หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงโคขุน-3

     

    การสุขาภิบาลโคขุน

              การสุขาภิบาล หมายถึง การจัดการใดๆ ที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและตัวโค เพื่อทำให้โคอยู่สบาย สุขภาพดี ซึ่งส่งผลให้มีการเจริญเติบโตดีตามไปด้วย ได้แก่ การเลือกแบบ ขนาดและความสะดวกของโรงเรือน อาหารและการให้อาหาร การถ่ายเทอากาศ และพาหะนำโรคต่างๆ


    ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับโคขณะขุน

     
    1.
    ท้องเสีย อาจเกิดจากอาหาร เช่น เปลี่ยนอาหารกินกากน้ำตาลมากเกินไป กินเกลือมากเกินไป ได้รับสารพิษ สาเหตุจากพยาธิ จากโรคบิด เป็นต้น
     
    2.
    ท้องขึ้นหรือท้องอืด อาจเกิดจากปริมาณแก๊สในกระเพาะมากเกินไปจนระบายออกไม่ทัน เนื่องจากโคกินหญ้าสดที่อวบน้ำมากเกินไป
     
    3.
    โรคปอดบวม อาจเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิปอด อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป หรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในทางเดินหายใจ
     
    4.
    มีบาดแผล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ถูกของมีคมบาด ขวิดกันเอง เป็นต้น
     
    5.
    เป็นฝี เกิดขึ้นเนื่องจากการอักเสบ แล้วเกิดเป็นหนองภายใน
     
    6.
    ตาอักเสบ อาจเกิดจากมีวัสดุทิ่มตา ขวิดกันเอง หรือเป็นการอักเสบมีเชื้อ โดยมีแมลงเป็นพาหะ
     
    7.
    กีบเป็นแผล อาจเป็นผลมาจากความชื้นแฉะของคอก ซึ่งจะพบปัญหานี้มากในฤดูฝน
     
    8.
    เกิดโรคระบาดต่างๆ การทำวัคซีนไม่ได้เป็นข้อประกันว่าจะคุ้มโรคได้ 100% โคอาจมีโอกาสติดโรคระบาดได้อีก เมื่อมีอาการของโรคต่างๆ จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ


    การป้องกันโรคและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของโค

     
    1.
    คัดเลือกเฉพาะโคที่มีคุณภาพ ลักษณะดี และปลอดจากโรคต่างๆ ไว้เลี้ยงหรือผสมพันธุ์
     
    2.
    ให้อาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีคุณค่าทางโภชนะ
     
    3.
    จัดให้มีการทำทะเบียน บันทึกสุขภาพของโคทุกตัว
     
    4.
    หมั่นสังเกตุสุขภาพของโค เมื่อมีความผิดปกติจะได้ทำการแก้ไขทันที
     
    5.
    เมื่อพบว่าโคตัวใดมีอาการผิดปกติ ให้แยกออกจากฝูง เพื่อสังเกตอาการและทำการรักษา
     
    6.
    ก่อนซือหรือนำโคตัวใหม่เข้ามาในฝูง ต้องแน่ใจว่าปลอดจากโรคต่างๆ แล้ว และควรแยกเลี้ยงต่างหากนอกฝูงเดิม ประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดต่อของโรค ซึ่งอาจติดต่อมาจากโคตัวใหม่
     
    7.
    ทำความสะอาดคอกเลี้ยง และบริเวณโดยรอบให้สะอาดอยู่เสมอ
     
    8.

    เมื่อโคที่อยู่ในฝูงเดียวกัน หรือบริเวณใกล้เคียงกันเป็นโรค ซึ่งมีอาการเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน และเป็นกับสัตว์อื่นมากขึ้นๆ ให้ตั้งข้อสังเกตว่าเกิดโรคระบาดขึ้นบริเวณนั้น ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ หรือปศุสัตว์อำเภอโดยด่วนที่สุด สำหรับสัตว์ป่วยให้แยกออกรักษาต่างหาก สัตว์ที่ตาย เมื่อสัตวแพทย์ตรวจแล้วควรทำลายโดยการฝังให้ลึก โรยด้วยปูนขาว หรือทำการเผาแล้วทำความสะอาดคอกและเครื่องมือต่างๆ ด้วยสารเคมีหรือยาฆ่าเชื้อ

    การสิ้นสุดการขุน

              ควรขุนแค่ระยะที่โคสร้างกล้ามเนื้อเต็มที่แล้ว (stor codition) ซึ่งเป็นระยะที่โคกำลังจะเริ่มสะสมไขมัน ไม่ต้องการให้ขุนโคให้อ้วนเกินไป เพราะถ้าขุนเกินระยะนี้แล้วอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มลดลง ทำให้ต้นทุนการขุนสูงขึ้น จากการศึกษาของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก นำห้นกัสิ้นสุดของโคขุนโดยประมาณตามพันธุ์ดังนี้

     
    ลูกผสมพื้นเมือง 50% ชาร์โรเล่ส์ 25% และบราห์มัน 25% หรือลูกผสมพื้นเมือง 50% และชาร์โรเล่สห์ 50% สิ้นสุดที่ประมาณ 300-350 ก.ก.
     
    ลูกผสมพื้นเมือง 25% บราห์มัน 25% ชาร์โรเล่ส์ 50% สิ้นสุดการขุนที่ประมาณ 350-400 ก.ก.
     
    โคพันธุ์ตาก 1, 2 และ 3 สิ้นสุดการขุนที่ประมาณ 450 ก.ก.

              ผู้เลี้ยงสามารถประเมินการสร้างกล้ามเนื้อจากโคมีชีวิตได้เอง โดยดูจาก 3 จุดจาด้านท้ายโคตามภาพได้แก่

     
    1)
    มองจากด้านท้าย แนวสันด้านบนที่โค้งมน แสดงว่ามีกล้ามเนื้ออยู่มากที่สุดแล้ว ไม่ควรมองเห็นท้อง
     
    2)
    กระดูกขาหน้า ควรเป็นรูปกระบอก มีกล้ามเนื้อเกาะนูน
     
    3)
    ท่ายืน ความห่างของช่วงขาหน้า และขาหลัง แสดงให้เห็นว่ามีกล้ามเนื้อซึ่งจะแยกขาแต่ละข้างให้ห่างจากลำตัว


    ดีเยี่ยม
    ปานกลาง
    ไม่ดี
    ช่วงกว้าง แนวบนโค้งมน
    ช่วงพื้นท้องกว้าง ยืนขาถ่างกว้าง
    มองไม่เห็นท้อง
    ไม่กว้างและโค้งมนเท่า
    เห็นกระดูกเชิงกราน ช่วงขาแคบ
    มองเห็นท้อง
    ช่วงบนแคบเรียวยาวถึงพื้นท้อง
    กระดูกเชิงกรานโปนมาก
    เห็นท้องได้ชัดเชน

              หรืออาจใช้มือสัมผัสที่จุดสัมผัส 3 แห่ง คือ (1) เหนือซี่โครง (2) ตามแนวสันหลังเหนือบริเวณสะโพก (3) จุดกระดูกหัวไหล่ โคที่สร้างกล้ามเนื้อเต็มแล้วเมื่อกดที่จุดดังกล่าวข้างต้นจะรู้สึกแข็ง เมื่อโคอ้วนขึ้นจะรู้สึกนุ่มขึ้น

               ในการดูด้วยสายตาว่าโคมีไขมันสะสมหรือไม่ ดูจากลักษณะต่างๆ ทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

              ดูด้านท้าย จะดีทีสุด ดูจากโคนหาง อัณฑะ และซอกขา โคที่ขุนกำลังพอดีเส้นแนวสะโพกด้านบนและซอกขาจะโค้งมน อัณฑะจะนูนเล็กน้อย ถ้ามีไขมันมากเส้นแนวสะโพกด้านบนจะขยายกว้างออกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมากขึ้น ส่วน 2 ข้างฐานโคนหางจะนูนขึ้น ซอกขาจะอวบเต็ม อัณฑะจะนูนมากขึ้น โคที่ยังไม่เต็มฐานโคนหางจะโปนขึ้น ซอกขาจะยังเหี่ยวย่นอยู่ อัณฑะยังไม่เต็ม เมื่อโคเดินจะเห็นมัดกล้ามเนื้อต่างๆ เคลื่อนไหวได้ชัดเจน


              ด้านหน้า ดูจากเสือร้องไห้ เสือร้องไห้เป็นจุดที่โครงกระดูกอยู่ต่ำสุดเป็ฯจุดที่กระดูกซี่โครงทั้งสองข้างมาเชื่อมกัน ที่จุดนี้จะมีกล้ามเนื้อเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นไขมัน โคที่โตพอดีเสือร้องไห้จะเต็มพอดี และอยู่สูงเหนือเข่า หากเสือร้องไห้เต็มแน่นจะเต็มไปด้วยไขมัน แสดงว่าจะมีไขมันสะสมในส่วนต่างๆ ของซากด้วย


              ด้านข้าง ดูจากพื้นท้อง พื้นท้องเป็นบริเวณที่ไม่มีกล้ามเนื้อ สันแนวพื้นท้องจากด้านหน้าควรเลาะเลียบตามแนวกระดูกซี่โครงไปจนถึงพื้นท้องด้านท้ายที่เป็นรอยต่อระหว่างซี่โครงกับสะโพก หากแนวพื้นท้องลึกต่ำลงแสดงว่ามีไขมันมาก

    ตลาดโคขุน

              เนื้อโคขุน จะมีลักษณะ คุณภาพ ความน่ากิน ดีกว่าโคเนื้อที่เลี้ยงแบบธรรมดา อีกทั้งทุนการเลี้ยงก็สูงกว่า ตลาดเนื้อโคขุนจึงได้แก่ ตลาดชั้นสูง ซึ่งนำไปทำอาหารฝรั่ง เช่น สเต็ก เนื้ออบ เป็นต้น สำหรับตลาดเนื้อโคทั่วไป ยังไม่มีการซื้อขายเนื้อตามคุณภาพ เมื่อขุนโคได้กำหนด และขนาด น้ำหนักที่ต้องการแล้ว จะต้องส่งเข้าโรงฆ่าทันที หากยังคงเลี้ยงต่อไปก็จะได้รับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า โคจะกินอาหารปกติแต่อัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวจะต่ำ ถ้าหยุดหรือลดอาหาร โคจะมีน้ำหนักตัวลดลง ฉะนั้นก่อนการตัดสินใจเลี้ยงโคขุน จะต้องมีตลาดที่แน่นอน


    ลักษณะโคที่พร้อมส่งตลาด

              เมื่อกล้ามเนื้อของโคเจริญเกือบเต็มที่แล้ว ร่างกายจะเริ่มสะสมไขมันทั้งแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อและหุ้มอยู่นอกกล้ามเนื้อ จะสังเกตได้จากภายนอกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณอก และซอกขาหน้าสองข้างของโคนหาง ไหล่ หากบริเวณต่างๆ ดังกล่าว เต็มแล้ว โคก็จะมีการเจริญเติบโตต่อไปในอัตราน้อย ถึงแม้จะได้รับอาหารมาก จึงเป็นจุดที่ไม่คุ้มทุนหากจะเลี้ยงต่อไป


    แนวโน้มตลาดเนื้อโคขุนในอนาคต

              แนวโน้มของตลาดเนื้อโคในอนาคต ตลาดจะมีความต้องการเนื้อโคตามคุณภาพสูงขึ้น เนื่องจาก

      - พื้นที่ ที่ปล่อยเลี้ยงโคแบบไม่ต้องลงทุนมาก ลดน้อยลงทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงในระบบโคขุนมากขึ้น
      - ผู้บริโภคมีความรู้และเลือกซื้อเนื้อตามคุณภาพมากขึ้น
      - ต้นทุนการเลี้ยงโคขุนในอนาคตจะต่ำลลง เพราะมีการปรับปรุงพันธุ์โคให้โตเร็วขึ้น
      - มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยและต้องการบริโภคเนื้อโคที่มีคุณภาพดีมากขึ้น
    การแบ่งเกรดซากโค

              เกรดคุณภาพซาก แบ่งออกเป้น 7 เกรดตามมาตรฐาน กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ดูจากไขมันแทรก ความแน่น สีเนื้อ และลักษณะเนื้อ
      1. ชั้นดีเยี่ยม (Prime) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุน้อย
      2. ชั้นดี (Choice) ระหว่าง 9-42 เดือน (3 ปีครึ่ง)
      3. ชั้นกลาง (Good) มีไขมันแทรกปานกลางถึงสูงสุด
      4. ชั้นทั่วไป (Standard)
      5. ชั้นตลาด (Commercial) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุมาก
      6. ชั้นพื้นบ้าน (Utility) อายุตั้งแต่ 42 เดือน เป็นต้นไป มีไขมันแทรก
      7. ชั้นต่ำและต่ำมาก (Cutter and Canner) ต่ำสุด ถึง สูงที่สุด


    ชิ้นส่วนที่ได้จากการชำแหละซากโคขุน

              การชำแหละซากแบบสากลจะได้ชิ้นส่วนต่างๆ คิดเป็นเปอร์เซนต์ซากโดยประมาณ ดังนี้
      สะโพก
    23
    %   พื้นอก
    8
    %  
      สันส่วนหน้า
    9
    %   พื้นท้อง
    5
    %  
      สันส่วนกลาง
    8
    %   อกหรือเสือร้องไห้
    5
    %  
      สันส่วนหลัง
    9
    %   แข้งหน้า
    4
    %  
      ไหล่
    26
    %   ไขมันหุ้มไต
    3
    %  




    ต้นทุนการเลี้ยงโคขุน

              ต้นทุนในการเลี้ยงโคขุนส่วนใหญ่จะเป็นค่าพันธุ์และค่าอาหาร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 81.63-86.55 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ค่าพันธุ์โคขึ้นอยู่กับพันธุ์และขนาดของโคที่ซื้อมาขุน ค่าอาหารขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัตถุดิบที่นำมาผสม ตลอดจนปริมาณการให้อาหารข้นซึ่งสอดคล้องกับระยะเวลาการขุนด้วย

     
    สรุป

              การเลี้ยงโคขุนสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรและสามารถยึดเป็นอาชีพได้ แต่เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงเรื่องตลาดเป็นปัจจัยสำคัญ ว่า เมื่อขุนโคเสร็จแล้วจะจำหน่ายให้ใคร ที่ไหน เพราะโคที่ขุนได้ขนาดหรือน้ำหนักเต็มที่แล้ว จำเป็นต้องขาย ถ้าเลี้ยงดูต่อไปจะขาดทุน นอกจากนั้น การเลี้ยงโคขุนยังมีปัจจัยหรือตัวแปรอีกหลายอย่างที่ทำให้เกษตรกรได้กำไรหรือขาดทุน เช่น ราคาโคที่ซื้อมาขุน ราคาโคที่ขายได้เมื่อขุนเสร็จแล้ว อัตราการเจริญเติบโตของโค ราคาอาหารข้น ราคาอาหารหยาบ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าดอกเบี้ย เป็นต้น ดังนั้น ก่อนที่เกษตรกรจะตัดสินใจเลี้ยงโคขุน ขอให้คิดถึงความพร้อมดังกล่าว หากมีข้อสงสัยหรือต้องการขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดที่อยู่ในท้องถิ่นของท่าน หรือสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์ โทร.0-2653-4468

    • Update : 10/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch