หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงสุกร-7
    การฉีดยาและการจับสุกรตัวโตฉีดยา
            การฉีดยาในที่นี่ จะกล่าวถึงเน้นเฉพาะการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น การฉีดยาหรือฉีดวัคซีนในสุกรตัวเล็กคงจะไม่มีปัญหา เพราะสามารถจับสุกรได้ง่าย ส่วนสุกรตัวโตคงจะต้องมีวิธีการจับสุกรให้ยืนนิ่ง เพื่อสะดวกในการฉีดยา
    1. การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular injection)
             ตำแหน่งที่ฉีดยา สุกรตัวโตฉีดตรงกล้ามเนื้อบริเวณคอ ห่างจากโคนหูประมาณ 2 นิ้ว ใช้เข็มเบอร์ 18 ยาว 1.5 นิ้ว โดยแทงเข็มในลักษณะตั้งฉากกับจุดที่แทงเข็ม สุกรตัวเล็กควรฉีดที่บริเวณกล้ามเนื้อขาหลังด้านในโดยใช้เข็มขนาดและความยาวลดลงตามขนาดสุกร
    การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous ingection)
             ตำแหน่งที่ฉีด นิยมฉีดใต้ผิวหนังห่างจากโคนหูประมาณ 2-3 นิ้ว โดยดึงหนังขึ้นแทงเข็มให้ผ่านชั้นผิวหนังเข้าไปในระหว่างชั้นผิวหนังกับชั้นกล้ามเนื้อ โดยแทงเข็มเฉียง ๆ ต้องใช้เข็มที่แหลมคม ตำแหน่งที่ฉีดอื่น ๆ เช่น บริเวณกึ่งกลางของขาหน้า โดยแทงเข็มขนานกับลำตัว หรือฉีดตรงบริเวณซอกรักแร้ขาหน้าก็ได้ เข็มควรมีความคมมาก
    การจับสุกรตัวโตฉีดยา
             ใช้เชือกหรือลวดผูกปาก โดยทำเป็นบ่วงรัดเหนือเขี้ยวในปากสุกร รัดเชือกให้แน่น นำปลายเชือกอีกด้านหนึ่งไปผูกไว้กับเสา ปกติธรรมชาติของสุกรเมื่อโดนเชือกผูกปากสุกรจะถอยหลังเต็มที่ ทำให้สามารถจับสุกรฉีดยาได้ง่าย
    การเคลื่อนย้ายสุกร


    เพื่อป้องกันสุกรตายในระหว่างขนย้ายให้ควรปฏิบัติ ดังนี้

    การเตรียมรถยนต์ ปูพื้นรถยนต์ด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง หรือต้นกล้วยหรือดินทราย เพื่อป้องกันสุกรลื่น ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควรจัดเตรียมกรง ถ้าขนย้ายสุกรจำนวนมากให้จัดเตรียมแผงกั้นเป็นล็อค เพื่อป้องกันสุกรไหลทับกันตาย และต้องมีแผงกั้นท้ายรถยนต์ด้วย รถยนต์ต้องมีหลังคาผ้าใบหรือตาข่ายกรองแสง เพื่อป้องกันแดดและฝน
    การจัดการสุกรเมื่อขึ้นรถยนต์แล้ว ในระหว่างการเคลื่อนย้ายระวังอย่าให้สุกรร้อน ควรฉีดน้ำให้สุกรเมื่อขึ้นรถยนต์ให้ชุ่มทั้งตัว หรือใช้น้ำแข็งก้อนใหญ่ (เป็นมือ) ทุบ วางบนฟางพื้นรถยนต์เพื่อช่วยทำให้เย็นขึ้นและให้สุกรเลียเพื่อลดความเครียด ขณะเดินทางไม่ควรหยุดพักรถยนต์โดยไม่จำเป็น ถ้าสังเกตุดูว่าสุกรมีอาการบ่งบอกว่าร้อน เช่น หายใจหอบ ให้แวะฉีดน้ำให้แก่สุกร โดยราดน้ำที่บริเวณหัวสุกรก่อน จากนั้นจึงราดบริเวณลำตัว และควรเลือกเดินทางในขณะที่อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนมากนัก เช่น ตอนบ่ายใกล้ค่ำ หรือตอนกลางคืน เป็นต้น
    การจัดการเมื่อสุกรถึงปลายทาง เมื่อถึงฟาร์มปลายทางหลังจากนำสุกรลงจากรถแล้ว ควรให้สุกรพักผ่อนสักระยะหนึ่ง ไม่ควรรีบร้อนให้น้ำและอาหารทันที จากนั้นให้หาน้ำสะอาดให้กิน ควรละลายเกลือแร่ (อีเลคโตรไลท์) หรือวิตามินกับน้ำสะอาดให้สุกรกินในช่วง 3-5 วันแรก และให้ทำการกักโรคสุกรโดยแยกสุกรเลี้ยงต่างหาก เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน (ในกรณีที่สามารถปฏิบัติได้)
    ตารางแสดงน้ำหนัก อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารของสุกรขุน
    อายุของสุกร
    (วัน)
    น้ำหนักสุกร
    (กิโลกรัม)
    อัตราการเจริญเติบโต
    (กรัม/วัน)
    ประสิทธิภาพ
    การใช้อาหารสมทบ
    อาหารที่กิน/ตัว/วัน
    (กิโลกรัม)
    ปริมาณอาหารสมทบ
    (กิโลกรัม)
    30
    6.5
    150
    -
    0.30
    0.4
    42
    9.0
    330
    1.5
    0.50
    5.0
    60
    15.0
    500
    1.6
    1.0
    15.0
    70
    22.0
    600
    1.8
    1.4
    27.0
    82
    30.0
    650
    2.2
    1.5
    45.0
    94
    40.0
    700
    2.3
    2.0
    67.0
    106
    50.0
    720
    2.3
    2.2
    90.0
    120
    60.0
    750
    2.4
    2.4
    125
    133
    70.0
    780
    2.5
    2.6
    155
    145
    80.0
    800
    2.6
    2.8
    190
    158
    90.0
    800
    30.
    3.0
    225
    170
    100.0
    800
    3.0
    3.0
    260
    ตารางการทำวัคซีนป้องกันโรคสำหรับสุกรพันธุ์
    อายุสุกร
    ชนิดของวัคซีน
    ขนาดและวิธีใช้
    หมายเหตุ
    6 สัปดาห์
    อหิวาต์สุกร
    ฉีดเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 1 ซีซี. ต่อไปให้ฉีดวัคซีนป้องกันทุก ๆ 6 เดือน และเมื่อละลายวัคซีนแล้ว ใช้ให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง
    7 สัปดาห์
    ปากและเท้าเปื่อย
    ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ต่อไปให้ฉีดวัคซีนป้องกันทุก ๆ 4 เดือน




    • Update : 15/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch