หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงกระบือ-6

    ก า ร เ ลี้ ย ง ดู ตั้ ง แ ต่ เ กิ ด - 6 เดื อ น  
     
     
               การเลี้ยงดูกระบือตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 6 เดือน ระยะนี้เป็นระยะทีมีอันตรายมากที่สุดจะต้องดูแลลูกกระบือเป็นอย่างดีเป็นพิเศษ
               ในกรณีน้ำนมไม่พอให้ลูกกระบือกิน ก็ควรหาน้ำนมผงมาละลายน้ำให้กิน หรือจะให้น้ำนมเทียมก็ได้ น้ำนมเทียมโดยมากทำจากถั่วและไข่หรือนมผง ควรให้ลูกกระบือได้กินน้ำนมแม่ทั้งหมดจนถึงอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยใช้ของอื่นแทน โดยลดจำนวนน้ำนมลงทีละน้อย

               ต่อจากนั้นควรหัดให้ลูกกระบือกินอาหารผสม หรือเมล็ดพืชที่บดแล้ว เช่น ข้าวโพดและถั่วแห้ง ๆ หรือสด ๆ ควรใส่ในรางหญ้าให้กินตลอดเวลา ลูกกระบือจะเริ่มกินอาหารเหล่านี้เมื่ออายุประมาณ 2 สัปดาห์ ในระยะที่กระบืออายุอ่อน ๆ นี้ ทุ่งหญ้ายังไม่ให้ประโยชน์แก่ลูกกระบือ เพราะเครื่องย่อยอาหารยังไม่เจริญพอ นั่นก็คือ ยังไม่มีจุลินทรีย์ (microorganism) ในกระเพาะขอบกระด้งหรือผ้าขนหนู (rumen) ทุ่งหญ้าจะให้ประโยชน์แก่สัตว์เมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไป แต่ต้องให้อาหารผสมด้วยจนอายุ 10 เดือน ตอนนี้ทุ่งหญ้าให้ประโยชน์แก่ลูกสัตว์มาก คือ ลูกสัตว์จะได้ออกกำลัง ได้รับแสงแดดและได้รับอากาศบริสุทธิ์ เมื่อเลี้ยงลูกกระบือในทุ่งหญ้าควรมีน้ำที่สะอาด มีร่มไม้เพื่อบังความร้อนแดด และร่มเย็นไม่ร้อนจัด 
    ก า ร เ ลี้ ย ง ดู ตั้ ง แ ต่ 6 เดื อ น - 10 เ ดื อ น  
     
     
              เมื่อลูกกระบืออายุ 6 เดือนแล้ว เป็นระยะที่ลูกกระบือหย่านม ระยะนื้ก็ง่ายเข้าโดยเลี้ยงในทุ่งหญ้าและให้อาหารผสมและเมล็ดพืชบดอื่น ๆ หลักในการประมาณอาหารผสมกับหญ้าที่ให้กินในทุ่งหญ้าก็คือ ถ้าหญ้านั้นมีคุณภาพดีก็ให้อาหารผสมราว ๆ วันละ 1-1.5 กิโลกรัม ถ้าหญ้าในทุ่งหญ้ามีคุณภาพไม่ดีควรให้อาหารผสม 2-4 กิโลกรัม ถ้าให้กินหญ้าแห้ง หญ้าแห้งก็ควรเป็นวันละ 4-7 กิโลกรัม อาหารผสมสำหรับหญ้าที่มีพวกตระกูลถั่วซึ่งมีโปรตีนอยู่ในตัวมันแล้วอาหารผสมควรมีโปรตีนอยู่ 12-14 % ถ้าหญ้าที่ให้ไม่ใช่พืชตระกูลถั่วอาหารผสมจึงควรมีโปรตีน 16-18 % น้ำเกลือต้องมีให้กินอยู่ตลอดเวลา และควรมีแร่ธาตุ เช่น แคลเซี่ยม หรือธาตุเหล็ก หรือแร่ธาตุต่าง ๆ เช่นทองแดง ไอโอดีน โคบอลต์หรือแมงกานีส  
     
          การให้ธาตุเหล่านี้เราจะต้องตรวจหาว่าสถานที่ทำการเลี้ยงสัตว์เหล่านั้นในอาหารสัตว์ขาดแร่ธาตุที่กล่าวแล้วข้างต้นอะไรบ้าง ใส่ลังไม้ให้กระบือกินตลอดเวลา เมื่อลูกกระบืออายุ 6 เดือนแล้วควรแยกออกจากฝูงเพื่อป้องกันมิให้กระบือผสมเมื่ออายุยังน้อย ถ้าปล่อยให้ผสมในขณะที่กระบือยังไม่โตและสมบูรณ์เต็มที่จะให้ลูกขนาดเล็ก และตัวแม่ก็จะไม่เจริญเติบโต และการแยกนี้ยังเป็นประโยชน์ที่ลูกกระบือจะได้รับความเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยให้อาหารที่ถูกหลักถูกส่วนเพื่อความเจริญเติบโตและได้กินอาหารสมบูรณ์ เพราะอยู่ในฝูงขนาดเดียวกันและไม่ถูกแย่งอาหารจากกระบือขนาดโตกว่า หรือถูกเหยียบตาย 


    ก า ร เ ลี้ ย ง ดู ตั้ ง แ ต่ อ า ยุ 10 เ ดื อ น ขึ้ น ไ ป  
     
     
             อายุตอนนี้เป็นอายุที่อวัยวะย่อยอาหาร มีจุลินทรีย์ จะย่อยอาหารหยาบเช่น พวกหญ้า ได้เจริญเต็มที่แล้ว ถ้าหญ้าเป็นหญ้าที่มีคุณภาพสูง อาหารผสมก็ให้น้อยลง หรือไม่ต้องให้เลย แต่น้ำเกลือและแร่ธาตุต่าง ๆ ต้องให้กินตลอดเวลา       การเลี้ยงไว้ทำงาน
                เกษตรกรควรเจาะจมูกกระบือตั้งแต่ขนาดยังเล็กแล้วหัดให้ทำงานเบาไปก่อนจนกว่าจะโต และการใช้กระบือทำงานนั้นไม่ควรใช้ทำงานเกินวันละ 6 ชั่วโมง และควรแบ่งให้ทำงานตอนเช้า 3 ชั่วโมง และตอนเย็น 3 ชั่วโมง หลังจากทำงานแล้วควรให้กระบืออาบน้ำ หรือฉีดน้ำราดตัวให้ผลจากการสำรวจปรากฏว่า เกษตรกรหัดกระบือทำงานเมื่ออายุ 3 ปี ซึ่งนับว่าช้ามากแต่ก็เก่งมากที่หัดได้ภายในเวลา 1-3 อาทิตย์และใช้กระบือทำงานในปีหนึ่งน้อยไป
      ให้กระบือกินอาหารทีมีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอ
          ผู้เลี้ยงต้องรู้ว่าลูกกระบือ กระบือรุ่น หรือแม่กระบือมีความต้องการอาหารประเภทใดบ้างมากน้อยแค่ไหน การให้อาหารไม่ถูกต้อง และไม่เพียงพอจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แล้วอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ และการให้อาหารต้องระวังสิ่งต่าง ๆ ที่จะให้กระบือกินคือ


    1. พืชหรือสารพิษต่าง ๆ เช่น เห็ดเมา มันสด หรือยาฆ่าแมลงที่ใช้กันอยู่
    2. ให้กินหญ้าและน้ำสะอาด ไม่มีการปะปนของ เชื้อโรค เชื้อรา หรือไข่พยาธิต่าง ๆ 
    3. วัตถุแปลกปลอม เช่น เศษเหล็กตะปู หรือถุงพลาสติก
    4. อย่าให้กินอาหารที่เสียแล้ว

     
     จัดสิ่งแวดล้อมให้กระบืออยู่อย่างสบาย และปลอดภัย
           คอกควรเย็นสบายไม่ร้อน มีอากาศระบายดี ลมไม่โกรกเกินไปไม่ให้เลี้ยงอยู่รวมกันมาก ๆ มีอาหารและน้ำให้กินอย่างเพียงพอ ควรมีหญ้าอย่างพอเพียง ไม่รกรุงรัง หมั่นเก็บขยะมูลฝอยและอุจจาระ เพื่อป้องกันการหมักหมมของเชื้อโรค พยาธิ หรือแมลงวันที่จะวางไข่ หมั่นทำความสะอาดคอกและราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม 
     การใช้วัสดุพลอยได้จากการปลูกพืชเป็นอาหารกระบือ
            วัสดุพลอยได้ที่เกษตรกรได้จากการปลูกพืช แทนที่จะเผาหรือปล่อยทิ้งไว้ สามารถน้ำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงกระบือได้ จะทำให้ลดต้นทุนการเลี้ยงกระบือได้มากเช่น
         ฟางข้าว
           ในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ จะได้ฟางข้าว 310 ถึง 540 กิโลกรัม หรือ ฟางข้าวที่ได้ตจะเท่ากับจำนวนข้าวเปลือกที่ผลิตได้เช่นเดียวกัน
           การใช้ฟางข้าวอย่างเดียวเลี้ยงกระบือในฤดูแล้งไม่เพียงพอที่จะทำให้กระบือรักษาน้ำหนักตัวอยู่ได้ เพราะฟางข้าวมีคุณภาพต่ำ กระบือจะมีน้ำหนักลดลง เราสามารถเพิ่มคุณภาพของฟางข้าวได้ดังนี้  
      ก. ให้ฟางข้าวเสริมด้วยใบถั่ว ใบกระถิน หรือใบมันสำปะหลังตากแห้งจำนวนวันละ 0.5 ถึง 1 กิโลกรัม จะทำให้กระบือรักษาน้ำหนักในช่วงแล้งได้ 
    ข. ให้ฟางข้าวที่ราดละลายยูเรีย-กากน้ำตาลโดยใช้ยูเรีย 1.5 กิโลกรัม กากน้ำตาลน้ำตาล 7.5 กิโลกรัม ละลายในน้ำ 80 ลิตร (ประมาณ 4 ปีบ) แล้วนำไปราดฟางข้าวได้จำนวน 100 กิโลกรัม หรือประมาณครึ่งคิว (0.5 บาศก์เมตร) 
    ค. ใช้ในรูปของฟางปรุงแต่งหรือฟางหมักยูเรีย ซึ่งมีวิธีทำคร่าว ๆ ตามภาพ จะทำให้กระบือกินได้มากกว่าฟางธรรมดาโดยอาจกินได้ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว เช่น ควายหนัก 300 กิโลกรัมอาจกินฟางปรุงแต่งได้วันละ 9 กิโลกรัม (ขอคำแนะนำการทำฟางปรุงแต่งได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอและหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้อง) ข้อควรระวังในการทำฟางปรุงแต่งคือ อย่าให้โคหรือกระบือได้มีโอกาสกินน้ำที่ละลายปุ๋ยยูเรียก่อนใช้ราดฟางข้าวอย่างเด็ดขาดจะทำให้สัตว์ตายได้
     ทำให้กระบือที่เราเลี้ยงมีความต้านทานโรค
          ลูกกระบือที่เกิดใหม่จะมีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ โดยการกินนมน้ำเหลืองจากแม่ใน 2-3 วันแรกเกิด และถ้าโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงมากนักลูกกระบือก็จะสร้างความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ได้เอง แต่ถ้าเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง กระบือก็ไม่สามารถต้านทานโรคเหล่านั้นได้ ผู้เลี้ยงจึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนล่วงหน้าเพื่อสร้างความต้านทานให้เกิดขึ้นในตัวกระบือก่อนเป็นโรคโดยทั่วไปแล้วเรามักฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย (โรคคอบวม) และในบางพื้นที่ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์หรือโรคกาลีด้วย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ จะทราบดีว่าต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้างและเมื่อไร  
     การป้องกันโรคล่วงหน้า
          การที่ปล่อยให้กระบือเป็นโรคแล้วค่อยรักษาย่อมไม่ดีแน่ นอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลา หรืออาจไม่หายแล้วอาจติดต่อไปยังกระบือตัวอื่น ๆ อีกได้ ทางที่ดีควรมีการป้องกันต่อปีนี้
    1 ก่อนนำกระบือใหม่เข้ามาในฝูง ต้องแยกและกักเลี้ยงต่างหากประมาณ 2 อาทิตย์ จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่เป็นโรค แล้วทำการถ่ายพยาธิ และฉีดวัคซีนหากสัตว์ตัวนั้นยังไม่ได้ถ่ายพยาธิหรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อแล้วจึงนำไปรวมกับฝูงเดิม
    2 แยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ดี วิธีนี้จะประหยัดและได้ผลดีผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ หรืออาการป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อจะได้แยกสัตว์ป่วยออกมารักษาได้ทัน และถ้ามีการป่วยมากกว่า 2 ตัว ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน และมีอาการเหมือนกัน ให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคระบาดให้รีบตามสัตว์แพทย์มาช่วยทำการป้องกันไม่ให้การระบาดให้รีบตามสัตว์แพทย์มาช่วยทำการป้องกันไม่ให้การระบาดลุกลามยิ่งขึ้น
    3 สัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุหรือเป็นโรคระบาดควรตามสัตว์แพทย์มาช่วยตรวจดูเพราะอาจเป็นโรคที่ติดต่อถึงคนได้หากสัตว์แพทย์อนุญาติให้กินจึงจะกินได้ แต่ถ้าโรคระบาดควรเผาหรือฝังซากให้ลึก โรยด้วยปูนขาวหรือยาฆ่าเชื้อซากควรอยู่ลึกกว่าผิวดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
    4. กำจัดและทำลายสัตว์ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเราทราบได้โดยการให้สัตว์แพทย์มาทำการทดสอบเป็นประจำ เช่น วัณโรค หรือบรูเซลโลซีส (โรคแท้ง) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคเผยแพร่ติดต่อไปยังสัตว์อื่น


    • Update : 11/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch