หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงสุกร-2
    หลักในการปรับปรุงพันธุ์สุกรนั้นมี 2 ข้อดังนี้
    การคัดเลือกพันธุ์
             สุกรที่จะใช้ทำพันธุ์นั้นจะคัดเลือกจากลักษณะภายนอกและจากพันธุ์ประวัติ การคัดเลือกจากลักษณะภายนอก เช่น รูปร่างลักษณะ ถูกต้องตามสายพันธุ์ พิจารณาความแข็งแรงของขา ขาไม่แอ่นเหมือนตีนเป็ด ลำตัวยาว อวัยวะเพศปกติ เต้านมไม่ต่ำกว่า 12 เต้า หัวนมไม่บอด ส่วนจากพันธุ์ ดูอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ความหนาไขมันสันหลัง และผลผลิตจากแม่พันธุ์ (ลูกดก)
    การผสมพันธุ์
             เมื่อคัดเลือกพันธุ์ได้แล้วก็นำมาผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกต่อไป อย่างไรก็ตามจำเป็นจะต้องนำสุกรจากที่อื่นเข้ามาปรับปรุงด้วย เพื่อป้องกันเลือดชิด สุกรเพศผู้จะเริ่มใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 7-8 เดือน น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม สุกรแม่พันธุ์ควรจะให้ลูกครอกแรกเมื่ออายุได้ 1 ปี แม่สุกรเป็นสัดแต่ละรอบ ระยะเวลาห่างกัน 21 วัน ตั้งท้อง 114 วัน ควรทำการผสมแม่พันธุ์ 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชั่วโมง (เช้า-เช้า หรือ เย็น-เย็น) หรือมากกว่า 2 ครั้ง ยิ่งดีโดยเริ่มผสมพันธุ์ในวันที่สองของการเป็นสัด
             แม่สุกรที่คลอดลูกแล้ว ควรหย่านมเมื่อลูกอายุ 4 สัปดาห์ และแม่สุกรจะเป็นสัดหลังจากหย่านมภายใน 3-10 วัน ทำการผสมพันธุ์ต่อได้เลย แม่สุกรควรให้ลูกปีละไม่ต่ำกว่า 2 ครอก และผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตัว/แม่/ปี ในแม่สุกรพันธุ์แท้ ส่วนแม่สุกรลูกผสม (แลนด์เรซ - ลาร์จไวท์) ควรผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 18 ตัว/แม่/ปี แม่สุกรที่ผสมไม่ติดเกิน 3 ครั้ง ควรคัดออกจากฝูง
    การผสมพันธุ์
    มี 2 วิธี
    1. ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
    2. ผสมเทียม
             โดยใช้พ่อพันธุ์ผสมกับแม่พันธุ์ ในอัตราส่วน 1:10 พ่อพันธุ์สามารถใช้ ผสมพันธุ์จนถึงอายุ 3-4 ปี          โดยการฉีดน้ำเชื้อสุกรตัวผู้เข้าในอวัยวะเพศเมีย ในขณะที่ตัวเมียเป็นสัดเต็มที่ ในปัจจุบันฟาร์มสุกรขนาดใหญ่และขนาดกลางนิยมใช้การผสมเทียมมาก เนื่องจากมีข้อดีหลายข้อ เช่น ได้พ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ประหยัดค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อพันธุ์ ผสมเทียมใช้พ่อพันธุ์กับแม่พันธุ์ในอัตราส่วน 1: 50 และเกษตรกรรายย่อยสามารถทำการผสมเทียมเองได้ วิธีการผสมเทียมง่ายและสะดวก หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ เช่น ศูนย์วิจัยการผสมเทียมมีบริการผสมเทียมในสุกร ซึ่งจำหน่ายน้ำเชื้อสุกรในราคาถูก
    การจัดการพ่อสุกร
              พ่อสุกรที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ให้อาหารโปรตีน 16 % ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพของพ่อสุกรด้วยว่าไม่อ้วนและผอมเกินไป
    การจัดการแม่สุกร
              ให้อาหารโปรตีน 16% ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม แม่สุกรสาวควรมีอายุ 7-8 เดือน น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม จึงนำมาผสมพันธุ์ (เป็นสัดครั้งที่ 2-3) ผสมพันธุ์ 2 ครั้ง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) เมื่อผสมพันธุ์แล้วควรลดอาหารให้เหลือ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อตั้งท้องได้ 90-108 วัน ควรเพิ่มอาหารเป็น 2-2.5 กิโลกรัม และเมื่อตั้งท้องได้ 108 วันคลอดลูก ให้ลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม (ปกติสุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน) แม่สุกรควรอยู่ในสภาพปานกลาง คือ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป แม่สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกในครอกที่ 7 หรือ8 (แม่สุกรให้ลูกเกินกว่าครอก ที่ 7 ขึ้นไป มักจะให้จำนวนลูกสุกรแรกคลอด มีชีวิต และจำนวนสุกรหย่านมลดลง)
    การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด ระวังอย่าให้แม่สุกรเจ็บป่วยหรือท้องผูก ควรจัดการ ดังนี้
         แม่สุกรก่อนคลอด 7 วัน ให้อาบน้ำด้วยสบู่ทำความสะอาดแม่สุกร โดยเฉพาะราวนม บั้นท้าย อวัยวะเพศ แล้วพ่นอาบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (ละลายน้ำ ตามอัตราส่วน) และพ่นยาพยาธิภายนอก แล้วนำเข้าคอกคลอด
         ก่อนแม่สุกรคลอด 4 วัน ควรลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม/วัน ควรผสมรำละเอียดเพิ่มอีก 20 % ในอาหาร โดยให้แม่สุกรกิน 4-6 วันก่อนคลอด หรือผสมแม็กนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) ประมาณ 10 กรัม โดยคลุกอาหารให้ทั่วให้แม่สุกรกินวันละครั้ง 1-3 วันก่อนคลอด เพื่อป้องกันแม่สุกรท้องผูก ช่วยลดปัญหาแม่สุกรคลอดยาก
         ดูแลแม่สุกรอย่างใกล้ชิด อย่าให้แม่สุกรป่วย เช่น สังเกตรางอาหารว่าแม่สุกรกินอาหารหมดหรือไม่ ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดกระสุน ท้องเสีย หอบแรง เป็นต้น ถ้าแม่สุกรป่วยก็ควรรักษาตามอาการ
         คอกคลอด ก่อนนำแม่สุกรเข้าคอกคลอด คอกคลอดต้องสะอาด ราดหรือพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และโรยปูนขาว ต้องมีอาการพักคอกไว้อย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะเป็นการตัดวงจรของเชื้อโรค
    การจัดการลูกสุกรเมื่อคลอด
              แม่สุกรก่อนคลอด 24 ชั่วโมง จะมีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านม ลูกสุกรแรกคลอดควรดูแลปฏิบัติ ดังนี้
         ใช้ผ้าที่สะอาดหรือฟางเช็ดตัวลูกสุกรให้แห้ง ควักเอาน้ำเมือกในปากและในจมูกออก
         การตัดสายสะดือ ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 1-2 นิ้ว ตัดสายสะดือด้วยกรรไกร ทารอยแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค
         ตัดเขี้ยวออกให้หมด (เขี้ยวมี 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ) เพื่อป้องกันลูกสุกรกัดเต้านมแม่สุกรเป็นแผลในขณะแย่งดูดนม
         รีบนำลูกสุกรกินนมน้ำเหลืองจากเต้านมแม่สุกรในนมน้ำเหลืองจะมีสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรค ปกตินมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 36 ชั่วโมง หลังคลอด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมธรรมดา
    การจัดการลูกสุกรแรกคลอด-หย่านม
         ลูกสุกรในระยะ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่น ต้องจัดหา
         ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็กเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 2 ซี.ซี เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง
         ลูกสุกรอายุ 10 วัน เริ่มให้อาหารสุกรนมหรืออาหารสุกรอ่อน (อาหารเลียราง) เพื่อฝึกให้ลูกสุกรกินอาหาร โดยให้กินทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
         ลูกสุกรทั่วไปหย่านมเมื่ออายุ 28 วัน (4 สัปดาห์)
    ไฟกกลูกสุกร
    กล่องกระสอบ

    การจัดการลูกสุกรเมื่อหย่านม
         หย่านมลูกสุกรเมื่ออายุ 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ควรย้ายแม่สุกรออกไปก่อนให้ลูกสุกรอยู่ในคอกเดิมสัก 3-5 วัน แล้วจึงย้ายลูกออกไปคอกอนุบาล เพื่อป้องกันลูกสุกรเครียด และควรใช้วิตามินหรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้ลูกสุกรกินหลังจากหย่านมประมาณ 3-5 วัน
         ลูกสุกรอายุ 6 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์(วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 6-12 เดือน)
         ลูกสุกรอายุ 7 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย่ และฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 4-6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ (วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 4-6 เดือน)
         ลูกสุกรอายุ 2 เดือนครึ่ง ควรให้ยาถ่ายพยาธิ และให้ซ้ำหลักจากให้ครั้งแรก 21 วัน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 6 เดือน
    การจัดการแม่สุกรหลังคลอด
         ฉีดยาปฏิชีวนะ ให้แม่สุกรหลังคลอดทันทีติดต่อกันเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อป้องกันมดลูกอักเสบ (ยาเพนสเตร็ป, แอมพิซิลิน, เทอร์รามัยซิน เป็นต้น
         หลังคลอด 1-3 วัน ควรให้อาหารแม่สุกรน้อยลง(วันละ 1-2 กิโลกรัม) และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนให้อาหารเต็มที่เมื่อหลังคลอด 14 วัน (ให้อาหารวันละ 4-6 กิโลกรัม) จนกระทั่งแม่สุกรหย่านม ระวังอย่าให้แม่สุกรผอมเมื่อหย่านม ซึ่งจะมีผลทำให้แม่สุกรไม่สมบูรณ์พันธุ์ และโทรมมาก แม่สุกรหลังหย่านมควรขังรวมกันคอกละประมาณ 2-5 ตัว (ขนาดใกล้เคียงกัน) เพื่อให้เกิดความเครียดจะเป็นสัดง่ายและจะเป็นสัดภายใน 3-10 วัน ถ้าแม่สุกรเป็นสัดทำให้การผสมพันธุ์ได้เลย
         ปัญหาแม่สุกรไม่เป็นสัด สุกรสาวหรือเม่สุกรหลังจากหย่านมแล้วไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ จะพบเห็นได้บ่อย ๆ มีวิธีแก้ไข ดังนี้
                  1. ต้อนแม่สุกรมาขังรวมกัน เพื่อให้เกิดความเครียด
                  2. เลี้ยงพ่อสุกรอยู่ใกล้ ๆ หรือให้พ่อสุกรเข้ามาสัมผัสแม่สุกรบ้าง .
    การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกดก
                  1. คัดเลือกสายแม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ลาร์จไวท์ แม่พันธุ์แลนด์เรซ หรือลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์
                  2. ผสมเมื่อแม่สุกรเป็นสัดเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ไข่ตกมากจะอยู่ช่วงวันที่ 2-3 ของการะเป็นสัด ผสม 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชี่วโมง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น)
                  3. ถ้ามีพ่อสุกรหลายตัว และผลิตสุกรขุนเป็นการค้าควรใช้พ่อสุกร
                  4. แม่สุกรหลังจากหย่านมแล้ว 1 วัน ควรเพิ่มอาหารให้จนกระทั่งเป็นสัด โดยให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม (ไม่เกิน 15 วัน) เพื่อทำให้ไข่ตกมากขึ้น และเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ให้ลดอาหารแม่สุกรลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม ตามปกติ

    • Update : 12/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch