หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์-2
    การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโต อายุ 7-14 สัปดาห์

              
    การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-14 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วน
    ไก่ 1 ตัว ต่อ พื้นที่ 1.2 ตารางฟุต หรือไก่ 9 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่
    ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย สามารถเลี้ยงปนได้ เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง โดยจะต้องเลี้ยงแบบให้อาหารกิน
    เต็มที่ มีอาหารในถังหรือรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ แต่การเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์ เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องเลี้ยงแบบจำกัดอาหารให้ไก่กินโดยจะปรับจำนวนอาหารที่ให้ทุกๆ สัปดาห์ ตามตารางที่ 3 และจะต้องปรับเพิ่มหรือลด โดยดูจากน้ำหนักของไก่โดยเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้แนะให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถังที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต และน้ำ 24-32 ลิตรต่อไก่ 100 ตัว

                ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลตัวล ะ 0.10 ซีซี. เมื่ออายุ 10 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าอกหรือโคนขา โดยวัคซีนที่ฉีดเป็นชนิดเชื้อเป็นเรียกว่าวัคซีนป้องกันดรคนิวคาสเซิล เอ็ม พี  ซึ่งวัคซีน 1 หลอดผสมน้ำกลั่น 10 ซีซี. แล้วแบ่งฉีด ดังนั้นจึงฉีดไก่ได้ 100 ตัว การฉีดให้ผลดีกว่าการแทงปีกและสามารถคุ้มกันโรคได้นานกว่า 1 ปี ในวันเดียวกันนี้ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ตัวละ 2 ซีซี.ด้วย หลังจากฉีดวัคซีน เอ็ม พี แล้ว ให้หยอดวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยการหยอดจมูก


    ตารางที่ 3  แสดงน้ำหนักมีชีวิตและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่รุ่นเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์ กินในแต่ละสัปดาห์

    อายุไก่
    (สัปดาห์)
    น้ำหนักกรัม
    (กรัม/ตัว)
    จำนวนอาหาร
    (กรัม/ตัว/วัน)
    การจัดการอื่นที่เกี่ยวข้อง
    7
    8
    9
    10
    11
    12
    13
    14
    713
    861
    1,011
    1,155
    1,334
    1,457
    1,557
    1,631
    38
    55
    50
    55
    60
    70
    72
    61
    - ตัดปากไก่ 1/3

    - ฉีดวัคซีนเอ็ม พี และอหิวาต์ไก่ พร้อมหยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
    - ให้แสงสว่างไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
    - เปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุกๆ รุ่นที่นำไก่รุ่นใหม่เข้ามาเลี้ยง


              การให้อาหารจะต้องจำกัดให้กิน อาหารมีปริมาณและคุณค่าทางโภชนะดังตารางที่ 3 และ 4 ถ้าไก่น้ำหนักเบากว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักไก่ทุกๆ สัปดาห์โดยการสุ่มชั่ง 10% ของไก่ทั้งฝูง แล้วหาค่าเฉลี่ย นำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานกำหนด

    ตารางที่ 4  แสดงส่วนประกอบของอาหารสำหรับไก่รุ่นเพศผู้และเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์

    ส่วนประกอบของอาหาร
    %ในอาหาร
    สูตรอาหารในอาหาร (กก.)
    โปรตีน
    กรดอะมิโน
    ไลซีน
    เมทไธโอนีน+ซีสตีน
    ทริปโตเฟน
    ทรีโอนีน
    ไอโซลูซีน
    อาร์จินีน
    ลูซีน
    เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
    ฮีสติดีน
    เวลีน
    ไกลซีน+เซรีน
    คุณค่าทางโภชนะ
    พลังงาน (M.E Kcal/Kg)
    แคลเซี่ยม
    ฟอสฟอรัส
    เกลือ
    15

    0.60
    0.50
    0.14
    0.57
    0.50
    0.83
    0.83
    0.83
    0.22
    0.52
    0.58

    2,900
    0.70
    0.35
    0.50
    ข้าวโพด
    ปลายข้าว
    รำละเอียด
    ใบกระถิน
    กากถั่วเหลือง 44%
    ปลาป่น 55%
    เปลือกหอยป่น
    ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 8%P
    เกลือป่น
    พรีมิกซ์
    รวม







    73.00

    5
    4
    12.25
    3
    1
    1
    0.5
    0.25
    100







     การเลี้ยงไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์

              
    เลี้ยงในคอกบนพื้นดินเลี้ยงปล่อยเป็นฝูงๆ ละ 100-150 ตัว พื้นที่ 1 ตารางเมตรเลี้ยงไก่สาวได้ 5-6 ตัว พอไก่สาวเริ่มเข้าอายุ 15 สัปดาห์ ให้ตัดปากไก่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตัดปากบนให้สั้นกว่าปากล่าง 1 ใน 3 ด้วยเครื่องตัดปากไก่ และจี้แฟลด้วยความร้อน เพื่อป้องกันเลือดออกมาก เสร็จแล้วให้ทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ขั้นตอนต่อไปนี้ให้ถ่ายพยาธิภายในด้วยยาประเภท Peperazine ชนิดเม็ดทุกๆ ตัวๆ ละ 1 เม็ด สุดท้าย คือ อาบน้ำยาฆ่าเหา ไรไก่ โดยใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผง ชือ เซฟวิน 85 ตวงยา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไก่ลงจุ่มน้ำใช้มือถูให้ขนเปียกจนทั่วลำตัว และก่อนนำไก่ขึ้นจากน้ำยา ก็ให้จับหัวไก่มุดลงในน้ำก่อนอีกครั้งหนึ่ง เป็นเสร็จวิธีการฆ่าเหาในไก่
              การเลี้ยงไก่สาวระยะนี้จะต้องมีการควบคุมจำนวนอาหารที่ให้กิน สุ่มชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ เปรียบเทียบตารางมาตรฐาน ให้น้ำกินตลอดเวลา คัดไก่ป่วยออกจากฝูงเมื่อเห็นไก่แสดงอาการผิดปกติ ทำความสะอาดคอกและกลับแกลบหรือวัสดุรองพื้นเสมอเมื่อเห็นว่าพื้นคอกเปียกชื้น แฉะ การรักษาพื้นคอกไม่ให้ชื้น และแห้งอยู่เสมอๆ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไก่ ไก่จะแข็งแรง เลี้ยงง่าย ตายยาก เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เกษตรกรควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ และไม่จำเป็นจะต้องใช้ยามาก ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงต้องสร้าคอกไก่ให้สามารถระบายความชื้นออกไป และมีอากาศสดชื่นเข้ามาแทน คอกไก่ไม่ควรจะมืดทึบ อับลม อับแสง
              การให้แสงสว่างแก่ไก่ในเล้าระยะนี้ จ้ต้องให้ไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง ถ้าให้แสงสว่างมากกว่านี้จะทำให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก่อนกำหนดและอัตราการไข่ทั้งปีไม่ดี แต่จะดีเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรกเท่านั้น ดังนั้น แสงสว่างจึงต้องเอาใจใส่และจัดการให้ถูกต้อง กล่าวคือในเดือนที่เวลากลางวันยาว เช่น เดือนมีนาคม-ตุลาคม ไม่ต้องให้แสงสว่างเพิ่มในเวลาหัวค่ำหรือกลางคืน โดยหลักการแล้วแสงสว่างธรรมชาติ 8-12 ชั่วโมงเป็นใช้ได้ไม่ต้องเพิ่มไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวที่มืดเร็วจำเป็นจะต้องให้แสงสว่างเพิ่ม แต่รวมแล้วไม่ให้เกิน 11-12 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสงสว่างที่พอเหมาะคือ 1 ฟุตแคนเดิ้ลที่ระดับตัวไก่
              การให้อาหารจะต้องจำกัดให้ไก่สาวกินตามตารางที่ 5-6 พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำหนักไก่ทุกสัปดาห์ ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. ให้น้ำกินตลอดเวลา และทำความสะอาดรางน้ำเช้าและบ่าย เวลาเดียวกับที่ให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่สาวเป็นอาหารที่มีโปรตีน 12% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 M.E Kcal/Kg แคลเซี่ยม 0.6% ฟอสฟอรัส 0.35% เกลือ 0.55% และอุดมด้วยแร่ธาตุไวตามินที่ต้องการ (ตารางที่ 7)

    ตารางที่ 5  แสดงน้ำหนักไก่สาว จำนวนอาหารที่จำกัดให้กินอายุ 15-20 สัปดาห์


    อายุไก่สาว
    (สัปดาห์)
    น้ำหนักตัว
    (กรัม/ตัว)
    จำนวนอาหารที่ให้
    (กรัม/ตัว/วัน)
    การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    15
    16
    17
    18
    19
    20
    1,608
    1,541
    1,662
    1,737
    1,784
    1,861
    64
    66
    68
    70
    72
    76
    - ตัดปาก, หยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
    - ถ่ายพยาธิและอาบน้ำฆ่าเหา ไรไก่
    - ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชม./วัน
    - คัดไก่ป่วยออกเป็นระยะๆ ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน

    ตารางที่ 6  แสดงน้ำหนักตัวและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่ตัวผู้อายุ 15-20 สัปดาห์

    อายุไก่สาว
    (สัปดาห์)
    น้ำหนักตัว
    (กรัม/ตัว)
    จำนวนอาหารที่ให้
    (กรัม/ตัว/วัน)
    การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    15
    16
    17
    18
    19
    20
    1,730
    1,820
    1,910
    2,000
    2,130
    2,220
    80
    83
    86
    90
    95
    99
    - ตัดปาก, หยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
    - ถ่ายพยาธิภายนอกและภายใน
    - ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชม./วัน
    - ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน

    ตารางที่ 7  แสดงอาหารและส่วนประกอบของอาหารไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์

    โภชนะของอาหารผสม
    %ในอาหาร
    สูตรอาหารผสม (กก.)
    โปรตีน
    กรดอะมิโน
    ไลซีน
    เมทไธโอนีน+ซีสตีน
    ทริปโตเฟน
    ทรีโอนีน
    ไอโซลูซีน
    อาร์จินีน
    ลูซีน
    เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
    ฮีสติดีน
    เวลีน
    ไกลซีน+เซรีน
    คุณค่าทางโภชนะ
    พลังงาน (M.E. Kcal/Kg)
    แคลเซี่ยม
    ฟอสฟอรัส
    เกลือ
    12

    0.45
    0.40
    0.11
    0.37
    0.40
    0.67
    0.67
    0.67
    0.17
    0.41
    0.47

    2,900
    0.60
    0.30
    0.50
    ข้าวโพด
    รำละเอียด
    กากถั่วเหลือง
    ใบกระถิน
    เปลือกหอยป่น
    ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 18%P
    เกลือป่น
    พรีมิกซ์
    รวม










    76.00
    10.00
    7.00
    4
    1
    1
    0.25
    0.50
    100











    • Update : 29/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch