หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์-1
              กรมปศุสัตว์มีนโยบายด้านการวิจัย และพัฒนาพันธุ์สัตว์ปีกและเทคโนโลยีการจัดการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพ
    ภูมิอากาศ และการเลี้ยงดูของเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในปัจจุบันความนิยมของผู้บริโภค
    เน้นไปที่ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ เรพาะรสชาดดีเนื้อแน่น ไขมันต่ำและเนื้อมีกลิ่นหอม ซึ่งตรงกันข้ามกับไก่เนื้อโตเร็วที่มีจำหน่ายอยู่
    ทั่วไปในตลาด ดั้งนั้น กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ จึงได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์ไก่สามสายพันธุ์ขึ้นมา เพื่อทำเป็นสาย
    แม่พันธุ์ ที่มีคุณสมบัติให้ลูกดก เจริญเติบโตเร็ว เนื้อหน้าอกเต็ม และเมื่อนำไปผสมกับพันธุ์พื้นเมืองแล้วจะให้ลูกผสมสี่สายพันธุ์
    ที่มีลักษณะไม่แตกต่างกับไก่พื้นเมือง คุณภาพเนื้อทัดเทียม หรือดีกว่าไก่พื้นเมือง การวิจัยพันธุ์ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2537
    ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และวิจัยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี การวิจัยพันธุ์มีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง คือ ให้เกษตรกรขยายพันธุ์เองได้ ไม่กลาย
    พันธุ์ และไก่สามสายพันธุ์ยังเป็นแม่พันธุ์พื้นฐานสำหรับผสมเป็นไก่เนื้อพื้นเมืองเติบโตเร็ว ห้าสายพันธุ์ได้อีกด้วย คือ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนสลับพ่อพันธุ์ให้ได้ลูกโตช้าโตเร็วได้ตามความต้องการ แม้แต่ไก่พันธุ์เนื้อโตเร็วก็ใช้แม่พื้นฐานสามสายพันธุ์หรือจะใช้พันธุ์สามสาย ผลิตเป็นไก่พื้นเมืองโดยตรงก็ได้ คุณภาพเนื้อแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เจริญเติบโตเร็วกว่านำไปผสมกับไก่พื้นเมือง ซึ่งแผนการผสมพันธุ์ดังนี้


    โร๊ดไอแลนด์
    (เพศผู้)


    X



    บาร์พลีมัธร๊อค
    (เพศเมีย)

    เซียงไฮ้
    (เพศผู้)
     


    X



    โร๊ด-บาร์ (สองสาย)
    (เพศเมีย)
       
       

    สามสายพันธุ์
     
    การเลี้ยงไก่เล็ก อายุ 1-6 สัปดาห์

               ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นจะต้องมีการดูแลเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟักให้ทำการตัดปากบนลูกไก่ 1 ใน 3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่ เพื่อให้อบอุ่นด้วยอุณหภูมิกก 95 องศาF ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศาF กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร  
              การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอดาดให้กินตลอดเวลา และวางอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 อัน ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลทั้ง 3 ชนิด พร้อมๆ กัน จากนั้นก็หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลซ้ำอีกเมื่ออายุ 21 วัน
              การให้อาหารลูกไก่ระยะะกก (1-14 วันแรก) ควรมห้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง  การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้นอีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่มากจนเหลือค้างราง หรือล้นราง ซึ่งจะทำให้อาหารตกหล่น  ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปาดาห์ และน้ำหนักไก่โดยเฉลี่ยดังแสดงไว้ในตารางที่ 1

    ตารางที่ 1  น้ำหนักและปริมาณอาหารผสมที่ใช้เลี้ยงลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์

    อายุลูกไก่
    น้ำหนักตัว
    (กรัม/ตัว)
    จำนวนอาหารที่ให้
    (กรัม/ตัว/วัน)
    การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    สัปดาห์ที่ 1
    สัปดาห์ที่ 2
    สัปดาห์ที่ 3
    สัปดาห์ที่ 4
    สัปดาห์ที่ 5
    สัปดาห์ที่ 6
    65
    123
    200
    314
    442
    577
    7
    18
    21
    30
    32
    33
    - หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบติดต่อ ฝีดาษเมื่ออายุ 1-7 วัน
    - อัตราการตายไม่เกิน 3%
    - ชั่งน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อสิ้นสัปดาห์ โดยการสุ่มตัวอย่าง 10% เพื่อหาค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับตารางมาตรฐาน

              ในกรณีที่เกษตรกรต้องการเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ การให้อาหารในแต่ละสัปดาห์จะต้องมีความสัมพันธ์
    กับน้ำหนักลูกไก่ถ้าหากไก่หนักกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องลดจำนวนอาหารที่ให้ลงไป หรือถ้าน้ำหนักเบากว่ามาตรฐาน ก็ต้อง
    เพิ่มอาหารให้มากกว่าที่กำหนด ดังนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องทำการสุ่มชั่งน้ำหนักของลูกไก่ทุกๆ สัปดาห์ แล้วเปรียบเทียบกับมาตรฐาน
    พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มเดียวกับตารางที่ 1 ส่วนการเลี้ยงเพื่อขุนขายให้กินอาหารเต็มที่โดยไม่ต้องควบคุมน้ำหนักไก่ ่หรือจำกัดอาหาร
              อาหารผสมที่ให้ในระยะ 0-6 สัปดาห์นี้ มีโปรตีน 18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 กิโลแคลอรี่/กก.  แคลเซี่ยม
    0.8%  ฟอสฟอรัส 0.40%  เกลือ 0.5%  และมีส่วนประกอบของกรมอะมิดนครบตามความต้องการ (ตารางที่ 2) สำหรับ
    ไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อย (พรีมิกซ์) ที่ใช้ผสมในอาหาร 0.25% หรือ 250 กรัม ต่อ อาหาร 100 กก. นั้น เป็นไวตามิน - แร่ธาตุที่ผู้ผลิตผสมในปริมาณตามความต้องการของลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์ และหาซื้อได้จากร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป


    การกกลูกไก่อายุ 0-3 สัปดาห์

    การหยอดวัคซีนป้องกันโรคระบาด

    ตารางที่ 2
      ส่วนประกอบของอาหารลูกไก่ อายุ 0-6 สัปดาห์

    ส่วนประกอบในอาหาร
    %ในอาหารผสม
    สูตรอาหารผสม (กก.)
    โปรตีน
    กรดอะมิโนที่จำเป็น
    ไลซีน
    เมทไธโอนีน+ซีสตีน
    ทริปโตเฟน
    ทรีโอนีน
    ไอโซลูซีน
    อาร์จินีน
    ลูซีน
    เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
    ฮีสติดีน
    เวลีน
    ไกลซีน+เซรีน
    คุณค่าทางโภชนะ
    พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลอรี/กก.)
    แคลเซี่ยม
    ฟอสฟอรัส
    เกลือ
    ไวตามิน+แร่ธาตุ
    18

    0.85
    0.60
    0.17
    0.68
    0.60
    1.00
    1.00
    1.00
    0.26
    0.62
    0.70


    2,900
    0.80
    0.40
    0.50
    ++
    ข้าวโพด
    รำละเอียด
    กากถั่วเหลือ
    ไบกระถินป่น
    ปลาป่น (55%)
    เปลือกหอย
    เกลือ
    พรีมิกซ์ลูกไก่
    รวม










    63.37
    10.00
    10.88
    4.00
    10.00
    1.00
    0.50
    0.25
    100









    หมายเหตุ
    1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และปลายข้าวใช้แทนกันได้
    2. ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ก่อนใช้แช่น้ำเดือดนาน 15-20 นาที ตากแดด และบดผสมอาหารต่อไป

    • Update : 29/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch