หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงนกกระจอกเทศ -6

    .....นกกระจอกเทศจะถึงวัยหนุ่มสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่อตัวผู้อายุ 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าพ่อ-แม่พันธุ์นกกระจอกเทศมีความสมบูรณ์แข็ง แรง มีการจัดการที่ดี จะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 40 ปี
    .....เมื่อฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศเพศผู้จะมีปาก ขอบตา และแข้งจะมีสีแดงเข้ม ตัวเมียสีของขนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คงเป็นสีน้ำตาลเทาเช่นเดิม โดยธรรมชาติพ่อนกกระจอกเทศจะคุมฝูงตัวเมียหลายตัว แต่จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เป็นคู่แท้ ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวสำรองไป การเลี้ยงในระบบฟาร์ม
    จะจัดตัวเมียให้เป็นคู่ผสมพันธุ์เพียง 1-3 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์

    .....นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาการพร้อมที่จะผสมพันธุ์โดยการนั่งลงบนพื้นบนข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไป ตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการโดยจะกางปีกออำสั่น แต่ไม่นั่งเหมือนตัวผู้
    เพศเมีย
    เพศผู้
    นกกระจอกเทศแสดงอาการเป็นสัด
    วิธีผสมพันธุ์
    .....เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวอยู่บนพื้นแต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้งขึ้น แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมียและใช้เท้าขวาเหยียบ
    หลังตัวเมีย ส่วนเท้าซ้ายจะอยู่ข้าง ๆ ตัวแม่นกเพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัวเมีย ซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์นานเพียง 1-3 นาที
    ฤดูผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศในเมืองไทยจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมิถุนายนของปีถัดไป การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไรขึ้นกับ
    1.
    อาหารมีคุณภาพดี และเหมาะสม
    2.
    ความสมบูรณ์ของนก
    3.
    อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม
    ส่วนข้อควรพิจารณาความเหมาะสมของคู่ผสมพันธุ์ ให้พิจารณาจาก

     

    1.
    ปริมาณไข่ต่อปี
    2.
    อัตราของไข่มีเชื้อ
    3.
    อัตราการฟักออกเป็นตัว


    การฟักไข่ของนกกระจอกเทศ
    .....ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะรู้และเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเจริญเติบโต
    ของเชื้อลูกนกกระจอกเทศตลอดระยะฟักจนออกมาเป็นตัวลูกนก การฟักไข่นกกระจอกเทศทำได้ 2 วิธี คือ

    1. ฟักแบบธรรมชาติ หรือให้แม่นกกระจอกเทศฟักไข่เอง
    2.
    ฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก (Incubator) 
    การฟักไข่แบบธรรมชาติ
    ....แม่นกกระจอกเทศจะเลือกออกไข่ในบริเวณที่โล่งแจ้งบนเนินสูงจากระดับพื้นปกติเล็กน้อยเพื่อมองเห็นศัตรูได้ทุกด้าน และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมไข่ในขณะที่ฟักไข่
    .... แม่นกกระจอกเทศจะออกไข่เป็นชุด ชุดละประมาณ 12-18 ฟอง หลังจากนั้นแม่นกกระจอกเทศจะนั่งฟักไข่ในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ 09.30 น. ถึง 16.30 น. หลังจากนั้นจะเปลี่ยนให้พ่อนกกระจอกเทศช่วยฟักในเวลากลางคืน

    .... ในช่วงเวลาที่พ่อ-แม่นกกระจอกเทศเปลี่ยนเวรกันฟักไข่นี้เองจะมีการกลับไข่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับไข่ที่ถูกฟักอยู่เพราะจะได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง อุณหภูมิที่ไข่ฟักได้รับจากพ่อ-แม่นกกระจอกเทศระหว่างการฟักไข่จะอยู่ระหว่าง 34-36 ° C ความชื้นประมาณ 33.5 % และใช้เวลาฟักไข่นานถึง 42 วัน
    การฟักไข่ด้วยเครื่องฟักไข่
    ....โดยทั่วไปแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ทุกวันเว้นวัน หรือ 2-2.7 วัน ต่อฟอง ดังนั้นหากในแต่ละ ชุดผสมพันธุ์ ที่มีพ่อนกกระจอกเทศ 1 ตัว ต่อแม่นกกระจอกเทศ 1-3 ตัว แม่นกจะออกไข่พร้อมกันในวันเดียวกันหรือสลับวันกันออกไข่ก็ได้ ....เมื่อพบว่าแม่นกออกไข่มาแล้วให้รีบเก็บไข่ออกทันที เพื่อไม่ให้ไข่อยู่บนพื้นนานเกินไป เพราะจะทำให้ไข่สกปรกและมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปในไข่ ซึ่งจะทำให้ไข่เสีย และมีผลทำให้เชื้ออ่อนแอถึงตายได้
    .... หลังจากนั้นให้หาไข่ปลอมที่มีรูปร่าง ลักษณะและน้ำหนักเหมือนไข่นกกระจอกเทศหรือไข่ที่ไม่มีเชื้อ มาวางไว้แทนเพื่อกระตุ้นให้แม่นกกระจอกเทศออกไข่เรื่อย ๆ ในทีเดียวกัน ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละ 40-80 ฟอง แต่ก็มีบางฟาร์มที่สามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 100 ฟองต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 ตัว
    .....ไข่นกกระจอกเทศจะมีลักษณะกลมรีโดยมีความกว้างและยาวเกือบจะเท่ากัน เปลือกไข่สีขาวครีม และมีรูระบายอากาศใหญ่เห็นได้ชัดเจน ขนาดและน้ำหนักของไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิดของสายพันธุ์ซึ่งในระหว่างการฟักน้ำหนักไข่จะหายไปประมาณ 11-15%



    วิธีการเลือกฟักไข่
    .....ไข่ฟักเป็นผลจากการผสมพันธุ์ จึงย่อมมีผลทางการสืบสายเลือดตามลักษณะที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของระบบสืบพันธุ์ นั่นคือลูกย่อมได้ลักษณะต่าง ๆ ทั้งของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ซึ่งมีทั้งลักษณะดีและลักษณะเลว การเอาไข่เข้าฟักจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ด้วย

    สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกฟักไข่
  • ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงนกกระจอกเทศที่ไม่เป็นโรค
  • พ่อแม่พันธุ์จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง
  • ต้องมีลักษณะที่ควรเป็นไข่ฟัก คือ เปลือกไข่สะอาด ผิวเปลือกไข่ ไม่ขรุขระ รูปไข่ไม่บูดเบี้ยวหรือแตกร้าว เป็นต้น

  • การเก็บรักษาไข่ฟัก
    ....ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ในช่วงบ่ายถึงเย็น ซึ่งถ้าเป็นไปได้ผู้เลี้ยงควรจะรีบเก็บไข่ออกทันที และเมื่อรวบรวมไข่จนครบทุกคอกแล้ว ควรจะทำการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย ก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ แล้วนำไปเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 20-23 ° C เพื่อรอนำเข้าตู้ฟักไข่ และจะเก็บไว้นานไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างที่รอเข้าฟักนี้ควรที่จะมีการกลับไข่ด้วย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และจะต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตกร้าว .....ในการเก็บรักษาไข่ฟักนี้ ควรจะวางตั้ง เอาด้านป้านขึ้น ด้านแหลมลง แต่ก็มีบางฟองที่ไข่มีลักษณะกลมมนทั้งสองด้าน ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาให้ดีด้วย ส่วนอุณหภูมิและความชื้นที่ห้องเก็บไข่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าอุณหภูมิความชื้นไม่เหมาะสมจะทำให้น้ำในไข่ระเหยออกมามาก จะทำให้การพัฒนาของเชื้อตัวอ่อนไม่ดี มีผลให้เชื้อตายก่อนจะเข้าตู้ฟัก ที่อุณหภูมิ 23-33 ° C น้ำหนักไข่จะสูญเสียไปสัปดาห์ละ 1 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักไข่

    การล้างไข่
    .....ในการฟักไข่เป็ดหรือไข่ไก่มักจะไม่ทำการล้างไข่ก่อนเก็บเพื่อรอเข้าตู้ฟักแต่สำหรับไข่นกกระจอกเทศแล้ว
    จะทำทั้งการล้างไข่และไม่ล้าง ซึ่งก็มีเหตุผลและความเชื่อแตกต่างกันไป บ้างก็เกรงว่าน้ำจะเข้าไปในไข่ทำให้ไข่เน่า แต่สำหรับพวกที่ล้างไข่ก็เพื่อให้มั่นใจว่าไข่สะอาด ไม่มีเชื้อโรค จุลินทรีย์เกาะอยู่บนเปลือกไข่ แล้วซึมเข้าไปภายใน ซึ่งจะทำให้ไข่เน่าหรือเชี้อตาย

    .... การล้างไข่จะทำทันทีที่เก็บไข่ออกมาจากคอกนก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อผสมในน้ำอุ่น (39.5-40.5 ° C) นำไข่ลงไปล้าง แล้วใช้แปรงขนอ่อนขัดบนเปลือกไข่ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งโดยไม่ต้องใช้ผ้าเช็ด สำหรับน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อจะใช้ล้าง ไข่ได้ไม่เกิน 6 ฟอง เมื่อเปลือกไข่แห้งแล้วให้นำเข้าไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บเพื่อรอการเข้าฟักต่อไป

    การรมควัน (Fumigation)

    .....การรมควันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฆ่าเชื้อที่เปลือกไข่ โดยใช้โปรเตสเซียมเปอมังกาเนต (KMnO4) 80 กรัม ใส่ถาดสังกะสีหรือถ้วยดิน แล้วนำฟอร์มาลีน (40%) ประมาณ 130 มิลลิลิตร สำหรับตู้ขนาด 3 ตร.ม. เทใส่ถ้วยดังกล่าวจะเกิดก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ขึ้น ควรจะรีบปิดตู้รมควันทันที ทิ้งไว้ 20-30 นาที จึงไปเปิดตู้ ทิ้งไว้สักครู่ จึงนำไข่เข้าไปเก็บในห้องเก็บไข่
    .... เนื่องจากไข่ถูกเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 20-30° C มาเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้น ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักไข่ จะต้องนำไข่ที่เก็บไว้ออกมาไว้นอกห้องเย็นอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง เพื่อให้ไข่ปรับตัวเข้าสู่อุณหภูมิของไข่ฟักเปลี่ยนแปลงจากเย็นเป็นร้อนอย่างกระทันหัน จะทำให้เชื้อตายได้


    การฟักไข่
    ....หลักใหญ่ของการฟักไข่ก็คือ ให้ความอบอุ่นแก่ไข่ฟักให้สม่ำเสมอตลอดเวลา และทำสิ่งแวดล้อมให้เป็นผลดีต่อการเจริญของเชื้อลูกนกเพื่อให้เปอร์เซนต์ฟักออกมาเป็นตัวลูกนกกระจอกเทศให้มากที่สุด
    ปัจจัยทั่ว ๆ ไปที่ช่วยให้การฟักไข่เป็นผลดี คือ
    ....1. อุณหภูมิหรือความร้อน ที่เหมาะสมที่ช่วยให้เชื้อลูกนก และออกจากไข่อย่างปกติ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะประมาณ 35.5-36.3 องศาเซลเซียส หรือ 97.2-97.5 องศาฟาเรนไฮน์ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาจากเอกสารประกอบการใช้ตู้ฟักไข่ชนิดนั้น ๆ ด้วย ซึ่งความร้อนมีความสัมพันธ์กับเชื้อลูกนก ดังนี้
    1.1 เปอร์เซ็นต์การฟักออกมากหรือน้อย
    1.2 การฟักออกช้าหรือเร็ว  
    1.3 ขนาดของเชื้อลูกนกระหว่างฟัก ถ้าความร้อนต่ำเชื้อลูกนกจะเจริญเติบโตช้า  
    1.4 ขนาดของลูกนกที่ฟักออก การเร่งความร้อน หรือใช้ความร้อนสูงไป ลูกนกจะออกเร็วกว่าปกติ แต่จะได้ลูกนกที่มีขนแห้งเกรียน และขนาดตัวเล็ก
    1.5   เปอร์เซ็นต์เชื้อตาย และอัตราการตายของลูกนกสูงมากถ้าใช้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ
    1.6 ถ้าใช้ความร้อนต่ำไป ลูกนกจะออกมาช้า เปอร์เซ็นต์ฟักออกต่ำลูกนกจะอ่อนแอ 
    ...2. ความชื้น (Humidity) ความชื้นที่เหมาะสม ประมาณ 20-25% ช่วยให้การเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกเป็นไปโดยปกติ หากความชื้นน้อยไปลูกนกจะแห้งติดเปลือกและตาย ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ลูกนกมีขนแห้ง ฟูสวย ไม่ติดเปลือก

    .....การระบายอากาศจึงเป็นการช่วยให้ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ออกจากตู้ฟัก และหมุนเวียนให้อากาศออกซิเจนเข้าไปถึงเชื้อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21%

    • การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการตายของลูกนกขณะที่ฟักไข่ในระยะแรกได้มาก ควรจะกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง แต่ถ้าเป็นตู้ฟักระบบอัตโนมัติจะตั้งให้กลับไข่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง หลังจากย้ายไข่ไปไว้ในตู้เกิดก็จะไม่กลับไข่อีกเลย
    • การส่องไข่ (Candling) ก็เพื่อคัดเอาไข่ที่ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย และไข่เสียออกจากตู้ฟักไข่เสียก่อนที่ไข่จะเน่าและส่งกลิ่นเหม็นในตู้ฟัก ซึ่งเป็นผลเสียต่อไข่ฟองอื่น ๆ ด้วย

    .....สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2-3 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 7-10 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจส่องดูอีกครั้ง เมื่อฟักไปแล้ว 20-21 วัน และครั้งสุดท้ายก่อนจะย้ายไปยังตู้เกิด (ประมาณวันที่ 38 ของการฟัก)

    .....เนื่องจากไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกไข่ที่หนาและแข็งมากประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องส่องไข่เพื่อดูการพัฒนาของตัวอ่อนจะต้องใช้กำลังไฟสูงมากและถ้าจะให้เห็นชัดเจนควรส่องดูในห้องมืดและไม่ควรส่องไข่เล่นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากความร้อนจากเครื่องส่องไข่จะมีผลต่อตัวอ่อนในไข่ได้

     

    • Update : 6/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch