หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่ไข่-8

    การทำวัคซีนไก่ไข่
     
     

              จุดประสงค์ของการทำวัคซีน คือ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ไม่สามารถทำการรักษาได้หรือโรคที่ยากต่อการรักษา ทำให้ไก่สร้างภูมิคุ้มันเกิดขึ้นในร่างกาย การทำวัคซีนเป็นการเพิ่มความเครียดให้ไก่ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น จึงต้องเข้มงวดในขั้นตอนการทำวัคซีน โดยต้อนไก่ครั้งละน้อยๆ จับไก่ด้วยความระมัดระวัง และทำวัคซีนด้วยความนุ่มนวล ถ้าไม่ระมัดระวังมีผลทำให้ไก่เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นและไก่แพ้วัคซีนมากขึ้น

       
     
    ชนิดของวัคซีน
       
     
     
              วัคซีนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมขึ้นจากส่วนของเชื้อโรคหรือเชื้อที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเมื่อฉีดเข้าร่างกายสัตว์ก็สามารรถทำให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ และภูมิคุ้มกันโรคนั้นสามารถที่จะป้องกันสัตว์ไม่ให้ป่วยเป็นโรคนั้น ชนิดของวัคซีนแบ่งออกได้ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ

     
                1. วัคซีนเชื้อเป็น  เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงแต่ถูกทำให้อ่อนแอลง หรือถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นจุลชีพที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ จุลชีพเหล่านี้สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดอาการแพ้วัคซีน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถให้ไก่ได้ทีละตัว โดยการหยอดตาหรือหยอดจมูก หรือให้ไก่เป็นกลุ่มโดยการละลายในน้ำดื่ม หรือการสเปรย์ ทำให้ประหยัดแรงงาน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่แต่ให้ความคุ้มโรคสูง อาจทำให้สัตว์เกิดโรคได้ แต่การเก็บรักษายุ่งยากกว่าวัคซีนเชื้อตาย และมีราคาถูก  
     

     
                2. วัคซีนเชื้อตาย  เป็นวัคซีนที่มักเตรียมจากเชื้อที่ความรุนแรงที่ถูกทำให้ตายโดยทางเคมีหรือฟิสิกส์ จุลชีพเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงมีความปลอดภัย แต่ให้ความคุ้มโรคต่ำ วัคซีนเชื้อตายจะให้โดยวิธีการฉีดเท่านั้น สารที่ใช้ผสมกับวัคซีนจะเป็นน้ำมันหรืออลูมินั่มไฮดร็อกไซด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี วัคซีนเชื้อตายมีราคาแพงแต่เก็บรักษาง่าย  
     
     
     

     
       
     
    วิธีการทำวัคซีน
       
     
     
                การทำวัคซีนไก่สามารถทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ใช้และชนิดของโรค
     
                1. การหยอดตาหรือหยอดจมูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบ โดยละลายวัคซีนในน้ำยาละลายวัคซีน (น้ำกลั่น ที่อุณหภูมิห้อง) การใช้น้ำเย็นจัดอาจทำให้เยื่อบุอักเสบ ขวดที่ใช้หยอดวัคซีนควรเป็นขวดมาตรฐาน เพื่อให้ลูกไก่ได้รับวัคซีนครบโด๊ส การหยอดตาให้หยอดวัคซีน 1-2 หยดต่อไก่ 1 ตัว ตำแหน่งที่จะหยอดวัคซีนก็คือที่บริเวณมุมตาด้านใน รอจนกระทั่งวัคซีนเข้าไปในตาจึงปล่อยไก่ การหยอดจมูกจะให้ผลดีกว่าการหยอดตา การหยอดโดยใช้นิ้วมือปิดรูจมูกไว้ข้างหนึ่งแล้วจึงหยอดวัคซีนในรูจมูกอีกข้างหนึง การทำวัคซีนโดยการหยอดตาและหยอดจมูกทำให้ไก่ทุกตัวได้รับปริมาณวัคซีนที่ใกล้เคียงกันทุกๆ ตัว ดังนั้น ภูมิคุ้มโรคที่เกิดจึงมีระดับใกล้เคียงกัน เพียงแต่วิธีการทำยุ่งยาก เสียเวลา และเสียแรงงานมากกว่าเท่านั้น  
     

     
                2. การแทงปีก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ คือบริเวณใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ เป็นวัคซีนที่มีความเข้มข้นมาก เนื่องจากใช้น้ำยาละลายวัคซีนเพียงเล็กน้อย และใช้เข็มจุ่มวัคซีนครั้งละ 0.01 ซี.ซี. โดยสังเกตุจากการที่วัคซีนเต็มรูเข็มทั้งสองข้าง แล้วแทงเข็มจากทางด้านล่างผ่านทะลุผนังของปีกไก่ ระวังอย่าให้แทงผ่านขน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก ภายใน 7-10 วัน หลังจากทำวัคซีนจะเกิดรอยสะเก็ดแผลทั้งด้านบนและด้านล่างของผนังปีกไก่ซึ่งเกิดจากการแทงเข็มผ่าน  
     

     
                3. การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง  เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการทำวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้ายทอยหรือฐานคอ ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ให้ผลในการคุ้มกันโรคนาน  
     

     
                4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ   เป็นวิธีที่นิยมใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันดีกว่าการหยอดตาและจมูก เพราะจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วยสารนำขึ้นในกระแสเลือดและเกิดการหมุนเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ เป็นต้น  
     

     
                5. การละลายน้ำดื่ม  เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ประหยัดแรงงาน และเหมาะสำหรับไก่จำนวนมากๆ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันจะมีความผันแปรค่อนข้างมาก เนื่องจากไก่แต่ละตัวได้รับวัคซีนในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะต้องหยุดให้น้ำไก่เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนทำวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ไก่กระหายน้ำและกินน้ำผสมวัคซีนให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระยะเวลาในการอดน้ำจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อุปกรณ์ให้น้ำต้องเพียงพอสำหรับไก่จำนวน 2 ใน 3 ของคอกสามารถเข้าไปกินน้ำได้พร้อมๆ กัน ถ้าไม่พออาจเพิ่มอุปกรณ์ให้น้ำขึ้นมาชั่วคราวสำหรับการนี้โดยเฉพาะ จุดนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัยที่สุด เพราะการล้มเหลวจากการให้วัคซีนนี้มักเกิดจากระบบน้ำไม่ถูกต้องและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ สำหรับปริมาณน้ำที่ใช้ละลายวัคซีนจะผันแปรไปตามอายุของไก่ ดังนี้
      อายุ 1 สัปดาห์ ใช้น้ำ 2-5 ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
      อายุ 2-3 สัปดาห์ ใช้น้ำ 9-11 ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
      อายุ 5-7 สัปดาห์ ใช้น้ำ 14-18 ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
      อายุมากกว่า 7 สัปดาห์ ใช้น้ำ 20-23 ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
     
     

     
                6. การสเปรย์   เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับการทำวัคซีนครั้งแรกในลูกไก่อายุ 1 วัน เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสในระบบะทางเดินหายใจ อาจสเปรย์ตั้งแต่ในโรงฟักหรือโรงเรือนที่เลี้ยง โดยสเปรย์ใส่ลูกไก่ที่อยู่ในกล่องเลย ลูกไก่จะได้รับวัคซีนผ่านทางลูกตาหรือจมูก เป็นวิธีที่ทำได้รวดเร็ว สามารถให้วัคซีนแก่ไก่จำนวนมากๆ ในระยะเวลาอันสั้น แต่ประมาณวัคซีนที่ได้รับอาจแตกต่างกันไป การสเปรย์ควรสเปรย์ให้พอหมาดๆ ไม่ควรให้ตัวลูกไก่เปียกโชก และควรทิ้งลูกไก่ไว้ 10-15 นาที เพื่อให้ตัวแห้ง  
     
     
     

     
       
     
    ตำแหน่งบนตัวสัตว์ที่จะใช้ฉีดวัคซีน
       
     
     
     
     

    ฉีดเข้ากล้าม

    หยอดตา

    หยอดจมูก

    แทงปีก
     
     
     
     


       
     
    ข้อควรปฏิบัติในการทำวัคซีน
       
     
     
     
     
              1. อายุของไก่และระยะเวลาในการทำวัคซีนจะมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของไก่เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการทำวัคซีนจึงควรทำตามกำหนดเวลาอย่างถูกต้อง
              2. สุขภาพของไก่ขณะที่ทำวัคซีนจะต้องมีความสมบูรณ์ แจ่มใส แข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด และต้องปลอดภัยจากพยาธิ เพราะอาจจะทำให้การทำวัคซีนไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทั้งอาจทำให้ไก่ป่วยมีอาการขั้นรุนแรงได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของไก่และอาการแทรกซ้อนต่างๆ จึงควรให้ยาปฏิชีวนะหรือไวตามิน 3 วันติดต่อกัน กล่าวคือ ก่อนและหลังทำวัคซีน 1 วัน และในวันทำวัคซีนอีก 1 วัน
              3. วัคซีนที่ใช้ต้องไม่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ และควรซื้อวัคซีนจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
              4. การเก็บรักษาวัคซีน จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นจัด เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หรือตามคำแนะนำของการใช้วัคซีนนั้น การขนส่งจะต้องบรรจุในกระติดน้ำแข็งผสมเกลือ และควรระวังอย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงอาทิตย์ เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อมสภาพได้

              5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำวัคซีนทุกชิ้นจะต้องได้รับการทำความสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ อาจเป็นวิธีต้ม นึ่งไอน้ำ แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ในกรณีที่ทำวัคซีนละลายน้ำ ควรล้างภาชนะต่างๆ ให้สะอาดก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง

              6. ในการผสมวัคซีน จะต้องผสมในอัตราที่ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อผสมเสร็จแล้วควรรีบใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง

              7. วัคซีนที่ผสมแล้วเหลือใช้ รวมทั้งหลอดหรือขวดบรรจุวัคซีน ก่อนทิ้งควรผ่านการต้มฆ่าเชื้อเสียก่อน
     
     
     
     


       
     
    การเก็บรักษาวัคซีน
       
     
     
              การเก็บรักษาวัคซีนจะต้องทำอย่างถูกต้อง หากเก็บรักษาไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง จะทำให้วัคซีนนั้นเสื่อมทันที ซึ่งการเก็บรักษาวัคซีนควรปฏิบัติ ดังนี้

     
     
              1. ควรเก็บวัคซีนไว้ในตู้เย็นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้สม่ำเสมอตลอดเวลา ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิประมาณ 2-8 องศาเซลเซียส
              2. ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ กรณีที่ในตู้เย็นไฟฟ้าจะต้องรีบย้ายวัคซีนมาเก็บในภานะหรือถังน้ำแข็ง อย่าปล่อยทิ้งไว้ในตู้เย็นรอจนไฟมา เพราะจำทำให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพได้
              3. การเก็บวัคซีนในตู้เย็นควรดูชนิดของวัคซีน และข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิตกำหนดมาในเรื่องอุณหภูมิ เพราะวัคซีบางชนิดจะเก็บในตู้เย็ยธรรมดา บางชนิดจะเก็บในช่องแช่แข็ง แต่โดยปกติแล้ววัคซีนชนิด Freezedries จะเก็บในช่องแช่แข็ง ส่วนวัคซีนที่เป็นน้ำจะเก็บในช่องธรรมดา ไม่ควรรีบนำไปเก็บไว้ในชั้นที่ใกล้หรือใต้ช่องแช่แข็ง เพราะจำทำให้วัคซีนแข็งตัวและเสื่อมคุณภาพได้
              4. ตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนควรแยกต่างหากจากตู้เย็นอาหารหรือเครื่องดื่ม และไม่ควรเป็นตู้เย็นที่เปิด-ปิดอยู่เสมอ
              5. เมื่อเก็บวัคซีนไว้นานแล้ว วัคซีนจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิม เช่น แข็งตัว เปลี่ยนสี เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพและไม่ควรนำไปใช้ ควรทำลาเสียโดยการเผา
              6. ควรแยกเก็บวัคซีนแต่ละชนิดออกจากกันอย่าไว้ปนกัน เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ไม่ผิดพลาด
     
     
     
     


       
     
    โปรแกรมวัคซีนในไก่ไข่
       
     
     
     
     
    อายุไก่
    ชนิดวัคซีน
    วิธีทำ
    หมายเหตุ
    1 วัน
    1 วัน
    มาเร็กซ์
    หลอดลมอักเสบ
    ฉีดใต้ผิวหนัง
    หยอดตา
    ทำจากโรงฟัก
    ทำเมื่อลูกไก่ถึงฟาร์ม
    10 วัน
    นิวคาสเซิลลาโซต้า หยอดตา  
    14 วัน
    กัมโบโร ละลายน้ำ ชนิดเชื้อเป็น
    4 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ
    ผีดาษ
    หยอดตา
    แทงปีก
     
    5 สัปดาห์
    วัคซีนหวัด
    กล่องเสียงอักเสบ
    ฉีดเข้ากล้าม
    หยอดตา
    1/2 โด๊ส ในพื้นที่ที่มีโรค
    1/2 โด๊ส ระบาดรุนแรง
    8 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลม
    นิวคาสเซิล
    หยอดตา
    ฉีดเข้ากล้าม
    ชนิดเชื้อเป็น
    ชนิดเชื้อตาย
    10 สัปดาห์
    กล่องเสียงอักเสบ หยอดตา  
    14 สัปดาห์
    วัคซีนหวัด
    หลอดลมอักเสบ
    ฉีดเข้ากล้าม
    หยอดตา
     
    16 สัปดาห์
    * อี.ดี.เอส + นิวคาสเซิล ฉีดเข้ากล้าม ชนิดเชื้อตาย
    22 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ ละลายน้ำ  
    32 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ ละลายน้ำ  
    40 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ ละลายน้ำ  
    48 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ ละลายน้ำ  
    56 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ ละลายน้ำ  
    64 สัปดาห์
    นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ ละลายน้ำ  
    * โปรแกรมวัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะของโรคระบาดที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่


    • Update : 28/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch