หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วันเข้าพรรษา - แห่เทียนพรรษา


    เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐาน งดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษา และในช่วง ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
              สำหรับในพ.ศ.๒๕๕๔ วันเข้าพรรษา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี (หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา
     
              ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน ปี คือ ครบรอบฤดูฝนครั้งหนึ่ง เป็นปีหนึ่ง หรือ พรรษาหนึ่ง
     
              พรรษา ในคำวัด หมายถึง จำนวนการจำพรรษาของพระสงฆ์ ซึ่งมีปีละหนึ่งครั้ง หากจำพรรษามาแล้ว ๕ ครั้ง ก็เท่ากับ ๕ ปี นั่นเอง เช่น “พระน้อยบวชมาแล้ว ๕ พรรษา” แสดงว่า พระน้อยผ่านการจำพรรษามาแล้ว ๕ ครั้ง หรือบวชมาแล้ว ๕ ปี เขียนตามสำนวนวัดว่า มีพรรษา ๕
     
              พรรษา ในคำวัดใช้นับจำนวนการจำพรรษาอย่างเดียว ไม่นิยมนับเป็นอายุปี ตามแบบราชาศัพท์ อย่างเช่น “ทรงมีพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา” หมายความว่า “มีอายุได้ ๖๐ ปี”
     
              ส่วนคำว่า “พรรษากาล” หมายถึง ฤดูฝน เวลาเข้าพรรษาใช้ว่า พรรษากาล ก็มี
              พรรษา ในคำวัดนิยมใช้กล่าวถึง กาลเวลาจำพรรษา หรือ ระยะเวลาเข้าพรรษา ๓ เดือน ของพระสงฆ์ เช่น ในแบบการอปโลกน์กฐินของพระสงฆ์จะระบุคำนี้ไว้ด้วย คือ “ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้เป็นของ... กอปรด้วยจิตศรัทธาน้อมนำถวายแต่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้...”
     
              ในขณะที่คำว่า “เทียนพรรษา” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า เทียนขนาดใหญ่บูชาพระประธานในโบสถ์ตอนทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา
     
              เทียนพรรษา นิยมถวายในก่อนเทศกาลเข้าพรรษา จะถวายเป็นเล่มเดียวหรือถวายเป็นคู่ก็ได้ บางแห่งจัดแต่งเทียนพรรษาอย่างสวยงาม และมีพิธีแห่อย่างเอิกเริกก่อนนำไปถวายวัด โดยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่
     
              เทียนพรรษา สำหรับพระอารามหลวงสำคัญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานไว้สำหรับบูชาพระประธาน พระอารามละ ๑ เล่ม ทุกปีมิได้ขาด ถือเป็นพระราชประเพณีมาแต่โบราณ และในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน จะพระราชทานไฟเพื่อจุดเทียนนั้นด้วย

     
    "พระธรรมกิตติวงศ์"


    • Update : 15/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch