หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงนกกระจอกเทศ -5

    .....นกกระจอกเทศก็เหมือนกับคนหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่ต้องมีโรคภัยเบียดเบียน แต่รายละเอียดในเรื่องของโรคในนกกระจอกเทศไม่ค่อยมีเผยแพร่มากนัก (หรืออาจจะมีแต่ผู้เขียนยังหาไม่พบ) แต่อย่างไรก็ตาม สาเหตุของโรคส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ และอาหารไม่เหมาะสมเพียงพอกับความต้องการ ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดการที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง โดยส่วนใหญ่นกกระจอกเทศจะตายมากในช่วงที่เป็นลูกนก ขนาดอายุ 1-6 สัปดาห์แรกสำหรับโรคของนกที่ควรทราบ คือ
    1. โรคนิวคาสเซิล
    2. โรคฝีดาษ
    3. โรคปอดบวม
    4. ไรขน
    5. โรคเกิดจากการขาดอาหาร
    ..... ซึ่งรายละเอียดในแต่ละโรคยังไม่ค่อยแพร่หลาย วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคคือการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม ถูกสุขลักษณะ น้ำและอาหารมีให้กินอย่างสม่ำเสมอ และการจัดการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างถูกต้องของผู้เลี้ยงจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะป้องกันการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

    การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด – 4 สัปดาห์

    .....นกกระจอกเทศจะใช้เวลาฟักไข่นาน 42 วัน จึงออกเป็นตัว ซึ่งการฟักไข่ในตู้ฟักจะช่วยเหลือลูกนกกระจอกเทศให้ออกไข่ง่ายขึ้น เมื่อลูกนกกระจอกเทศออกจากไข่จะต้องอยู่ในตู้ที่เรียกว่าตู้อบประมาณ 24-48 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวแห้งและแข็งแรง หลังจากนั้นจึงนำออกมาเลี้ยงในโรงเรือนอนุบาล ลูกนกกระจอกเทศต่อไป ซึ่งในโรงเรือนอนุบาลจะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้

    1. เครื่องกกลูกนกกระจอกเทศ
    2. แผงล้อมลูกนกกระจอกเทศ
    3. ที่ให้อาหาร
    4. ที่ให้น้ำ
    5. วัสดุรองพื้น ควรใช้แกลบ ฟางแห้ง ผ้า หรือกระสอบ

    .....การปฏิบัติการในการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด – 4 สัปดาห์ ผู้เลี้ยงจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม และทำความสะอาดพื้นคอกบริเวณที่เลี้ยงลูกนก โดยการฆ่าเชื้อ ปูพื้นคอกด้วยแกลบหรือฟางแห้งหรือผ้ากระสอบ
    ....พื้นคอกถ้าเป็นพื้นซีเมนต์จะทำความสะอาดได้ง่าย แต่ต้องระวังนกลื่น ปูทับด้วยวัสดุรองพื้นพวกแกลบ ฟางแห้ง กระสอบ หรือผ้า ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกก นอกจากนี้ออุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นจะต้องสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว

    ....สำหรับเครื่องกกลูกนกจะต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยว่าใช้งานได้ดี อุณหภูมิกกคงที่โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 35 ° C หรือ 95 ° F ในช่วง 2 วันแรก และลดอุณหภูมิลงทุกสัปดาห์จนเหลือ 21-23 ° C หรือ 69-73 ° F เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ไฟกกจะต้องอยู่สูงจากหัวนกขนาดลูกนกยืดคอไม่ถึง ปกติลูกนกกระจอกเทศเมื่อออกจากไข่ในระยะเวลา 2-3 วันแรก หรือ 24-36 ชั่วโมงหลังออกจากตู้อบ ไม่มีความจำเป็นที่จะให้อาหารลูกนก ช่วงนี้จะเป็นอันตรายทำให้ลูกนกตาย เพราะอาหารที่ลูกนกกินเข้าไปจะไม่ย่อย

    ....ดังนั้นจึงควรให้อาหารหลังจาก 2 วันแรกไปแล้ว โดยอาหารที่มีโปรตีน 20-22 % พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่ แคลเซียม 1.4% ฟอสฟอรัส 0.7% เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ควรจะมีหญ้าสดสับหรือหั่นฝอยเสริมให้ลูกนกกินโดยผสมปนกับอาหารข้นในอัตราส่วน อาหารข้น 5 ส่วน ต่อหญ้าสดสับ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก และผสมด้วยกรวดขนาดเล็กหรือหินเกล็ดลงในอาหารผสมประมาณ 1.5 % โดยน้ำหนักอาหาร ซึ่งลูกนกจะใช้ในการย่อยบดอาหารในกระเพาะต่อไป หรือจะตั้งกรวดหรือหินขนาดเล็ก ไว้ให้ลูกนกกินเองก็ได้
    ....เนื่องจากลูกนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารและน้ำจะใส่ลูกปิงปอง หรือลูกบอลที่ไม่ใช้แล้วลงไปด้วยประมาณ 2-3 ลูก เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารและน้ำไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหารได้มากยิ่งขึ้น

     

    การให้น้ำแก่ลูกนกกระจอกเทศ

    ....ในช่วงแรกลูกนกยังไม่รู้จักภาชนะให้น้ำ การปล่อยปละละเลยไม่ฝึกลูกนกอาจจะมีผลทำให้ลูกนกไม่ได้กินน้ำและตายในที่สุด ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องฝึกลูกนกโดยจับลูกนกไปที่ภาชนะที่ให้น้ำ แล้วจับปากลูกนกจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ทำเช่นนี้ทุกตัว น้ำที่ให้ในระยะแรกนี้ควรเสริมวิตามินและละลายน้ำที่ใช้กับลูกไก่ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาดผสมให้ลูกนกกินด้วยก็จะดีในช่วงนี้จะต้องดูแลเอาใจใส่
    เกี่ยวกับ อุณหภูมิในการ กกลูกนก ลูกนกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3-4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศ และควรลดอุณหภูมิในการกกลงสัปดาห์ละ 3-5 องศาฟาเรนไฮด์ โดยปกติจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 3-4 สัปดาห์ กรณีอากาศหนาวมากควรเพิ่มระยะเวลากกยาวออกไปอีก ทั้งนี้ให้สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
    .....
    การเลี้ยงนกกระจอกเทศในระยะ 1 สัปดาห์แรก ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อลูกนกอายุเกิน 1 สัปดาห์ไปแล้วจึงจะลดชั่วโมงการให้แสงสว่างลงเหลือ 14-15 ชั่วโมงต่อวัน เมื่ออายุ 3-4 สัปดาห์ อาจเปิดไฟเฉพาะในเวลากลางคืนก็พอ
    ....
    ลูกกระจอกเทศแรกเกิดจะมีน้ำหนักประมาณ 830-1,000 กรัม ซึ่งลูกกระจอกเทศอายุ 0-4 สัปดาห์ จะโตขึ้นจากเดิม 1 ฟุต หนักประมาณ 900-2,800 กรัม อัตราการเจริญเติบโตของลูกนกกระจอกเทศจะสูงขึ้นประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการเจริญเติบโตจึงจะลดลงหรือหยุด
    ....
    ในการเลี้ยงควรจะตรวจดูวัสดุรองพื้นคอก จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่น ถ้ามีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนียจะต้องรีบแก้ไขทันที โดยเปลี่ยนวัสดุรองพื้น ภายในห้องกกควรจะมิดชิดไม่มีลมโกรกเข้ามา แต่จะต้องมีการระบายอากาศออก ให้ภายในห้อง
    ....
    ดังนั้นจึงควรเข้มงวดในเรื่องของการสุขาภิบาลในโรงเรือนอนุบาลให้เป็นอย่างดี ลูกนกจึงจะแข็งแรงเจริญเติบโตเร็ว
    ....
    ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่มีสุขภาพปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อนนุ่ม ไม่แห้งแข็งหรือเป็นเม็ดเหมือนอุจจาระแพะ ปัสสาวะของนกกระจอกเทศจะต้องเป็นน้ำใส ไม่เหนียวหรือขุ่นข้น


    การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 1-3 เดือน

    ....ลูกนกกระจอกเทศเมื่ออายุครบ 1 เดือน และมีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว ควรจะปิดเครื่องกกขยายพื้นที่ในคอกอนุบาลให้ลูกนกได้อยู่อย่างสบาย ลดชั่วโมงการให้แสงสว่างแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้นกตื่นตกใจ นกกระจอกเทศวัยนี้จะตกใจง่าย ในเวลากลางวันควรจะมีพื้นที่ปล่อยลูกนกออกเดินเล่นในลานที่มีแสงแดดรำไรในช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ ภาชนะให้น้ำและอาหารควรจะทำความสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตรวจสอบวัสดุรองพื้นคอกทุกวัน
    ....
    การให้อาหารควรให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง คือ ให้อาหารวันละ 3-5 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยให้ลูกนกได้รับอาหารที่ใหม่สด ซึ่งจะต้องผสมหญ้าสดหรือผักสดผสมในอาหารข้นหรืออาจจะแยกให้อาหารข้นและเสริมให้กินผักสด หรือหญ้าสดหั่นละเอียดแยกให้กินต่างหาก
    ....
    สำหรับน้ำควรจะมีให้นกกินตลอดเวลา ลูกนกวัยนี้จะตายได้ง่ายเพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตเร็ว อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว ขาของลูกนกกระจอกเทศจะแบะออก เดินขาปัด จนเดินไม่ได้ และจะตายในที่สุด จึงจำเป็นต้องควบคุมน้ำหนัก
    ....
    วิธีแก้ไข ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศ จะต้องใช้ผ้ายืดหรือผ้าอีลาสติก สวมขาทั้ง 2 ข้างไว้ไม่ให้ขาลูกนกแบะถ่างออก พร้อมเสริมอาหารให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงขึ้น ขณะเดียวกันควรจะลดปริมาณอาหารลงด้วย ซึ่งการเลี้ยงระยะนี้ผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศทุกวัน
    ....
    กรณีมีอาการผิดสังเกตให้รีบแก้ไข ซึ่งอาจจะต้องแยกลูกนกที่มีปัญหาออกมาเลี้ยงต่างหาก แต่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนกอยู่ตัวเดียว ควรจะหาลูกนกตัวอื่นเป็นเพื่อนด้วย ไม่เช่นนั้นลูกนกจะยิ่งเครียดมากขึ้น ตามปกติเมื่อลูกนกกระจอกเทศอายุได้ 3 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 12-21 กิโลกรัม


    การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 3-24 เดือน

    ....นกกระจอกเทศในช่วงอายุ 0-6 เดือน จะเจริญเติบโตเร็วมากหลังจากนั้น อัตราการเจริญเติบโตจะลดลงเล็กน้อย ต้องเอาใจใส่ในเรื่องอาหารและการจัดการได้ดี อาหารไม่ควรมีพลังงานสูงมากนัก อาหารที่เหมาะสมควรจะมีโปรตีน 16% พลังงาน 2,300-2,400 กิโลแคลอรี่ พร้อมเสริมให้กินหญ้าหรือผักสดหั่นเล็ก ๆ นกกระจอกเทศจะชอบกินเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนสับละเอียดมากเป็นพิเศษ ซึ่งการให้อาหารจะให้แบบแยกอาหารข้น หรือใช้วิธีการคลุกผสมให้นกกระจอกเทศกิน อัตราส่วนผสมควรจะใช้อาหารข้น 3 ส่วนต่อหญ้าสดหั่นละเอียด 1 ส่วนโดยน้ำหนัก
    ....
    ทั้งนี้อาจจะปรับเปลี่ยนอัตราส่วนได้ ขึ้นกับสภาพความสมบูรณ์ของนกกระจอกเทศ ซึ่งถ้าลูกนกอายุเกินกว่า 6 เดือน อาจจะต้องปรับส่วนผสมโดยเพิ่มพืชอาหารสัตว์ประเภทเยื่อใยให้มากขึ้น และลดปริมาณอาหารข้นให้น้อยลง โดยคำนึงถึงความต้องการของร่างกายและสุขภาพของนกกระจอกเทศ
    ....
    การเลี้ยงนกในวัยนี้จะต้องให้มีพื้นที่ออกกำลังกายอย่างอิสระและเพียงพอ ไม่ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่ ควรจะแบ่งออกเป็นฝูงเล็กมีจำนวนไม่เกิน 40 ตัว แต่การจัดฝูงให้เล็กประมาณ 15-20 ตัว/ฝูง จะเหมาะสมที่สุด เพราะจำทำให้ลูกนกแข็งแรงไม่แย่งอาหารกันกิน และไม่แน่นเกินไป
    ....
    พื้นที่ที่เลี้ยงนกกระจอกเทศจะต้องระมัดระวังไม่ให้มีเศษวัสดุ เช่น เศษลวดผูกเหล็กก่อสร้าง ตะปู เศษถุงพลาสติก เศษแก้ว เศษผ้า ตกหล่น ในบริเวณคอกและพื้นที่เลี้ยง เพราะนกกระจอกเทศจะสนใจและจิกกินเข้าไป ซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศตายได้สิ่งที่จะต้องระมัดระวังในการเลี้ยงนกกระจอกเทศในอายุระหว่างนี้ คือ อัตราส่วนพื้นที่ทั้งภายในโรงเรือนหรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง จะต้องจัดให้เพียงพอไม่คับแคบเกินไป การแออัดจะเป็นผลเสียทำให้เกิดการเสียหายได้ และพื้นที่ของภาชนะให้น้ำและอาหารจะต้องเพียงพอกับปริมาณนกกระจอกเทศที่เลี้ยง ไม่ให้มีการแย่งอาหารกันเกิดขึ้น
    ....
    การเสริมหินเกล็ดหรือกรวด ในอาหารอัตรา 1.5 % โดยน้ำหนักหรือใส่ภาชนะให้นกกระจอกเทศเลือกกินเอง เมื่อนกกระจอกเทศอายุเกิน 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องให้แสงสว่างในเวลากลางคืน แต่จะต้องระวังให้ลูกนกอยู่ในโรงเรือนที่มีหลังคาและฝาผนังมิดชิดนอนเวลากลางคืน เพื่อป้องกันอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝน ลม พายุ และสัตว์ร้ายที่เป็นศัตรูนกกระจอกเทศ อีกอย่างหนึ่งคือ สุนัขซึ่งจะทำอันตรายนกกระจอกเทศในเวลากลางคืน
    ....
    สำหรับเวลากลางวันควรปล่อยให้นกอยู่ในพื้นที่โล่งกลางแจ้งอย่างอิสระสามารถเข้าออกโรงเรือนได้ภาชนะให้น้ำและอาหารควรอยู่ในโรงเรือนอันเป็น
    การป้องกันฝนและแสงแดด ในกรณีที่มีพายุฝนควรจะต้อนนกกลับเข้าคอกภายในโรงเรือน ไม่ควรให้นกเล่นน้ำฝนเพราะจะทำให้เป็นหวัดหรือปอดบวมตายได้


    การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปี ขึ้นไป)

    ....นกกระจอกเทศเมื่ออายุได้ 2 ปี จะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวซึ่งจะเจริญพันธุ์ผู้เลี้ยงควรจะทำการจัดฝูงใหม่ให้เป็นฝูงผสมพันธุ์ โดยการคัดเลือกนกกระจอกเทศที่มีลักษณะดี อัตราการเจริญเติบโตดีแข็งแรง เก็บไว้ในการขยายพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
    ....
    ดังนั้นการคัดเลือกนกกระจอกเทศเก็บไว้ทำพันธุ์ควรจะคัดเลือกเมื่ออายุ 1 ปี แต่การเลี้ยงดูยังคงรวมฝูงใหญ่เหมือนเดิม จนกว่าอายุได้ 2 ปี จึงคัดเลือกอีกครั้ง แบ่งฝูงเป็นฝูงผสมพันธุ์ประกอบด้วยพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2-3 ตัว ซึ่งนกกระจอกเทศอายุ 2 ปี จะมีน้ำหนักประมาณ 110-140 กิโลกรัม นกจะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้โดยเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป และเพศผู้อายุ 2-5 ปีขึ้นไป และสามารถให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันได้นานถึง 40 ปี แต่จะนิยมเลี้ยงเพียง 20-25 ปี
    ....
    การที่จะให้นกมีความสมบูรณ์พันธุ์ให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีการเลี้ยงดูการจัดการที่ดี อาหารสำหรับพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงระยะฤดูผสมพันธุ์ควรจะเพิ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัสอีก 1-2% เพราะแม่นกจะต้องการแคลเซียมในการสร้างเปลือกไข่ อาหารควรจะให้อย่างเพียงพอ ควรให้อาหารวันละ 2-3 ครั้ง โดยจะต้องเสริมหญ้าสดด้วย พร้อมทั้งมีหินเกล็ดไว้ให้นกได้จิกกินด้วยเพื่อช่วยในการย่อยอาหารที่กระเพาะบด
    ....
    ภาชนะที่ให้อาหารและน้ำจะต้องทำความสะอาดทุกวัน และมีน้ำสะอาดตั้งให้กินตลอดเวลา พื้นที่ในการเลี้ยงจะต้องกว้างขวางพอที่จะให้นก ได้ออกกำลังกายได้ ปกตินกจะเริ่มผสมพันธุ์โดยมีฤดูการผสมพันธุ์ในช่วงอากาศอบอุ่นและแห้ง โดยสีหนังของนกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง โดยเฉพาะบริเวณคอและขา แม่นกเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะออกไข่โดยพ่อ-แม่นกจะขุดเป็นหลุมตื้น ๆ ขนาดเท่าตัวแม่นกไว้ให้วางไข่ และจะออกไข่เฉลี่ย 2-2.7 วัน/ ฟอง ตลอดฤดูผสมพันธุ์จะให้ไข่ประมาณ 30-80 ฟอง มากน้อยขึ้นกับสายพันธุ์ความสมบูรณ์ และอายุของแม่นกกระจอกเทศ โดยในปีแรกแม่นกจะให้ไข่ไม่มากนัก แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ ไป
    ....
    การเก็บไข่ควรเก็บไข่ออกทุกวัน หรือทันทีที่แม่นกวางไข่ และนำไปรวบรวมไว้ ในห้องที่มีอุณหภูมิได้ประมาณ 20-24 ° C ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% ถ้าความชื้นสูงจะมีผลทำให้ไข่เน่าเสียได้ง่าย ในรังไข่ที่แม่นกออกไข่ควรจะต้องมีไข่ปลอมวางไว้อย่างน้อย 1 ฟอง เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศจำรังไข่และออกไข่ที่เดิม ติดต่อไปเรื่อย ๆ ช่วงออกไข่นี้นกกระจอกเทศจะมีความดุร้ายโดยเฉพาะพ่อพันธุ์เพราะหวงไข่มาก
    ....
    นอกจากนี้ คอกผสมพันธุ์ที่ดีระหว่างคอกควรจะมีรั้วห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพราะป้องกันอันตรายจากการจิกตีกันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่อยู่กันคนละคอก
    .....
    การเลี้ยงดูนกกระจอกเทศในวัยระยะต่าง ๆ ที่ผู้เลี้ยงควรจะจัดทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ประกอบด้วย การให้ผลผลิต การกินอาหาร การให้ยาและวัคซีน การเริ่มต้นผสมพันธุ์ การให้ไข่ สุขภาพของนก และ ฯลฯ ที่สามารถจัดทำให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเลี้ยงดูหรือปรับปรุงการเลี้ยงดูให้ดีขึ้น กรณีมีปัญหาจะได้แก้ไขได้อย่างถูกต้อง การบันทึกจึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรจะทำแบบฟอร์มการจัดการต่าง ๆ ออกเป็นชุด ๆ เพื่อความเป็นระเบียบในการค้นคว้าศึกษาข้อมูล และปรับปรุงการจัดการฟาร์มให้ดีขึ้นต่อไป



    • Update : 6/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch