หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงโคเนื้อ-4


              การเลี้ยงแม่โคให้มีสุขภาพดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการผสมติดของแม่โค และทำให้แม่โคให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ ความต้องการอาหารของแม่โคระยะต่างๆ แตกต่างกัน การจัดการเลี้ยงดูแม่โคสามารถจำแนกออกเป็นระยะต่างๆ ตามความต้องการอาหารของโคได้ 3 ระยะ ดังนี้

      ระยะที่ 1 จากคลอดลูก ถึง 3-4 เดือนหลังคลอด ซึ่งเป็นระยะผสมพันธุ์จนถึงตั้งท้อง
      ระยะที่ 2 ท้อง 4 - 6 เดือน
      ระยะที่ 3 ท้อง 3 เดือนก่อนคลอด เป็นระยะที่แม่โคท้องแก่จนถึงคลอดลูก

              แม่โคระยะที่ 1 จะมีความต้องการอาหารคุณภาพดีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ระยะที่ 3

     

              ระยะนี้เป็นระยะก่อนผสมพันธุ์ เมื่อผสมติดแล้วจะเริ่มตั้งท้องและแม่โคยังผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกที่ยังติดแม่อยู่ การให้อาหารมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับแม่โคระยะนี้ เพราะแม่โคต้องการอาหารสำหรับฟื้นฟูระบบอวัยวะสืบพันธุ์และผลิตน้ำนมดังกล่าว

    การให้อาหาร
     

              ระยะจากคลอดลูกถึงผสมพันธุ์ หากแม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจะทำให้การผสมติดดีขึ้นและลดระยะห่างของการให้ลูกลง แต่การทำให้โคเพิ่มน้ำหนักโดยให้อาหารข้นเสริมต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้าให้แม่โคได้กินหญ้าอ่อนในแปลง 3-4 สัปดาห์ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ แม่โคจะเริ่มทำน้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีการผสมพันธุ์ดีขึ้น เมื่อแม่โคคลอดแล้วจะกินอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตารางที่ 2 เป็นการให้อาหารแม่โคอุ้มท้องของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก


              ตารางที่ 1 ตัวอย่างปริมาณการให้อาหารแม่โคอุ้มท้องโดยให้อาหารหยาบเป็นหลัก

    ฤดูฝน
    ฤดูแล้ง
    หญ้าสด
    อาหารข้น
    30 ก.ก./ตัว
    1.8 ก.ก./ตัว
    หญ้าหมัก
    อาหารข้น
    30 ก.ก./ตัว
    1.8 ก.ก./ตัว
    ฟางข้าว
    รำหยาบ
    อาหารข้น
    6 ก.ก./ตัว
    1.5 ก.ก./ตัว
    2.7 ก.ก./ตัว
    หมายเหตุ : อาหารข้นโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14%, คิด น.น.แม่ 400 ก.ก. กินวัตถุแห้ง (dry matter) 8.9 ก.ก.

    การผสมพันธุ์
     

              เมื่อคลอดแล้วปกติแม่โคจะกลับเป็นสัดอีกภายใน 30 - 50 วัน แต่ควรผสมหลัง 60 วัน การผสมภายใน 40 วันหลังคลอดอาจมีปัญหาทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ควรผสมหลัง 60 วัน การที่จะให้แม่โคให้ลูกปีละตัว แม่โคจะต้องได้รับการผสมอีกภายใน 80 วัน ถ้าแม่โคผอมจะกลับเป็นสัดช้าลง

              แม่โคจะผสมติดได้จะต้องอยู่ในระยะที่เป็นสัดซึ่งเป็นระยะที่แม่โคจะแสดงอาการมีอารมณ์ทางเพศและพร้อมที่จะยอมให้ผสม แม่โคที่เป็นสัดจะมีอาการกระวนกระวายกว่าปกติ ไล่ขึ้นทับตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ อวัยวะเพศจะบวมกว่าปกติ ผนังด้านในช่องคลอดเมื่อใช้เมือเปิดออกดูจะมีสีชมพูออกแดง ในช่วงต้นของการเป็นสัดอาจมีเมือกใสๆ ไหลออกมาก ในช่วงหลังๆ น้ำเมือกจะข้นและเหนียวขึ้น แม่โคจะเป็นสัดอยู่นานประมาณ 24 - 36 ช.ม. ถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติด อีกประมาณ 20 - 22 วัน (เฉลี่ย 21 วัน) จะกลับเป็นสัดใหม่อีก

               ช่วงการเป็นสัดได้แก่ระยะการเป็นสัดจากครั้งก่อนถึงครั้งหลัง ช่วงการเป็นสัดของโคเฉลี่ย 21 วัน แต่แม่โคในฝูงประมาณ 84% จะมีช่วงการเป็นสัดในระยะ 18 - 24 วัน อีก 5% เป็นสัดก่อน 18 วัน และ 11% เป็นหลัง 24 วัน การเก็บประวัติการเป็นสัดของแม่โคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยสังเกตการเป็นสัดของแม่โคที่ใช้การผสมเทียมและการจูงผสม


    วิธีการผสมพันธุ์
              การผสมพันธุ์โค มีอยู่ 3 วิธี คือ 

             1. การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง
              เป็นการปล่อยพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงแม่โคและให้มีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์จะทราบและผสมเอง แต่มีข้อเสียคือ ถ้าแม่พันธุ์เป็นสัดหลายตัวในเวลาใกล้เคียงกัน จะทำให้พ่อพันธุ์มีร่างกายทรุดโทรม วิธีแก้ไข โดยขังพ่อพันธุ์ไว้เมื่อปล่อยแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในแปลงหญ้า แล้วนำพ่อพันธุ์เข้าผสมเมื่อฝูงแม่พันธุ์กลับเข้าคอก

              ในพ่อโคอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 20 - 30 แม่/พ่อโค 1 ตัว แต่ในพ่อโคอายุ 2 ปีถึง 2 ปีครึ่ง ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 12 - 25 ตัว/พ่อโค 1 ตัว

              ในทุกๆ วันที่ปล่อยแม่โคออกไปในทุ่งหญ้า ควรขังพ่อโคไว้ในคอกพร้อมทั้งหญ้าและน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ มีร่มเงาให้พ่อโค พ่อโคจะมีเวลาอยู่กับแม่โคและผสมกับแม่โคที่เป็นสัดในช่วงเช้า เย็น และกลางคืน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีพ่อโคตัวอื่นอยู่ในทุ่งหญ้าด้วย มิฉะนั้นจะถูกแอบผสมก่อน การขังพ่อโคไว้ดังกล่าวเพื่อให้พ่อโคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูงขึ้น พร้อมที่จะผสมกับแม่โคได้เสมอ และอายุการใช้งานของพ่อโคจะยาวนานขึ้น


             2. การจูงผสม
              เป็นการผสมโดยจูงพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์หรือจูงแม่พันธุ์มาผสมกับพ่อพันธุ์ การผสมโดยวิธีนี้ควรแยกพ่อพันธุ์ออกเลี้ยงต่างหาก เพราะจะทำให้พ่อพันธุ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และพ่อพันธุ์สามารถผสมกับแม่พันธุ์ได้จำนวนมากกว่าการใช้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดเอง ปกติพ่อโคสามารถใช้ผสมได้สัปดาห์ละ 5 ครั้ง หากมีการเลี้ยงดูที่ดี

              เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแม่โครายละประมาณ 5 - 10 แม่ การที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้คุมฝูงอาจะไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะพ่อโค 1 ตัว สามารถใช้คุมฝูงได้ 25 - 50 ตัว ดังที่กล่าวมา หากอยู่นอกเขตบริการผสมเทียม จึงควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจัดซื้อหรือจัดหาพ่อพันธุ์มาประจำกลุ่ม เมื่อแม่โคเป็นสัดจึงนำแม่โคมารับการผสมจากพ่อโค เจ้าของแม่โคอาจต้องเสียค่าบริการให้การผสมบ้าง เพราะผู้เลี้ยงพ่อพันธุ์ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์

              แม่โคที่จะผสมกับพ่อโคจะต้องปราศจากโรคแท้งติดต่อ (หรือโรคบรูเซลโลซีส) ดังนั้น พ่อโคและแม่โคของสมาชิกกลุ่มทุกตัวจะต้องได้รบัการตรวจโรคและปลอดโรคแท้งติดต่อ เพราะหากพ่อพันธุ์เป็นโรคแล้วจะแพร่โรคให้แม่โคทุกตัวที่ได้รับการผสมด้วย


             3. การผสมเทียม

    วิธีการผสมเทียม
              เป็นวิธีการผสมที่นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นสัด โดยผู้ที่ทำการผสมเทียมจะสอดหลอดฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศของแม่โคที่เป็นสัด ปกติจะสอดหลอดผ่านคอมดลูก (cervic) เข้าไปปล่อยน้ำเชื้อในมดลูกของแม่โค

       การผสมเทียมมีข้อดี คือ
      1) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อและเลี้ยงโคพ่อพันธุ์
      2) ในกรณีฟาร์มปรับปรุงพันธุ์ที่ต้องใช้พ่อพันธุ์คุมฝูงละตัว ต้องแบ่งแปลงหญ้าตามจำนวนฝูงดังกล่าว แต่ถ้าใช้ผสมเทียม ไม่จำเป็นต้องแบ่งแปลงมากขนาดนั้น
      3) สามารถเก็บสถิติในการผสมและรู้กำหนดวันคลอดที่ค่อนข้างแน่นอน
      4) สามารถใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีจากที่ต่างๆ ได้สะดวก ทำให้ความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์เร็วขึ้น
      5)

    ถ้าใช้ควบคู่กับฮอร์โมนควบคุมการเป็นสัด จะทำให้การจัดการเกี่ยวกับการผสมสะดวกขึ้น

      ข้อเสียของการผสมเทียม คือ
      1) ต้องใช้แรงงานสังเกตการเป็นสัดหรือใช้โคตรวจจับการเป็นสัด
      2) ต้องใช้คอกและอุปกรณ์ในการผสมเทียม เสียเวลาต้อนแยกโคไปผสมในขณะที่มีลูกติดแม่โคอยู่
      3) แปลงเลี้ยงควรใกล้บริเวณผสมเทียม มิฉะนั้นจะเสียเวลาต้อนโคจากแปลงที่ไกล
      4) เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างคนหรือฝึกอบรมคนผสมเทียมของฟาร์มเอง
      5)

    อัตราการผสมติดขึ้นอยู่กับความสามารถในการตรวจจับการเป็นสัดและความชำนาญของคนผสม

      6) เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำเชื้อ

              ในบางอำเภอที่กรมปศุสัตว์มีหน่วยผสมเทียมไว้บริการแก่เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือ โดยไม่คิดมูลค่า เกษตรกรที่สนใจจะใช้บริการผสมเทียม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

              การผสมเทียมจะต้องนำโคเข้าไปในซองจึงจะผสมเทียมได้สะดวก ซองที่ใช้ผสมเทียมไม่ควรเป็นซองหนีบที่ใช้ฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ ตีเบอร์ หรือตัดเขา เพราะโคจะจำประสบการณ์เหล่านี้ได้จึงกลัวที่จะเข้าซอง สำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อความสะดวกในการผสมเทียม อย่างน้อยควรจัดทำซองผสมเทียม (ตามภาพ) ไว้ประจำคอกหรือภายในหมู่บ้าน เมื่อเจ้าหน้าที่มาทำการผสมเทียมควรมีคนคอยช่วยอย่างน้อย 2 คน แม่โคที่ผสมแล้วควรกักไว้ในคอกที่มีร่ม จะทำให้มีโอกาสผสมติดดีขึ้น ไม่ควรปล่อยให้แม่โคตากแดดหรือวิ่งไปในแปลงหญ้าหรือท้องทุ่ง เพราะจะทำให้ร่างกายแม่โคมีอุณหภูมิสูงขึ้น โอกาสผสมติดจะน้อยลง

              แม่โคควรอยู่ในคอกหรือในแปลงที่สะดวกต่อการนำโคมาผสมเทียม แม่โคควรถูกแยกไปผสมเทียมต่อเมื่อแสดงอาการยืนนิ่งเม่อถูกขึ้นทับแล้วเท่านั้น หากปล่อยให้อยู่ในฝูงนานเกินไป จะถูกตัวอื่นขึ้นทับมากอาจทำให้แม่โคบาดเจ็บหรือเหนื่อยอ่อน มีผลทำให้ผสมติดต่ำ หลักการก็คือแยกแม่โคออกจากฝูงอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนผสม

              ในระหว่างผสมควรทำให้แม่โคมีอาการสงบ ไม่ตื่นกลัว การแยกแม่เข้าคอกผสมก่อน 3 ชั่วโมงจะช่วยให้แม่โคสงบ ถ้ามีลูกติดให้ลูกมาอยู่ด้วยจะทำให้แม่โคสงบมาขึ้น การให้โคได้กินหญ้าหรือให้อาหารตามปกติภายในคอกผสมจะช่วยให้แม่โคสงบได้เร็วขึ้น

              หากต้องใช้บริการผสมเทียมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชนนอกฟาร์ม ควรใช้หลักเกณฑ์คือ "เห็นการเป็นสัดเช้าให้ผสมในช่วงบ่าย 3-4 โมง เห็นการเป็นสัดบ่ายควรผสมในช่วงเช้า 7-8 โมง และเห็นการเป็นสัดตอนเย็นควรผสมก่อนเที่ยงวัน" แต่หากเห็นการเป็นสัดช่วงประมาณเที่ยงคืนถึงตี 4 ควรผสมในเช้าวันนั้น           ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการผสมติดคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากเริ่มเป็นสัดแต่เวลาที่โคเริ่มเป็นสัดเราอาจะไม่สังเกตเห็น ฟาร์มที่ผสมเทียมเองหรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผสมเทียมได้สะดวกก็สามาถใช้วิธีการตามตารางที่ 2 โดยต้องรู้เวลาระหว่างที่เราสังเกตเห็นแม่โคเป็นสัดกับระยะที่แม่โคยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขึ่ (standing heat) แล้วนำช่วงเวลาดังกล่าวไปหาเวลาที่ควรผสมหลังจากที่เห็นแม่โคยืนนิ่ง

    ตารางที่ 2 เวลาเหมาะสมที่สุดในการผสมเทียม

    เวลาระหว่างที่เห็นการเป็นสัด
    กับเมื่อเห็นแม่โคยืนนิ่งให้ทับ ชม.
    เวลาที่ควรผสมหลัง ชม.จากเห็นแม่โคยืนนิ่ง
    ระหว่าง
    เวลาที่เหมาะที่สุด
    3
    6
    9
    12
    15
    18
    9-17
    9-14
    9-11
    8-9
    7
    5-6
    12
    10.5
    10
    8.5
    7
    5.5

              แม่โคที่ผสมติดยากโดยผสมเทียมแล้ว 3 ครั้งไม่ติด ครั้งต่อๆ ไป ควรผสมโดยใช้พ่อพันธุ์ หากผสมหลายครั้งแล้วไม่ติดควรคัดแม่โคขายทิ้งไปเสีย

     
    การตั้งท้องและการกลับเป็นสัด
     

              หลังจากแม่โคได้รับการผสมพันธุ์จนติดแล้วตั้งท้องเฉลี่ยประมาณ 282 วัน (274 ถึง 291 วัน) ผู้เลี้ยงควรจดบันทึกวันที่ผสม แล้วอีกประมาณ 21 วันต่อไปตอ้งคอยสังเกตดูว่าแม่โคกลับเป็นสัดอีกหรือไม่ หากกลับเป็นสัดแสดงว่าผสมไม่ติดต้องผสมใหม่ หากไม่กลับเป็นสัดแสดงว่าผสมติดแล้ว แต่อีกทุกๆ 21 วันต่อไป ควรคอยสังเกตอีกเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น

              การตรวจทอ้งเพื่อดูว่าแม่โคได้รับการผสมติดจนตั้งท้องจริงหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการคลำตรวจดูมดลูกและรังไข่ผ่านทางทวารหนักตั้งแต่แม่โคตั้งท้องได้ 2-3 เดือน ขึ้นไป ต้องใช้ผู้ที่มีความสามารถและมีประสบการณ์เป็นผู้ตรวจให้เท่านั้น ในปัจจุบันอาจใช้วิธีตรวจหาระดับฮอร์โมนในเลือดหรือในน้ำนมก็สามารถบอกไวด้ว่าตั้งท้องหรือไม่ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการในการตรวจ จึงยังไม่เหมาะสมในการนำไปใช้กับสภาพการเลี้ยงทั่วไป แม่โคที่ไม่ท้องควรคัดออกแล้วเอาโคสาวที่ผสมติดเร็วแทน


    • Update : 8/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch