หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงโคเนื้อ-5

              เป็นระยะที่ลูกโคโตเต็มที่แล้วและเตรียมตัวหย่านม หากลูกโคกินหญ้าและอาหารได้เก่งแล้ว แม่โคก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำรุงร่างกายเท่านั้น ระยะนี้ความต้องการอาหารเพื่อเลี้ยงลูกในท้องยังน้อยอยู่ แม่โคจึงต้องการอาหารน้อยกว่าระยะอื่น สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงโดยให้อาหารคุณภาพต่ำได้ ถ้าให้อาหารคุณภาพดีอาจทำให้แม่โคอ้วนเกินไป แต่ก็ควรระวังอย่าให้แม่โคผอม ควรมีไขมันสะสมอยู่บ้าง

              ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตากได้ให้อาหารแม่โคอุ้มท้องตามตารางที่ 3 โดยในฤดูฝนให้หญ้าสดเป็นหลัก ให้อาหารข้นเสริมบ้างตามสภาพของแม่โค ฤดูแล้งให้หญ้าหมักเป็นหลักเสริมด้วยอาหารข้นตัวละประมาณ 2 ก.ก. นอกจากมีหญ้าหมัดไม่เพียงพอก็ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยรำหยาบและอาหารข้น อาหารข้นที่เสริม อาจปรับใช้ตามวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและให้มีราคาถูกที่สุดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยคำนวณให้มีโภชนะหรือคุณค่าทางอาหารได้ตามความต้องการของแม่โค

    ตารางที่ 3 การให้อาหารแม่โคอุ้มท้องของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก

    ฤดูฝน
    ฤดูแล้ง
    หญ้าสด
    อาหารข้น
    (ขึ้นกับสภาพแม่โค หากสมบูรณ์ดีก็ไม่ต้องเสริมอาหารข้น)
    30 ก.ก./ตัว
    0.7-1ก.ก./ตัว
    หญ้าหมัก
    อาหารข้น
    30 ก.ก./ตัว
    2 ก.ก./ตัว
    ฟางข้าว
    รำหยาบ
    อาหารข้น
    6 ก.ก./ตัว
    2 ก.ก./ตัว
    1.8 ก.ก./ตัว
    หมายเหตุ : อาหารข้นโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14%, คิด น.น.แม่ 500 ก.ก. กินวัตถุแห้ง (dry matter) 10.1 ก.ก.

     

              เป็นระยะที่สำคัญอีกระยะหนึ่งของแม่โค เพราะเป็นระยะที่ลูกในท้องเจริญเติบโตถึง 70-80% และแม่โคเตรียมตัวให้นมด้วย ถ้าให้อาหารคุณภาพไม่ดี แม่โคจะสูญเสียน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้การกลับเป็นสัดหลังคลอดช้าลง มีผลทำให้ไม่ได้ลูกปีละตัว ระยะนี้ควรให้แม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยน้ำหนักที่จะสูญเสียเมื่อคลอด โดยเฉพาะโคสาวเป็นสิ่งจำเป็นมาก
     
    การให้อาหาร
     

              แม่โคท้องใกล้คลอดจะกินอาหารน้อยกว่าเมื่อไม่ท้อง 12-13% แต่การกินอาหารจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังคลอด ดังนั้นระยะนี้จึงจำเป็นต้องให้อาหารคุณภาพดี หรือหากจำเป็นต้องให้อาหารเสริมเพื่อชดเชยจำนวนอาหารที่แม่โคกินน้อยลง ถ้าให้อาหารพลังงานไม่เพียงพอจะมีผลทำให้อัตราการผสมติดต่ำ อัตราการตายของลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมสูง น้ำหนักลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมต่ำ ดังนั้น ควรแยกเลี้ยงดูต่างหาก ให้โคได้กินอาหารคุณภาพดีและทำให้แม่โคฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็ว


    การคลอด
     

              ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ควรแยกแม่โคให้อยู่ในคอกที่สะอาด มีฟางหรือหญ้าแห้งรอง หรือให้อยู่ในแปลงหญ้าที่สะอาดสามารถดูแลได้ง่าย ปกติแม่โคจะตั้งท้องเฉลี่ย 282 วัน (274-291 วัน) ถ้าเลยกำหนดคลอดแล้ว 10 วัน และแม่โคยังไม่คลอดต้องสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด

     
    ท่าคลอดปกติ
              ลูกโคที่คลอดปกติจะเอาเท้าหน้าโผล่หลุดออกมาก่อน แล้วตามด้วยจมูก ปาก หัว ซึ่งอยู่ระหว่างขาหน้า 2 ขา ที่โผล่ออกมาในท่าพุ่งหลาว การคลอดท่าอื่นนอกจากนี้เป็นการคลอดที่ผิดปกติอาจต้องให้ความช่วยเหลือ ควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ดำเนินการ

               แม่โคส่วนใหญ่ไม่จำเป็นการช่วยในการคลอด ควรอยู่ห่างๆ ไม่ควรรบกวนแม่โค แม่โคควรคลอดลูกออกมาภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากที่ถุงน้ำคร่ำปรากฎออกมา หากช้ากว่านี้ควรให้การช่วยเหลือ หากไม่คลอดภายใน 4 ชั่วโมง ลูกจะตาย หลังจากคลอดลูก 8-12 ชั่วโมง ถ้ารกยังไม่หลุดออกมาแสดงว่ารกค้าง ต้องให้สัตวแพทย์มาล้วงออกและรักษาต่อไป

     
    การจัดการเลี้ยงดู
     

              เมื่อลูกโคคลอดควรให้ความช่วยเหลือโดยเช็ดตัวให้แห้ง จัดการเอาน้ำเมือกบริเวณปากและจมูกออกให้หมด จับขาหลังยกให้ลูกโคห้อยหัวลงตบลำตัวเบาๆ จนลูกโคร้อง หากลูกโคหายใจไม่สะดวกอาจต้องช่วยหายใจด้วยการเป่าปาก เมื่อลูกโคยืนได้ ให้ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 3 - 6 ซ.ม. ใช้กรรไกรที่สะอาดตัดแล้วใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีนชุบสายสะดือ

              คอยดูให้ลูกโคได้กินน้ำนมแม่ให้เร็วที่สุด เพราะนมโคระยะแรกที่เรียกว่า นมน้ำเหลือ จะมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ถ่ายทอดมาสู่ลูก หากลูกโคไม่สามารถดูดนมกินเองได้ควรรีดนมจากแม่มาป้อนให้ลูกกินจนแข็งแรง

              ไม่ควรปล่อยให้แม่และลูกโคไปตามฝูง ควรจัดหาอาหารและน้ำดื่มกักไว้แยกต่างหากจากฝูงจนกว่าลูกโคจะแข็งแรงดีแล้วจึงปล่อยตามฝูง


    การคลอด
     

              ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ควรแยกแม่โคให้อยู่ในคอกที่สะอาด มีฟางหรือหญ้าแห้งรอง หรือให้อยู่ในแปลงหญ้าที่สะอาดสามารถดูแลได้ง่าย ปกติแม่โคจะตั้งท้องเฉลี่ย 282 วัน (274-291 วัน) ถ้าเลยกำหนดคลอดแล้ว 10 วัน และแม่โคยังไม่คลอดต้องสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด

      การปฏิบัติเลี้ยงดูลูกโคอื่นๆ ควรทำดังนี้
     
    1) ฝูงที่มีโคจำนวนมากคนเลี้ยงอาจจำโคได้ไม่หมดจึงควรติดเบอร์หูหรือทำเครื่องหมายลูกโคโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะมีประโยชน์ในการจัดทำประวัติโคในฝูงปรับปรุงพันธุ์ควรชั่งน้ำหนักแรกเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด

    เบอร์หูโคแบบพลาสติก
    2) เมื่อลูกโคอายุ 3 สัปดาห์ ควรถ่ายพยาธิตัวกลม และถ่ายซ้ำอีกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจสุ่มหาไข่พยาธิดูก่อนก็ได้
    3) ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ (บรูเซลโลซีส) แก่ลูกโคเพศเมีย อายุ 3 - 8 เดือน แล้วเจาะรูที่หูข้างขวาของโค 2 รู
    เมื่อลูกโคอายุ 3 - 8 เดือน ทำการฉีดวัคซีนโรคแท้งให้กับลูกโคเพศเมียทุกตัว
    เมื่อลูกโคอายุ 4 เดือน ทำการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย
     
    การให้อาหารข้นเสริมแก่ลูกโคเล็ก (creep feed)

              ลูกโคจะเริ่มหัดกินหญ้าและอาหารเมื่ออายุประมาณ 2 - 3 เดือน เนื่องจากแม่โคจะให้นมได้สูงสุดในระยะนี้ หลังจากนี้จะเริ่มผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงลูกโคลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่ลูกโคเติบโตขึ้นทุกวัน ลูกโคจึงจำเป็นต้องกินอาหารอื่นทดแทน ลูกโคที่กินหญ้าและอาหารได้เร็วก็จะเติบโตได้เต็มที่ การให้อาหารข้นเสริมจะทำให้ลูกโคโตเร็วขึ้น มีน้ำหนักหย่านมสูงกว่าเมื่อไม่ได้ให้อาหาร

              ลูกโคอายุต่ำกว่า 3 เดือน ให้กินอาหารได้เต็มที่ แต่ถ้าอายุมากกว่า 3 เดือน ควรเพิ่มอาหารให้ทีละน้อยและค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลูกโคทุกตัวเริ่มกินอาหาร แต่ถ้าลูกโคมีขนาดต่างกัน อาจจำเป็นต้องแยกกลุ่มลูกโคตามขนาด

              ที่ให้อาหารลูกโคควรอยู่ใกล้กับบริเวณคอกแม่โคอยู่เพื่อที่ลูกโคจะได้เข้าไปลองกินอาหารได้สะดวก โดยทำช่องให้ลูกโคลอดเข้าไปกินอาหารได้กว้างประมาณ 400 - 450 มม. พื้นที่บริเวณให้อาหารประมาณ 30 ซ.ม./3 ตัว ให้อาหารข้นโปรตีนมากกว่า 20% ให้กินตัวละประมาณ 600 - 800 กรัม
       
    การทำลายเขาโค

             การมีเขาของโคไม่ได้มีผลดีทางเศรษฐกิจและอาจทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น

      1) เกิดอันตรายต่อผู้เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง
      2) โคมักขวิดกันเอง ทำให้เกิดบาดแผล เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการรักษา
      3) โคบางตัวอาจมีเขายาวโง้งเข้ามาทิ่มแทงใบหน้าหรือตาตนเองได้
      4) อาจเกิดอุบัติเหตุเขาเข้าไปติดหรือขัดกับคอก อาจทำให้ถึงตายได้
      5) โคบางตัวเขากางออก ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่รางอาหาร คอก และการขนส่ง

              การทำลายเขาโคยิ่งทำเมื่ออายุน้อยเท่าใดก็ยิ่งดี เพราะจะลดความเจ็บปวดจากบาดแผลที่เกิดขึ้น การจับยึดก็ทำได้ง่าย การทำลายเขาลูกโคมีวิธีการต่างๆ เช่น

              1. ใช้สารเคมี

              ส่วนใหญ่ใช้โซดาไฟ อาจใช้แบบแห้งที่มีรูปแบบเหมือนชอล์คเขียนกระดาน หรือใช้แบบของเหลวข้นคล้ายยาสีฟันก็ได้ ควรทำเมื่อลูกโคอายุไม่เกิน 10 วัน ตัดขนบริเวณรอบๆ ปุ่มเขาออก ใช้ขี้ผึ้งหรือจารบีทารอบๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โซดาไฟไหลเยิ้มไปถูกบริเวณอื่น ทาเป็นวงกว้างๆ ถ้าเป็นโซดาไฟชนิดแห้งต้อทำให้ปุ่มเขาชื้นเล็กน้อยแล้วเอาแท่งโซดาไฟถูบริเวณปุ่มเขาจนมีเลือดซึมเล็กน้อย ใช้เวลาประมาณ 15 วินาที ถ้าเป็นโซดาไฟชนิดเหลวข้นต้องขูดปุ่มเขาเล็กน้อยให้เป็นรอยเพื่อเอาไขมันที่ปกคลุมอยู่ออก แล้วเอาโซดาไฟเหลวทาบนปุ่มเขา ในพื้นบ้านใช้ปูนแดงกับสบู่กรดในปริมาณเท่าๆ กัน กวนผสมน้ำจนเหลวคล้ายยาสีฟัน ใช้แทนโซดาไฟเหลว แยกลูกโคออกจากแม่อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพื่อไม่ให้แม่เลียออก

              หลังจากทาแล้ว 2 - 3 วัน ปุ่มเขาจะเกิดสะเก็ดหนา ภายใน 10 วัน สะเก็ดจะหลุดออกไม่มีแผลเปิด แต่ถ้าใช้สารเคมีมากเกินไปหรือถูแท่งโซดาไฟแรงเกินไป หรือสะเก็ดขูดลอกออกก็อาจมีแผลได้ ให้ทำการรักษาแผล

              2. ใช้ความร้อนทำลาย

              ทำได้กับลูกโคที่อายุประมาณ 3 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน ใช้เหล็กหรือวัสดุที่ประดิษฐ์เป็นรูปทรงกระบอก ตรงปลายบุ๋มโค้งเข้าเพื่อให้ครอบสนิทกับปุ่มเขา จับลูกโคให้มั่นแล้วตัดขนบริเวณปุ่มเขา นำที่จี้เขาไปเผาไฟจนร้อนจัดแล้วนำมาจี้โดยหมุนวนไปเรื่อยๆ ปุ่มเขาที่โผล่ขึ้นมาเล็กน้อย แต่ไม่กดเช่นเดียวกับการตีเบอร์ ใช้เวลาประมาณ 3 วินาทีขึ้นอยู่กับปุ่มเขา หากเป็นเขาที่งอกออกมาหนาแล้ว ควรใช้มีดคมๆ ปาดออกก่อนแล้วจึงจี้ซ้ำอีกครั้งจึงจะทำลายปุ่มเขาได้สำเร็จ เสร็จแล้วใช้น้ำมันมะพร้าวชะโลมที่แผล

              เครื่องมือตามภาพ เป็นแบบเหล็กใช้เผาไฟ ด้านบนเป็นเครื่องจี้เขาไฟฟ้า เมื่อจะนำไปเสียบปลั๊กไฟให้ตอนปลายร้อนแดงแทนการเผาไฟ
    ที่จี้เขาลูกโคแบบใช้ความร้อนทำลาย

    การตอนโค
     
              ลูกโคตัวผู้ที่ไม่ต้องการใช้หรือขายทำพันธุ์ หรือเพื่อใช้ทำงาน ควรตอนเมื่ออายุประมาณ 5 - 6 เดือน โคตัวผู้ที่ต้องการใช้ทำงานควรตอนเมื่ออายุประมาณ 3 - 4 ปี เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนหน้าของร่างกายโคได้พัฒนาตามลักษณะของโคตัวผู้อย่างเต็มที่ก่อน กล้ามเนื้อส่วนหน้าจะทำให้โคทำงานได้แข็งแรง

              การตอนสามารถทำได้โดยการทุบแบบพื้นบ้าน การผ่าเอาลูกอัณฑะออก แต่วิธีที่ปลอดภัยคือ การตอนโดยใช้คีม ที่เรียกว่า "เบอร์ดิซโซ่ (Burdizzo) โดยใช้คีมหนีบให้ท่อนำน้ำเชื้อเหนือลูกอัณฑ์อุดตัน
    การตอนโคโดยใช้คมเบอร์ดิซโซ่
     
    การหย่านมลูกโค
     

              เกษตรกรโดยทั่วไปมักปล่อยให้ลูกโคอยู่กับแม่จนโตกรทั่งแม่โคคลอดลูกตัวใหม่ ซึ่งจะมีผลเสียทำให้แม่โคขณะอุ้มท้องใกล้คลอดมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ เพราะต้องกินอาหารเพื่อเลี้ยงทั้งลูกโคที่กำลังอยู่ในท้องและลูกโคตัวเดิมอีกด้วย ดังนั้นจึงควรหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 6 เดือนครึ่ง ถึง 7 เดือน แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงสุขภาพของลูกโคและแม่โคด้วย เมื่อหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 200 วัน ควรได้น้ำหนักหย่านมเฉลี่ย 180 ก.ก.

              โดยปกติ หากหย่านมลูกโคเร็วเท่าใดก็จะทำให้แม่โคมีโอกาสฟื้นฟูสุขภาพเร็วเท่านั้น ลูกโคที่โตเร็วก็สามารถหย่านมได้เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน จะมีผลให้แม่โคสุขภาพไม่ทรุดโทรมมากนัก

              หากแม่โคผอมมากไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ต่อไป ควรหย่านมก่อนกำหนดได้ ลูกโคที่ขนหยอง แสดงว่าแม่มีนมไม่พอเลี้ยงลูก ควรรีบหย่านมนำมาเลี้ยงดูต่างหาก การหย่านมลูกโคที่อายุต่ำกว่า 5 สัปดาห์ จะต้องให้อาหารนมหรืออาหารแทนนมแบบเดียวกับการเลี้ยงลูกโคนม ควรให้ลูกโคกินอาหารหยาบพวกหญ้าไม่เกิน 15% วัตถุแห้งของอาหารลูกโค ถ้ามากกว่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารข้นลดลงเพราะจะไปแย่งเนื้อที่ในกระเพาะ ปริมาณอาหารข้นไม่ควรต่ำกว่า 50% แต่ควรเป็น 85% วัตถุแห้ง ถ้าจำเป็นที่ต้องให้ปลาหรือเนื้อป่นในอาหารเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนก็ควรจะรอให้ลูกโคกินอาหารเก่งเสียก่อนจึงค่อยผสมในอาหาร เพราะจะไปลดความน่ากิน การเลี้ยงลูกโคขนาดเล็กดังกล่าวต้องใช้อาหารคุณภาพดีซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรหย่านมลูกโคเร็วเกินไป

              ลูกโคที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจหย่านมช้าลง โดยให้อยู่กับแม่ไปจนถึงอายุ 8 เดือน แต่ก็จะทำให้แม่โคมีสุขภาพทรุดโทรมมาก มีผลทำให้เมื่อคลอดลูกตัวใหม่แล้วจะกลับเป็นสัดช้าลง ระยะเวบลาในการให้ลูกตัวต่อๆ ไปจะห่างขึ้น ก่อนหย่านมควรให้ลูกโคได้มีโอกาสกินหญ้าในแปลงที่มีคุณภาพดี ในขณะที่แม่โคได้กินหญ้าคุณภาพต่ำกว่า แต่ลูกโคสามารถมาหาแม่ได้ตามที่ต้องการ ช่วงลอดระหว่างแปลงห่างประมาณ 400 - 450 มม. เมื่อหย่านมแล้วควรแน่ใจว่ามีอาหารให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ ถ้ายังไม่พร้อมก็ยังไม่ควรหย่านม ระยะหย่านมและหลังหย่านมควรมีอาหารคุณภาพดีให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ


              หย่านมโดยแยกลูกโคจากแม่ นำไปขังในคอกที่แข็งแรง ควรให้แม่โคอยู่ในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีรั้วกั้นซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นเวลา 3 - 5 วัน เพราะหากให้ไปอยู่ไกลแม่โคส่วนหนึ่งจะแหกรั้วหรือคอกมาหาลูก หลังจาก 3 - 5 วัน แม่โคจะเริ่มยอมรับสภาพและค่อยๆ ห่างไปจนสามารถต้อนไปแปลงหรือคอกที่ห่างไกลได้

              ขังลูกไว้ในคอกประมาณ 7 - 10 วัน โดยให้กินอาหารข้นและอาหารหยาบอย่างเต็มที่ คอกลูกโคหย่านมจะต้องอยู่ห่างจากคอกแม่พันธุ์ ระยะนี้เป็นการฝึกให้ลูกโคคุ้นเคยกับการให้อาหาร แร่ธาตุ การเข้าคอกคัด การพ่นเห็บหรือซองต่างๆ การไล่ต้อน ซึ่งจะมีความสำคัญในการให้ประสบการณ์แก่โคไปตลอดที่สำคัญก็คือ ควรเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีความมั่นคงแข็งแรงไม่ให้ลูกโคหนีได้ หากลูกโคสามารถหนีได้จะติดนิสัยไปตลอด


    การตีเบอร์

              การติดเบอร์หูลูกโคอาจหลุดหายได้ ดังนั้นเมื่อหย่านมช่วงที่แยกไว้ควรทำเครื่องหมายถาวรโดยตีเบอร์โคที่ตะโพก ส่วนใหญ่จะตีที่ด้านซ้ายของโค การตีเบอร์มีแบบการตีเบอร์ร้อนและเบอร์เย็น การตีเบอร์ร้อนทำได้โดยนำเหล็กตีเบอร์เผาไฟแล้วนำมาประทับบนตัวโค การตีเบอร์เย็นใช้เหล็กตีเบอร์แช่ในน้ำแข็งแห้ง (dry ice) แทน ส่วนใหญ่ใช้การตีเบอร์ร้อนเพราะทำได้ง่ายและไม่เปลืองค่าใช้จ่าย

               การตีเบอร์ร้อนทำโดย จับโคบังคับให้อยู่กับที่ อาจล้มมัดขาทั้ง 4 ให้แน่ หรืออาจทำในซองบังคับโค เผาเหล็กตีเบอร์ให้ร้อนจัด ประทับเบอร์ลงบนผิวหนังโคโดยนาบไว้ประมาณ 2 - 3 วินาที อย่าใช้แรงกดเบอร์ลงไป เพราะความร้อนจะกระจาย ทำให้เนื้อบริเวณนั้นสุก จะเกิดการอักเสบเป็นแผลเน่าได้ เสร็จแล้วใช้ยาเหลืองทา
    การตีเบอร์โคโดยใช้เหล็กเผาไฟ


              คัดลูกโคที่สามารถใช้ทำพันธุ์ได้เก็บไว้เพื่อเลี้ยงไว้เป็นพ่อพันธุ์หรือขายทำพันธุ์ ลูกโคที่เก็บไว้ทำพันธุ์ควรมีน้ำหนักหย่านมเท่ากับหรือมากกว่าน้ำหนักหย่านมมาตรฐานของโคพันธุ์นั้นๆ และควรมีน้ำหนักหย่านมเกินค่าเฉลี่ยของฝูง ลูกโคที่เหลือจากการคัดไว้ทำพันธุ์อาจเก็บไว้เลี้ยงขุนขาย ลูกโคชุดนี้ควรสังเกตให้ดี ควรคัดตัวที่แคระแกร็นและลักษณะไม่ดีออกเสีย


              โคสาว หมายถึง โคเพศเมียที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (หรือน้ำหนักตั้งแต่ 240 ก.ก.) จนมีน้ำหนักถึง 280 ก.ก. (หรืออายุประมาณ 18 เดือน)

    การคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์

              ควรคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์ให้มากกว่าจำนวนแม่โคที่คัดออกไม่ต่ำกว่า 2 เท่า เพราะหลังจากการผสมในปีแรก อาจต้องคัดแม่โคสาวที่ให้ลูกตัวแรกออกอีกมาก เช่น คัดแม่โคออกปีละ 10 ตัว ควรคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์อย่างน้อยปีละ 20 ตัว การคัดโคสาวไว้มาก อาจทำให้ต้องลดจำนวนโคขนาดอื่นในฟาร์มลง แต่โคสาวที่คัดออกภายหลังก็มีราคาสูงกว่าเมื่อขายที่หย่านม การเลี้ยงไว้อาจคุ้มค่า คัดโคสาวที่มีลักษณะขาและเท้าไม่ดีออก ปล่อยให้โคเดินอย่างอิสระ ตรวจดูเท้าและกีบว่ามีขนาดเท่ากันหรือไม่ นอกจากนั้นควรดูตา ปาก และเต้านมด้วย โคที่ตื่นง่ายหรือไม่เชื่องควรคัดออกเพราะจะสร้างปัญหาในการเลี้ยงดู และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ โคสาวที่อ้วนเกินไปจะมีปัญหาการคลอดยากเนื่องจากลูกโคจะมีขนาดใหญ่มาก หากผอมเกินไปจะมีปัญหาเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของมดลูกและไม่มีแรงเมื่อคลอด
    โคสาว

              ให้คัดตัวที่มีลักษณะเพศเมียเอาไว้ก่อนเพราะเป็นโคที่มีโอกาสผสมติดสูงและผลิตน้ำนมได้มาก ลักษณะดังกล่าวได้แก่ มีหน้ายาว คอเรียวบาง โครงสร้างช่วงไหล่บางและหนังบาง ดูได้จากช่วงลำคอที่ราบเรียบ มีลักษณะคล้ายโคนมมากกว่าโคเจ้าเนื้อ ควรคัดโคที่มีลักษณะคล้ายโคตัวผู้ออก


    การผสมพันธุ์

              ระยะนี้ไม่ควรให้แม่โคสาวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง จึงควรให้อาหารแต่พอดี หากโคสาวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากก็สามารถเพิ่มจำนวนแม่โคในแปลงหญ้าได้อีก แต่สำหรับแม่โคที่เคยให้ลูกมาแล้วถ้าให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในระยะจากคลอดลูกถึงตลอดฤดูผสมพันธุ์จะทำให้มีอัตราการตั้งท้องสูงขึ้น

              หากผสมโดยใช้พ่อพันธุ์ควรคัดเลือกโคสาวที่จะผสมให้เข้าฝูงผสมและเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือเลี้ยงด้วยอาหารคุณภาพดีก่อนประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ ก่อนนำพ่อพันธุ์เข้าคุมฝูง พ่อพันธุ์ที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูง
     
    ระยะตั้งท้อง

              อัตราการเพิ่มน้ำหนักตลอดระยะเวลาตั้งท้องของแม่โคสาวไม่ควรเกิน 0.5 ก.ก./วัน นอกจากในช่วงท้ายของการตั้งท้องสามารถปล่อยให้เติบโตได้เต็มที่ เพราะหากจำกัดน้ำหนักเพื่อให้ลูกโคที่จะเกิดมีน้ำหนักน้อยก็ไม่มีผลในการลดการคลอดยาก แต่ถ้าแม่โคสาวมีน้ำหนักลดลงในช่วงนี้จะทำให้มีปัญหาในการคลอดยากเนื่องจากการไม่เจริญเติบโตของกระดูกเชิงกรานและการอ่อนแอเมื่อคลอด การคัดเลือกโคสาวที่มีกระดูกเชิงกรานใหญ่ สามารถช่วยลดอัตราการคลอดยากได้ ก่อนคลอด 2 - 3 เดือน ควรแยกเลี้ยงและคอยดูแลให้ดีตลอดระยะการคลอดและผสมพันธุ์

     
    การคลอดของแม่โคสาว

              ในระหว่างการคลอดหากแม่โคสาวถูกรบกวนอาจมีปัญหาในการคลอด ควรดูแลห่างๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรืออาจใช้กล้องส่องทางไกลส่องดูการเลี้ยงโคที่ใกล้คลอดไว้ในแปลงที่อยู่ใกล้จะช่วยให้การสังเกตได้สะดวกขึ้น แปลงควรอยู่ใกล้คอกด้วยหากมีปัญหาจะได้นำเข้าคอกเพื่อช่วยเหลือได้ง่าย

              โคสาวที่คลอดลูกตัวแรกที่อายุ 2 ปีประมาณเกือบ 50% อาจต้องช่วยเหลือ หากถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว 2 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมาควรให้การช่วยเหลือ ถ้าลูกโคคลอดเอาขาหลังออกหรือคลอดผิดท่า ควรให้ความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน แต่หากแม่โคยังแข็งแรงดีอยู่ อาจรออีกประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ายังไม่คลอดจึงควรให้การช่วยเหลือ

              โคสาวที่ต้องช่วยคลอดปกติจะทิ้งลูก จึงควรขังแม่และลูกไว้ในคอกเดียวกัน ไม่ควรเอาเข้าฝูงจนกว่าแม่จะยอมให้ลูกดูดนม บางทีอาจจำเป็นต้องขังแม่ไว้ในซองและบังคับให้ยอมให้ลูกดูดนมประมาณ 2 - 3 วัน

              โคสาวที่ลูกตายหรือแท้งลูกควรคัดออก เพราะโคที่ไม่ให้ลูกไม่คุ้มค่าที่จะเลี้ยงไว้ต่อไป

     
    การดูแลหลังคลอด

              แม่โคสาวที่คลอดลูกแล้วส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการกลับเป็นสัด วิธีที่ช่วยให้โคสาวกลับเป็นสัดเร็วทำได้โดยแยกโคสาวท้องก่อนคลอด 2 - 3 เดือน เลี้ยงดูให้ดีตามที่กล่าวมา อีกวิธีหนึ่งคือแยกลูกโคที่อายุ 30 - 90 วัน เพื่อลดความเครียดของแม่โค โดยเฉพาะแม่โคที่มีปัญหาในการคลอด แต่ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกโคค่อนข้างสูง ควรใช้เมื่ออาหารขาดแคลนหรือกับแม่โคที่มีปัญหาจริงๆ เท่านั้น หรืออีกวิธีหนึ่ง โดยแยกลูกโคออกแล้วปล่อยให้ดูดนมแม่เพียงวันละครั้ง จะทำให้แม่โคสาวกลับเป็นสัดเร็วขึ้นโดยไม่มีผลเสียต่อน้ำหนักหย่านมและสุขภาพลูกโค

              เมื่อลูกโคตัวแรกหย่านม คัดโคสาวที่ให้ลูกมีน้ำหนักดีไว้เนื่องจากแสดงว่าแม่โคให้น้ำนมดี แม่โคที่ให้น้ำนมดีในปีแรกจะให้น้ำนมดีในปีต่อๆ ไปด้วย ทั้งนี้ดูลักษณะอื่นด้วย เช่น การผสมติดเร็ว

              โคสาวที่ให้ลูกตัวแรกต้องการอาหารและการดูแลที่ดี ในปีถัดไปควรนำพ่อพันธุ์เขาผสมก่อนฝูงใหญ่ประมาณ 1 เดือน เพื่อกระตุ้นแม่โคที่ตกไข่ช้าให้เป็นสัด แล้วจึงนำเข้าร่วมกับฝูงใหญ่ในฤดูผสมปกติ

              ในปีถัดไป โคที่ไม่ท้องอีกควรคัดออกไม่ใช้เป็นแม่พันธุ์ในฝูงต่อไป อาจผสมซ้ำหรือปล่อยให้เลี้ยงลูกก่อนขาย

    • Update : 8/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch