หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระพุทธรูปศิลาขาว ศักดิ์สิทธิ์-ศิลปะทวารวดี
    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ




    ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษ ฐาน 'พระพุทธรูปศิลาขาว' อันศักดิ์สิทธิ์

    พระพุทธรูปศิลาขาว เป็นพระพุทธรูปศิลา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-13 ขนาดหน้าตักกว้าง 110 เซนติเมตร สูง 368 เซนติเมตร กรมศิลปากรประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนที่พบในโบราณสถานวัดพระเมรุ จ.นครปฐม และวัดพระยากง จ.พระนคร ศรีอยุธยา

    เก็บรักษาภายในอาคารประพาสพิพิธ ภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    พระพุทธรูปทำจากศิลาสีขาวประทับนั่งห้อยพระบาท (ปรลัมพปาทาสนะ) บนบัลลังก์ พระหัตถ์ขวา กระทำวิตรรกมุทราหรือปางแสดงธรรม คือ การจีบพระอังคุฐ (นิ้วโป้ง) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) เข้าหากัน เป็นวงกลม เป็นสัญลักษณ์ของธรรมจักร มีความหมายถึงการแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายวางหงายเหนือพระชงฆ์ ทรงครองจีวรห่มเฉียงเรียบไม่มีริ้ว ชายจีวรตกลงด้านหน้าบริเวณกลางพระชงฆ์เป็นวงโค้ง บัวรองรับพระบาทเป็นบัวคว่ำบัวหงาย

    สันนิษฐานว่าเดิมพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาททำจากศิลาขาวนี้ มีทั้งหมด 4 องค์ประดิษฐานบนบัลลังก์หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) เข้าหาสถูปประธานทั้ง 4 ด้าน ของ วัดพระเมรุ จ.นครปฐม ปัจจุบัน อัญเชิญไปประดิษฐานยังสถานที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

    องค์ที่ 1 ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

    องค์ที่ 2 ประดิษฐานบนลานชั้นลดด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

    องค์ที่ 3 จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    องค์ที่ 4 จัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    พระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทองค์ที่ 1 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับ พ.ศ.2404 ชาวบ้านที่ช่วยกันขนอิฐที่วัดพระเมรุ บังเอิญได้เห็นพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปโผล่พ้นจอมปลวกใหญ่ จึงช่วยกันทำลายจอมปลวกออกจนพบพระพุทธรูปองค์นี้และได้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

    พระพุทธรูปห้อยพระบาทองค์ที่ 2 องค์ที่ 3 และองค์ที่ 4 ประกอบจากชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ซึ่งพบกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ โดยพบส่วนของพระองค์ พระเพลา พระบาท และบัวรองพระบาท ที่พบพร้อมกับพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทองค์ที่ 1 และนำมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงคดวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

    ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2501 ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้รับแจ้งว่าพบเศียรพระพุทธศิลา 2 องค์ในร้านขายของเก่าย่านเวิ้งนครเขษม ซึ่งลักลอบนำมาจากวัดพระยากง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    นอกจากนี้ ยังพบพระพุทธรูปศิลาขาวอีกองค์หนึ่งประดิษฐานที่วัดขุนพรหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาใกล้กับวัดพระยากง ชาวบ้านเล่าว่าได้ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนของพระพุทธรูปศิลาขาวซึ่งพบที่วัดพระยากง

    เมื่อธนิต อยู่โพธิ์ ไปดูที่วัดพระยากงก็พบชิ้นส่วนอื่นๆ ของพระพุทธรูปศิลาอีก จึงลองประกอบกับเศียรพระพุทธรูปที่มาจากร้านขายของเก่าแต่ไม่สามารถประกอบ กันได้สนิท และยังพบว่าพระพุทธรูปศิลาขาวที่วัดขุนพรหม ซึ่งปฏิสังขรณ์ด้วยการโบกปูนทับให้เรียบเสมอกันก็ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนของพระพุทธรูปคนละองค์กัน จึงได้แยกส่วนต่างๆ ออกมาประกอบใหม่

    แล้วนำชิ้นส่วนของพระพุทธรูปศิลาขาวที่เก็บรักษาไว้ ณ ระเบียงคด วัดพระ ปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารมาลองประกอบด้วยก็พบว่าสามารถต่อกันได้อย่างสนิท จึงนำพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ซึ่งประกอบกันได้อย่างสมบูรณ์มาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมและอัญเชิญไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ

    • Update : 2/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch