หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่พื้นเมือง-5
    แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

    1. การอนุรักษ์ไก่พื้นเมืองโดยเกษตรกรรายย่อย

               เป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ต่อครัวเรือนมากขึ้น และเป็นผู้ได้ประโยชน์จากไก่โดยตรง ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับเราจะหาวิธีการแบ่งปันผลประโยชน์ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมได้อย่างไร วิธีหนึ่งที่คาดว่าได้ผล ก็คือการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งตลาดกลางไก่พื้นเมืองขึ้นทุกอำเภอหรือทุกตำบลๆ ละ 1 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนพันธุ์ คัดพันธุ์ ทดสอบพันธุ์ เผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารทั้งทางด้านวิชาการและข้อมูลด้านการตลาด ตลอดจนเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการนำผลผลิตจากการอนุรักษ์ไก่ไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้อนุรักษ์และพัฒนาโดยตรง คาดว่าในแต่ละปีจะมีไก่พื้นเมืองออกมาสู่ตลาดมากกว่าปีละ 60 ล้านตัว เป็นมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากว่าไก่พื้นเมืองถ้าหากมีการควบคุมจำนวนไก่เล็ก ไก่ใหญ่ ไก่สาวในแต่ละฟาร์มหรือครอบครัวของเกษตรกรรายย่อยให้เหมาะสมแล้ว มีการจับขาย หรือบริโภคในครัวเรือน จะทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด คือ แม้จะมีพ่อแม่ไก่จำนวนคงที่ แต่ถ้าจับขายหรือกินตัวที่โตเต็มที่แต่ไม่ใช่แก่เต็มที่ จะทำให้ลูกไก่รุ่นถัดมาและลูกไก่เล็กสามารถเติบโตขึ้นมาทดแทน เนื่องจากมีอาหารสมดุลกับปริมาณไก่ ทั้งนี้ เพราะเกษตรกรจะไม่ลงทุนซื้ออาหารที่เลี้ยงไก่เนื้อ หรือไก่ไข่ แต่จะให้เป็นเวลาอาจจะเช้าหรือเย็น นอกนั้นก็หากินเองตามธรรมชาติ เช่น ผัก หญ้า เมล็ดธัญพืชต่างๆ แมลง ซึ่งก็จะถูกจำกัดด้วยพื้นที่รอบบริเวณบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรไก่ต่อครอบครัวต่อเดือนจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนไก่ที่ขาย กินหรือตาย

    2. ตลาดไก่พื้นเมือง : โอกาสและความเป็นไปได้


               ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้นับได้ว่าเป็นพันธุ์ไก่ที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในความนิยมขอผู้บริโภคทั่วประเทศ รองลงมาก็เป็นไก่ลูกผสมที่พ่อเป็นพันธุ์พื้นเมือง แม่พันธุ์ทางชนิดต่างๆ และสุดท้ายเป็นไก่เนื้อ โตเร็ว ขนสีขาว ที่เลี้ยงเป้นการค้า และมีจำหน่ายทั่วไป โดยทั่วไปไก่พื้นเมืองที่จำหน่ายกันทุกวันนี้ ตลาดมีความต้องการตัวที่มีขนาด 1.5-2 กก. และผู้บริโภคนิยมซื้อไก่รุ่นหนุ่มสาว โดยเฉพาะไก่สาวอายุพร้อมจะไข่หรือเริ่มไข่ แต่มีจำหน่ายไม่แพร่หลาย ราคาแพง การตลาดไม่เป็นระบบ ขายเทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสม มีผู้เลี้ยงเป็นเชิงธุรกิจค่อนข้างน้อย
                ตลาดไก่พื้นเมืองเป็นตลาดท้องถิ่น ซื้อขายกันในหมู่บ้าน แล้วส่งไปขายตลาดใหญ่ในจังหวัดและกรุงเทพฯ และเป็นการบริโภคภายในประเทศซึ่งก็เป็นวิธีการที่ถูกเพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตเองบริโภคเอง และให้ประชาชนในชนบทได้มีอาหารประเภทโปรตีนพอเพียง
                ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองให้มีจำหน่ายสม่ำเสมอตลอดปี ควรมีการศึกษาด้านการตลาดไก่พื้นเมือง เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรได้ผลิตอย่างต่อเนื่อง เป็นการเปลี่ยนระบบการผลิตจากฤดูกาลมาเป็นผลิตต่อเนื่องตลอดปี แม้ว่าจะผลิตไม่มากต่อครัวเรือน แต่ถ้าผลิตกันเป็นแสนๆ ครอบครัวก็จะทำให้ผลผลิตรวมสูง พอเพียงกับการที่จะทำธุรกิจ ดำเนินการตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อได้ง่าย ราคายุติธรรม แนวโน้มที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน คือ การเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองโดยการรวบรวมไก่พื้นเมืองส่งโรงเชือดไก่ที่อยู่ในปัจจุบันเพื่อชำแหละตัดแต่งและบรรจุหีบห่อเป็นสินค้าที่มีขบวนการผลิตอย่างถูกต้องตามหลักอนามัยและเป็นสินค้ามีคุณภาพ เหมาะที่จะส่งไปขายในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เช่นเดียวกับไก่พันธุ์เนื้อในปัจจุลัน เหตุผลที่เสนอให้มีการเปิดงานชำแหละไก่พื้นเมือง เนื่องจากว่าเป็นการดูดซึมปริมาณไก่ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันเมื่อเกษตรกรขายไก่ใหญ่ออกไปแล้วก็จะสามารถนำไก่เล็กเข้ามาเลี้ยงทดแทน หรือไม่ก็จะทำให้ไก่เล็กและลูกไก่ที่มีอยู่เดิมได้มีโอกาสเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นการผลิตต่อเนื่องตลอดปี ส่วนอีกประเด็นหนึ่ง คือ ผู้ผลิตส่วนใหญ่ 90% ไม่มีความชำนาญด้านการตลาด ดังนั้น จึงต้องอาศัยผู้ที่มีฝีมือ ความชำนาญด้านการตลาดเข้ามาช่วยผลักดันอีกทางหนึ่ง ซึ่งผู้มีประสบการณ์เหล่านี้จะมีความชำนาญเป็นเพิเศษสำหรับการฆ่า-ชำแหละ และบรรจุหีบห่อให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดภายในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนั้น จึงเห็นว่าแนวโน้มในด้านนี้มีความเป็นไปได้สูงกว่า 80%

    ต้นทุนการผลิตไก่พื้นเมือง


                1. ต้นทุนการผลิตไก่พื้นเมืองหนัก 1.8 กก./ตัว ราคาหน้าฟาร์ม
    -  ค่าลูกไก่
    -  ค่าอาหาร 1:35
    -  ค่าแรงงาน
    -  ค่ายา-วัคซีน
    -  ค่าน้ำ-ค่าไฟ
    -  ค่าวัสดุ-อุปกรณ์โรงเรือน
    -  ค่าเสียโอกาสเงินทุน
    -  อื่นๆ
                       รวม
                       หรือ
    9
    44.1
    1.44
    1.49
    0.58
    1.08
    0.9
    21.0
    79.59
    44.22
       บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท/ตัว
    บาท/กก.

                 2. ต้นทุนการฆ่าแปรรูปไก่พื้นเมือง ณ หน้าโรงงาน (บาท/กก.)
    -  ราคาไก่มีชีวิต ณ หน้าฟาร์ม
    -  ค่าขนส่งถึงโรงงาน
                        รวม
    -  จำหน่ายผลพลอยได้จากโรงงาน
        (ปีก, โครง, เครื่องใน)
    *  ต้นทุนไก่ติดกระดูก
    *  ต้นทุนเนื้อเพื่อส่งออก (27%)
    -  ค่าแรงงานชำแหละ
    -  ค่าบรรจุหีบห่อ
    -  ค่าดำเนินการ
                        รวม ทุนเนื้อไก่ส่งออก
    44.22
    1.00
    45.22

    10
    35.22
    130.44
    3.50
    1.26
    4.50
    139.70
      บาท
    บาท
    บาท

    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท

                 3. ต้นทุนค่าขนส่งไปต่างประเทศ
      
    -  น้ำหนักเนื้อไก่ 1 Shipment
    -  ค่าระวางไปญี่ปุ่น
    -  Terminal Handling Charge
    -  B/L
    -  ค่ารถห้องเย็น+ประกันสินค้า
    -  ค่าพิธีกร
                        รวม
                        หรือ
    22,000
    85,425
    3,000
    200
    5,000
    1,200
    94,825
    4.31
      กก.
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท
    บาท/กก.

                 4. รวมต้นทุนเนื้อไก่พื้นเมืองแช่แข็ง ณ ประเทศผู้ซื้อ               
                         4.1 ชนิดถอดกระดูก
         
    -  ค่าเนื้อไก่พื้นเมืองแช่แข็ง
    -  ค่าภาษี
    -  ค่าขนส่ง
    รวมต้นทุนส่งออก
                        หรือ
                        หรือ
    139.70
    0.81
    4.31
    144.81
    144,810
    3,292
      บาท/กก.
    บาท/กก.
    บาท/กก.
    บาท/กก.
    บาท/ตัน
    US$/ton
                  
                         4.2 ชนิดติดกระดูก
    -  ค่าเนื้อไก่ทั้งตัว
    -  ค่าบรรจุหีบห่อ
    -  ค่าขนส่ง
    -  ค่าภาษี
                        รวม
                        หรือ
                        หรือ
    35.22
    9.26
    4.31
    0.18
    48.97
    48,970
    1,113








    บาท/กก.
    บาท/ตัน
    US$/ton (44฿/$)

    3. การเพิ่มมูลค่าของไก่พื้นเมือง
               เป็นวิธีแบ่ปันผลประโยชน์ให้เกษตรกรได้อีกวิธีหนึ่ง เช่น ไก่แจ้พื้นเมืองขนสีทอง ดำ หรือสีประดู่ เป็นต้น เป็นไก่สวยงามราคาแพง หรือไม่ก็สายพันธุ์ไก่ชนก็ดี เพราะถ้าชนเก่ง สายเลือดชนเก่ง ก็สามารถขายได้ราคา อีกประการหนึ่ง ไก่ชนเป็นไก่สายเลือดค่อนข้างบริสุทธิ์ และเป็นไก่ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยมานับร้อยๆ ปี นอกจากนี้ยังเป็นไก่ที่แข็งแรง ไม่ขี้โรค กล้ามเนื้อใหญ่ ไข่ดก ลูกดก ฟักไข่ได้เอง และเมื่อนำมาประกอบอาหารมีรสชาดดี ดังนั้น การเลือกพันธุ์ที่อนุรักษ์ก็สามารถเพิ่มมูลคทมของไก่สายพันธุ์นั้นๆ ได้ อย่างไรก็ดี ไก่พันธุ์พื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปทุกวันนี้ คาดว่า 80-90% เป็นไก่ที่เป็ฯสายพันธุ์ไก่ชน ดูได้จากแม่ไก่ประมาณ 90% จะมีขนสีดำ ตัวผู้จะเป็นไก่ขนเหลืองหางขาว หรือประดู่หางดำ


    4. วิจัยและพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

                ผสมผสานกับการปลูกพืชและการเกษตรอื่นๆ แบบผสมผสานในรูปแบบระบบการทำฟาร์มที่มีไก่พื้นเมืองเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบ เช่น มีการปลูกพืชอาหารสัตว์เลี้ยงไก่ควบคู่กันไป ตราบใดที่เกษตรกรมีอาหารให้ไก่กินก็จะเจริญและแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว การเลี้ยงไก่พื้นเมืองร่วมกับการปลูกพืชอื่นๆ เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และถั่วชนิดต่างๆ จะเป็นทางเลือกให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ทอกินมากนักหรือไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงสัตว์ใหญ่ มีรายงานไว้ว่า การเลี้ยงไก่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของกิจกรรมการเกษตร สามารถทำให้รายได้สูงกว่าเลี้ยงโค-กระบือ ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ทำกินหรือเช่าที่

    5. การวิจัยและพัฒนาส่วนหนึ่งเน้นไปทางอุตสาหกรรม
                 เป็นการนำพันธุ์ไก่พื้นเมืองแท้ไปผสมกับไก่พันธุ์อื่นๆ เพื่อเป็นลูกผสมพื้นเมืองโตเร็ว รสชาตดี เช่นเดียวกับไก่พื้นเมือง แต่ผลิตได้ปริมาณมากเชิงอุตสาหกรรม ด้วยต้นทุนที่ต่ำ เหมาะที่จะเลี้ยบงเป็นอุตสาหกรรม เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคและต่างประเทศ


    6. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสมาคมชมรม
                 เพื่อประสานงานการอนุรักษ์และพัฒนาเผยแพร่ข่าวสารตลอดจนจดทะเบียนและรับรองพันธุ์ให้เกษตรกรผู้ซึ่งพัฒนาไก่ของตนเองได้คุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ เช่น ชนเก่ง หรือมีลักษณะพิเศษไปจากของคนอื่น ก็สามารถจดทะเบียนรับรองพันธุ์ได้ เพื่อประโยชน์ต่อการซื้อขายของเกษตรกรและผู้บริโภค


    7. ส่งเสริมให้หน่วยราชการ เอกชน ชมรม สมาคม

                 ได้ทำการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมว่าไก่พื้นเมืองเป็นแหล่งพันธุกรรมมีอะไรบ้าง เช่น มี Gene ที่ต้านทานโรคอะไร อยู่ที่ใดในโครโมโซม สามารถแยกหรือตัดต่อแต่งเติมเข้าไปในโครโมโซมของสัตว์สาพันธุ์อื่นได้หรือไม่ เป็นการศึกษาหาความหลากหลายในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่อไปในอนาคตอาจจะสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้


    • Update : 23/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch