หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงโคขุน-1

    การเลี้ยงโคขุนคืออะไร

             การเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับค่าอาหารที่ค่อนข้างดีอย่างเต็มที่ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง คือนอกจากจะให้โคกินอาหารหยาบ (หญ้าหรือฟาง) แล้วยังมีการให้กินอาหารข้น (อาหารเสริม) เพิ่มเติมอีกด้วย ทำให้โคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี

    ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลี้ยงโคขุน

              การที่จะเลี้ยงโคขุนเพื่อให้ได้กำไรนั้น ท่านจะต้องพิจารณาและตอบคำถามต่างๆ ต่อไปนี้ว่าท่านจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ ถ้าท่านแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ ท่านก็จะสามารถเลี้ยงโคขุนได้ โดยไม่ขาดทุน คือ

    1.
    ท่านรักโคหรือไม่
     
    2.
    มีปัญหาทางสังคมหรือไม่
    3.
    มีทุนพอหรือไม่
     
    4.
    หาโคที่ดีมาขุนได้หรือไม่
     
    5.
    มีปัญหาเรื่องอาหารโคหรือไม่
     
    6.
    มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูโคขุนมากพอหรือไม่
     
    7.
    มีเวลาดูแลกิจการพอหรือไม่
     
    8.
    มีลู่ทางเรื่องตลาดหรือยัง


    ประเภทและธุรกิจการเลี้ยงโคขุน

              1. เลี้ยงแม่โคเพื่อผลิตลูก ขายให้กับผู้เลี้ยงโคขุน การเลี้ยงโคประเภทนี้ ผู้เลี้ยงจะต้องเลี้ยงแม่โคเพื่อใช้ผสมกับพ่อโคพันธุ์ดี หรือผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อของพ่อโคเนื้อพันธุ์ดี เพื่อผลิตลูกโคเพศผู้ที่มีลักษณะเหมาะสมต่อการขุน ส่วนลูกโคตัวเมียผู้เลี้ยงอาจจะคัดเอาไว้เป็นแม่ทดแทนในฝูงต่อไป
              2. เลี้ยงโคขุน ผู้เลี้ยงจะหาซื้อโครุ่นเพศผู้จากแหล่งต่างๆ มาขุนอาจเป็นการขุนแบบโคมัน ขุนลูกโคอ่อน หรือขุนโคขุนคุณภาพดี
              3. เลี้ยงแม่โคผลิตลูก และขุนเอง เป็นการเลี้ยงที่รวมเอาธุรกิจแบบที่ 1 และ 2 รวมกัน เมื่อมีลูกโคเพศผู้เกิดขึ้นก็จะนำมาขุนส่งโรงฆ่า

    ลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานเลี้ยงโคขุน

    (1) พิจารณาถึงความเป็นไปได้หรือความพร้อมของตนเองดังกล่าวแล้ว
    (2) ศึกษาวิธีการเลี้ยงโดยอ่านจากเอกสารต่างๆ หรือเข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งหน่วยงานราชการต่างๆ จัดขึ้น และควรจะไปเยี่ยมชมกิจการของเกษตรกรที่เลี้ยงโคขุนอยู่แล้ว
    (3) รวมกลุ่มผู้สนใจ การเลี้ยงโคขุนสำหรับเกษตรกรรายย่อยและรายขนาดกลางจะได้ผลดีต่อเมื่อมีการรวมกลุ่ม ซึ่งจะทำให้สะดวกและประหยัดในหลายๆ ด้าน เช่น การจัดซื้อลูกโคมาขุน การจัดซื้ออาหารและการดำเนินการเรื่องตลาดเพราะผู้ซื้อย่อมต้องการให้มีโคขุนป้อนตลาดอย่างต่อเนื่องและคุณภาพสม่ำเสมอ
    (4) ติดต่อตลาด ซึ่งควรทำในนามกลุ่ม
    (5) การเตรียมเงินทุน
    (6) จัดเตรียมแปลงหญ้า ต้องลงมือปลูกหญ้าก่อนที่จะนำโคเข้าคอกขุนประมาณ 2 เดือน
    (7) สร้างคอก
    (8) จัดเตรียมอาหารข้น
    (9) ซื้อโคเข้าคอก
    (10) ลงมือเลี้ยงโคขุน
    (11) วางแผนระยะยาว กล่าวคือคาดว่าในอนาคตจะมีผู้เลี้ยงโคขุนกันมากขึ้น คงจะหาซื้อลูกโคขุนได้ยากขึ้น หรือซื้อได้ในราคาแพง จึงควรจะวางแผนระยะยาว โดยหาซื้อแม่โคมาเลี้ยงไว้บ้าง หรือหาลู่ทางสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับผู้เลี้ยงโค

    วิธีการขุนโคเนื้อ
              วิธีขุนโค แบ่งออกเป็น 2 วิธี ตามการให้อาหารคือ

              1. การขุนด้วยการให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องได้รับหญ้าสดที่มีคุณภาพดี อาจตัดให้กินหรือปล่อยเลี้ยงในทุ่งหญ้า การขุนวิธีนี้ไม่แตกต่างกับการเลี้ยงโคเนื้อทั่วไปมากนัก จะต้องใช้ระยะเวลานานในการเพิ่มน้ำหนักตัวตามต้องการ อีกทั้งยังได้เนื้อที่ไม่ค่อยมีคุณภาพดีเท่าที่ควร แต่ก็อาจเหมาะสมกับความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ซึ่งไม่ต้องการบริโภคเนื้อที่มีคุณภาพสูงมากนัก แลค่าใช้จ่ายในการขุนวิธีนี้ก็ยังต่ำอีกด้วย
              2. การขุนด้วยอาหารหยาบ เสริมด้วยอาหารข้น เป็นธุรกิจการขุนโคที่ต้องลงทุนสูง มุ่งให้ได้เนื้อโคขุนคุณภาพดี ส่งขายให้กับตลาดเนื้อชั้นสูง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามอายุและคุณภาพเนื้อที่ได้ดังนี้ คือ

                2.1 การขุนลูกโคอ่อน เพื่อส่งโรงฆ่าเมื่ออายุน้อย ส่วนใหญ่นิยมใช้ลูกโคนมเพศผู้ เริ่มขุนตั้งแต่ลูกโคอายุ 1 สัปดาห์ หรือหลังจากได้รับนมน้ำเหลืองตามกำหนดแล้ว อาหารที่ใช้ลงทุนจะใช้หางนมผงเป็นหลัก ใช้เวลาขุนจนลูกโคมีอายุประมาณ 6-8 เดือน โคจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้เนื้อที่คุณภาพดี เมื่อส่งโรงฆ่า
                2.2 การขุนโคที่เริ่มขุนเมื่อโคมีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือมีน้ำหนักประมาณ 200-250 ก.ก. ใช้ระยะเวลาขุนประมาณ 6 เดือน ให้ได้น้ำหนัก 400-450 ก.ก. แล้วส่งโรงฆ่า เป็นรูปแบบการขุนที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นิยมใช้โคเนื้อลูกผสมที่ทดสอบแล้วว่า มีการเจริญเติบโตดี คุณภาพเนื้อที่ได้จะดีกว่าการขุนในรูปแบบอื่นมาก และเกษตรกรหันมายึดเป็นอาชีพกันมากขึ้นในปัจจุบัน
                 2.3 การขุนโคที่มีอายุมาก หรือ โคที่โตเต็มวัยแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นโคที่ปลดจากการใช้แรงงาน ซึ่งมีอายุมักจะไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นการขุนเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อเพียงบางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มไขมันหุ้มซาก โดยไม่สนใจไขมันแทรกในเนื้อ จะใช้เวลาในการขุนประมาณ 3 เดือน โคที่ได้จากการขุนประเภทนี้ โดยทั่วไปนิยมเรียกกว่า "โคมัน"
    การเตรียมโคก่อนขุน

              ทำความสะอาดคอกที่จะขุน เตรียมที่ให้น้ำ และรางอาหารให้พร้อม นำโคเข้าคอกขุน ถ่ายพยาธิทั้งภายใน-นอก ฉีดวัคซีนตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดให้ทำในพื้นที่นั้นๆ ระยะ 21 วันแรกเป็นระยะให้โคปรับตัวกับการกินอาหารข้น (Pretest) โดยให้อาหารดังนี้
      วันที่ 1 ให้โคกินอาหารข้น 1 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
      วันที่ 2 ให้โคกินอาหารข้น 2 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
      วันที่ 3 ให้โคกินอาหารข้น 3 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
      วันที่ 4 ให้โคกินอาหารข้น 4 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
      วันที่ 5 จนถึงวันที่ 21 ให้กินวันละ 4 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
      วันที่ 22 เป็นวันเริ่มต้นขุน ให้โคกินเต็มที่ ร่วมกับอาหารข้นและอาหารหยาบ


     การวัดรอบอกเพื่อประมาณน้ำหนัก

             ผู้ขุนควรทราบน้ำหนักโคที่ขุนเป็นระยะๆ เพื่อที่จะประมาณการใช้อาหารข้นและทราบความเจริญเติบโตในระยะต่างๆ ผู้เลี้ยงรายย่อยส่วนใหญ่ไม่มีตาชั่งขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ชั่งโคได้ ให้วัดความยาวรอบอกโดยใช้เชือกวัดที่หลังซอกขาหน้าติดกับหลังหนอก ดึงเชือกให้ตึงตามภาพที่ 3 นำเชือกไปวัดหาความยาวจากตลับเมตรหรือสายวัด อ่านหน่วยความยาวเป็นเซนติเมตร จากความยาวดังกล่าวาามารถนำไปหาน้ำหนักโคโดยประมาณได้จากตารางที่ 1
    ตารางที่ การประเมิรน้ำหนักโคมีชีวิต สำหรับโคลูกผสมเพศผู้ไม่ตอน
    รอบอก
    (ซ.ม.)
    น้ำหนัก
    (ก.ก.)
    รอบอก
    (ซ.ม.)
    น้ำหนัก
    (ก.ก.)
    รอบอก
    (ซ.ม.)
    น้ำหนัก
    (ก.ก.)
    รอบอก
    (ซ.ม.)
    น้ำหนัก
    (ก.ก.)
    รอบอก
    (ซ.ม.)
    น้ำหนัก
    (ก.ก.)
    90
    91
    92
    93
    94
    95
    96
    97
    98
    99
    100
    101
    102
    103
    104
    105
    106
    107
    108
    61
    63
    66
    68
    70
    72
    75
    77
    79
    81
    74
    76
    88
    90
    92
    95
    97
    99
    101
    109
    110
    111
    112
    113
    114
    115
    116
    117
    118
    119
    120
    121
    122
    123
    124
    125
    126
    127
    104
    106
    108
    110
    113
    115
    117
    119
    121
    126
    129
    131
    134
    137
    145
    148
    151
    155
    159
    128
    129
    130
    131
    132
    133
    134
    135
    136
    137
    138
    139
    140
    141
    142
    143
    144
    145
    146
    162
    166
    169
    1782
    173
    179
    183
    186
    190
    198
    202
    206
    210
    221
    225
    229
    234
    238
    243
    147
    148
    149
    150
    151
    152
    153
    154
    155
    156
    157
    158
    159
    160
    161
    162
    163
    164
    165
    248
    252
    257
    262
    267
    272
    277
    282
    287
    292
    297
    302
    308
    313
    319
    324
    330
    335
    341
    166
    167
    168
    169
    170
    171
    172
    173
    174
    175
    176
    177
    178
    179
    180
    181
    182
    183
    184
    237
    353
    359
    365
    371
    377
    383
    389
    395
    402
    408
    414
    421
    127
    434
    441
    448
    455
    462

    ที่มา : ปรารถนา 2533

    • Update : 10/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch