หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การให้แสงสว่าง -โรคเป็ดไข่และการป้องกัน
    การให้แสงสว่าง

            แสงสว่างมีความสำคัญต่อเป็ดระยะต่างๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถแบ่งระยะการให้แสงสว่างออกเป็น 2 ระยะคือ

              1. ระยะเป็ดเล็ก ในระยะนี้แสงช่วยให้ลูกเป็ดสามารถกินน้ำและอาหารได้ตลอดเวลา ทำให้การเจริญเติบโตของลูกเป็ดไม่ชะงัก และยังทำให้ลูกเป็ดสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น ควรให้แสงสว่างตลอดคืนในช่วงที่เป็ดเล็กจนถึงอายุ 8 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็จะเป็นช่วงระยะที่ควบคุมปริมาณอาหารที่ให้แต่ละวัน ในช่วงนี้ควรงดการให้แสงสว่างในตอนกลางคืน
              2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด) ในระยะนี้มีความสำคัญมาก เป็ดถ้าได้รับการเพิ่มช่วงแสงของแต่ละวัน จะช่วยกระตุ้นความเจริญทางเพศให้มีการสร้างไข่อย่างสมบูรณ์เต็มที่

    ตารางที่ 7 ระยะเวลาให้แสงสว่างสำหรับเป็ดไข่
    อายุเป็ดไข่
    ระยะเวลาให้แสงสว่าง
    ฤดูร้อน
    ฤดูฝน
    ฤดูหนาว
    19 สัปดาห์
    20 สัปดาห์
    21 สัปดาห์
    22 สัปดาห์

    23 สัปดาห์

    24 สัปดาห์
    18.00-19.00
    18.00-20.00
    18.00-21.00
    18.00-21.00
    05.00-06.00
    18.00-21.00
    04.00-06.00
    18.00-21.00
    03.00-06.00
    17.30-18.30
    17.30-19.30
    17.30-20.30
    17.30-20.30
    05.00-06.00
    17.30-20.30
    04.00-06.00
    17.30-20.30
    03.30-06.30
    17.00-18.00
    17.00-09.00
    17.00-21.00
    17.00-21.00
    05.30-06.30
    17.00-21.00
    04.30-06.30
    17.00-21.00
    03.30-06.30


              ในระยะเป็ดไข่นี้ใช้ความเข้มของแสงสว่าง 2.5 วัตต์ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยใช้หลอดไฟขนาด 60 วัตต์ สูงจากพื้น 8 ฟุต ส่วนระบบการให้แสงสว่างในโรงเรือน ถ้าสามารถทำได้ ควรใช้เครื่องควบคุมการให้แสงสว่างอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเปิดปิดได้ตามเวลาที่ต้องการ มีความสะดวกรวดเร็วและปิดเปิดเป็นเวลาทุกวัน ไม่มีผลกระทบต่อการผลิตไข่ ส่วนการใช้คนเปิดปิดนั้นเวลาถ้าไม่แน่นอน จะทำให้มีผลกระทบต่อการไข่ของเป็ดได้          

    โรคเป็ดและการป้องกัน

             เป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีปัญหาเรื่องโรคน้อยกว่าไก่ หากทำการเลี้ยงในกรงตับด้วยแล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดที่สำคัญมีดังนี้    

              1. โรคอหิวาต์เป็ด
      สาเหตุ
    เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
      อาการ
    เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูงถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน
       
    มักจะจับกลุ่มกันอยู่ใกล้บริเวณรางน้ำ
       
    อุจจาระมีสีขาวปนเขียวและมีลักษณะเป็นยางเหนียว
       
    บางครั้งเป็ดจะตายอย่างกระทันหัน หรือถ้าเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบบวม ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
       
    ในเป็ดไข่จะทำให้ไข่ลดลงได้
      การรักษา
    การใช้ยาซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะจะช่วยลดความเสียหายในฝูงเป็ดที่เริ่มเป็นระยะแรก
       
    ยาซัลฟา (ยาซัลฟา, ซัลฟาเมอราซีน, ซัลฟาเมทธารีน) ยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน, ออกซีเตตร้าซัยคลิน) ผสมอาหาร 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน จะช่วยลดความรุนแรงได้
      การป้องกัน
    ทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 2 เดือนและทำซ้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซี.ซี.
              2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
      สาเหตุ
    เกิดจากเชื้อไวรัส
      อาการ
    เมื่อเป็นเป็ดจะแสดงอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหว
       
    มีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว เมื่อเป็นมากจะมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย
       
    อุจจาระสีเขียวปนเหลือง บางครั้งมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทรวรจะแดงช้ำ
       
    หายใจลำบาก
      การรักษา
    ไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล คงมีแต่การป้องกันเท่านั้น
      การป้องกัน
    โดยการทำวัคซีนป้องกัน ดังนี้
         
     
    ครั้งแรก
    ทำเมื่อเป็ดอายุ 1 เดือน ทำซ้ำทุกๆ 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ตัวละ 1 ซี.ซี. หรือตามคำแนะนำในฉลากข้างขวด วัคซีนทั้งสองชนิด ซื้อได้ที่กรมปศุสัตว์ หรือที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ
     
    ครั้งที่สอง
    เมื่อเป็ดอายุ 3 เดือน
     
    ครั้งที่สาม
    เมื่อเป็ดอายุ 6 เดือน

     ตารางการทำวัคซีนป้องกันโรคเป็ด

    อายุ
    วัคซีนที่ใช้
    กาฬโรค
    อหิวาต์เป็ด-ไก่
    3 - 4 สัปดาห์
    /
    /
    10 - 12 สัปดาห์
    /
    /
    ทุกๆ 3 เดือน
    /
    ทุกๆ 6 เดือน
    /
    วิธีให้
    ฉีดเข้ากล้าม
    ฉีดเข้ากล้าม / ใต้ผิวหนัง


    • Update : 4/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch