หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    หลวงพ่อนาก
    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ




    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ได้เก็บรักษาพระพุทธรูปสำคัญ 9 พระองค์ อยู่ในพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ พระนคร

    หนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญ คือ "หลวงพ่อนาก"

    หลวงพ่อนาก เลขทะเบียน ก.7 ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 สำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 36.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 85 เซนติเมตร

    หลวงพ่อนาก เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนากสุกปลั่ง เนื่องจากเนื้อสำริด มีส่วนผสมของทองคำจำนวนมาก เหตุนั้นจึงได้รับการขนานนามว่า หลวงพ่อนาก

    ลักษณะพระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวหงาย (องค์ถอดจากฐานได้) พระรัศมีรูปดอกบัวตูมทำด้วยไม้ ภายในพระเศียร มีช่องสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพักตร์อิ่ม พระเนตรเหลือบต่ำจนเกือบปิดสนิท แสดงลักษณะกำลัง เสวย วิมุติสุข ที่ฝ่าพระบาทสลักลายธรรมจักรและมงคล 108

    รอบฐานเขียงมีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลีสันสกฤต กล่าวถึงการสร้างโดยสังเขปว่า พระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองพะเยา สร้างเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เนื้อความว่า

    มหาศักราช 1398 (พ.ศ.2019) ปีวอก เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ วันอาทิตย์

    พระยายุธิษฐิระได้สร้างพระพุทธรูปสำริดองค์นี้ขึ้น โดยใช้ทอง (สำริด) ประมาณ 14,000 (อ่านว่า สิบสี่พัน = 16.8 กิโลกรัม) เพื่อดำรงพระศาสนา

    พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก โดยประวัติการได้มีปาฏิหาริย์รอดพ้นอันตรายจากคนร้ายซึ่งลักลอบขุดค้นพบในเจดีย์โบราณ ณ วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค ปัจจุบัน คือ วัดบุนนาค ต.ดงเจน อ.เมือง จ.พะเยา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2460

    โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ลักลอบขุดพร้อมของกลางได้ที่จังหวัดลำปาง และเก็บรักษาหลวงพ่อนากพร้อมโบราณวัตถุอื่นๆ ไว้ที่จังหวัดเชียงราย เพราะขณะนั้นพะเยาขึ้นอยู่กับจังหวัดดังกล่าว

    ต่อมาหลวงอดุลยธารณ์ปรีชาไวย์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวประพาสเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ.2469

    ต่อมาได้พระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยประดิษฐาน ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ตราบจนทุกวันนี้

    นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระพุทธรัตนมหามุนี (พระแก้วน้อย) เลขทะเบียน 143/2534 ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 หน้าตักกว้าง 10 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 37 เซนติเมตร

    พระพุทธรัตนมหามุนี หรือ พระแก้วน้อย เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณี แก้วสีเขียวอ่อนน้ำแตงกวา ปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ พุทธศิลป์ล้านนา สมัยหลัง ราวพุทธศตวรรษที่ 21 อันเป็นสมัยที่นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยหินสีต่างๆ เช่น หินสีขาวใส เรียกว่า แก้วน้ำค้าง หรือหินสีเหลือง เรียกว่าแก้วน้ำบุษย์

    ทรงเครื่องอาภรณ์ มงกุฎ กรองศอ พาหุรัดทองคำ และสังวาลประดับพลอยแดง สร้างถวายขึ้นใหม่ เดิมพระพุทธรูปชำรุดแตกเป็น 2 ส่วน เจ้าของเดิมได้มาคนละคราว แต่ก็สามารถต่อกันได้สนิทเป็นที่อัศจรรย์

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อปี พ.ศ.2534

    หลังจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตร และครอบครัว น้อมเกล้าฯ ถวาย

    • Update : 2/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch