หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อาหารและการให้อาหารโคนม-2
      คุณภาพของอาหารหยาบ   และปริมาณการกินอาหารหยาบ   จะเป็นตัวกำหนดสารอาหารที่แม่โคจะได้รับ   เช่น   แม่โคกินอาหารหยาบคุณภาพดีและกินในปริมาณที่มาก   ก็จะได้รับสารอาหารมากกว่าแม่โคที่กินอาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำ   และกินได้น้อย   ดังนั้นจึงทำให้อาหารข้นที่จะใช้เสริมนั้นแตกต่างกันคือ   อาหารข้นจะต้องมีสารอาหารหรือความเข้มข้นแตกต่างกัน   มิใช่ให้ในปริมาณที่แตกต่างกัน   มิฉะนั้นแล้วจะมีผลต่อการกินอาหารหยาบตามมา   เพราะกระเพาะโคมีขนาดคงที่   ความสัมพันธ์ของอาหารหยาบและอาหารข้นพอจะสรุปได้ดังนี้คือ

    คุณภาพของอาหารหยาบที่ใช้
    ระดับโปรตีนในอาหารข้น (%ในสูตรอาหาร)
       อาหารหยาบคุณภาพ   ดี
       12 - 16  หรือประมาณ  14   
       อาหารหยาบคุณภาพ   ปานกลาง 
       16 - 20  หรือประมาณ  18   
       อาหารหยาบคุณภาพ   ต่ำ
       20 - 24  หรือประมาณ  22   


     ในความเป็นจริงแล้ว   คุณภาพของอาหารข้น   นอกจากจะคำนึงถึงโปรตีนในอาหารแล้ว   ยังต้องคำนึงถึงพลังงาน   ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างมากในแม่โคที่กำลังให้นม   อย่างไรก็ตามคำแนะนำอย่างง่าย ๆ ก็คือ  ถ้าแม่โคของท่านมีความสามารถในการให้นมสูง   แต่ท่านจำเป็นต้องให้อาหารหยาบคุณภาพต่ำ   เช่น   ฟางข้าวเลี้ยง   หรือต้องเดินแทะเล็มในทุ่งหญ้าธรรมชาติเป็นระยะทางไกล ๆ  ท่านควรจะเสริมอาหารพลังงาน   อาทิเช่น   มันเส้น หรือ กากน้ำตาล (Molasses) นอกเหนือจากอาหารหยาบและอาหารข้นที่กล่าวถึงแล้ว   แต่ท่านก็ไม่ควรจะหวังถึงการให้นมได้สูงสุด   คงจะเป็นเพียงช่วยไม่ให้การให้นมของแม่โคนมลดลงอย่างรวดเร็วเท่านั้น

    ปริมาณอาหารข้นที่ให้แก่แม่โคนม
              เมื่อทราบว่าอาหารข้นควรจะมีความเข้มข้นของสารอาหารเท่าใดแล้ว   ความจำเป็นต่อมาก็มาพิจารณาถึงว่าจะให้แก่แม่โคกินในปริมาณเท่าไร   เนื่องจากแม่โคแต่ละตัวมีการให้น้ำนมได้ไม่เท่ากัน   และในแต่ละช่วงเวลาก็จะมีอาหารหยาบที่มีคุณภาพต่าง ๆ กันด้วย   ในที่นี้จึงได้สรุปปริมาณอาหารข้นที่ควรจะให้แก่แม่โคแต่ละตัว   ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมที่แม่โคผลิตได้และอาหารหยาบที่ใช้เลี้ยง (ดังในตารางที่ 4)


    ตารางปริมาณอาหารข้น (กก./ วัน) ที่ควรจัดให้แม่โคกิน
    ปริมาณการให้น้ำนม
    คุณภาพของอาหารหยาบ
    ดี
    ปานกลาง
    ต่ำ
    ระดับโปรตีนในอาหารข้น
    12%
    14%
    16%
    18%
    22%
    6
    -
    -
    2.0
    -
    3.0
    10
    3.0
    -
    5.0
    -
    5.0
    14
    5.5
    -
    7.0
    -
    6.5
    18
    -
    7.0
    -
    8.0
    8.0
    22
    -
    9.5
    -
    9.5
    9.5
    26
    -
    11.5
    -
    11.5
    -
    30
    -
    13.5
    -
    13.0
    -


              จากตารางด้านบน ตัวเลขในตารางเป็นปริมาณอาหารข้นที่ควรจะให้แก่แม่โค (กิโลกรัม/ตัว/วัน) ในแต่ละระดับการให้นมเมื่อใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น

              * กรณีใช้อาหารหยาบคุณภาพดีแก่แม่โคนม   ถ้าแม่โคนมสามารถให้นมได้  14 กก./วัน   อาหารข้นที่ให้ควรจะมีโปรตีนในสูตรอาหาร = 12 % และให้ในปริมาณ 5.5 กก./ตัว/วัน   แต่ถ้าแม่โคสามารถให้นมได้มากกว่านี้เช่น   ให้นมได้ 18 กก./วัน การใช้อาหารข้นที่มีโปรตีน 12 %   จะน้อยเกินไป   เพราะจะทำให้โคต้องกินอาหารข้นในปริมาณมาก   จึงจะได้รับโภชนะเพียงพอ   จึงจำเป็นต้องใช้อาหารข้นที่มีความเข้มข้นของสารอาหารสูงขึ้นคือ   มีโปรตีนประมาณ 14 % และให้กินในปริมาณ 7.0 กก./ตัว/วัน   จึงจะไม่มีผลกระทบต่อการกินอาหารหยาบ

              * กรณีการใช้อาหารหยาบคุณภาพปานกลาง   ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับอาหารหยาบคุณภาพดีแตกต่างกันที่ว่าระดับโปรตีนในอาหารข้นจะสูงกว่า   กล่าวคือ   อาหารข้นที่ใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพปานกลาง   อาทิเช่น   หญ้าสด   เปลือกและไหมข้าวโพดฝักอ่อน   ควรจะมีโปรตีนในสูตรอาหารข้นประมาณ 14 - 16 %   ส่วนปริมาณที่ให้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการให้นมของแม่โคดังตาราง

              * กรณีการใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำ   อาหารข้นที่จะให้แก่แม่โค   มีความจำเป็นที่จะต้องมีความเข้มข้นสูงขึ้นมากกว่า   เพื่อที่จะทำให้แม่โคได้รับสารอาหารเพียงพอแก่ความต้องการในการให้น้ำนม   อาหารข้นที่ใช้ควรมีระดับโปรตีนประมาณ 22 %  ในกรณีที่แม่โคมีการให้นม  22 กก./วัน ขึ้นไป   ควรจะให้อาหารข้นแก่แม่โคได้อย่างเต็มท   ี่หลังจากที่แม่โคได้รับอาหารหยาบเพียงพอตามคำแนะนำในตอนต้น ๆ คือ 1.4 % ของน้ำหนักตัว   ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดที่แม่โคต้องการ

      เกษตรกร สามารถเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ได้หลายอย่าง   เพื่อนำมาผสมเป็นอาหารข้น   แต่สิ่งที่เกษตรกรควรจะระวังในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ คือ   อย่าคิดถึงราคาต่อกิโลกรัมเท่านั้น   เพราะวัตถุดิบบางชนิดมีราคาต่อกิโลกรัมต่ำกว่า   แต่เมื่อเปรียบเทียบสารอาหารที่มีอยู่   เช่น   โปรตีน   อาจจะทำให้ราคาต่อสารอาหารนั้นมีราคาสูงกว่าก็ได้   อย่างไรก็ตามในเรื่องการเลือกใช้วัตถุดิบมีรายละเอียดอยู่มาก   ในที่นี้จึงได้จัดทำสูตรอาหารข้นขึ้นมา   เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้โดยพยายามเลือกใช้วัตถุดิบและราคาจำหน่าย   ตามที่มีจำหน่ายอยู่ทั่ว ๆ ไปในแหล่งที่มีการเลี้ยงโคนม
    สูตรอาหารข้นสำหรับโคนม
      วัตถุดิบ
      ราคาวัตถุดิบ  
    บาท/ก.ก.
    ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ (ก.ก.)
     สูตร 1 
     สูตร 2 
     สูตร 3 
     สูตร 4 
     สูตร 5 
     สูตร 6 
     สูตร 7 
     สูตร 8 
      มันเส้น
    2.00
    47.0
    42.5
    39.0
    41.0
    32.0
    36.0
    4.0
    25.5
      ข้าวโพด
    4.00
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    14.5
    -
      กากถั่วเหลือง
    9.00
    14.0
    18.5
    23.0
    15.0
    26.0
    19.5
    30.0
    28.5
      กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม
    2.30
    30.0
    30.0
    29.0
    30.5
    30.0
    31.0
    30.5
    32.5
      กากเมล็ดยางพารา
    2.00
    4.0
    4.0
    4.0
    -
    7.0
    -
    6.5
    -
      ใบกระถิน
    3.00
    -
    -
    -
    9.5
    -
    9.5
    9.5
    9.5
      ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
    5.00
    -
    -
    -
    1.0
    -
    1.0
    -
    1.0
      แร่ธาตุโคนม
    7.00
    5.0
    5.0
    5.0
    3.0
    5.0
    3.0
    5.0
    3.0
      รวม
    100.0
    100.0
    100.0
    100.0
    100.0
    100.0
    100.0
    100.0
      % โปรตีน
    12.25
    14.15
    15.9
    16.28
    18.07
    18.23
    21.93
    22.20
      % โภชนะที่ย่อยได้
    69.10
    68.99
    69.00
    70.21
    66.39
    70.07
    63.70
    69.70
      ราคาอาหารผสม (บาท/ก.ก.) 
    3.32
    3.64
    3.95
    3.42
    4.16
    3.73
    4.83
    4.37

    การทำบันทึกเกี่ยวกับโคนม

              เจ้าของสัตว์ควรจะเป็นผู้ที่ทำบันทึกและเก็บไว้เอง   โดยอาจเริ่มต้นจากวันที่สัตว์เกิด   น้ำหนักและสัดส่วนแรกเกิด   วันผสม   วันคลอด   รวมถึงการชั่งน้ำหนักโคทุกครั้ง   เช่น   วันหย่านม   อายุ 1 ปี   หรือเกณฑ์ผสมพันธุ์   และหรือระยะเวลาการให้นม   จำนวนน้ำนมแต่ละครั้งที่รีดได้ของแม่โคแต่ละตัว   รวมถึงการทำวัคซีน   หรือการรักษาโรค (ถ้ามี) ด้วย   ผู้ที่จะจดบันทึกควรจะทำความเข้าใจวิธีทำให้ถูกต้องและทำการลงบันทึก   ตลอดจนเก็บรักษาไว้ด้วยตนเอง   ทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ   การชั่งน้ำหนักโคหรือการชั่งน้ำนมควรใช้เครื่องชั่งที่เที่ยงตรง   จดน้ำหนักลงบันทึกไว้   ถ้าทำได้ในการเก็บตัวอย่างโดยเฉพาะการระบุหมายเลขภาชนะหรือชื่อโคให้แน่นอน   และจัดส่งไปให้ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ไขมันในห้องปฏิบัติการนม   ต่อมาผลก็จะถูกส่งกลับไปยังเจ้าของโค   เมื่อได้รับผลก็ต้องลงบันทึกพร้อมกับคำนวณหาจำนวนไขมันนม 4 % หรืออื่น ๆ ที่ควรจะจดลงในบันทึกต่อไป   แต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะตรวจไขมันได้   การจดบันทึกการให้นมแต่ละครั้งของแม่โคเป็นวัน-เดือนอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะการให้นมเก็บไว้ได้ซึ่งยังดีกว่าไม่ทำการจดบันทึกอะไรเลย


    • Update : 2/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch