หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงกระบือ-5

    ก า ร เ ลี้ ย ง ดู ก ร ะ บื อ ท้ อ ง   
     
                 ก า ร เ ลี้ ย ง ดู
             กระบือท้องต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษกว่าปกติโดย
    1. ต้องให้กระบือออกกำลังโดยปกติ แต่อย่ามากเกินไป
    2. อย่าให้อุจจาระผูกจะคลอดลูกยาก ควรให้อาหารที่ฟ่าม(bulky) 
    3. อย่าให้เดินไกล ๆ มาก หรือวิ่งเร็ว ๆ หรือตกอกตกใจมากเกินไปหรือกระทบกระแทกสัตว์อื่นหรืออย่ามีการขนย้ายกระบือท้องถ้าไม่จำเป็น
    4. อย่าเอาไปไว้รวมกับกระบือแท้งลูก
    5. ถ้าเป็นกระบือที่ทำการรีดนมอย่างหนัก ควรหยุดรีดก่อนเวลาที่คิดว่าจะคลอดประมาณ 8-10 สัปดาห์
    6. ต้องให้อาหารที่บำรุงลูกในท้องเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ
    7. เมื่อเวลาท้องแก่จวนคลอด ควรแยกไปขังไว้ต่างหาก
     

    วิ ธี ดู แ ล ก ร ะ บื อ เ ว ล า ค ล อ ด ลู ก แ ล ะ ห ลั ง ค ล อ ด ลู ก
               เมื่อแยกกระบือที่จวนคลอดออกไว้ต่างหากแล้ว ควรหาหญ้าหรือฟางแห้ง ๆ ปูรองนอนและหมั่นทำความสะอาดบ้าง สถานที่ที่จะแยกแม่กระบือออกมาควรสะอาด เงียบควรขลิบขนที่อยู่ใกล้ ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ อาหารที่ให้ควรอ่อนย่อยง่าย เช่น รำละเอียดและอื่น ๆ กระบือแม่ที่เคยแท้งหรือรกค้างเก่ง ควรแยกเอาไว้อีกต่างหาก และเมื่อทำการคลอดแล้ว ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราดในคอกและดิน และเผาหญ้าหรือฟางแห้งที่รองให้หมด เมื่อแม่กระบือจะคลอดก็ควรมาดูบ้าง เผื่อจะต้องช่วยเหลือ แต่ส่วนมากแล้วไม่ต้องช่วย ลูกกระบือที่อยู่ในท่าคลอดที่ปกติก็คือ หัวคอและขาหน้าจะออกก่อน ถ้าเอาหลังออกหรือก้นออก นั่นแสดงว่าเกิดคลอดลูกยากแล้ว ต้องเรียกหาสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข การที่ให้ผู้เลี้ยงมาคอยดูก็เพียงแต่ว่าเพียงแต่ว่าเพื่อช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ เช่น ดูว่ารกออกเป็นปกติหรือไม่ หรือบางที่ลูกโผล่ออกมาแล้ว แต่แม่เบ่งไม่ออก ก็ช่วยดึงเบา ๆ (หลังจากได้ทำความสะอาดมือเรียบร้อยแล้ว ) ในขณะที่เบ่งหรือถ้าถุงที่หุ้มตัวลูกไม่ขาดก็ช่วยฉีกออก ถ้าลูกกระบือหายใจไม่ออกโดยมีอะไรมาอุดจมูกก็ช่วยควักออกหรือเมื่อลูกออกแล้วแต่รกห้อยอยู่นานไม่ออกก็ช่วยดึงบ้าง ถ้าลูกกระบือแน่นิ่งไม่หายใจ ก็อาจช่วยโดยดึงลิ้นออกมาจากปาก และจับขาหลังยกขึ้นให้หัวห้อยและผายปอด เป็นต้น ลูกกระบือจะตั้งต้นหายใจโดยถอนหายใจหรือไอเบา ๆ นั่นแสดงว่า การหายใจหรือชีวิตของลูกกระบือเริ่มต้นแล้ว เมื่อคลอดลูกแล้วแต่ลูกยังไม่ได้กินนมแม่ ก็ควรจับอุ้มช่วยลูกโดยให้ลูกดูดนมเหลือง(colostrum)น้ำนมระยะแรกนี้สำคัญมาก เพราะเป็นอาหารและยาถ่ายที่สำคัญที่สุดต้องให้ลูกกินให้ได้ ส่วนแม่กระบือเมื่อคลอดลูกแล้ว ควรให้น้ำและหญ้าอ่อน ๆ และให้พักผ่อนได้รับความสบาย ถ้าแม่กระบือไม่เลียลูกควรใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดถูตัวลูกกระบือให้แห้งเพื่อทำให้เลือดกระจายไปทั่ว ๆ ตัวหรือใช้น้ำเกลือทาลูก เพื่อเร่งเร้าทำให้แม่กระบือเลียลูก และควรแต้มที่สายสะดือด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดิน ลูกกระบือที่แข็งแรงจะยืนขึ้นและกินนมภายใน 1 ชั่วโมงภายหลังคลอด 

    น้ ำ น ม เ ห ลื อ ง
                น้ำนมเหลือง (colostrum) น้ำนมนี้เป็นครั้งแรกของแม่กระบือเริ่มตั้งแต่เมื่อลูกกระบือคลอดจนถึง 5 วันหลังคลอด แม้ว่าจะเรียกนมที่มีตั้งแต่เริ่มคลอดจนถึง 5 วันนี้ว่า น้ำนมเหลืองก็ตามแต่น้ำนมเหลืองที่ดีที่สุดมีประโยชน์มากที่สุดสำหรับลูกกระบือ คือ นับตั้งแต่วันที่หนึ่งถึงวันที่สามและน้ำนมเริ่มเปลี่ยนจากน้ำนมเหลืองเป็นน้ำนมปกติในวันที่ 6 และใช้สำหรับมนุษย์รับประทานได้ในวันที่ 6 นี้ การที่น้ำนมเหลืองเป็นน้ำนมที่จำเป็นแก่ลูกกระบือใหม่ เพราะมี
    1. แอนติบอดี (anti-body) และแร่ธาตุซึ่งสร้างให้เกิดความคุ้มโรคหรือทนทานต่อโรค(immunizing substance) ที่จะช่วยคุ้มโรคบางอย่างชั่วคราวแก่ลูกกระบือ เช่นโรคที่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร เป็นต้น ลูกกระบือเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถจะทนทานต่อโรคได้ ธรรมชาติจึงให้น้ำนมนี้เพื่อช่วยป้องกันโรค 
    2. อย่าให้อุจจาระผูกจะคลอดลูกยาก ควรให้อาหารที่ฟ่าม(bulky) 
    3. ธาตุเหล็ก สำหรับบำรุงเลือดมากกว่าน้ำนมธรรมดาหลายเท่า
    4. เป็นยาระบายช่วยขับของเสียในทางเดินอาหารและช่วยในการย่อยอาหาร
               เนื่องจากลูกกระบือได้รับน้ำนมเหลืองเพียงหนึ่งในสามส่วนนของจำนวนน้ำนมเหลืองทั้งหมดก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น น้ำนมเหลืองส่วนที่เหลือจึงมีผู้เลี้ยงบางคนเก็บไว้ให้ลูกกระบือพันธุ์ ดีๆ ต่อไป หรือบางทีเอาไปช่วยลูกกระบือตัวอื่นที่ไม่สมบูรณ์ หรือเอาไปเลี้ยงลูกหมู วิธีให้น้ำนมเหลืองส่วนที่เหลือนี้ควรปนน้ำอุ่นโดยใช้ส่วนน้ำนมเหลืองสองส่วนและน้ำหนึ่งส่วน น้ำนมเหลืองต้องเก็บไว้ในที่เย็นเพื่อจะได้ไม่เสีย ถ้าเก็บไว้นานก็ควรเก็บไว้ไนที่เย็นมาก ๆ ลูกกระบือที่ให้น้ำนมเหลืองส่วนที่เหลือต่อไปจะโตเร็วและมีสุขภาพสมบูรณ์เป็นพิเศษ การให้น้ำนมเหลืองโดยไม่สม่ำเสมอจะไม่เป็นอันตรายแก่ลูกกระบือ เช่น ให้น้ำนมเหลืองวันนี้น้อย พรุ่งนี้ไม่ให้ แล้ววันต่อมาให้น้ำนมเหลืองตลอดวันและไม่ให้ในวันต่อไป ก็จะไม่มีอันตรายแก่ลูกกระบือเลย การให้น้ำนมเหลืองส่วนที่เหลือได้ผลมากที่สุด คือ ในอายุเดือนแรก แต่จะให้ได้จนถึงอายุ 6 เดือน


    • Update : 11/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch