาดล้างด้วยน้ำกลั่น หรือน้ำเกลือที่เตรียมไว้สำหรับเจือจางน้ำเชื้อไก่ถึงเวลารีดน้ำเชื้อ คนรีดใช้มือซ้ายลูบหลังพ่อไก่เบา ๆ จากโคนปีกผ่านมาที่หลังและโคนหางพอถึงโคนหางใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กระตุ้นอย่างรวดเร็วที่โคนหาง ไก่จะมีความรู้สึกเสียวและแสดงปฏิกิริยากระดกหางขึ้นพร้อมๆ กับดันอวัยวะเพศรูปร่างเป็นลอนรูปปลายแหลมยื่อออกมาจากรูทวารให้เห็นอวัยวะดังกล่าว เป็นที่เก็บน้ำเชื้อและฉีดน้ำเชื้อในเวลาผสมพันธุ์ ซึ่งอยู่เหนือรูที่ไก่ใช้ถ่ายมูล อวัยวะเพศคู่นี้เวลาปกติจะหดตัวเก็บไว้ภายในมองไม่เห็น เวลารีดน้ำเชื้อมีเทคนิกสำคัญคือ ความเร็วระหว่างที่บีบกระตุ้นโคนหางให้หางไก่กระดกชี้ขึ้น กับการเปลี่ยนมือมาบีบโคนอวัยวะเพศที่กล่าวข้างบน ถ้าทำได้เร็วก็จะทำให้รีดน้ำเชื้อได้มาก ในด้านปฏิบัติจริงแล้วพอกระตุ้นโคนหางด้วยนิ้วมือซ้ายแล้วไก่จะกระดกหางขึ้น ผู้รีดต้องเอามือซ้ายมาเปิดก้นไก่โดยใช้ฝ่ามือซ้ายลูบจากบริเวณใต้ทวารดันปาดขึ้นด้านบน เพื่อเปิดให้เห็นอวัยวะเพศอีกครั้งหนึ่ง ช่วงที่เอามือลูบเปิดทวารนี้ไก่จะมีความรู้สึกทางเพศ และจะกดหางของมันดันสวนกับมือผู้รีดแล้วมันจะผ่อนคลายแรงกดลงขณะที่มือเราลูบผ่านทวารของมัน จังหวะนี้อวัยวะเพศจะโผล่ออกมามาก ปากทวารจะเปิดกว้างให้เห็นอวัยวะเพศคู่สีชมพูได้ชัดเจน ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้รีดน้ำเชื้อออกมาจากด้านโคนอวัยวะเพศออกมาทางด้านนอกจะเห็นมีน้ำเชื้อสดสีขุ่นขาวไหลออกมาจากนั้น ก็ใช้ภาชนะในมือขวาไปรองน้ำเชื้อเอาไว้ ก่อนที่จะรองน้ำเชื้อให้ดูดีๆ ว่าไม่มีขี้ไก่ไหลออกมาด้วย
             2. เมื่อได้น้ำเชื้อมาแล้วให้ทำเจือจางโดยใช้น้ำกลั่นที่ละลายเกลือแกงบริสุทธิ์ความเข้มข้นของเกลือเท่ากับ 0.75% จำนวน 2-3 เท่า ของน้ำเชื้อ ใช้ปลายไซริ้งที่ใช้ฉีดน้ำเชื้อคนเข้ากันให้ดี แล้วจึงนำไปฉีดเข้าที่ปากทางเข้าท่อนำไข่ของไก่ตัวเมีย ตัวละ 0.01-0.02 ซีซี. หรือว่า 1 ซีซี. ฉีดได้ 50-100 ตัว นั่นเอง สำหรับสารละลายเจือจางน้ำเชื้อ ถ้าไม่ผสมเองก็ซื้อน้ำเกลือที่ใช้ในโรงพยาบาลสำหรับคนป่วยที่มีความเข้มข้นของเกลือ 0.9% แทนได้ และราคาไม่แพงหาซื้อได้ง่ายอีกด้วย การฉีดน้ำเชื้อเข้าตัวเมียจะต้องใช้คน 2 คน ขึ้นไปถ้าหากไก่มีมาก โดยคนที่ 1 เป็นคนฉีด ส่วนที่เหลือเป็นคนเปิดก้นไก่ตัวเมีย การเปิดก้นไก่ตัวเมียเพื่อให้เห็นปากทางเข้าท่อนำไข่ ให้ปฏิบัติได้โดยตรงภายในกรงไข่ ไม่จำเป็นต้องอุ้มแม่ไก่ออกมาข้างนอกกรง วิธีการก็โดยการเปิดกรงจับแม่ไก่หันก้นออกมาทางหน้าตรงตับ แล้วใช้มือซ้ายกดกลางหลังแม่ไก่ พร้อมใช้นิ้วมือกดกระตุ้นบริเวณหลังที่มือกดอยู่ แม่ไก่จะหมอบลงกางปีกออกและกระดกหางขึ้น พร้อมนี้ใช้มือขวาสอดเข้าไปในกรงด้านข้างจับที่ก้นไก่ใต้ทวารแล้วกดท้องดันไปข้างหน้าเลื่อนมือซ้ายมาช่วยมือขวา คือใช้มือซ้ายเปิดหางแม่ไก่ให้กระดกขึ้นพอมองเห็นทวาร และปากท่อนำไข่ที่แม่ไก่จะดันปากท่อนำไข่โผล่ออกมาให้เห็นอยู่ด้านซ้ายของทวารหนัก ที่ปากท่อนี้เป็นที่สอดไซริ้งเข้าไปประมาณ 1-2 นิ้ว ในแนวตรงขนาดกับลำตัง แล้วฉีดน้ำเชื้อเข้าไป

    การฟักไข่ไก่

              
    วัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยงไก่พันธุ์ คือการผลิตสัตว์ปีกพันธุ์ดีจำหน่ายสมาชิกเกษตรกร ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้อง
    เอาใจใส่ในเรื่องของการฟักไข่อย่างใกล้ชิด เพราะว่าจุดนี้เป็นจุดสุดท้ายที่เราจะนำเอาผลงานออกเผยแพร่เกษตรกรและ
    ประชาชนทั่วไป
              ในการฟักไข่จะให้ได้ผลนั้นมีปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกันอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน การประเมินผลของการฟักไข
    ่ หรือประสิทธิภาพของการฟักไข่จะต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ประกอบคือ
    1. อายุของพ่อและแม่พันธุ์  
    2. อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์  
    3. การเก็บและคัดไข่พันธุ์  
    4. ตู้ฟักและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  
    5. วิธีจัดการฟักไข่ที่เหมาะสม  

    1. อายุของพ่อแม่ไก่พันธุ์
     
              พ่อแม่ที่มีอายุมากจะทำให้อัตราการผสมติดและการฟักออกต่ำกว่าไก่ที่มีอายุน้อย อัตราการผสมติดและการฟักออกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ไข่ไก่ฟองแรกไปสูงสุดเมื่อไก่ไข่ไปได้ 14-16 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง ในทางปฏิบัติไข่ไก่ระยะ 1-3 สัปดาห์ ไปแล้วเช่นกัน ไก่ที่ไข่ครบปีแล้วจะไม่เก็บไข่เข้าฟัก เพราะอัตราการผสมติดจะฟักออกต่ำ ดังนั้นจะเก็บเฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 52

    2. อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พันธุ์  
              อาหารไก่พันธุ์จะแตกต่างกันกับอาหารไก่ไข่ที่ผลิตไข่เพื่อบริโภค จะต่างกันในส่วนของไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและากรพัฒนาของตัวอ่อนในไข่ฟัก เช่น ไวตามินบี 12, บี 2 และไวตามินอี ซึ่งถ้าหากไวตามินเหล่านี้ไม่พอกับความต้องการของร่างกายและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแล้ว จะมีผลกระทบต่อการผสมติด เช่น ขาดไวตามิน จะทำให้การผสมติดและตัวอ่อนตายในระยะอายุ 18 วัน มากกว่าปกติ ถ้าหากขาดไวตามินบี 1 จะทำให้ตัวอ่อนตายในระยะ 7-10 วัน มาก  โดยเฉพาะขาดไวตามินบี 2 หรือที่เรียกว่าไรโบฟลาวิน แล้วลูกไก่จะตายระยะสุดท้ายมากคือตายโคมมาก ตัวอ่อนจะพัฒนาจนสมบูรณ์ทุกอย่าง ไข่แดงดูดซึมเข้าท้องทุกตัว และมีขนขึ้นเต็มตัวแต่ไม่สามารถเจาะเปลือกไข่ออกได้ ดังนั้น ในการพิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมการฟักไข่จึงให้ผลต่ำกว่ามาตรฐานจึงใคร่ขอให้คำนึงถึงอาหารที่ใช้เลี้ยงแม่พันธุ์ด้วย การให้อาหารไก่ไข่ในการผลิตไข่บริโภคมาเลี้ยงไก่แม่พันธู์แล้วจะทำให้การฟักออกต่ำจึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มไวตามิน เอ, ดี, อี และบีให้มากขึ้น และอาหารจะต้องใหม่สดอยู่เสมอ เพราะอาหารเก่าเก็บไว้นานไวตามินจะเสื่อมสลาย ทำให้ไก่ขาดไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการผสมติดและฟักออก สำหรับอาหารไก่พ่อพันธุ์จะแตกต่างกับอาหารแม่พันธุ์ตรงที่มีธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่ต่ำกว่า

    3. การเก็บและคัดไข่พันธุ์  
              การฟักไข่โดยปกติจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจะได้ตั้งแต่ 100-100,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่นๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้มากๆ จึงนำเข้าตู้ฟักครั้งหนึ่งในทางปฏิบัติเราจะรวบรามเข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน โดยากรเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่ปรับอากาศที่มีอุณหภูมิ 65 องศา F(18.3 องศา C) ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% หรือเท่ากับอุณหภูมิตุ้มเปียก 55-58 องศา F ก่อนที่จะนำไข่เข้าเก็บในห้องเย็นควรจะคัดไข่ที่ไม่ได้ขนาดออกไป ควรเก็บเฉพาะไข่ขนาด 50-56 กรัม/ฟอง ใหญ่หรือเล็กกว่านี้คัดออกพร้อมนี้ได้คัดไข่บุบ ร้าว ผิวเปลือกบาง ขรุขระ และรูปร่างผิดปกติออก หลังจากคัดไข่แล้วจะต้องรมควันฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเปลือกไข่ก่อนนำเข้าเก็บในนำเข้าเก็บในห้องเย็นทุกครั้ง การรมควันควรทำให้ตู้ไม้ปิดฝาสนิทที่จัดสร้างไว้เป็นเพิเศษตามความเหมาะสมกับปริมาณไข่เป็นตู้ไม้ที่มีฝาปิด-เปิดได้ ภายในตู้โล่งเป็นที่สำหรับวางถาดไข่ที่วางเรียงซ้อนกันได้ หรือแบ่งเป็นชั้นๆ แต่ต้องเจาะรูให้ควันผ่านได้ การรมควันให้ใช้ด่างทับทิม จำนวน 17 กรัม ใส่ลงบนถ้วยแก้วหรือถ้วยกระเบื้อง (ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ) แล้วเติมด้วยยาฟอร์มาลีน 40% จำนวน 30 ซีซี. ลงไปในถ้วย ชั่วครู่จะมีควันเกิดขึ้นและรีบปิดฝาตู้ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วจึงเปิดฝาไว้อีกนาน 20-30 นาที จึงนำไปเข้าห้องเก็บไข่ ส่วนผสมของด่างทับทิม และฟอร์มาลีน ดังกล่าวใช้สำหรับรมควันตู้ขนาด 100 ลูกบาศก์ฟุต ถ้าหากท่านมีตู้รมควันเล็กกว่านี้ให้ลดน้ำยาและด่างทั้บทิมลงตามส่วน การเก็บไข่ไว้ในห้องเย็นควรจะเรียงไข่ไว้บนถาดใส่ไข่ที่เป็นพลาสติกที่สามารถซ้อนกันได้สูงเป็นตั้งๆ ได้ เพื่อป้องกันลมในห้องเย็นไม่ให้ผ่านไข่มากเกินไป และสะดวกต่อการกลับไข่ โดยการใช้มือเขย่าถาดไข่ทั้งตั้งให้เคลื่อนไหวเบาๆ ทำทุกๆวันๆ ละ 1 ครั้ง จะช่วยลดอัตราการตายของตัวอ่อน ระยะ 1-7 วันได้มาก ก่อนที่จะนำไข่เข้าฟัก จะต้องนำไข่ออกผึ่งไว้นในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือผึ่งอากาศนอกห้องเย็นไว้คืนหนึ่งก่อนจะนำเข้าตู้ฟัก

    4. ตู้ฟักไข่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  

              ตู้ฟักไข่ไก่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นตู้ฟักไข่ไฟฟ้า มีขนาดบรรจุแตกต่างกันตั้งแต่ 100 ฟอง จนถึง 100,000 ฟอง แต่โดยหลักการและวิธีการแล้วทุกตู้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ กัน 4 ชนิด คือ

              4.1 พัดลม ทำหน้าที่กระจายความร้อนในตู้ให้สม่ำเสมอ พร้อมกันนี้ จะทำหน้าที่ดูดอากาศดีเข้าไปในตู้และ
    อากาศ เสียออกจากตู้โดยจะรั้กษาอากาศที่ดีมีออกซิเจน 21% ไว้ในตู้ให้มากที่สุด และลดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    ให้ต่ำกว่า 0.5% ความเร็วพัดลมประมาณ 155-250 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับขนาดของใบพัด และรักษาการเคลื่อนไหว
    ของลมผ่านไข่ในถาดไม่ให้เร็วเกินไป ส่วนใหญ่แล้วลมจะพัดผ่านไข่ด้วยความเร็ว 7 ซม./นาที ในขณะที่เดินเครื่องพัดลม
    จะเป่าอากาศออกและดูดอากาศเข้าตลอดเวลาและต้องการอากาศหายใจและเป็นทวีคูณตามอายุของการฟักไข่ เช่น ไข่ 1,000 ฟอง ต้องการอากาศหายใจอายุ 1 วัน 18 วัน และ 21 วัน เท่ากับ 3,143 และ 216 ลูกบาศก์ฟุตต่อชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า 100 เท่าของระยะแรกๆ การตั้งพัดลมจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป่าลมไปกระทบไข่โดยตรง ด้านหน้าพัดลมจะมีลวดร้อนไฟฟ้าให้ความร้อนแก่ตู้ฟัก พัดลมจะพฟัดผ่านความร้อนแล้วนำความร้อนไปกระทบกับผนังตู้ก่อนแล้วจึงกระจายไปบนไข่ไก่ด้วยแรงสะท้อน จุดตรงที่ลมกระทบผนังนี้จะเจาะรูสำหรับอากาศออก ส่วนด้านตรงข้ามของรูออกจะเป็นตำแหน่งเจาะรูสำหรับอากาศเข้า ในกรณีที่ไฟฟ้าดับและพัดลมไหม้จะทำให้อากาศภายในตู้ร้อนจัด และไม่มีอากาศหมุนเวียน ลูกไก่จะตายหมด ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงต้องเปิดฝาตู้ฟักไข่ไว้จนกว่าไฟฟ้าจะมาหรือซ่อมพัดลมเสร็จ การเปิดฝาตู้ฟักขึ้นอยู่กับอายุของไข่ในตู้ ถ้าหากไข่อายุน้อยเปิดเพียงแง้มตู้ไว้เป็นพอ แต่ถ้าไข่อายุมาก จะต้องเปิดกว้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายในร้อนจัด ซึ่งความร้อนที่เกิดจากการหายใจของลูกไก่ จุดวิกฤตที่ต้องเอาใจใส่อย่างยิ่งคือช่วงสุดท้ายของการฟักไข่ คือระหว่าง 18-21 วัน ถ้าหากไฟฟ้าดับพัดลมไม่เดิน ลูกไก่จะตายภายใน 10-20 นาที เพราะขาดอากาศหายใจ จึงต้องคอยระวังอย่างใกล้ชิดและเปิดฝาตู้ทันทีที่ไฟดับ

              4.2 ลวดร้อนไฟฟ้า เป็นแหล่งให้ความร้อนแก่ตู้ฟักจะวางอยู่หน้าพัดลมหรือใกล้ๆ พัดลม ลวดร้อนมีขนาดตั้งแต่ 100 วัตต์ ถึง 1,500 วัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้ ตู้บรรจุ 10,000 ฟอง ใช้ลวดร้อนประมาณ 750-1,000 วัตต์ ในตู้หนึ่งๆ อาจจะวางลวดร้อนๆ ไฟฟ้าไว้หลายแห่งตามจำนวนพัดลมที่ใช้ การทำงานของลวดร้อนจะถูกควบคุมด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ จุดที่ต้องสนใจขอวงลวดร้อนไฟฟ้า คือ ระวังอย่าให้ถูกน้ำจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และช๊อตเป็นอันตรายและถ้าหากเดินเครื่องแล้วอุณหภูมิตู้ไม่สูงขึ้น อาจจะเนื่องมาจากสายลวดร้อนขาดหรือไม่ก็สะพานไฟหรือสายไฟที่ต่อเข้าลวดร้อนขาดตอนบางแห่ง หรืไม่ก็อุปกรณ์ที่ควบคุมลวดร้อนเสีย

              4.3 เครื่องกลับไข่ การฟักไข่จำเป็นจะต้องกลับไข่เสมอ อย่างน้อยวันละ 4-6 ครั้ง การกลับไข่ คือ การทำให้ไข่ที่กำลังฟักอยู่เคลื่อไหว ไม่ให้นอนนิ่งอยู่ตำแหน่งเดิมเป็นเวลานานๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่อยู่ในเปลือกตายก่อนเกิด อันเนื่องจากตัวอ่อนลอยขึ้นไปติดกับเปลือกไข่ ถ้าให้ไข่นอนอนิ่งอยู่ที่เดิมนานเกินไป โดยปกติเครื่องฟักไข่จะกลับไข่ทุกๆ ชั่วโมงๆ ละครั้ง แต่เราก็สามารถปรับให้กลับทุกๆ 2 ชั่วโมง ก็ได้ไม่แตกต่างกัน วิธีกลับไข่ของเครื่องฟัก คือ มันจะทำให้ถาดไข่เอียงไปซ้ายและขวาด้วยมุม 30-45 องศา แต่ดีที่สุดคือ 45 องศา


    สรุปขั้นตอนการจัดการฟักไข่ไก่
              1. คัดเลือกไข่ไก่ที่จะเข้าฟักให้มีขนาด 50-65 กรัม มีรูปร่างไข่ปกติผิวเปลือกไข่เรียบ สม่ำเสมอ เปลือกหนาและไม่บุบร้าว

              2. รมควันฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าห้องเก็บไข่ทุกๆ ครั้ง หลังจากข้อ 1

              3. เก็บรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน ด้วยอุณหภูมิ 60-65 องศาF ความชื้น 75-80% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียก 68 องศาF

              4. กลับไข่ในห้องเก็บไข่ทุกๆ วันๆ ละ 1 ครั้ง โดยการขยับถาดไข่ให้โยกเล็กน้อย หรือขยับถาดพอที่จะทำให้ไข่เคลื่อนที่จากที่ๆ อยู่เดิม

              5. ก่อนนำเข่เข้าตู้ฟักให้นำไข่ออกจากห้องเย็นผึ่งอากาศในอุณหภูมิห้องไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือหนึ่งคืนก่อนนำเข้าตู้ฟัก

              6. เดินเครื่องตู้ฟักไข่ก่อนนำไข่เข้าตู้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง และตั้งอุณหภูมิและความชื้นดังนี้
    อายุการฟักไข่
    อุณหภูมิ
    ความชื้น
    องศา C
    องศา F
    %RH
    ตุ้มเปียก
    1-18 วัน
    18-21 วัน
    37.77
    37.2
    100
    99
    60
    61-65
    84
    86-88
    องศาF
    องศาF

              7. รมควันฆ่าเชื้อโรคอีกครั้งหนึ่งหลังจากจัดไข่เข้าตู้ฟักเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ด่างทับทิม 17 กรัม+ฟอร์มาลีน 40% 30 ซีซี. ต่อปริมาตรตู้ฟัก 100 ลูกบาศก์ฟุต ขณะที่รมควันให้ปิดช่องอากาศเข้า-ออก และฝาตู้ฟักทั้งหมดเป็นเวลา 20-25 นาที จากนั้นจึงเปิดฝาตู้และช่องอากาศ และเดินเครื่องอีก 30 นาที เพื่อไล่ควันพิษออกให้หมดก่อนที่จะดำเนินการเดินเครื่องตามปกติ

              8. ปรับรูอากาศเข้าและรูอากาศออกตามอายุของไข่ฟัก ไข่ฟักอายุ 1-8 วัน ปรับรูอากาศเข้าให้เปิด 1 ใน 3 รูอากาศออก 1 ใน 2 และไข่ฟักอายุ 18-21 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เตรียมลูกไก่ออกให้เปิดรูอากาศเข้าและออกเต็มที่ ในกรณีที่เปิดรูอากาศออกเต็มที่แล้ว ทำให้ความชื้นต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานให้ปรับรูอากาศออก 3 ใน 4 และเพิ่มถาดน้ำในตู้ฟักไข่ให้มากขึ้น

              9. เติมน้ำในถาดใส่น้ำอย่ให้ขาดและตรวจสอบกับอุณหภูมิของปรอทตุ้มเปียกให้ได้ 84-86 องศาF ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่านี้ให้เพิ่มถาดน้ำให้มากขึ้นจนได้อุณหภูมิตามต้องการ

              10. บันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุกๆ วันๆ ละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. บันทึกลงในสุมดปกแข็งสำหรับใช้กับโรงฟักไข่โดยเฉพาะตามแบบฟอร์มและเปรียบเทียบกับมาตรฐาน

    วันที่
    เวลาเช้า 7.00-8.00 น.
    เวลาบ่าย 14.00-15.00 น.
    อุณหภูมิ
    (องศาF)
    ความชื้น
    (องศาF)
    อุณหภูมิ
    (องศาF)
    ความชื้น
    (องศาF)
    1
    2
    3
    4
    .
    .
    .
    .

    30
    31
           

              11. กลับไข่ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ในกรณีตู้ฟักไข่ใช้คันโยกกลับไข่ ให้กลับวันละ 5-6 ครั้ง

              12. ส่องไข่เชื้อตายและไม่มีเชื้อออกเมื่อฟักได้ 7,14 และ 18 วัน แล้วลงบันทึกในแบบฟอร์มการฟักไข่แขงแต่ละรุ่มนสมุดปกแข็งประจำโรงฟักไข่

              13. ย้ายไข่อายุ 18 วัน ไปฟักในตู้เกิด (Hatcher) โดยให้ไข่นอนนิ่งบนถาดไข่และไม่มีการกลับไข่ในระยะ 3 วันสุดท้ายนี้ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตมาก สร้างความร้อนขึ้นได้เองในตัวอ่อน จึงต้องลดอุณหภูมิของตู้เกิดให้เหลือ 98.9-99 องศาF แต่ความชื้นตุ้มเปียกเพิ่มขึ้นเป็น 88 องศาF

              14. ย้ายลูกไก่ออกจากตู้เกิดในวันที่ 21 ของการฟัก บันทึกข้อมูลจำนวนลูกไก่ที่เกิดและตายโคม คัดลูกไก่ที่ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอออกพร้อมทั้งบันทึกความแข็งแรงหรือข้อสังเกตในช่องหมายเหตุของแต่ละรุ่น นำถาดไข่ที่เปรอะเปื้อนขี้ของลูกไก่แช่ไว้ในถังน้ำและใช้แปรงขัดให้สะอาด ล้างด้วยน้ำจืดอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดช่องที่เกิดลูกไก่ ปัดกวาดขนลูกไก่ออกและใช้ผ้าชุบน้ำถูพื้นและชั้นวางถาดก่อน จากนั้นจึงเะอาผ้าชุบน้ำละลายด่างทับทิมเช็ดถูพื้น และชั้นวางถาดไข่ทุกๆ ครั้ง ที่มีการนำลูกไก่ออกจากตู้เป็นการฆ่าเชื้อโรคในตู้เกิดลูกไก่

              15. ล้างถาดใส่ไข่ที่ใช้สำหรับวางไข่ฟักอายุ 1-18 วัน ทุกๆ สัปดาห์ก่อนนำไปใส่ไข่ฟักพร้อมทั้งทำความสะอาด กวาดฝุ่นบนหลังตู้ไม่ให้มีใยแมงมุมและวัสดุอื่นๆ อุดตันช่องอากาศออก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนหลังตู้ฟักทุกๆ ตุ้ให้ทำความสะอาดทุกๆ เดือนๆ ละ 1 ครั้ง การปิดตู้ทำความสะอาดเดือนละ 1-2 ครั้ง จะไม่มีผลกระทบต่อการฟักไข่ ดังนั้น ทุกๆ ครั้ง ที่ทำความสะอาดภายในตู้ฟักจึงสมควรปิดเครื่องก่อนป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากไฟช๊อตและพัดลมตี


    • Update : 31/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch