หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงนกกระทาเนื้อ-2

    ก า ร เ ริ่ ม เ ลี้ ย ง น ก ก ร ะ ท า

              1. โดยซื้อพันธุ์นกกระทา จากฟาร์มที่เพาะลูกนกกระทาขายซึ่งมักจะขายลูกนกกระทาเมื่อมีอายุประมาณ 18 วัน
              2. โดยซื้อไข่มีเชื้อมาฟักเอง ซึ่งไม่ค่อยจะนิยมกันนัก มักจะซื้อตัวลูกนกมาเลี้ยง

     

    ก า ร เ ก็ บ รั ก ษ า ไ ข่ ฟั ก

              ไข่นกกระทาที่นำมาใช้ฟัก หมายถึงไข่ที่เก็บจากแม่นกที่ได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อนกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และหลังจากนำพ่อนกออกมาจากการผสมพันธุ์แล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์

              ไข่นกกระทาที่จะนำมาฟักนั้น หากไม่ได้นำเข้ามาฟักทันทีในแต่ละวัน จำเป็นต้องรวบรวมไว้ก่อน ซี่งมีวิธีการเก็บรักาาไข่ให้เชื้อยังแข็งแรงดังนี้

    1. เก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น และสะอาดไม่อับชื้น
    2. เก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทหมุนเวียนได้ดี
    3. หากสามารถทำได้ ควรเก็บไข่ไว้ในที่อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้นสัมพัทธ์ 70%
    4. ไม่ควรเก็บไข่ฟัก ไว้นานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้การฟักออกเป็น ตัวลดลง

               เนื่องจากสีของเปลือกไข่นกกระทามีหลายสี มีจุดลายสีดำ สีน้ำตาล สีอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งอาจจะยากต่อการส่องไข่เพื่อดูจะดูว่าเป็นไข่มีเชื้อหรือไม่ หรือเชื่อตาย ดังนั้นหากต้องการล้างเอาสีล้างเอาสีของเปลือกไข่ออกเสียก่อน จะทำได้ดังนี้

      1. จุ่มไข่ลงในน้ำยาสารควอเตอร์นารี แอมโมเนี้ย ที่มีอุณหภูมิ 85 - 95 องศาฟาเรนไฮต์
      2. ใช้ฝอยขัดหม้อขัดเบาๆให้สีของเปลือกไข่หลุดออกมา
      3. ปล่อยไข่ไว้ให้เปลือกไข่แห้ง จึงเก็บรวมนำไปฟักต่อไป

    วิ ธี ฟั ก ไ ข่ น ก ก ร ะ ท า

              นกกระทาฟักไข่เองไม่ได้เช่นเดียวกันกับไก่พันธุ์ไข่ทั่วๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ตู้ฟักไข่ นกกระทา ซึ่งใช้เวลาฟักประมาณ 16 - 19 วัน

              ก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟัก จะต้องทำความสะอาดตู้ฟักให้ดี แล้วรมฆ่าเชื่อ โรคในตู้ฟัก ใช้ด่างทับทิม 6 กรัมต่อฟอร์มาลินลงที่ขอบของภาชนะให้ฟอร์มาลินค่อยๆไหลลงไปทำปฎิกิริยากับด่างทับทิมจากนั้นรีบปิดประตูตู้ฟัก ( หากเป็นตู้ไข่ไฟฟ้า เปิดสวิทช์ให้พัดลมหมุนด้วย )ปล่อยให้ควันรมอยู่ในตู้ประมาณ 20 นาที จึง ค่อยเปิดประตูและช่องระบายอากาศให้กลิ่นหายไปจากตู้

               หากเก็บไข่ฟักไว้ในห้องที่มีความเย็น จะต้องนำไข่ฟักมาพักไว้สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้คลายความเย็นจนกว่าไข่ฟักจะมีอุณหภูมิปกติ จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก

               การวางไข่ในถาดฟักควรวางด้านปานของฟองไข่ขึ้นด้านบนเสมอ

              หากใช้ตู้ฟักไฟฟ้า ใช้อุณหภูมิ 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ จะสูงต่ำกว่านี้ก็ไม่ควรเกิน 0.5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ในช่วง 15 วันแรก และควรเพิ่มความชื้นเป็น 90 - 92 องศาฟาเรนไฮต์ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 16 จนลูกนกฟักออก

              สำหรับการกลับไข่ ควรกลับไข่ไม่น้อยกว่าวันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฟักจนถึงวันที่ 14 หลังจากนี้ให้หยุดกลับไข่เพื่อเตรียมไข่สำหรับการฟักออกเป็นตัวของลูกนก
     
              เมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 7 วัน ควรส่องไข่เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อหรือเชื้อตายหรือไม่และส่องดูไข่อีกครั้งเมื่อครบ 14 วัน ก่อนที่จะนำไข่ไปเข้าตู้เกิด เพื่อเตรียมการฟักออกของลูกนก หรือจะส่องไข่เพียงครั้งเดียวเมื่อฟักครบ 14 วัน แล้วก็ได้

    ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ ผ ล ข อ ง ก า ร ฟั ก ไ ข่

              :: การทำให้ไข่ฟักมีเชื้อ ::

              1. ช่องระยะเวลาที่เอาตัวผู้เข้าผสม ตามปกติไข่อาจมีเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผสมพันธุ์ หากผสมแบบธรรมชาติ หรือผสมแบบฝูง ราว 3- 5 วัน ให้เก็บไข่ไปพักได้ ถ้าเป็๋นฝูงใหญ่ ควรปล่อยตัวผู้ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อย เก็บไข่ไปฟัก ทั้งนี้ในการผสมพันธุ์ถ้าเราเก็บไข่ไปเข้าฟักเร็วเกินไปทำให้ได้ไข่ไม่มีเชื้อมาก

              2. ฤดูกาล ฤดูฟักไข่ในเมืองไทยควรเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูไปจนถึงเดือน มีนาคม ซึ่งโอกาสที่เชื้อแข็งแรงและผสมติดจะมีมากกว่าในฤดูร้อน เนื่องด้วยสัตว์ปีกมีอัณฑะอยู่ในร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว ดังนั้นหากอากาศภายนอกสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำให้ตัวอสุจิเสื่อมสมรรถภาพและเป็น หมันชั่วคราว ฉะนั้นในฤดูร้อนจึงมักจะมีเชื้อต่ำกว่าฤดูธรรมดา

              3. อาหาร ในฤดูผสมพันธุ์ ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพดี มีโภชนะ บริบูรณ์แก่พ่อแม่พันธุ์อย่างพอเพียง การให้อาหารที่ขาดวิตามินอื่น เป็นเวลานานๆ หรือพ่อพันธุ์อย่างเพียงพอ การให้อาหารที่ขาดวิตามินอี หรือวิตามิน อื่น เป็นเวลานานๆ หรือพ่อพันธุ์กินอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลต่อสุขภาพ ทำให้พ่อพันธุ์นั้นให้เชื้อที่ไม่แข็งแรง พ่อ- แม่ที่ใช้ทำพันธุ์ควรให้อาหารที่มีโปรตีนสูง กว่าระยะไข่ คือ มีโปรตีนประมาณ 24 %

              4. การผสมพันธุ์ พันธุกรรมมีผลต่อการมีเชื้อและการฟักออก การผสมเลือดชิดหลายๆชั่ว ( genneration ) จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ของไข่ลดลง เพราะถ่ายทอดลักษณะที่อ่อนแอมาด้วย

    ตารางที่ 2 แสดงช่วงอายุการฟักออกเป็นตัว และการทำงานของตู้ฟัก สำหรับการฟักไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่นกกระทา

    ไก่
    เป็ด
    นกกระทา
    อายุฟัก (วัน)
    อุณหภูมิ (องศาฟาเรนไฮต์, ตุ้มแห้ง)*
    ความชื้น (องศาฟาเรนไฮต์, ตุ้มเปียก)*
    ไม่ควรกลับไข่หลังจากวันที่ ...........................
    อุณหภูมิในช่วง 3 วันสุดท้ายของการฟัก (องศาฟาเรนไฮต์, ตุ้มเปียก)*
    เปิดช่องระบายอากาศ 1/4
    21
    99.75
    85-87
    19
    90-94
    10 วัน
    28
    99.5
    84-86
    25
    90-94
    12 วัน
    17
    99.75
    84-86
    15
    90-94
    8 วัน

    หมายเหตุ * ในกรณีใช้เครื่องวัดความร้อนและความชื้นแบบตุ้มแห้ง-ตุ้มเปียก
    ที่มา : สุภาพร, 2539

     

    :: อาหารนกกระทา ::

              อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ และประเภทของการให้ผลผลิต เช่น เพื่อเป็นนกเนื้อ หรือนกไข่ ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยง ในแต่ละช่วงอายุ จะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี ราคาถูกมีหลายสูตรให้เลือก ตามความเหมาะสม ตามฤดูกาล และวัตถุดิบ

              อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทา อาจใช้
                1. อาหารสำเร็จรูป
                2.ใช้หัวอาหารผสมกับวัตถุดิบ
                3.ใช้วัตุดิบผสมเอง ซึ่งมีสูตรต่างๆ ดังนี้

    ตารางที่ 3 สูตรอาหารนกกระทาที่อายุต่างๆ

    วัตถุดิบ
    จำนวน (กิโลกรัม)
    0-2 สัปดาห์
    3-4 สัปดาห์
    5-6 สัปดาห์
    7 สัปดาห์ - ไข่
    ข้าวโพด
    รำละเอียด
    กากถั่วเหลือง (43%)
    ปลาป่น
    เมทไธโอนีน
    เปลือกหอย
    ไดแคลเซียม (P/18)
    เกลือ
    พรีมิกซ์
    64-62
    -
    32.62
    -
    0.01
    1
    1
    0.5
    0.25
    74.03
    -
    22.27
    -
    -
    0.9
    136
    0.5
    0.25
    51.55
    40
    5.5
    -
    -
    0.7
    1.5
    0.5
    1.25
    67
    -
    23.15
    -
    -
    7.5
    16
    0.5
    0.25
    รวม
    100
    100
    100
    100

    ที่มา : สถาบันวิจัยและพัมนาสัตว์ปีกแห่งชาติ จ.ปราจีนบุรี (พ.ศ.2540)

              ปริมาณการให้อาหารนกกระทาของผู้เลี้ยงแต่ละรายจะแตกต่างกันไป สำหรับลูกนกอายุ 0-4 สัปดาห์ จะกินอาหารประมาณตัวละ 220 - 230 กรัม แต่เมื่อดตขึ้นในระยะให้ไข่จะกินอาหาร วันละ 20 -25 กรัม/ ตัว ให้อาหารวันละ 2- 3 ครั้ง โดยน้ำต้องมีให้นกกินตลอกเวลา

    ตารางที่ 4 ปริมาณการกินอาหารของนกกระทา

    อายุนกกระทา (สัปดาห์)
    ปริมาณอาหารที่กิน (กรัม/ตัว/วัน)

    0-1
    1-2
    2-3
    3-4
    4-5
    5-6
    6-7
    7-8

    3.86
    7.09
    9.40
    12.26
    16.23
    17006
    16.36
    17.13


    • Update : 20/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch