หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงเป็ดเทศพันธุ์ท่าพระ 2-2

     

    การป้องกันโรค

    โรคที่สำคัญในเป็ดเทศ ได้แก่ โรคอหิวาต์ และ โรคเพลกในเป็ด มีความจำเป็นที่ต้องทำวัคซีนป้องกันโรคทั้ง 2 นี้ เพื่อลดอัตราการสูญเสียหรือขาดทุนเนื่องจากเป็นโรคทั้งสอง

    โรคอหิวาต์
    จะทำวัคซีนอหิวาต์เมื่อเป็ดอายุ 1-1.5 เดือน โดยทำวัคซีน ปีละ 4 ครั้ง หรือ 3 เดือนทำวัคซีนหนึ่งครั้ง โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 2 ซีซี.

    โรคดั๊กเพลก จะทำวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 21 วัน โดยทำวัคซีนปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือนทำครั้งหนึ่ง โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อตัวละ1 ซีซี

    การผสมเทียมเป็ดเทศ

    การรีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์
              การรีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์เป็ดเทศ แตกต่างจากการรีดน้ำเชื้อจากเป็ดเทศทั่วไป กล่าวคือ เราต้องใช้เป็ดตัวเมียช่วยในการรีดน้ำเชื้อด้วย ส่วนเป็ดก๊าบเราสามารถใช้มือรีดน้ำเชื้อได้โดยตรง ดังนั้น การรีดน้ำเชื้อเป็ดเทศจึงทำได้ค่อนข้างช้า เมื่อเปรียบเทียบกับเป็ดก๊าบ ในทางปฏิบัตินั้นเราจำเป็นต้องสร้างกรงขังเป็ดเทศพ่อพันธุ์เรียงเป็นแถวยาว แล้วทำการฝึกหัดให้เป็ดพ่อพันธุ์คุ้นเคยกับการรีดน้ำเชื้อก่อน กรงที่ขังพ่อพันธุ์มีขนาดกว้าง 45 ซ.ม. สูง 55 ซ.ม. และลึก 55 ซ.ม. วางสูงจากพื้นดิน 37-40 ซ.ม. เป็นกรงเหล็ก หรือไม้ก็ได้ และมีประตูเปิดด้านหน้า แต่ละกรงทำเป็นแถวยาวติดต่อกันเช่นเดียวกับกรงตับไก่ไข่ เพียงแต่ขนาดใหญ่กว่า การฝึกหัดรีดน้ำเชื้อเป็ดพ่อพันธุ์ครั้งแรก คือ การนำเป็ดแม่พันธุ์ที่กำลังให้ให้ไข่อยู่ขณะนั้นใส่เข้าไปในกรงตัวผู้ และปล่อยให้ตัวผู้ขึ้นขี่บนหลังตัวเมียด้วยตัวของมันเอง อย่าบังคับ เพราะเป็ดจะตื่นและไม่ได้ผล พ่อเป็ดจะใช้เวลาเล็กน้อยในการจู๋จี๋กับเป็ดตัวเมีย ถ้าเป็ดตัวเมียยอมให้เป็ดตัวผู้ผสม มันจะหมอบลงให้เป็ดตัวผู้ขึ้นขี่หลัง ในขณะที่เป็ดตัวผู้ขี่หลังตัวเมียอยู่นั้น มันจะใช้ปากจิกขนหัวตัวเมียกดไว้ และขยับตัวให้อยู่ในหลังตัวเมียให้ได้ที่ ไม่โครงเครง พร้อมๆ กันนั้น หางเป็ดตัวผุ้ก็จะสั่น กระดิกไปมาอยู่สักระยะหนึ่งประมาณสักครึ่งนาทีจะเห็นเป็ดพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เงียบสงบและนิ่ง จากนั้นเราจะใช้มือซ้ายจับหางตัวผู้ไว้เป็นการจับช่วยพยุงให้เป็ดตัวผู้ไม่ให้ล้มลงจากหลังตัวเมีย พยายามจับเบาๆ อย่าให้เป็ดพ่อพันธุ์ตื่น จากนั้นก็ใช้มือขวาคลำไปที่ก้นตัวผุ้จะเห็นว่าอวัยวะเพศผู้แข็งเป็นก้อน ใช้มือบีบกระตุ้นให้อวัยวะเพศพองตัวยิ่งขึ้น เมื่อเป็ดตัวผู้มีความกำหนัดสูงสุดเราก็ใช้มือขวาเดิมนั้นบีบจากโคนให้อวัยวะเพศออกมาข้างนอกในจังหวะที่อวัยวะเพศจะออกมานั้น ให้รีบเอาขวดปากกว้างสำหรับเก็บน้ำเชื้อมาจ่อไว้ที่ๆ อวัยวะเพศจะออกมา เราเอามือขวาบีบเบาๆ และดันให้อวัยวะออก เป็ดพ่อพันธุ์ก็จะปล่อยพุ่งอวัยวะเพศที่มีลักษณะเป็นเกลียวยาวและแหลมที่ปลายออกไปในขวดปากกว้างนั้นพร้อมๆ กับหลั่งน้ำเชื้อและน้ำหล่อลื่น ประมาณ 3 ซี.ซี. เราจะนำไปฉีดเข้าท่อนำไข่ของแม่เป็ดตัวละ 0.02 ซี.ซี. ต่อไป

              ขวดที่ใช้รองรับน้ำเชื้อเป็ดที่กล่าวข้างต้นนั้น มีลักษณะปากกว้างกลม เสนผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2 นิ้ว ยาวเรียวไปทางก้นขวดประมาณ 4-5 นิ้ว ก่อนถึงก้นขวดจะมีรูเล็กๆ สำหรับเทน้ำเชื้อออก อย่างไรก็ดี เราสามารถใช้ขวดหรือกรวยแทนก็ได้ ขอเพียงแต่ให้สะอาด และรองรับน้ำเชื้อเป็ดไม่ให้หกหล่นได้ก็เป็นพอ

              การฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในท่อนำไข่ของตัวเมีย น้ำเชื้อเป็ดเทศที่เรามีรวบรวมได้ประมาณ 3 ซี.ซี. เราไม่ต้องผสมกับสารละลายเจือจางอีก เพราะว่าน้ำเชื้อที่ได้มานั้นมีน้ำเมือกปนอยู่พอเพียงแล้ว เราจึงนำมาแบ่งฉีดได้เลย วิธีการฉีดน้ำเชื้อมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่ 5 ชนิด คือ
                1. หลอดฉีดน้ำเชื้อขนาด 0.2 ซี.ซี. เป็นหลอดแก้วปลายแหลม ยาวประมาณ 2 นิ้ว มีขนาดเล็กมาก ต้องสั่งซื้อเป็นพิเศษหรือไม่เราก็อาจจะใช้ไซริ้งค์ที่ใช้สำหรับฉีดเบาหวานของคนได้ ซึ่งมีขนาด 1 ซี.ซี. และทำด้วยแก้ว
                2. กระติกน้ำแข็งสำหรับแช่น้ำเชื้อที่เรารีดมาได้
                3. ขวดเก็บน้ำเชื้อ
                4. แม่เป็ดที่จะผสมพันธุ์
                5. ผ้าหรือสำลีสะอาดสำหรับเช็ดไซริ้งค์หลังจากฉีดน้ำเชื้อแล้ว

              การฉีดน้ำเชื้อมาจากเราเตรียมอุปกรณ์ทั้ง 5 อย่งให้พร้อม น้ำเชื้อเก็บไว้ในขวดและแช่น้ำแข็งไว้ในกระติกน้ำแข็ง คนที่มีหน้าที่ฉีดน้ำเชื้อจะดูดน้ำใส่ไว้ในไซริ้งค์ ส่วนอีกคนจะเป็นคนจับเป็ดและเปิดก้นเป็ดให้ปากมดลูกเปิดเพื่อให้คนฉีดน้ำเชื้อเข้าไป วิธีการ เปิดก้นเป็ดต้องฝึกหัดเป็นพิเศษ เริ่มจากจับเป็ดขึ้นมาด้วยมือขวา โดยจับปีกและดคนขาซ้ายของเป็ดเข้าด้วยกันให้เป็ดหันหัวเข้าหาผู้จับ ยกเป็ดขึ้นให้อยู่ในระหว่างเอว แล้วใช้มือซ้ายจับปีกและโคนขาขวาเข้าด้วยกัน แนบเป็ดเข้าที่เอว แล้วใช้มือขาวจับโคนเข่าทั้งสองข้างเข้าหากันให้ใช้นิ้วขี้และนิ้วกลางกดลงตรงท้องและดึงหนังท้องเข้าไปทางด้านหน้าให้หนังตึง จากนั้นก็หงายท้องเป็ดขึ้น โดยการพลิกฝ่ามือขาวและให้ก้นเป็ดต่ำลงไปทางพื้นดิน ทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในของเป็ดไหลร่นลงมาอยู่ที่ก้น ทำให้ง่ายต่อการเปิดก้น ปลิ้นเอาปากมดลูกออกมา จากนั้นเราใช้มือซ้ายปาดไปทางทวารให้ทวารเป็ดอยู่ระหว่างหัวแม่มือและนิ้วชี้ จากนั้นใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือกดลงไปถ่างทวารปลิ้นเอาท่อนำไข่ซึ่งอยู่ด้านซ้ายของแม่เป็ดออกมา พอท่อนำไข่ปลิ้นออกมาก็ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบรัดเอาไว้ไม่ให้หุบเข้าไป ที่ปากมดลูกนี้จะมีลักษณะวงแหวนสีแดงปนชมพูจะเห็นมีรูอยู่ตรงกลางซึ่งเป็ดนจุดที่จะต้องฉีดน้ำเชื้อเข้าไป เมื่อผู้เปิดก้นเป็ดเปิดปากมดลูกได้แล้วคนฉีดน้ำเชื้อจะต้องเอาไซริ้งค์แยงเข้าไปในปากมดลูก ประมาณ 1-2 นิ้ว พร้อมนี้ผู้เปิดก้นเป็ดก็ปล่อยมือซ้ายออกให้มดลูกหุปเข้าไปพร้อมกับปากมดลูกหุบนี้ ผู้ฉีดจะต้องฉีดน้ำเชื้อเข้าไปด้วยประมาณ 0.02 เป็นเสร็จวิธีฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในตัวเมีย ก่อนที่จะฉีดน้ำเชื้อตัวอื่นต่อไป เราต้องเช็ดปลายไซริ้งค์ให้สะอาด ผ้าสำลีที่เตรียมไว้ทุกครั้งไป การเปิดก้นเป็ดจะทำได้ดีและง่ายเฉพาะในตัวแม่เป็ดที่กำลังให้ไข่อยู่ ส่วนเป็ดที่ไม่ใช่ จะเปิดไม่ค่อยออก

    วิธีฟักไข่เป็ดเทศ

              เป็ดเทศเป็นสัตว์ปีกที่สามารถฟักไข่ได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะฟักออกได้ดี 80-90% แต่เมื่อนำไข่เป็ดที่รวบรวมครั้งละมากๆ ฟักโดยใช้วิทยาการสมัยใหม่ คือฟักไข่เป็ดเทศด้วยตู้ฟักไข่ไก่ การฟักออกของไข่เป็ดเทศไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อตอนเริ่มฟักไข่เป็ดเทศซึ่งมีเปลือกหนาและเยื่อหุ้มไข่ที่เหนียว การฟักออกนั้นต่ำมาก ตู้ฟักไข่ที่ใช้ฟักไข่เป็ดเทศนั้นเป็นตู้ฟักไข่ไก่ เมื่อนำมาฟักไข่เป็ดเทศจึงทำให้เปอร์เซนต์การฟักออกต่ำกว่าปกติและบางครั้งฤดู เช่น ฤดูร้อนหรือฤดูฝน การฟักออกไม่ดีมีปัญหามาก อัตราการตายในช่วงสุดท้ายของการฟักไข่สูง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตายโคมสูง ทั้งนี้เพราะวิธีการฟักไข่ไก่แตกต่าจากการฟักไข่เป็ดเทศโดยสิ้นเชิง ซึ่งวิธีการฟักไข่เป็ดเทศได้รับคำแนะนำจาก ดร.สวัสดิ์ ธรรมบุตร หัวหน้ากลุ่มงานสัตว์ปีกกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ โดยนำมาทดลองที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ ทำให้เปอร์เซนต์การฟักไข่ออกดีขึ้น โดยฟักออกเป็นตัวถึง 70% ในการฟักไข่เป็ดเทศมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

              1. การคัดเลือกขนาดและรูปร่างของไข่เป็ดเทศเข้าฟัก
                  -  ควรมีขนาดสม่ำเสมอ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป สามารถเพิ่มอัตราการฟักออกได้ดีถึง 5%
                  -  ขนาดไข่ที่พอเหมาะอยู่ระหว่าง 65-75 กรัม
                  - ไข่มีรูปร่างไม่กลมหรือแหลมเกินไป
                  -  เปลือกไข่เรียบ ไม่ขรุขระ ไม่มีรอยยุบ หร้ว หรือแตก เพราะจำทำให้การฟักออกไม่ดี และทำให้อากาศในตู้เสีย

              2. การเก็บรักษาไข่ก่อนนำเข้าตู้ฟัก
                 ตามปกติแล้วจะเก็บไข่เป็ดเข้าตุ้ฟักทุกวัน ในกรณีที่นไข่เป็ดมีมากแต่ถ้าไม่มากจะก็บเข้าทุกๆ 3-4 วัน ในการเก็บไข่เป็ดเพื่อรอการนำเข้าสู่ตู้ฟัก ควรเก็บในห้องเย็น อุณหภูมิระหว่าง 50-65 องศาF และมีความชื้น 75% ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง ก็จะทำให้สดและแข็งแรง

              3. การทำความสะอาดเปลือกไข่เป็ดเทศ
                 ไข่เป็ดที่เก็บเพื่อนำเข้าฟักควรได้รับการทำความสะอาดทันทีที่เก็บออกจากคอกไข่ที่มีมูลหรือดินสกปรกตามเปลือกควรใช้กระดาษทรายหยาบขัดออก ให้หมด อย่าใช้วิธีล้างน้ำเพราะจะทำให้เชื้อโรคซึมแทรกเข้าไปตามรูพรุนเข้าสู่ภายในฟองไข่และทำอันตรายต่อไข่ภายในได้ ในขณะทำความสะอาดไข่ควรตรวจดูเปลือกไข่ที่บุบและร้าวด้วย เพื่อคัดไข่ออกเสียแต่แรก ถ้านำไข่ทีสกปรกบุบและร้าวเข้าฟักในตู้ฟักไข่จะทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อโรคดีในสภาวะความร้อนชื้นในตู้ฟักไข่ ทำให้ไข่แตกเน่า ส่งกลิ่นเหม็นภายในตู้ฟักและสกปรก

              4. การรมควันฆ่าเชื้อโรค
                 หลังจากทำความสะอาดเปลือกไข่แล้ว นำมาทำการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกาะติดบนเปลือกไข่ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย Samonella ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกเป็ดตายก่อนเจาะเปลือกไข่ โดยจะรมควันไข่เป็ดที่เก้ฐมาจากคอกก่อนนำเข้าห้องเก็บไข่

                 การรมควัน ใช้ด่างทับทิม 20 กรัม กับฟอร์มาลีน 40% 40 ซี.ซี. ต่อพื้นที่ 100 ลุกบาศก์ฟุต วิธีทำก็คือ ชั่งด่างทับทิมแล้วใส่ชามสังกะสีเคลือแล้วใส่ในตู้อบ เทฟอร์มาลีนลงในอ่างเคลือบแล้วรีบปิดประตูทันที ระวังอย่าดมควันฟอร์มาลีนมัลดีไฮด์ เพราะจะทำให้เยื่อจมูกตาอักเสบได้ ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วจึงนำไข่เข้าเก็บในห้องเก็บไข่ จุดที่สำคัญคือ ห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชม. และไม่รมควันไข่ที่ลูกเป็ดกำลังเจาะเปลือกไข่ออก

              5. การฟักไข่เป็ดเทศระยะ 1-10 วันของการฟัก
                 ไข่ที่ได้รับการเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 50-65 องศาF เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำเขาตู้ฟัไข่ในช่วงนี้อาจรมควันฆ่าเชื้ออีกครั้งหนึ่งก็ได้ แต่ควรระวังอย่ารมควันไข่ที่เพิ่งเข้าตู้ฟักได้ไม่เกิน 24-72 ชม. เพราะถ้ารมควันจะทำให้ไข่เพิ่งเข้าตู้ฟักเชื้อตายได้ในช่วง 1-10 วันแรกที่เข้าตู้ฟักอุณหภูมิ 100 องศาF อุณหภูมิปรอทรตุ้มเปียก 86 องศาF กลับไข่อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง

              6. การฟักไข่เป็ดในระยะที่ 2 ที่ 11-31 วันของการฟัก
                 ในวันที่ 11 ของการฟัก จะนำไข่ออกจากตู้ฟักมาส่องไข่หาไข่เป็ดเทศที่ไม่มีเชื้อและเชื้อตายออกเมื่อส่องไข่เสร็จแล้วนำไข่ที่มีเชื้อเข้าตู้หนึ่ง ซึ่งเป็นตู้ฟักที่ระบบให้ความร้อนและระบบพัดลมแยกออกจากกันเพราะในช่วงวันที่ 11-31 ของการฟักไข่จะเปิดระบบให้ความร้อนเป็นเวลา แต่จะเปิดพัดลมตลอดเวลา ซึ่งจะเปิดประตูตู้ฟักไข่ทิ้งไว้ตั้งแต่ 09-00-11.00 น. จึงปิดประตูตู้ฟักไข่แล้วเปิดระบบให้ความร้อนทำงานในช่วงที่เปิดประตูตู้ฟักไข่ทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลา 11.00 น.จึงปิดตู้ฟักแล้วเปิดระบบให้ความร้อนทำเช่นนี้ทุกวันจนถึงวันที่ 31 ของการฟัก อุณหภูมิของตู้ฟักไข่ 100 องศา F อตณหภูมิตุ้มเปียก 90-92 องศา F การกลับไข่ควรกลับอย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง จะทำให้เชื้อแข็งแรง ทำให้การฟักออกดีขึ้น ถ้าตู้ฟักที่ควบคุมความชื้นไม่ได้พ่นน้ำที่ไข่วันละ 2 ครั้ง ช่วงบ่ายและสี่โมงครึ่ง น้ำที่ใช้พ่นควรมีอุณหภูมิเท่าตู้ฟักและเป็นน้ำที่สะอาด โดยผสมน้ำยาฆ่าเชื้อลงไปก็ได้ จะทำให้ไข่เป็ดมีเชื้อตายที่ 32 วัน น้อยลงได้

              7. การฟักไข่เป็ดเทศในระยะที่ 3 ที่ 32-35 วันของการฟัก
                 ในวันที่ 32 ของการฟักจะนำไข่ออกจาตุ้ฟักไข่เพ่อนำมาส่องไข่ที่มีเชื้แข็งแรง นำเข้าตู้เกิดไข่เชื้อที่ตายก็นำออกไป การนำไข่ที่มีเชื้อเข้าตู้เกิดจะใส่ถาดโดยวางไข่ในแนวนอนในช่วงนี้จะไม่มีการกลับไข่หรือพ่อนน้ำแต่อย่างใด อุณหภูมิของตู้เกิด 98-99 องศาF อุณหภูมิตุ้มเปียก 94 องศาF ความชื้นสัมพัทธ์ 86% ไข่เป็ดที่จะฟักออกได้ดีควรมีช่องอากาศภายในไข่ เท่ากับ 1 ใน 3 ของไข่ ลูกเป็ดเทศบางตัวอาจเจาะออกเป็นตัวเมื่ออายุ 33 วัน จึงควรเก็บไข่ฟักให้ถึง 35 วัน และตู้เกิดควรแยกออกจากตู้ฟักไม่ควรใช้ตู้เดียวกันเพราะถ้าควบคุมอุณหภูมิและความชื้นไม่ดีจะทำให้เกิดน้อยลงและที่สำคัญคือไม่แข็งแรงและทำให้อัตราการ ้ตายสูงเมื่อนำไปเลี้ยงในช่วงอาทิตย์แรก
     
     

     
     


    • Update : 6/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch