หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงแพะ-7
     โรคติดเชื้อในแพะ           
               สาเหตุของโรคในแพะอาจเนื่องมาจากอาหาร การจัดการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกวิธี ทำให้สัตว์เกิดความเครียด อ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรคพอผู้เลี้ยงแพะต้องทราบถึงสาเหตุและสันนิฐานได้ซึ่งจะช่วยในการรักษาและป้องกันการระบาดของโรคได้
               โดยให้สังเกตว่าแพะจะแสดงอาการหลายประการ เช่น การกินอาหารลดลงกว่าปกติ มีอาการไอ จาม ท้องเสีย ขนไม่เป็นเงา จมูกแห้ง ซึมหงอย เป็นต้น โรคที่เกิดในแพะที่ควรรู้จักมีดังต่อไปนี้

    โรคปากเปื่อย
             เกิดจากเชื้อไวรัส อาการคือพบแผลนูนคล้ายหูด บริเวณริมฝีปาก รอบจมูก รอบตา บางครั้งลุกลามไปตามลำตัว ถ้าเป็นแพะโตอาการรุนแรงและแผลจะตกสะเก็ด แห้งไปเองภายในประมาณ 28 วัน
         การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ทาแผล วันละ 1-2 ครั้ง

         การป้องกัน ในประเทศไทย ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ถ้าพบแพะ เป็นโรคนี้ให้รีบแยกตัวป่วยออกทันที และรักษาจนกว่าจะหายจึงนำเข้าร่วมฝูงได้

    โรคปากและเท้าเปื่อย
             เกิดจากเชื้อไวรัส อาการที่แพะจะซึม น้ำลายไหลยืด ไม่กินอาหารบริเวณปากและแก้มบวมแดง มีเม็ดตุ่มใสเป็นแผลบริเวณกีบและเท้า แพะจะเดินขากระเผลก แสดงอาการเจ็บปวดและถ้าติดเชื้อโรคแทรกซ้อนอาจทำให้แพะตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน แพะที่ตั้งท้องอาจแท้งลูกได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มีทางรักษาโดยตรง การป้องกัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และการกักกันแพะที่จะเข้ามาเลี้ยงใหม่เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเข้าฝูง ที่สำคัญมากคือการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เป็นหนองที่แผล เม็ดตุ่มพองแตกออกและจะหายช้ามากหรืออาจลุกลาม เกิดเลือดเป็นพิษถึงตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน
    ผู้เลี้ยงอาจทราบว่าแพะเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ โดยสังเกตดูจากอาการเจ็บปาก แผลเม็ดตุ่ม น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร ขากะเผลกไม่เดิน

         การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) ทาที่แผลที่ปากและ กีบ หัวยม วันละครั้ง และฉีดยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทั้งนี้ควรขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
         การป้องกัน
          1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท่าเปื่อยปีละ 1 ครั้ง
          2. กักแพะที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ เป็นเวลา 14 วัน จนแน่ใจว่าไม่เป็นโรคแล้วจึงนำเข้ารวมฝูง

    โรคมงคล่อพิษเทียม
             โรคนี้ติดต่อถึงคนได้เช่นกัน และพบว่าจนถึงปัจจุบันมีคนเป็นโรคนี้กันมากแล้ว ผู้เลี้ยงแพะจึงควรทราบจะได้ระมัดระวังไว้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ติดต่อโดยการกินเชื้ออยู่ในดิน น้ำ อาหาร และหญ้าและติดต่อได้โดยการสัมผัสทางบาดแผล อาการที่พบในแพะคือ ซูบผอมลง อ่อนเพลีย ซึม เบื่ออาหาร ซีด ดีซ่าน มีไข้ มีน้ำมูก ข้อขาหน้าบวมชักและตาย เมื่อผ่าซากแพะจะพบฝีมากมายตามอวัยวะภายใน เช่น ปอด ม้าม ไต ตับ ใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง และข้ออักเสบมีหนอง เชื้อนี้มักดื้อยา การรักษาไม่ค่อยไผล ดังนั้นควรทำลายและกำจัดซากโดยการเผา ไม่ควรนำซากแพะมาบริโภคโดยเด็ดขาด การป้องกันและควบคุมโรคต้องกำจัดซากแพะทันทีควรตรวจเลือดแพะทุกๆ 1 ปี ถ้าพบเป็นโรคให้กำจัดออกจากฝูงและทำลาย

         การรักษา ไม่แนะนำให้รักษาควรกำจัดออกจากฝูง เพราะโรคนี้รักษาหายยากและติดต่อถึงคนได้
         การป้องกัน
          1. กำจัดแพะป่วย และทำลายซากห้ามนำมาบริโภค
            2. ตรวจสุขภาพแพะ โดยเจาะเลือดส่งห้องปฏิบัติการทุกๆ 2 ปี
            3. ตรวจเลือดแพะทุกตัวที่นำเข้ามาใหม่ ถ้าพบให้ทำลายทิ้ง

    โรคปอดปวม
             โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นได้กับแพะทุกอายุ พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะแพะที่อ่อนแอและไม่เคยถ่ายพยาธิ พบภาวะโรคนี้บ่อยๆในฤดูฝนเชื้อติดต่อได้รวดเร็ว โดยการกินเชื้อที่มีอยู่ในน้ำ อาหาร หายใจ เชื้อในอากาศ การอยู่รวมฝูงกับแพะป่วยด้วยโรคนี้ อาการของแพะที่ป่วย ได้แก่ มีไข้ จมูกแห้งมีน้ำมูก หอบ หายใจเสียงดัง ไอ ถ้าเป็นเรื้อรังแพะจะ แคระแกรน อ่อนแอ แพะป่วยจะตายถึง 60-90 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะแพะที่มีพยาธิมาก และลูกแพะหลังหย่านมใหม่จะตายมากที่สุด

         การรักษา โดยฉีดยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน อ๊อกซิเตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนนิคอล อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลาอย่างหนึ่งเป็นเวลา 3-5 วันต่อกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษา สัตวแพทย์ในการรักษา โรคนี้ป้องกันได้โดยจัดการโรงเรือนให้ สะอาด พื้นคอกแห้ง อย่าให้ฝนสาดหรือลมโกรกแพะ และควรยกพื้นโรงเรือน ประมาณ 1-1.5 เมตร แพะป่วยให้แยกขังไว้ในคอกสัตว์ป่วยต่างหาก จนกว่าจะหายดีแล้วจึงค่อยนำเข้ารวมฝูงเดิมใหม่ นอกจากนี้ควรถ่ายพยาธิ แพะ เป็นประจำตามโปรแกรมทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้แพะแข็งแรงและควร ดูแลแพะหลังหย่านมเป็นพิเศษด้วยการเสริมอาหารที่มีคุณภาพดี

    โรคแท้งติดต่อ
             เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพะจะแท้งในช่วงลูกอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ไม่ค่อยเกิดโรคนี้บ่อย โรคนี้ติดต่อถึงคนได้ จึงต้องระวังในการดื่มนมแพะ อาการของแพะสังเกตยาก ต้องตรวจจากเลือดเท่านั้น ดังนั้นควรได้มีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ ทำลายแพะที่เป็นประจำ โดยการตรวจเลือดปีละ 1ครั้ง

           วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ทำลายแพะที่เป็นโรค และไม่คัดเลือกแพะที่พ่อ-แม่พันธุ์เคยมีประวัติเป็นโรคมาเลี้ยง     

    โรคไข้นม
            โรคนี้เกิดในระยะที่แพะใกล้คลอด หรือขณะที่กำลังอยู่ในระยะให้นม สาเหตุเกิดจากแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เนื่องจากถูกนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม อาการของแพะที่เป็นโรคไข้นมคือ ตื่นเต้นตกใจง่าย การทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้อเกร็ง นอนตะแคงและคอบิด ซีด หอบ อ่อนเพลีย ถ้าเป็นมากรักษาไม่ทันก็ถึงตายได้

           การรักษา ให้รีบติดต่อสัตวแพทย์ในท้องที่มารักษา การป้องกันโดยการเพิ่มอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมในช่วงที่แพะคลอดและให้นม     

    โรคขาดแร่ธาตุ
            มักเกิดกับแพะเพศเมีย โดยที่แพะไม่ได้รับแร่ธาตุหรืออาหารข้นเสริมในภูมิประเทศที่มีแร่ธาตุในดินต่ำจะพบแพะป่วยด้วยโรคนี้มาก สาเหตุเกิดจากขาดแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น อาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มลงนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้นอาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 วัน การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุแก่แพะเลียกิน ให้วิตามินและแร่ธาตุไว้ในโรงเรือนให้แพะได้เลียกินตลอดเวลา

    โรคท้องอืด
            เกิดจากกินหญ้าอ่อนมาเกินไป หรืออาหารข้นที่มีโปรตีนสูงมากเกินไป ( เกิน 3% ของน้ำหนักตัว )
    หรือการที่แพะป่วยและนอนตะแคงด้านซ้าย การแก้ไขผู้เลี้ยงแพะต้องเจาะท้องเอาแก๊สออก และกระตุ้นให้แพะลุกขึ้นเดิน
    การตัดแต่งกีบ           
               การตัดแต่งกีบเป็นงานประจำที่ผู้เลี้ยงแพะจะต้องปฏิบัติในการเลี้ยงแพะ การตัดแต่งกีบจะช่วยป้องกันไม่ให้ปลายกีบ งอกผิดปกติและป้องกันไม่ให้กีบเน่าเนื่องจากมูลสัตว์เข้าไปติดอยู่ในกีบที่ไม่ได้ทำการแต่งการตัดแต่งกีบจะใช้มีดสำหรับแต่งกีบหรือใช้กรรไกรตัดกีบทำการตัดแต่งกีบก็ได้

            
    เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกีบเท้าของแพะ

              การตัดแต่งกีบควรทำในขณะอากาศเย็นชื้น ทั้งนี้เพราะกีบจะอ่อนตัวทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ถ้าหากทำในอากาศที่ร้อน ควรนำแพะไปยืนในที่เปียกชื้นสักครู่หนึ่ง
    ก่อนทำการตัดแต่งกีบ ผู้ทำการตัดแต่งกีบจะต้องทำการจับขาของแพะให้แน่น โดยยกขาขึ้นแล้วใช้ระหว่างขาหนีบ ( ใช้ด้านข้างช่วงเข่าหนีบ ) จากนั้นใช้มีดแต่งกีบ
    ตัดกีบช่วงที่ยาวออกเกินจาก รูปลักษณะปกติทิ้ง การตัดแต่งกีบทำทั้งด้านนอกและระหว่าง ร่องกีบ สำหรับพื้นของเท้าควรตัดกีบให้เสมอกับพื้นเท้าเท่านั้น การตัดแต่งกีบ
    ที่ดีควรทำแล้ว รูปร่างคล้ายกับกีบเท้าของลูกแพะที่เกิดใหม่ การตัดแต่งกีบควรทำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

        
    ลักษณะกีบเท้าของแพะก่อนการตัดแต่งกีบ

    การใช้กรรไกรตัดแต่งกีบเท้าของแพะ

    กีบเท้าของแพะภายหลังการตัดแต่งกีบ

    ก่อนการตัดกีบ

    หลังการตัดกีบ
    ภาพเปรียบเทียบการยืนของแพะ ด้านซ้ายก่อนตัดกีบ ด้านขวาหลังตัดกีบเสร็จแล้ว

    • Update : 19/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch